อ.ผัก
อาจารย์ พท. ศุภฤกษ์ ภมรรัตนปัญญา

โลกาภิวัตน์ ตอนที่ ๒


โลกาภิวัตน์

โลกาภิวัตน์

 

                                                                                             ศุภฤกษ์  ภมรรัตนปัญญา
การวัดความเป็นโลกาภิวัตน์
     เมื่อมองโลกาภิวัตน์เฉพาะทางเศรษฐกิจ การวัดอาจทำได้หลายทางที่แตกต่างกัน โดยดูจากการรวมศูนย์การเคลื่อนไหลทางเศรษฐกิจที่อาจบ่งชี้ความเป็นโลกาภิวัตน์เห็นได้ 4 แนวดังนี้
  • สินค้าและบริการ เช่น ดูการส่งออกและนำเข้าสินค้าที่เป็นสัดส่วนกับรายได้ต่อหัวของประชาชาติ
  • แรงงานและคน เช่น อัตราการย้ายถิ่นฐานเข้าและออกโดยชั่งน้ำหนักกับประชากร
  • เงินทุน เช่นการไหลเข้าและไหลออกของเงินลงทุนทางตรงที่เป็นสัดส่วนกับรายได้ประชาชาติและรายได้ต่อหัวของประชากร
  • เทคโนโลยี เช่น การเคลื่อนไหวของงานวิจัยและพัฒนา สัดส่วนของประชากร (และอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ตามมา) ใช้เทคโนโลยีที่เกิดใหม่ (เทคโนโลยีขั้นก้าวหน้า เช่นการใช้โทรศัพท์รถยนต์อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ฯลฯ)
       
        นั่นคือ เป็นการวัดดูว่าชาติ หรือวัฒนธรรมนั้นๆ มีความเป็นโลกาภิวัตน์ตั้งแต่ต้นมาถึงในปีที่ทำการวัดล่าสุด โดยการใช้ตัวแทนง่ายๆ เช่น การเคลื่อนไหลของสินค้าเข้า-ออก การย้ายถิ่นฐาน หรือเงินลงทุนทางตรงจากต่างประเทศดังกล่าวข้างต้น
เนื่องจากโลกาภิวัตน์ไม่ใช่ปรากฏการณ์อย่างเดียวทางเศรษฐกิจ การใช้การเข้าสู่ปัญหาด้วยวิธีแบบหลายตัวแปรมาเป็นตัวชี้วัดความเป็นโลกาภิวัตน์จึงเกิดขึ้นโดยการเริ่มของ “ถังความคิด” (Think tank) ในสวิสเซอร์แลนด์KOF ดัชนีมุ่งชี้วัดไปที่มิติหลัก 3 ตัวของโลก ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมและการเมือง นอกจากการใช้ตัวชี้วัดหลักทั้งสามตัวนี้แล้ว ดัชนีรวมของโลกาภิวัตน์และตัวชี้วัดกึ่งดัชนีโยงไปถึงการเคลื่อนไหวจริงทางเศรษฐกิจ ข้อจำกัดทางเศรษฐกิจ ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อของบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของข้อมูลข่าวสาร และข้อมูลของความใกล้ชิดติดต่อกันทางวัฒนธรรม เหล่านี้ถูกนำมาใช้ในการคำนวณด้วย มีการเผยแพร่ข้อมูลนี้เป็นรายปี เป็นข้อมูลรวมของประเทศต่างๆ 122 ประเทศดังในรายละเอียดใน “Dreher, Gaston and Martens (2008)”
จากดัชนีดังกล่าว ประเทศที่เป็นโลกาภิวัตน์มากที่สุดในโลกได้แก่เบลเยียม ตามด้วยออสเตรียสวีเดนสหราชอาณาจักรและเนเธอร์แลนด์ ประเทศที่เป็นโลกาภิวัตน์น้อยที่สุดตามดัชนี KOF ได้แก่ไฮติเมียนมาร์สาธารณรัฐแอฟริกากลาง และบูรุดี[4] การวัดอื่นๆ มองภาพโลกาภิวัตน์ในฐานะเป็นกระบวนการที่เป็นปฏิสัมพันธ์ของการหลอมกระจายเพื่อหาระดับของผลกระทบ (Jahn 2006)
เอ.ที. เคียร์นีย์ ( A.T. Kearney) และวารสารนโยบายต่างประเทศ ( Foreign Policy Magazine) ได้ร่วมกันตีพิมพ์ “ดัชนีโลกาภิวัตน์” ( Globalization Index) ขึ้นอีกแหล่งหนึ่ง จากดัชนีเมื่อ พ.ศ. 2549 ผลปรากฏว่า สิงคโปร์ไอร์แลนด์สวิตเซอร์แลนด์สหรัฐอเมริกาเนเธอร์แลนด์แคนาดา และเดนมาร์กเป็นประเทศที่เป็นโลกาภิวัตน์มากที่สุด อียิปต์อินโดนีเซียอินเดียและอิหร่านเป็นโลกาภิวัตน์น้อยที่สุด ส่วนไทยอยู่ในลำดับที่ 45 และจากดัชนีในปีถัดมาคือ พ.ศ. 2550 อับดับความเป็นโลกาภิวัตน์ของไทย ตกลงไปอยู่ที่อันดับที่ 59
คำสำคัญ (Tags): #โลกาภิวัฒน์
หมายเลขบันทึก: 390769เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2010 15:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2014 07:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มาชม

ไทยถือว่าอยู่กลาง ๆ ระหว่าง 1 กับ 100 นะครับ...อิ อิ อิ

สวัสดีครับอาจารย์อุทัย

        ถือว่ายังดีกว่าหลายๆประเทศครับ เเต่เราต้องมีการพัฒนาการอีกเยอะ เเต่คุณหลวงว่า ประเทศไทยเราอยู่อย่างนี้ดีเเล้ว อยู่อย่างพอเพียง อยู๋กับธรรมชาติ อย่างพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว " คนไทยเราเป็นมนุษย์นั้นแหละดีเเล้ว อย่าอยากเป็นเสือซึ่งเป็นเดรัชฉานเลย หันหลังเข้าถ้ำกันเถอะ " พระองค์ทรงเตือนสติคนไทยให้รู้จักความพอเพียง ไม่ทะเยอะทะยาน ไม่วิ่งตามกระเเสนิยม ครับอาจารย์ยูมิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท