อ.ผัก
อาจารย์ พท. ศุภฤกษ์ ภมรรัตนปัญญา

โลกาภิวัตน์ ตอนที่ ๑


โลกาภิวัตน์ หรือ โลกานุวัตร

โลกาภิวัตน์ 

       
                                                                         ศุภฤกษ์  ภมรรัตนปัญญา
      โลกาภิวัตน์ หรือ โลกานุวัตร (globalization) คือ ผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ อันแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล ทั่วทั้งโลก
        โลกาภิวัตน์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2542 หมายถึง "การแพร่กระจายไปทั่วโลก การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้ สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นต้น" โลกาภิวัตน์ เป็นคำศัพท์เฉพาะที่บัญญัติขึ้นเพื่อตอบสนองปรากฏการณ์ของสังคมโลกที่เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในส่วนหนึ่งของโลก ส่งผลกระทบอันรวดเร็วและสำคัญต่อส่วนอื่นๆของโลก
ประวัติ
คำว่า “โลกาภิวัตน์” ในภาษาอังกฤษคือ “Globalization” สามารถสืบย้อนไปได้ถึง พ.ศ. 2487 แต่ได้นำมาใช้โดยนักเศรษฐศาสตร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 มานี้เอง อย่างไรก็ดี แนวคิดยังไม่แพร่หลายและเป็นที่นิยมจนกระทั่งหลัง พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา แนวคิดแรกสุดและการพยากรณ์ถึงการหลอมรวมของสังคมของโลกเกิดจากข้อเขียนของนักประกอบการที่ผันตัวเป็นศาสนาจารย์ชื่อ “ชารลส์ ทาซ รัสเซลล์ (Charles Taze Russell[5]) ผู้ใช้คำว่า “บรรษัทยักษ์ใหญ่” (corporate giants [6]) เมื่อปี พ.ศ. 2440 นักวิทยาศาสตร์สังคมหลายท่านได้พยายามแสดงให้เห็นความต่อเนื่องระหว่างแนวโน้มร่วมสมัยของโลกาภิวัตน์กับยุคก่อนหน้านั้น[3]ยุคแรกของโลกาภิวัตน์ (ในความหมายเต็ม) ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 (พ.ศ. 2344พ.ศ. 2443) เป็นการเติบโตที่รวดเร็วมากในด้านการค้านานาชาติระหว่างจักรวรรดิอำนาจในยุโรป อาณานิคมของยุโรปและสหรัฐฯ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 โลกาภิวัตน์ได้เริ่มขึ้นใหม่และถูกขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าใหญ่ๆ ที่ช่วยทำให้ลดค่าใช้จ่ายและราคาสินค้าลงได้มาก
โลกาภิวัตน์ถูกมองว่าเป็นกระบวนการที่ใช้เวลาเป็นศตวรรษที่ติดตามการขยายตัวของประชากรและการเจริญเติบโตทางอารยธรรมที่ถูกเร่งในอัตราสูงมากในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา รูปแบบโลกาภิวัตน์ยุคแรกๆ มีมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมันจักรวรรดิพาเธีย (จักรวรรดิอิหร่านระหว่าง พ.ศ. 296พ.ศ. 763) และสมัยราชวงศ์ฮั่นเมื่อเส้นทางสายไหมที่เริ่มจากจีนไปถึงชายแดนของจักรวรรดิพาเทียและต่อเนื่องไปสู่กรุงโรม ยุคทองของอิสลามนับเป็นตัวอย่างหนึ่งเมื่อพ่อค้าและนักสำรวจชาวมุสลิมวางรากฐานเศรษฐกิจของโลกยุคแรกไปทั่ว “โลกเก่า” ยังผลให้เกิดโลกาภิวัตน์กับพืชผล การค้าความรู้และเทคโนโลยีต่อมาถึงระหว่างยุคของจักรวรรดิมองโกลซึ่งมีความเจริญมากขึ้นตามเส้นทางสายไหม การบูรณาการโลกาภิวัตน์มีความต่อเนื่องมาถึงยุคขยายตัวทางการค้าของยุโรป เมื่อถึงคริสต์ศตวรรษ ที่ 16 และ17 (ระหว่าง พ.ศ. 2043พ.ศ. 2242) เมื่อจักรวรรดิโปรตุเกสและจักรวรรดิสเปนได้แผ่ขยายไปทั่วทุกมุมโลกหลังจากที่ได้ขยายไปถึงอเมริกา
โลกาภิวัตน์กลายเป็นปรากฏการณ์ทางธุรกิจในคริสต์ศตวรรษที่ 17 (พ.ศ. 2143พ.ศ. 2242) เมื่อบริษัทดัทช์อินเดียตะวันออก ซึ่งถือกันว่าเป็น “บรรษัทข้ามชาติ” แรกได้รับการจัดตั้งขึ้น แต่เนื่องจากการมีความเสี่ยงที่สูงมากในการค้าระหว่างประเทศ บริษัทดัทช์อินเดียตะวันออกได้กลายเป็นบริษัทแรกของโลกที่ใช้วิธีกระจายความเสี่ยง ยอมให้มีการร่วมเป็นเจ้าของด้วยการออกหุ้นซึ่งเป็นปัจจัยผลักดันที่สำคัญที่ทำให้เกิดโลกาภิวัตน์
การปล่อยหรือการเปิดเสรีทางการค้าในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งบางครั้งเรียกกันว่า “ยุคแรกแห่งโลกาภิวัตน์” เป็นยุคที่มีลักษณะการเจริญเติบโตของการค้าและการลงทุนของโลกในอัตราที่รวดเร็วระหว่างจักรวรรดิอำนาจยุโรปกับอาณานิคมอละต่อมากับสหรัฐฯ ในยุคนี้เองที่พื้นที่บริเวณใต้สะฮาราและหมู่เกาะแปซิฟิกถูกจัดรวมเข้าไว้ในระบบโลก “ยุคแรกแห่งโลกาภิวัตน์” เริ่มแตกสลายเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 เริ่มขึ้น และต่อมาได้ล่มสลายในช่วงวิกฤติมาตรฐานทองคำในช่วงระหว่าง พ.ศ. พ.ศ. 2468พ.ศ. 2478
โลกาภิวัตน์สมัยใหม่
โลกาภิวัตน์ในยุคตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผลที่ตามมาจากการวางแผนของนักเศรษฐศาสตร์และผลประโยชน์ทางธุรกิจ รวมทั้งนักการเมืองได้ตระหนักถึงค่าใช้จ่ายที่สัมพันธ์กับลัทธิคุ้มครอง (Protectionism) การถดถอยของการรวมตัวทางเศรษฐกิจในระดับนานาชาติ ผลงานของพวกเขาได้นำไปสู่การประชุม “เบรทตัน วูด” (Bretton Woods) ที่ทำให้เกิดสถาบันนานาชาติหลายแห่งที่มีวัตถุประสงค์คอยเฝ้ามองกระบวนการโลกาภิวัตน์ที่ฟื้นตัวใหม่ คอยส่งเสริมการเจริญเติบโตและจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมา สถาบันดังกล่าวได้แก่ “ธนาคารสากลเพื่อการฟื้นฟูและการพัฒนา" (ธนาคารโลก) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ทั้งสองสถาบันแสวงหาเทคโนโลยีขั้นก้าวหน้าต่างๆ มาใช้ เพื่อการลดต้นทุนการค้า มีการเจรจาทางการค้า ที่เดิมอยู่ภายใต้ความอุปถัมภ์ของ GATT ซึ่งจัดการให้มีการประชุมเพื่อเจรจาตกลงยกเลิกข้อจำกัดที่กีดขวางการค้าโดยเสรีอย่างต่อเนื่อง การประชุมรอบอุรุกวัย (พ.ศ. 2527พ.ศ. 2538) นำไปสู่การก่อตั้งองค์การการค้าโลก (WTO) เพื่อใช้เป็นที่ไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งทางการค้า และเพื่อจัดวางพื้นฐานให้การค้าเป็นในบรรทัดฐานเดียวกัน ข้อตกลงทวิภาคี และพหุภาคีทางการค้า รวมถึงส่วนของ “สนธิสัญญามาสทริชท์” ( Maastricht Treaty) ของยุโรป และมีการตกลงและลงนามใน “ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ” (NAFTA) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการลดอัตราภาษีและการกีดกันทางการค้า ผลของการตกลงนี้ทำให้สินค้าที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลอเมริกันไหลบ่าท่วมท้นตลาดต่างประเทศ
 
หมายเลขบันทึก: 390762เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2010 15:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2014 07:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ตามมาอ่าน
  • ได้ความรู้ชัดเจนมาก
  • ขอบคุณมากๆ

สวัสดีครับอาจารย์ขจิต

      ขอบพระคุณมากครับ ที่มาเยี่ยมชม ขอให้เจริญในธรรมใช้ชีวิตอย่างมีความสุขนะครับ อาจารย์

และจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกไหมครับ

เรียนคุณมนัส

    สำหรับการเปลียนเเปลง มีเเน่นอนครับ เพราะคำว่าโลกาภิวัฒน์นั้น คือการที่เกิดการพัฒนา อย่างไม่จบสิ้น เเต่จะเปลียนเเปลงมากหรือน้อยเท่านั้นเงอครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท