คำว่า “ละเมิด” ในกฎหมายอินเดีย


คำว่า“ละเมิด” ในกฎหมายอินเดีย

                                                                                                                ผศ.ดร. เมธา สุพงษ์[1] 

 

                คำว่า ละเมิด (Tort)[2] เป็นคำดั้งเดิมในภาษาฝรั่งเศส และถือกำเนิดมาจากคำในภาษาลาตินว่า “tortum” มีความหมายว่า การกระทำโดยตั้งใจให้ได้รับบาดเจ็บ (twist) และโดยปริยาย (implies conduct) ซึ่งเป็นการกระทำละเมิด (tortious) คำว่าละเมิดมีค่าเท่ากับคำว่า “wrong” ในภาษาอังกฤษ และในภาษาโรมันใช้คำว่า “delict” ส่วนในภาษาอินเดียสันสฤต (India Sanskit) ใช้คำว่า “jimha” ซึ่งมีความหมายว่า ไม่ซื่อสัตย์ (crooked) ซึ่งมีบัญญัติอยู่ในกฎหมายฮินดู (Hindu Law) ในเรื่องที่เกี่ยวการกระทำละเมิดหรือการฉ้อฉล สืบเนื่องจากราวศตวรรษที่ 18 อังกฤษมีการตั้งศาลขึ้นเป็นครั้งแรกในเขตเมือง Bombay, Calcutta และ Madras เรียกว่า “Mayor’s courts” และอังกฤษนำกฎหมายละเมิดมาใช้ในประเทศอินเดียเป็นเวลายาวนานจนคำว่า “Tort” กลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบกฎหมายอินเดียไป (Indian Legal System)[3]

 

 


                  [1] น.บ. น.ม. (กฎหมายธุรกิจ) ศศ.บ. (รัฐศาสตร์) Ph.D. อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

                  [2] สำหรับคำว่า “ละเมิด” ในประเทศไทยนั้นเป็นคำที่มีใช้กันมาตั้งแต่กฎหมายเก่า แล้วแต่เขียนเป็นคำว่า “เลมิด” และไม่ได้มีความหมายอย่างเดียวกันกับที่ใช้อยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ปัจจุบัน กล่าวคือ ในกฎหมายเก่าคำว่า “ละเมิด” จะหมายถึงการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายชนิดหนึ่งเท่านั้น ซึ่งได้แก่เรื่องที่เป็นการฝ่าฝืนราชโองการคือเป็นการละเมิดพระราชอาญา ดังนั้นละเมิดจึงไม่เป็นมูลแห่งหนี้อย่างที่เข้าใจกันในกฎหมายปัจจุบัน และในกฎหมายเก่าก็ยังไม่ได้มีการแยกผลแห่งการกระทำผิดในทางแพ่งและในทางอาญาออกจากกันอย่างชัดเจน โดยก่อนที่จะมีการจัดทำประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ได้ทรงเรียกการทำละเมิดอย่างที่เข้าใจกันในกฎหมายปัจจุบันว่า “ประทุษร้ายทางแพ่ง”  และชื่อนี้ก็ได้ใช้สืบมาจนถึงเวลาที่มีการออกประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นได้เลือกใช้คำว่า “ละเมิด” แทน

                [3] S.P. Singh, Law of Tort.(4th New Delhi : Universal Law Publishing Co.Pvt.Ltd,2006) p.1

                                    

 

หมายเลขบันทึก: 390290เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2010 14:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์ มาเรียนรู้กฎหมายด้วยค่ะ การนำภาพและเสียงมาลงบล็อกก็กลัวละเมิด อิอิ

สวัสดีครับ Rinda

ขอบคุณที่เข้าเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

  • สวัสดีค่ะ  อาจารย์เมธา
  • มาศึกษาภาษากฎหมาย "ละเมิด" ชัดเจนดีค่ะ
  • รถตุ๊ก ๆ อินเดียมิดชิดดีจังค่ะ....

ขอคุณมากครับท่านธนิตย์ สุวรรณเจริญ

ขอบคุณท่านธรรมทิพย์ ที่เข้ามาอ่าน รถตุ๊กตุ๊กอินเดีย น่านั่งไหมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท