การพัฒนาบุคลิกภาพของผู้บริหาร


บุคลิกภาพพัฒนาได้

จากการอบรมผู้บริหาร รพ.สต.เรื่อง การพัฒนาบุคลิกภาพ                          โดย อ.คเชนทร์เทพ  หาญณรงค์  บันทึกโดยคุณสุนีย์  มะเล็ก

การพัฒนาบุคิกภาพเสริมพลังความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่

1. พลังแห่งบุคลิกภาพ     2. พลังแห่งการพูด    3. พลังแห่งการกระทำ

4. พลังแห่งความคิด        5. พลังแห่งกุศโลบาย

ความสำคัญของ...บุคลิกภาพ       

   คนเราไม่มีอะไรดีทุกอย่าง หรือไม่มีที่ติเลย  จึงต้องรู้จักพัฒนาตนเอง

เพื่อให้สามารถอยู่และทำงานร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข

ความสำคัญของบุคลิกภาพ    ทำให้

1.ได้รับความศรัทธาเชื่อถือ        2.ได้รับการยกย่องนับถือ 3 .เกิดทัศนคติที่ดีต่อผู้พบเห็น     4.ประสบความสำเร็จในการดำรงชีวิตประจำวัน

 สิ่งที่มนุษย์มองเมื่อพบกันครั้งแรก (ล้วนแต่เป็นเรื่องของบุคลิกภาพทั้งสิ้น)

สุภาพสตรี พบ สุภาพสตรี                               ร้อยละ  41                           มอง             การแต่งกาย

สุภาพบุรุษ  พบ  สุภาพบุรุษ                            ร้อยละ  39                          มอง             การแต่งกาย

สุภาพสตรี พบ  สุภาพบุรุษ                             ร้อยละ  36                          มอง             การแต่งกาย

สุภาพบุรุษ พบ สุภาพสตรี                              ร้อยละ  45                          มอง           รูปร่าง     

ประเภทของ บุคลิกภาพ  มี  2 ประเภท

1.บุคลิกภาพภายนอก       2.บุคลิกภาพภายใน

บุคลิกภาพพัฒนาได้

บุคลิกภาพภายนอก    1. ทรงผม     2. รูปร่างหน้าตา    

 3. การแต่งกาย     4. การปรากฏตัว     5. กิริยามารยาท

6. การสบสายตา        7. ถ้อยคำภาษา      8. น้ำเสียง

บุคลิกภาพภายใน   เปรียบเทียบกับชิ้นส่วนรถยนต์ ที่เราเลือก                         (ลองเลือกดูซิค๊ะ  แม่นเพียง  70%)

บอกบุคลิกภาพภายใน (อุปนิสัย)

1.เลือกเครื่องยนต์  พวงมาลัย  กุญแจ  เป็นคนมั่นใจในตนอง  เป็นผู้นำที่มีเหตุผล

2.เลือกล้อ-ยาง  ตัวถัง   ช่วงล่าง  เป็นคนอดทน  รักเพื่อน  มีมนุษยสัมพันธ์ดี

3.เลือกโครงรถ  หลังคารถ เป็นคนใจกว้างเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เหน็ดเหนื่อย   ทำแล้วค่อยคิด

4.เลือกเข็มขัด  กระจก  เบรก  กันชน   เป็นคนมีแผน  มองการณ์ไกล  แต่ไม่ค่อยกล้าตัดสินใจ ( โลเล )

5.เลือกคลัช  เกียร์  มีพิธีรีตอง   เป็นคนชอบทำงานที่มีระบบ   รู้จักที่ต่ำที่สูง  มีสัมมาคารวะ

6.เลือกประตูรถ   ถังน้ำม เป็นคนถือความคิดตนเองเป็นใหญ่  มีความภาคภูมิใจในตนเอง

7. เลือกหม้อน้ำ   พัดลม   เป็นคนรู้จักประนีประนอม ชอบช่วยเหลือผู้อื่น ใจบุญ

8. เลือกสายไฟเข็มไมล์คันเร่ง  เป็นคนคล่องแคล่ว ใจร้อน แต่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าดี

บุคลิกภาพภายใน

1. ความเชื่อมั่นในตนเอง     2. ความกระตือรือร้น       3. ความรับผิดชอบ                 4. ความคิดริเริ่ม  5. ปฏิภาณไหวพริบ  6. ความรอบรู้   7. ความจริงใจ            

8. ความจำ      9. อารมณ์ขัน  

บุคลิกภาพในการใช้ไมโครโฟน

1. อย่าเลื่อนหรือปรับไมโครโฟนโดยไม่ปิด 2. ปรับระดับไมโครโฟนให้ตรงกับปากของผู้พูด 3. ควรห่างจากปากประมาณ 4 - 6 นิ้ว       4. อย่าก้มตัวหรือเชิดหน้าหาไมโครโฟน 

5. ทำความคุ้นเคยกับไมโครโฟน  6. อย่าเลื่อนไมโครโฟน เข้าหรือออกตัว  7.อย่า!ตะโกน เคาะ ทำเสียงจุ๊ จุ๊หรือถามได้ยินไหม 8.ขณะพูดไม่ควรหันหน้าไปทางอื่น

9. ถ้าจำเป็นต้องเดินไปอธิบาย ต้องถือไมโครโฟน

หัวข้อบทฝึกพูดแนะนำตนเอง

ชื่อ..................นามสกุล.......................

สถานที่ทำงาน...................ตำแหน่ง/หน้าที่..................

แรงบันดาลใจที่เข้ารับการอบรม....................................

คติประจำใจ............................................................

ภูมิลำเนาเดิม...........................................................

ศิลปะการพูด

ภาษาที่มนุษย์ใช้สื่อความหมาย มี  2 ภาษา      

1.อวัจนภาษา (ท่าทาง สัญลักษณ์)    

2.วัจนภาษา(การพูด)

ความสำคัญของการพูด

1.เป็นการถ่ายทอดความรู้สึก  ความคิด  2.เป็นเครื่องมือสื่อสารที่มีอานุภาพที่สุด

3.เป็นสัญลักษณ์แห่งความเข้าใจ       4.เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์

วัจนภาษาโดยการการพูด

หลักการพูด

1.  หาจุดมุ่งหมาย     2.  วิเคราะห์ผู้ฟังและโอกาส   3จำกัดขอบเขตของเรื่อง          4.  รวบรวมเนื้อหา     5.  กำหนดโครงเรื่อง  - 

คำนำ 10 % เนื้อเรื่อง  80 %   บทสรุป  10  % 6.การเตรียมวิธีใช้ภาษา

7.  ฝึกพูด

บันได  13  ขั้น สู่ความสำเร็จ                               

1.  เตรียมให้พร้อม         2.  ซักซ้อมให้ดี    3.  ท่าทีให้สง่า  4. หน้าตาให้สุขุม       5.  ทักที่ประชุมไม่วกวน  6.  เริ่มต้นให้โน้มน้าว 

7.เรื่องราวให้กระชับ  8.  ตาจับที่ผู้ฟัง   9.เสียงดังแต่พอดี  10.  อย่าให้มี  เอ้อ อ้า 

11.ดูเวลาให้พอครบ 12.  สรุปจบให้จับใจ 13. ยิ้มแย้มแจ่มใส ตลอดการพูด

ความสำคัญของการทักที่ประชุม

1.เป็นมารยาทอันดีงาม            2.เป็นการให้เกียรติผู้ฟัง                                         3.เป็นการสร้างความคุ้นเคย     4.เป็นการลดความประหม่าเคอะเขิน

ข้อพึงหลีกเลี่ยงในการขึ้นต้น อย่าออกตัว อย่าถ่อมตัว อย่าขออภัย อย่าอ้อมค้อม

การทักที่ประชุมที่ดี รวบรัด  ตรงประเด็น เน้นอารมณ์  ชม(ชวน)ให้ติดตาม

ข้อพึ่งหลีกเลี่ยงในการสรุปจบ ขอจบ ขอยุติ  ขออภัย  ขอโทษ ไม่มากก็น้อยขอบคุณ

การเว้นวรรคในภาษาไทย  คำควบกล้ำ  คำที่ออกเสียงยาก

จะเลือกใครดี  ไม่รู้ และ ไม่ชี้  (โง่  และ ขี้เกียจ)  ไม่รู้ แต่ ชี้(โง่ แต่ ขยัน) รู้ แต่ ไม่ชี้ (ฉลาด แต่ ขี้เกียจ)   รู้ และ ชี้(ฉลาด และ ขยัน) (ควรเลือกรู้ และ ชี้)

พฤติกรรมของบุคลากร

แบ่งก๊กแบ่งเซ๊ท   มาร์เกตเคลื่อนที่  เสียดสีวิจารณ์   ฟุ้งงานไปทั่ว  แหย่ยั่วอารมณ์  

คุยขรมทั่วหล้า   นินทาเจ้านาย   ลาได้ทั้งปี

มนุษยสัมพันธ์

มนุษยสัมพันธ์ คือการอยู่ร่วมกัน กับบุคคลอื่นอย่างมีความรัก มีน้ำใจและไมตรี   ต่อกัน  การรู้จักใช้ศิลปะหรือเทคนิคในการเอาชนะ  ใจคน   เพื่อให้  สามารถอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น อย่างมีความสุข

มนุษยสัมพันธ์ดีมีประโยชน์ 

ราบรื่นในการคบหาสมาคม  ได้รับความร่วมมือในการทำงาน  เชื่อฟังรักใคร่ ซึ่งกันและกัน  เข้าใจต่อกัน  เกิดความสำเร็จในกิจการที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน

  เทคนิคการสร้างมนุษยสัมพันธ์ (การทำให้ผู้อื่นชื่นชอบ) 

 กฎ  9 ข้อ ของเดนคาร์เนกี้

1.  จงอย่าตำหนิ  ประณามพร่ำบ่น  หรือนินทา      

2.  จงยกย่องสรรเสริญผู้อื่นด้วยความสุจริตใจ

3.  จงกระตุ้นให้อีกฝ่ายหนึ่ง ประสบความสำเร็จ ตามที่เขาต้องการ  

 4.  จงเอาใจใส่ผู้อื่นอย่างแท้จริง

5.จงยิ้มแย้มแจ่มใสและอารมณ์ดี

6 . จงจำไว้ว่าชื่อบุคคลใดก็ตาม สำหรับ บุคคลนั้นเป็น สำเนียง ที่หวานที่สุด

และสำคัญที่สุด  ในภาษามนุษย์     

7.  จงเป็นนักฟังที่ดีและจงสนับสนุนให้อีกฝ่ายหนึ่งได้คุยถึงเรื่องของเขา   

8.  จงสนทนาในเรื่องที่อีกฝ่ายหนึ่ง สนใจ  

9.จงทำให้ผู้อื่นเกิดความรู้สึกเป็นคนสำคัญและจงทำด้วยความสุจริตใจ

บุคลิกภาพการพูดในที่ประชุมชน

1. ประธานในพิธี  2. งานแสดงความยินดี 3. งานอาลัย  4.  งานไว้อาลัย

5. งานอวยพร ในโอกาสต่างๆ  6. งานสดุดี  7. งานมอบรางวัลหรือตำแหน่ง

8.งานต้อนรับ – กล่าวขอบคุณ    9.  งานกล่าวแนะนำ ผู้บรรยาย , วิทยากร ฯลฯ

บทบาทหน้าที่ของพิธีกร

1.เป็นเจ้าของเวที รู้จักลำดับรายการรู้รายละเอียดของงาน 2. เป็นผู้ดำเนินรายการ   

3. เป็นผู้แก้ไขสถานการณ์  4. เป็นผู้ประสานงานและการบันเทิง

เทคนิคการเป็นพิธีกร

1. มีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ 2. มาถึงงานก่อนเวลา เพื่อดูความพร้อมของ เวที แสง สี เสียง 3.เปิดรายการด้วยความสดชื่น กระปรี้ กระเปร่า4.ดึงดูดความสนใจขึ้นสู่เวที

5.แก้ปัญหาและควบคุมสถานการณ์  6.ดำเนินรายการตั้งแต่ต้นจนจบ

บุคลิกภาพของพิธีกร

  1. ยิ้มแย้มแจ่มใส   

2.มีท่าทางอ่อนน้อมสำรวม     

3.พิถีพิถัน ถ้อยคำสำนวน       

4.รักษาอารมณ์

ข้อบกพร่องของพิธีกร

ตื่นเวที  ละทิ้งหน้าที่  มีสิ่งกวนใจ  ขาดความรู้เรื่องงาน  เตรียมการไม่พร้อม

**********************************************************

 

หมายเลขบันทึก: 390145เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2010 03:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:27 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขออนุญาต นำไปใช้ในงานนะคะ..เพื่อปรับปรุงบุคคลิกภาพของผู้บริหารหน่วยตัวแทนของบริษัทฯ ขอบคุณมาก แล้วจะแจ้งว่านำมาจากคุณ JJ นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท