ภารกิจในการพัฒนาทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์แนวใหม่ เพื่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันสู่สากล


"ทรัพยากรมนุษย์ คือ สินทรัพย์ที่ประเมินค่ามิได้ การพัฒนาทุนมนุษย์จะส่งผลให้เกิดทรัพย์สินทางปัญญา ทรัพย์สินทางสังคม และเครือข่ายที่มีคุณค่าต่อตัวทรัพย์ ต่อองค์กร ต่อสังคม ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาวอย่างยั่งยืนตลอดไป" สถาบันพัฒนาบุคลากรเชิงผลสัมฤทธิ์ เอชอาร์โปรลิ้งค์ ร่วมกับ สถาบันพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อสังคม (HCC)

 

 

 

ภารกิจในการพัฒนาทุนมนุษย์

เชิงกลยุทธ์แนวใหม่

ต้องพัฒนาสิ่งจูงใจ 

                     ทั้งในรูปตัวเงิน

                                   และไม่เป็นตัวเงิน 

 

               

 ครงการต่างๆที่อยู่ในรูปการจ่ายผลตอบแทนที่เป็นค่าจ้างเงินเดือน เช่น การจัดทำโครงสร้างค่าจ้างเงินเดือน การสำรวจค่าจ้างเงินเดือน สวัสดิการ ในองค์กรที่ประกอบธุรกิจเหมือนกัน และแต่งต่างกัน แยกประเภทกิจการ และขนาดของกิจการในแง่การเงินลงทุน  จำนวนพนักงาน สวัสดิการที่มีอยู่ในปัจจุบัน มีความทัดเทียมกับองค์กรต่างๆ หรือไม่ 

 เพื่อเป็นการประเมิน และเปรียบเทียบ อัตราค่าจ้างสวัสดิการ มุ่งเน้นสิ่งจูงใจ ตามหลักสากล และเป็นธรรมในด้านการบริหารค่าตอบแทนเป็นต้น นอกเหนือจากการพัฒนาสิ่งจูงใจที่เป็นค่าจ้างเงินเดือน และผลตอบแทนอื่นที่เป็นรูปตัวเงินเดือนค่าจ้างแล้วนั้น การส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาสิ่งจูงใจที่มีความสุขที่ไม่ใช้ในรูปตัวเงิน อาทิ การจัดองค์กรให้น่าอยู่ กิจกรรมสัมพันธ์ในองค์กร การจัดตั้งชมรมพนักงานเพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วม กิจกรรมกีฬาสัมพันธ์ ในโอกาสสำคัญๆ จัดทำโครงการกิจกรรมเทิดทูนแม่ –พ่อ ผู้มีพระคุณ กิจกรรมการรักษาประเพณีไทยวันสงกรานต์ กิจกรรมให้ความรู้และสาระบันเทิง กิจกรรมเมาไม่ขับ งานเลี้ยงสังสรรค์ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่  

การสร้างองค์กรแห่งความสุข

 ที่มุ่งเน้นการสร้างคน

ให้มีความสุขกับการทำงาน

ด้วย Happy Workplace

ความสุข 8 ประการ

ในดำเนินชีวิตด้วยความสุขที่ยั่งยืน

 Happy Body   สุขภาพดี

 Happy Heart  น้ำใจงาม

 Happy Relax  การผ่อนคลาย

Happy Brain    หาความรู้

 Happy Soul    การมีคุณธรรม

Happy Money  การที่สามารถจัดการรายรับ

รายจ่ายของตนเองได้

Happy Family   ครอบครัวดี มีความสุข

 Happy Society  ตอบแทนสู่สังคม

และแทนคุณแผ่นดิน

(แหล่งที่มา:แผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน

 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)ฯลฯ

 

 

        นักพัฒนาทุนมนุษย์

ต้องเป็นนักคิดวิเคราะห์

มองการณ์ไกล

รู้เท่าทันสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของสังคม

 เศรษฐกิจ

การเมือง

 สิ่งแวดล้อม

 เทคโนโลยี

 สำคัญคือรู้เท่าทันความต้องการของบุคลากรในองค์กร

 เพื่อเป็นฐานรากต่อความสำเร็จของงาน

 ที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพ

ประสิทธิผล

สินค้าบริการมีคุณภาพ

สร้างความประทับใจในการส่งมอบให้กับลูกค้า

 และมีส่วนร่วมกับสังคมในทุกด้าน

 สร้างสังคมองค์กรให้น่าอยู่

 เริ่มต้นจากการพัฒนาทุนมนุษย์

 

พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน 

 มุ่งเน้นการ

พัฒนาทรัพยากรมนุษย์

เป็นสำคัญ

 หากคนเกิดการพัฒนา

ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว

จะส่งผลต่อ

การบริหารจัดการองค์กร

ให้ประสบความสำเร็จตามมา

ในการพัฒนาขีดความสามารถ

ในการแข่งขันนี้

ไม่จำเป็นต้องศึกษาความรู้

เฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น

 

   การพัฒนาต้องมีแนวความคิดที่จะสร้างองค์การให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาความรู้ด้วยการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ เรียนรู้จากผู้บริหารผู้นำหรือ ศึกษาดูจากองค์กรที่ประสบความสำเร็จ ว่ามีแบบอย่างไร หรือกิจกรรมใดที่ทำให้ประสบความสำเร็จ กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงสู่ความสำเร็จ รวมทั้งศึกษาความผิดพลาด บกพร่องเพื่อนำมาประยุกต์ ปรับปรุงในสิ่งที่ล้มเหลว มาเป็นบทเรียน เพื่อไม่ดำเนินการให้เกิดความผิดพลาดต่อไป

 กรอบการพัฒนา

ขีดความสามารถ

ในการแข่งขัน

เน้นการพัฒนา

ในหลายมิติ

ทั้งในมิติการบริหารจัดการ

 การบริหารความเสี่ยง

บริหารการลงทุน

การเงินบัญชี การตลาด

 การขาย

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

 การผลิต การจัดส่ง

 ช่องทางการจัดจำหน่าย

  มิติยุทธศาสตร์การแข่งขัน

 การศึกษา

มิติทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

อย่างรวดเร็ว

 มิติด้านการเศรษฐกิจ

ต้องตามกระแสของโลกธุรกิจให้ทัน

 มิติด้านการเมือง

ที่เป็นตัวเร่งให้เกิดการขับเคลื่อน

และเปลี่ยนแปลง

ส่งผลกระทบต่อ

ปัจจัยการดำเนินธุรกิจ

 มิติด้านเทคโนโลยี 

 กฎหมาย ภาษี

การค้าระหว่างประเทศ

 ภาษา

ที่เป็นความทันสมัย

ที่ต้องเตรียมความพร้อม

รู้เท่าทันกลไก

แห่งการแข่งขัน

เพื่อการพัฒนาสู่ความยั่งยืน

 แข่งขันในระดับสากล

 นักพัฒนาทุนมนุษย์

ต้องรู้และปรับตัว

ให้รอบด้าน

เพื่อสอดรับ

ต่อการบริหารจัดการ

ที่สู่ความสำเร็จขององค์กร

 ตามวิสัยทัศน์

พันธกิจ

 เป้าประสงค์

 เข็มมุ่งที่ผู้บริหารองค์กรได้วางไว้

หมายเลขบันทึก: 389529เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2010 23:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท