ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพทางการศึกษา


ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพทางการศึกษา

(Transformational leadership in education)

                แม้ว่าภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพจะมาจากแนวคิดของเบิร์น (Burn, 1978) ที่สร้างขึ้นภายใต้บริบทที่มีใช่ทางการศึกษา (Non – education setting) ก็ตาม แต่ด้วยจุดเด่นของทฤษฎีที่มีมุมมองกว้างขวางกว่าและมีความยืดหยุ่นมากกว่าทฤษฎีภาวะผู้นำอื่น ๆ โดยเฉพาะมีความสอดคล้องกับยุคปัจจุบันทีมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างมากมายและรวดเร็วเกินที่จะคาดหมายได้ ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพจึงได้รับการกล่าวขานและนำไปประยุกต์ใช้ในบริษัทต่าง ๆ มากมาย มีงานวิจัยภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพกับการจัดการศึกษาเพิ่มขึ้น ในที่นี้จะกล่าวสรุปในส่วนที่เป็นผลวิจัยของไลธ์วูดและคณะ (Leithwood et al., 1999) เท่านั้น

                จากแนวคิดหลักของภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพดังที่กล่าวมาแล้ว ไลธ์วูดและคณะได้สรุปพฤติกรรมของผู้นำแบบนี้ออกเป็นกลุ่มได้ 3 มิติ แต่ละมิติแยกย่อยออกเป็นการกระทำ (Action oriented) ของผู้นำที่ใช้ในการบริหารโรงเรียน แล้วก่อให้เกิดผลิตผล (Outcomes) จากการกระทำเหล่านั้นอย่างไร สรุปได้ดังตารางต่อไปนี้

 

ตารางแสดงกรอบความคิดอย่างกว้างของภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพ (ปรับปรุงจากงานวิจัยของ Leithwood et al.,1999)

 

มิติพฤติกรรมผู้นำ (Dimension)

ผลิตผล (Outcomes) ที่คาดหมาย

ด้านการกำหนดทิศทาง (Direction setting)

  • การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม (Building a shared vision)
  • การสร้างฉันทามติด้านเป้าหมาย (Developing consensus about goal)
  • สร้างความคาดหวังสูงด้านการปฏิบัติงาน (Creating high performance expectations)

เกิดผู้นำโดยเสน่หาขึ้นในโรงเรียน

(Charismate school leader) ซึ่ง

-          ได้รับการยอมรับนับถือสูง

-          ได้รับความไว้วางใจ

-          เป็นสัญลักษณ์แห่งความสำเร็จ

ด้านการพัฒนาบุคลากร (Developing people)

  • ให้การสนับสนุนช่วยเหลือรายบุคคล
  • สร้างบรรยากาศกระตุ้นการใช้ปัญญา
  • แสดงตัวแบบอย่างของการปฏิบัติและค่านิยมสำคัญของโรงเรียน

 

-          คนเป็นศูนย์กลางขององค์การ

-       โครงสร้างและงานจะไร้ความหมายถ้าไม่ยึดความสำคัญของคน

ด้านการจัดระเบียบใหม่ของโรงเรียน (Redesigning the organization)

  • การสร้างวัฒนธรรมของโรงเรียน
  • ริเริ่มและรักษาไว้ซึ่งโครงสร้างและกระบวนการที่เน้นการตัดสินใจร่วมกัน
  • สร้างสานสัมพันธ์ของคนในองค์การและกับชุมชน

 

 

-    ความร่วมมือร่วมใจ (Collaboration) เป็นหัวใจของการดำเนินงานทั้งหลายของโรงเรียน

 

                นอกจากนี้ไลธ์วูดและคณะ (Leithwood et al., 1999) ยังสรุปว่าโรงเรียนในอนาคตจะต้องมีความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่น่าเชื่อถือไว้วางใจได้สูง (High reliability learning community) ที่ยึดวัตถุประสงค์หลักด้านการจัดการเรียนรู้ ผสมกับผลิตผล (Outcome) ที่เกิดขึ้นจากผู้สำเร็จการศึกษาของโรงเรียน ตัวอย่างที่เป็นความหมายขององค์การที่มีความน่าเชื่อถือไว้วางใจได้สูง (High reliability organization) ก็ได้แก่องค์การที่ควบคุมระบบการจราจรทางอากาศซึ่งจะเป็นต้องให้บรรลุเป้าหมายได้ตลอดเวลาและมีความถูกต้องแม่นยำปลอดภัยสูง ไม่มีการผิดพลาดในการขึ้นลงของเครื่องบินเกิดขึ้นแม้แต่ครั้งเดียว เมื่อประยุกต์แนวคิดดังกล่าวมาใช้กับปฏิรูปการศึกษา จะเห็นกรณีตัวอย่างว่า ถ้าผลการเรียนรู้ทักษะพื้นฐานของนักเรียนระดับประถมศึกษาล้มเหลว ก็จะส่งผลต่อเนื่องต่อคุณภาพการเรียนตลอดทั้งระบบการศึกษา คือ ระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษาแล้วส่งผลกระทบต่อความสามารถในการมีงานทำ ซึ่งส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจของประเทศในที่สุด จากผลที่ตามมาดังกล่าวไลธ์วูดและคณะ (Leithwood et al., 1999) สรุปว่า ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพจำเป็นต้องขยายกรอบความคิดให้กว้างและลึกมากยิ่งขึ้น ดังตารางดังต่อไปนี้

 

มิติพฤติกรรมผู้นำ (Dimension)

ผลิตผล (Outcomes) ที่คาดหมาย

ด้านการแก้ปัญหา (Problem solving)

  • การเข้าใจปัญหา
  • การแก้ปัญหา

 

เกิดประสิทธิผล ดังนี้

-          สามารถแนะแนวทางแก้ปัญหา

-          สามารถแก้ปัญหาเชิงซับซ้อนได้อย่างต่อเนื่อง

-          สามารถแสวงหาความรู้เกี่ยวกับปัญหาร่วมกัน

-          สามารถมองย้อนกลับถึงกระบวนการแก้ปัญหา

ด้านสนับสนุนภาวะผู้นำของครู

(Fostering teacher leadership)

  • มีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในความเป็นผู้นำของครู

 

-          ภาวะผู้นำของครูใหญ่มีอิทธิพลกว่าภาวะผู้นำของคณะครูร่วมกัน

-          ภาวะผู้นำของครูใหญ่มีความสำคัญมากต่อการปรับปรุงแผนงาน โครงสร้างโรงเรียนและ  องค์การ พันธกิจ โรงเรียนและวัฒนธรรมของโรงเรียน

-          สามารถคาดหมายได้ชัดเจนถึงความแตกต่างของวิธีการใช้ภาวะผู้นำของครูใหญ่และครูในแง่รูปแบบและการมีผลที่กระทบต่อโรงเรียน

ด้านทำให้ครูผูกพันต่อการเปลี่ยนแปลง

(Building teacher’ commitment to change)

  • เป้าหมายส่วนตัว
  • ความเชื่อในขีดความสามารถ
  • ความเชื่อในบริบทแวดล้อม
  • มีกระบวนการกระตุ้นด้านอารมณ์

สิ่งต่อไปนี้มีอิทธิพลให้ความผูกพันของครูสูงขึ้น

 

-          การกำหนดทิศทางของผู้นำ

-          การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม

-          การสร้างฉันทามติต่อเป้าหมายของโรงเรียน

-          การแสดงความคาดหวังของการปฏิบัติงานสูง

 

 

มิติพฤติกรรมผู้นำ (Dimension)

ผลิตผล (Outcomes) ที่คาดหมาย

ด้านการสร้างเงื่อนไขให้ครูงอกงามทางความรู้และทักษะวิชาชีพ (Creating the conditions for growth in teachers’ professional knowledge and skill)

  • พัฒนาขีดความสามารถของครูรายบุคคล

-          ความเป็นสัญลักษณ์ (Symbolic) ซึ่งเป็นจุดเด่นอย่างหนึ่งของภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพนั้น ยังไม่พบว่ามีผลโดยตรงต่อการปรับปรุงของโรงเรียนแต่อย่างใด โดยครูมองเรื่องนี้ว่าไม่ใช่ประเด็นที่เป็นสาระสำคัญ

-          การใช้เทคนิคการแลกเปลี่ยน (Transaction) เพื่อเป็นเครื่องมือจูงใจการทำงานของครู จึงยังมีความจำเป็นต้องใช้เพื่อสนับสนุนความเป็น  ผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพอยู่

ด้านภาวะผู้นำสำหรับองค์การแห่งการเรียนรู้

(Leadership for learning organization)

  • การเรียนรู้เป็นทีม (Team learning)
  • การเรียนรู้ทั้งโรงเรียน (Whole school learning)

-          ภาวะผู้นำส่งผลอย่างสำคัญต่อการสร้างบรรยากาศและเงื่อนไขของทั้งการเรียนรู้เป็นทีม และการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน

-          ผู้นำสามารถเป็นทั้งผู้สร้างโอกาสและเป็นผู้กำหนดวิธีการที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น โดยผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การกำหนดพันธกิจ (Mission) วัฒนธรรม (Culture) โครงสร้างและทรัพยากร (Structure and resources)

ด้านการรักษาดุลยภาพเชิงอารมณ์

(Maintaining the emotional balance)

  • ช่วยป้องกันการเกิดภาวะเครียด (Strss) และภาวะไฟหมดเชื้อ (Burnout) ของครู

 

-          ภาวะผู้นำเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถเป็นทั้งผู้สร้างภาวะไฟหมดเชื้อขึ้น และเป็นผู้บรรเทาภาวะดังกล่าวให้แก่ครู

-          ภาวะผู้นำส่งผลกระทบทางอ้อมต่อภาวะไฟหมดเชื้อของครูโดยผ่านองค์ประกอบต่าง ๆ ขององค์การภายใต้การใช้ภาวะผู้นำของ        ครูใหญ่

-           

คำสำคัญ (Tags): #ภาวะผู้นำ3
หมายเลขบันทึก: 389346เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2010 10:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 14:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท