ส่งวิจัย 3 เรื่อง


งานวิจัย

สรุปสาระสำคัญของการวิจัย 1

ชื่อเรื่อง  การศึกษาและการแก้ปัญหานักเรียนโรงเรียนศึกษานารีชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 ห้อง 6   กลุ่ม  ก.

               โดยใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ผู้วิจัย     นางทองสุข  ทับเจริญ 

ปีที่วิจัย  2548 

วัตถุประสงค์  1. เพื่อศึกษาสถานภาพส่วนตัวด้านต่างๆ ของนักเรียนโรงเรียนศึกษานารี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

                          ห้อง 6  กลุ่ม  ก.

                         2.  เพื่อศึกษาผลการแก้ปัญหานักเรียน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  ห้อง  6  กลุ่ม  ก.

วิธีวิจัย   1.  ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 6 กลุ่ม ก.

                   จำนวน 29  คน 

                2.  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

                   2.1  แบบสำรวจสถานภาพส่วนตัวของนักเรียนด้านต่าง ๆ  (ระเบียนสะสม)

                     2.2  แบบประเมินสุขภาพจิตและพฤติกรรมนักเรียน  (SDQ)

                    2.3  แบบบันทึกสถิตินักเรียนจำแนกตามกลุ่มการช่วยเหลือ

                     2.4  แบบรายงานผลการช่วยเหลือนักเรียน

                3.  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

                   3.1  คู่มือดูแลช่วยเหลือนักเรียน

                     3.2  วิธีการแก้ปัญหาและกระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

                4.  การสร้างเครื่องมือวิจัย

                     ผู้วิจัยใช้เครื่องมือในการวิจัยซึ่งสร้างโดยกรมสุขภาพจิตและงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

                  โรงเรียนศึกษานารี

                5.  การเก็บรวบรวมข้อมูล

                     5.1  ผู้วิจัยให้นักเรียนกรอกข้อมูลสถานภาพส่วนตัวในระเบียนสะสม

                     5.2  แจกแบบ  SDQ  ให้นักเรียนประเมินในห้องเรียนและให้ผู้ปกครองประเมินในวัน ประชุม

                          ผู้ปกครองและผู้วิจัยเป็นผู้ประเมิน

                6.  การวิเคราะห์ข้อมูล  ผู้วิจัยดำเนินการดังนี้

                   6.1  นำระเบียนสะสมมาวิเคราะห์รายด้าน  โดยใช้ค่าความถี่และร้อยละ

                     6.2  ข้อมูลด้านสุขภาพจิตที่วัดได้จาก  SDQ  นำมาตรวจให้คะแนนและแปลผลตามที่

                          กรมสุขภาพจิตกำหนด  เป็น  3  กลุ่ม   คือ  กลุ่มปกติ  กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มมีปัญหา

                     6.3  การรายงานผลการแก้ปัญหานักเรียนเขียนรายงานในเชิงบรรยายผลการดำเนินการ

 

 

 

 

ผลการวิจัยพบว่า

 

จากการศึกษาข้อมูลทั่วไปของนักเรียนด้านต่าง ๆ  เนื่องจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 6  ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนค่อนข้างดีสอดคล้องกับการศึกษาที่พบว่า  นักเรียนส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มปกติ  มีเพียงเล็กน้อยที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือมีปัญหา  กลุ่มที่เสี่ยงเป็นการเสี่ยงด้านการเรียนร้อยละ  24.3  ซึ่งภายหลังการแก้ปัญหานักเรียนกลุ่มนี้ได้รับความช่วยเหลือดูแลจากที่ปรึกษาสามารถช่วยเหลือได้สอบผ่านทุกรายวิชา  สำหรับกลุ่มเสี่ยงด้านเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่โรงเรียนแก้ไขไม่ได้  แต่พอช่วยเหลือได้คือ  ให้ทุนการศึกษากับนักเรียน    สำหรับกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพ  ครูที่ปรึกษาได้พูดคุยกับผู้ปกครองและครูพยาบาล  พร้อมทั้งให้คำแนะนำวิธีปฏิบัติเรื่องลาโรงเรียนเมื่อต้องไปพบแพทย์และต้องลาโรงเรียนหรือต้องมาโรงเรียนสาย 

------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

สรุปสาระสำคัญของการวิจัย 2

ชื่อเรื่อง  การพัฒนาทักษะในด้านการอ่าน  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  3 – 4

ผู้วิจัย     นางสิริยารัตน์  สมพมิตร

ปีที่วิจัย  2552

วัตถุประสงค์   เพื่อเป็นการพัฒนาทักษะในด้านการอ่าน  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  3 - 4  ด้วยวิธีการ

                         ประเมินที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

วิธีวิจัย   1.  ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 4 

                   จำนวน   3  คน  ของโรงเรียนวังไผ่  ในภาคเรียนที่  1   ปีการศึกษา  2552               

2.   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

                   2.1  เครื่องมือที่ใช้ในการสอนหมายถึง  สื่อ  วัสดุ  อุปกรณ์

                 2.2  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกประจำสัปดาห์ของครู                แบบตารางดำเนินการสอนของครู   แบบทดสอบแบบฝึกอ่านสะกดคำ แบบตารางคะแนน

                        ในการอ่านสะกดคำของนักเรียนแต่ละคน

                3.  การเก็บรวบรวมข้อมูล

                     การกำหนดระยะเวลาทำการวิจัย  ระยะเวลาที่ทำการวิจัยทั้งหมด  18  สัปดาห์  สัปดาห์ละ  2  ครั้ง  รวมทั้งหมด  36  ครั้ง  โดยผู้วิจัยกำหนดให้นักเรียนอ่านสะกดคำในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย  ในแต่ละครั้ง  ครูก็จะบันทึกหลังการอ่านสะกดคำ  อ่านเนื้อเรื่องในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย  ลงในตารางบันทึกเพื่อความก้าวหน้าของตัวนักเรียน

4.  การวิเคราะห์ข้อมูล  ผู้วิจัยดำเนินการดังนี้

                   4.1  พฤติกรรมการเรียนจากแบบสังเกตซึ่งผู้วิจัยบันทึกในเครื่องมือ  การวิเคราะห์ตอนนี้  ผู้วิจัยได้

                           นำแบบตารางการบันทึกพฤติกรรมของครูที่จดบันทึกไว้มาสังเคราะห์สรุปเป็นจำนวน 18 ครั้ง

                          โดยได้ทำเป็นตารางการบันทึก 

      4.2   ผลการเรียน การวิเคราะห์ตอนนี้  ผู้วิจัยได้นำคะแนนในการอ่านสะกดคำที่ประสมด้วยสระ

                           ต่างๆ  คะแนนจากแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน  

ผลการวิจัยพบว่า

จากผลในการวิจัยในเรื่องการพัฒนาทักษะในด้านการอ่านของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 4  ซึ่งมีจำนวนนักเรียน 3 คน  พบว่ามีปัญหาในด้านทักษะการอ่านสะกดคำ  ผู้วิจัยจึงได้ทดสอบโดยใช้แบบทดสอบการอ่านสะกดคำที่ประสมสระต่างๆ  ให้นักเรียนได้ฝึกอ่าน  ในขั้นแรกคือก่อนเรียน  นักเรียนสามารถอ่านคำที่กำหนดให้ได้อยู่ในเกณฑ์  49.44  ,  45.00,  48.88  คิดเป็นร้อยละ  47.77   ผลคือยังต้องมีการปรับปรุง  ดังนั้นครูจึงใช้แนวการสอนและเทคนิคต่างๆ  ในการที่จะให้นักเรียนมีความเข้าใจในทักษะในด้านการอ่านสะกดคำ  และได้ให้เพื่อนๆ  ในห้องได้มีส่วนร่วมในการแนะนำหลักและวิธีในการอ่านสะกดคำ  หลังจากนั้นครูได้ใช้ชุดแบบทดสอบชุดเดิม  ให้นักเรียนได้ฝึกทดลองอ่านสะกดคำอีกครั้งหนึ่ง  ผลปรากฎว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ในด้านการอ่านสะกดคำโดยคิดเป็นร้อยละ    76.66 ,  79.44 ,  75.55    แสดงว่านักเรียนมีการพัฒนาทักษะในด้านการอ่านที่ดีขึ้น

 

สรุปสาระสำคัญของการวิจัย 3

 

ชื่อเรื่อง          การศึกษาผลการใช้นิทานธรรมมะที่มีต่อพฤติกรรมความมีระเบียบวินัยของนักเรียน

        ชั้นประถมศึกษาปีที่  1/5 โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม

ชื่อผู้วิจัย        นางสาวลัดดา    ติ๊บอ้าย

ปีที่วิจัย          พ.ศ. 2551

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

  1. เพื่อสร้างนวัตกรรมหรือนิทานที่มีการสอดแทรกคติธรรมโดยเฉพาะด้านความมีระเบียบ

วินัย ให้ข้อคิดสอนใจ เพื่อนำมาปรับพฤติกรรมด้านความมีระเบียบวินัยของนักเรียน

  1. เพื่อศึกษาผลที่ได้รับจากการปรับพฤติกรรมความมีระเบียบวินัยของนักเรียนก่อนและหลังที่ได้รับฟังการเล่านิทาน

วิธีวิจัย  1.  ประชากร นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/5  โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม จำนวน 44 คน             

             2.  กลุ่มตัวอย่าง  นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/5 โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถมจำนวน 44 คน 

                 ได้กลุ่มตัวอย่าง โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง

             3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

3.1      นิทานธรรมมะที่ผู้วิจัยแต่งขึ้นมีการสอดแทรกคติธรรมโดยเฉพาะด้านระเบียบวินัย ให้ข้อคิดสอนใจเพื่อปรับพฤติกรรมด้านความมีระเบียบวินัย

3.2      แบบสำรวจบันทึกพฤติกรรมนักเรียน 5  ฉบับ  โดยใช้สังเกตพฤติกรรมก่อนและหลัง

  1. การรวบรวมข้อมูล

           การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองโดยใช้แบบสำรวจพฤติกรรมของนักเรียนปีการศึกษา 2550  ใช้เวลาศึกษาทั้งสิ้น ๑ ภาคเรียน คือตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน – 31 มกราคม 2551

  1. การวิเคราะห์ข้อมูล

                 จากการสำรวจพฤติกรรมความมีระเบียบวินัย พบว่านักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/5 มีพฤติกรรมด้านความมีระเบียบวินัยดีขึ้น

สรุปผลการวิจัย

  1. นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/5  โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม ชอบฟังนิทานที่ครูเล่า ร่วมอภิปราย เสนอข้อคิดได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถสรุปคติธรรมที่ได้จากการฟัง พร้อมทั้งยกตัวอย่างประสบการณ์ของตนประกอบได้ จำแนกพฤติกรรมที่มีระเบียบวินัยและบอกข้อดีของการนำไปประพฤติตน
  2. นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/5  โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถมมีการปรับพฤติกรรมในชั้นเรียนของตนให้ดีขึ้นโดย ไม่พูดเสียงดังเกินไป ไม่ลุกจากที่นั่งโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ตีเพื่อน ไม่วิ่งเล่น  สนใจเรียน ช่วยทำเวร เข้าแถวอย่างเป็นระเบียบ และปัจจุบันนักเรียนสามารถปฏิบัติตนอย่างมีระเบียบวินัย โดยไม่ต้องย้ำเตือนเป็นประจำเหมือนภาคเรียนที่ 1  จัดอุปกรณ์การเรียนได้อย่างเป็นระเบียบ ช่วยดูแลความสะอาดในห้องเรียน มาเข้าแถวเมื่อเพลงขึ้นได้อย่างรวดเร็วและมีระเบียบ ถึงแม้ยังไม่มีครูมาควบคุมดูแล
  3. นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการฟังนิทาน และมีความเข้าใจประโยชน์ของการมีระเบียบวินัย

สรุปได้ว่าการใช้นิทานธรรมมะมีผลต่อพฤติกรรมความมีระเบียบวินัยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่  1/5 โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม

 

           

 

           

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #วิจัย
หมายเลขบันทึก: 389027เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2010 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท