สู่ความเป็นพลเมือง


หากประสบความสำเร็จนอกจากจะแก้ไขปัญหาสภาวะไร้สัญชาติให้กับลูก ๆ ของชาวพม่าแล้ว ประเทศไทยยังเป็นต้นแบบของสังคมโลกในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับชาวพม่าที่ให้กำเนิดลูกยังประเทศต่าง ๆ เช่น สิงคโปร์ หรือญี่ปุ่นอีกด้วย

          เมื่อวานนี้ (๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๓) ผมไปที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐, กรุงเทพ ฯ เพื่อยื่นหนังสือต่อประธานคณะอนุกรรมการคณะกรรมการด้านสิทธิและสถานะบุคคลของผู้ไร้สัญชาติ ไทยพลัดถิ่น ผู้อพยพ และชนพื้นเมือง ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรื่อง "ขอให้มีการดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ปัญหาเด็กไร้สัญชาติที่เกิดในประเทศไทย"

          ผมจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันเริ่มต้นทำงานอย่างเป็นทางการสำหรับตัวผมเองเกี่ยวกับสภาวะเด็กไร้สัญชาติที่เกิดในประเทศไทย ด้วยความตระหนักว่ามนุษย์นอกจากจะไม่ต้องไร้รัฐแล้ว ควรมีสัญชาติเพื่อเป็นพลเมืองของประเทศใดประเทศหนึ่งอย่างสมบูรณ์

          เนื่องจากประเทศไทยไม่ให้สัญชาติโดยการเกิดแก่เด็กที่เกิดในภายหลัง ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ และเกิดจากพ่อหรือแม่ที่มีสัญชาติไทย หรือที่ไม่มีถิ่นถาวรอยู่ในประเทศ ได้ และเนื่องมาจากเด็กยังมิได้แจ้งการเกิดหรือมีชื่อในทะเบียนบ้านของประเทศต้นทางที่พ่อแม่จากมา ทำให้เด็กต้องตกอยู่ในสภาวะไร้สัญชาติ บางส่วนต้องตกอยู่ในสภาวะทั้งไร้รัฐ และไร้สัญชาติ และนับวันจะมีจำนวนเพิ่มเป็นเงาตามตัว

          หากเราสามารถทำให้เด็กที่เกิดในแผ่นดินไทยได้รับสัญชาติใดสัญชาติหนึ่งอย่างที่ควรจะเป็น ก็เท่ากับว่าเราปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ข้อ ๗.ในส่วนที่เกี่ยวกับสัญชาติได้อย่างสมบูรณ์

          แนวทางการทำงานของผมในเรื่องนี้ ต้องผ่านขั้นตอนการจดทะเบียนการเกิดอย่างสมบูรณ์เสียก่อน จึงนำสูติบัตร หรือหนังสือรับรองการเกิด ท.ร.๒๐/๑ หรือแม้แต่หนังสือรับรองการเกิดท.ร.๑/๑ หรือ ท.ร.๑ ตอนหน้า เป็นเอกสารสำคัญในการแจ้งการเกิดต่อสถานทูต หรือสถานกงศุล หรือแม้แต่บ้านเกิดเมืองนอนของพ่อแม่ เพื่อแจ้งเกิดและเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านของพ่อแม่ที่ต้นทาง

          โดยผมจะเริ่มจากพ่อแม่ที่เป็นแรงงานต่างด้าวชาวพม่าก่อน หากประสบความสำเร็จนอกจากจะแก้ไขปัญหาสภาวะไร้สัญชาติให้กับลูก ๆ ของชาวพม่าแล้ว ประเทศไทยยังเป็นต้นแบบของสังคมโลกในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับชาวพม่าที่ให้กำเนิดลูกยังประเทศต่าง ๆ เช่น สิงคโปร์ หรือญี่ปุ่นอีกด้วย

          หากทำจนทุกขั้นตอนแล้ว ก็มีบทสรุปสำหรับประเทศต่าง ๆ ในการดำเนินการต่อไป

         

         

หมายเลขบันทึก: 388775เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2010 14:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:04 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท