fire02
อนุศิษฐ์ เจริญปิยรัตน์

สายธาร 2


การดับเพลิง  โดยหลักการแล้วเราจะมุ่งไปที่การขจัดองค์ประกอบของไฟออกไปเป็นส่วน ๆ   หรือขจัดออกไปทั้งหมดให้พร้อมกัน   แต่วิธีการผจญเพลิงนั้นต้องใช้ความรู้  ประสบการณ์  เครื่องมือ เครื่องใช้  วัสดุเคมีดับเพลิง  รวมทั้งกำลังคนที่ได้รับการฝึกมาแล้วเป็นอย่างดีเข้าผจญเพลิงให้ถึงฐานที่เกิดเพลิงไหม้หรือล้อมไฟเอาไว้แล้วดับให้สิ้นซากไป   ฉะนั้น  วิธีการดับเพลิงโดยทั่วไปเราแบ่งออกเป็น  4  วิธี

   

1. การกำจัดเชื้อเพลิง  ทำได้โดยการนำเชื้อเพลิงออกไปจากบริเวณเกิดอัคคีภัยและสำหรับกรณีขนถ่ายเอา เชื้อเพลิงออกไปไม่ได้  ควรใช้วิธีนำสารอื่น ๆ  มาเคลือบผิวของเชื้อเพลิงเอาไว้  เช่น  การใช้ผงเคมีโฟม  น้ำละลายด้วยผงซักฟอก  ซึ่งเมื่อฉีดลงบนผิววัสดุแล้วจะปกคลุมอยู่นานตราบเท่าที่น้ำหรือสารเคมีอื่นๆ  ที่ผสมในน้ำยังไม่สลายตัว

 2. การกำจัดออกซิเจน  โดยการปิดกั้นออกซิเจนไม่ให้ไปรวมตัวกับไอของเชื้อเพลิง  เนื่องจากออกซิเจนเป็น องค์ประกอบหนึ่งของไฟ  วิธีการกำจัดออกซิเจนมีหลายวิธี  เช่น  ฉีดน้ำหรือสาร-ปกคลุมอื่นๆ  ไปคลุมผิวเชื้อเพลิงหรือฉีดแก๊สเฉื่อย  เช่น  ไนโตรเจน  หรือ   คาร์บอนไดออกไซด์ไปปกคลุมบริเวณเพลิงไหม้ทำให้จำนวนออกซิเจนในอากาศมีปริมาณต่ำลง  จนไม่มีการสันดาปอีกต่อไป

                        โดยทั่วไปแล้วเชื้อเพลิงจะถูกล้อมด้วยออกซิเจนประมาณ  21 %  ซึ่งเกินพอสำหรับการเผาไหม้เพราะไฟต้องการ   เพียง  16  %   แต่ถ้าหากเราสามารถทำให้ออกซิเจนลดจำนวนลงไปได้ก็ไม่ได้หมายความว่าเราสามารถดับไฟ    ได้เลยทีเดียวหากออกซิเจนน้อยลง  ไฟก็อาจยังคงไหม้แบบคุได้  (ไม่มีเปลว)  เช่น  ไฟไหม้ในตู้เก็บของในลักษณะคุ  เมื่อ เปิดฝาตู้ออกไฟก็จะลุกทันที  ทั้งนี้เพราะออกซิเจนจากภายนอกเข้าไปช่วยในการเผาไหม้อย่างเพียงพอ

 

3.   การลดอุณหภูมิ  (ลดความร้อน)  เมื่อทำให้อุณหภูมิของเชื้อเพลิงต่ำลงไปกว่า  จุดวาบไฟ  แม้จะมี เชื้อเพลิงและออกซิเจนผสมกันอยู่ก็ไม่เกิดการสันดาป   เพลิงก็จะสงบลง  วิธีการลดอุณหภูมิหรือการลดความร้อน  เป็นวิธีที่ใช้กันแพร่หลายซึ่งจะใช้น้ำทำการดับไฟการดับโดยวิธีนี้จะทำให้เชื้อเพลิงเย็นตัวลง   เพื่อลดอัตราการกลายเป็นไอเพื่อป้องกันการระเบิด  เนื่องจาก  OVER  PRESSURE   หรือทำให้ความร้อนต่ำลง

 4. การขัดขวางปฏิกิริยาลูกโซ่  การเผาไหม้ที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง รวดเร็วและแรงขึ้นเรื่อยๆ  เกิดขึ้นเนื่องจากอนุมูลอิสระที่ถูกเหวี่ยงออกไป    แล้วกลับเข้าไปที่ฐานของไฟอย่างรวดเร็ว  ดังนั้น  จึงมีการทดลองหาสารเคมีที่สามารถขัดขวางการเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ของไฟ ซึ่งพบว่า   ฮาลอน  (HALON)   เมื่อฉีดใส่ไฟมันจะเข้าไปแทนที่อนุมูลอิสระอย่างรวดเร็ว  แต่ต้องระวังในการใช้เพราะอาจจะทำให้ขาด   อากาศหายใจได้   เนื่องจากฮาลอน  (HALON)  หนักกว่าอากาศ  จึงสามารถไล่อากาศออกไป   สารดังกล่าวได้แก่  ไฮโดรคาร์บอน   ประกอบกับฮาโลเจน (Halogented-Hydrocarbon)  ซึ่งสารฮาโลเจน ได้แก่  ไอโอดีน โบรมีน  คลอรีน  และฟลูออรีน  (เรียงตามลำดับความสามารถในการใช้งาน)  สารดับเพลิงประเภทนี้มีชื่อเรียกว่า  ฮาลอน  (HALON)  เช่น  HALON  1211 HALON 1301 แต่ปัจจุบันได้ถูกเลิกผลิตแล้ว โดยมีสารชนิดอื่นมาทดแทน เช่น FM-200

                ฉะนั้น  การดับไฟให้มีประสิทธิภาพ  จึงควรทราบประเภทของไฟที่เกิดจากสารเชื้อเพลิงต่างๆ  เพื่อที่จะสามารถใช้สารดับเพลิงได้อย่างถูกต้องและเพื่อความปลอดภัยของผู้เข้าไปดับไฟ

 

หมายเลขบันทึก: 388470เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2010 09:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทายกันค่ะ  และได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการการดับเพลิงที่ถูกวิธีด้วย
  • ขอบคุณสาระน่ารู้ที่นำมาแบ่งปันค่ะ
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท