รูปแบบการสร้างสุขภาพของชุมชน บนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง


รูปแบบการสร้างสุขภาพของชุมชน บนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และเสริมสร้างให้แก่นนำเครือข่าย อสม.มีทักษะ มีการจัดการระบบสุขภาพในชุมชน ซึ่งเป็นกลวิธีหนึ่งที่จะทำให้ชุมชนได้เรียนรู้สุขภาพของคนในชุมชน

               สวัสดีค่ะวันนี้มีเล่าสู้กันฟังเริ่มจากการทำงานก่อนได้เข้าสู่ระบบปฐมภูมินี้ได้อย่างไร  ก็ได้มีโอกาสได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาบุคลากรช่วยงานปฐมภูมิ รพสต.ในเขตอำเภอกระสัง  ในตำแหน่งนักพัฒนาสุขภาพชุมชน   โดยได้รับโจทย์หลัก ๆ  คือ  ทำอย่างไรให้ชุมชนมีสุขภาพดี  ซึ่งมีสัญญาในโครงการ 1  ปี ตลอดระยะเวลาที่ได้ทำงานนั้น  ได้มีดำเนินการเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนชุมชนหลายอย่าง  ขอยกเรื่องเล่ามา  1  เรื่องก็แล้วกัน  คือ  เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน  บนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง  มีรายละเอียดดังนี้

ในการดำเนินงานสร้างสุขภาพ  เป็นงานที่ทำได้ยากเนื่องจากประชาชนคนไทย  ส่วนใหญ่มีรายได้ไม่เพียงพอการใช้จ่าย  ประชาชนส่วนใหญ่จึงให้ความสำคัญกับการทำงานเพื่อหารายได้มาตอบสนองต่อความต้องการ  สร้างให้เกิดความเครียด  ครอบครัวแยกย้ายกันไปทำงาน  ทำให้ขาดความอบอุ่น  ขาดการ เอาใจใส่ดูแลซึ่งกันและกันในครอบครัว  และไม่ใส่ใจในการดูแลด้านสุขภาพที่ถูกต้อง  และจากสถานการณ์สุขภาพของประชากรวัยทำงาน อายุ 25-59 ปี มีโรคเรื้อรังหรือโรคประจำตัว ร้อยละ 17.3                           ซึ่งพบว่าวัยนี้มีวิถีชีวิตที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกายหรือออกกำลังกาย เป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคเบาหวาน (สมชาย ลี่ทองอินทร์, 2547) และด้านการบริโภคอาหาร วัยทำงานมีแนวโน้มที่จะรับประทานอาหารนอกบ้านเพิ่มขึ้น ทำให้พฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนเปลี่ยนไป นิยมบริโภคโปรตีนและไขมันสูง(กองสุขศึกษา, 2548และนิยมซื้ออาหารสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูป (จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ   2543))  ซึ่งส่งผลถึงภาวะการเกิดโรคเรื้อรังหลายชนิด เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน   ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุที่เกิดจากพฤติกรรมไม่ถูกต้องของประชาชน ก่อให้เกิดโรคไร้เชื้อเรื้อรัง ได้แก่   ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคของหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงโรคมะเร็ง ได้กลายเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญเป็นสาเหตุการเจ็บป่วยและตายอันดับต้นๆของประเทศ

การพัฒนาคุณภาพชีวิตสู่สุขภาวะที่เป็นสุข จำเป็นต้องมองให้กว้างครบทุกมิติที่ส่งผลทางกาย ทางใจ ทางสังคมและทางจิตวิญญาณซึ่งเชื่อมโยงกับมิติด้านเศรษฐกิจ  สังคม  สิ่งแวดล้อม  วิถีชีวิต การศึกษา การเมือง การปกครอง ซึ่งทุกมิติมีผลกระทบต่อสุขภาวะทั้งสิ้น ถ้าจะแก้ปัญหาสุขภาพ ต้องพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

ตำบลเมืองไผ่  เป็นตำบลหนึ่งที่มีปัญหาด้านสุขภาพหลายอย่าง  เช่น  โรคในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ       มีโรคความดันโลหิตสูง  โรคเบาหวาน โรคหัวใจ  ตามลำดับ  รวมทั้งมีพฤติกรรมการออกกำลังกายน้อย   สูบบุหรี่  ซึ่งที่ผ่านมาการแก้ปัญหาสุขภาพ  มักเกิดแบบระบบพึ่งพาและรัฐเป็นผู้จัดให้  ชุมชนขาดความตระหนัก  ขาดจิตสำนึกและการแสดงบทบาทในการดูแลตนเองในการสร้างสุขภาพไม่ถูกต้อง

ดังนั้นทางสถานีอนามัยบ้านเมืองไผ่ได้เห็นความสำคัญดังกล่าว   จึงได้จัดทำการพัฒนาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของชุมชนบนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในภาคีเครือข่ายอสม.      สถานีอนามัยบ้านเมืองไผ่ ตำบลเมืองไผ่  อำเภอกระสัง  จังหวัดบุรีรัมย์  ขึ้นเพื่อมุ่งหวังการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ  รูปแบบการสร้างสุขภาพของชุมชน บนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และเสริมสร้างให้แก่นนำเครือข่าย อสม.มีทักษะ  มีการจัดการระบบสุขภาพในชุมชน  ซึ่งเป็นกลวิธีหนึ่งที่จะทำให้ชุมชนได้เรียนรู้สุขภาพของคนในชุมชน  เริ่มต้นจากการสร้างผู้นำมีการเปลี่ยนแปลง  มีความเข้าใจในบทบาท  หน้าที่    และความรับผิดชอบของตนมีบทบาทในการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพของคนในครัวเรือน  รวมทั้งเป็นต้นแบบการดูแลสุขภาพของตนเอง  ครอบครัว และสังคม  ซึ่งจะเป็นองค์ความรู้ใหม่ในการนำไปเป็นกลไกให้ชุมชนนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพในระดับชุมชน             บนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง  ตามแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550 - 2554)       ซึ่งเน้น“คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา”ใช้พื้นที่เป็นฐานบูรณาการทุกภาคส่วนสร้างกระบวนการเรียนรู้สู่วิถีชุมชน  เพื่อการมีสุขภาพดีของชุมชน บนรากฐานเศรษฐกิจพอเพียงด้านสุขภาพ ตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน  และยังทำให้ลดปัญหาสุขภาพของคนในชุมชนตลอดจนลดอัตราป่วยตายในกลุ่มโรคไม่ติดต่อลงได้   เกิดการดูแลสุขภาพด้วยตนเองแบบยั่งยืน  ต่อไป                                                                                     

วัตถุประสงค์

1.เพื่อการพัฒนาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของชุมชน   บนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

2.เพื่อกำหนดรูปแบบกระบวนการพัฒนาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของชุมชน   บนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

3.เพื่อเสริมศักยภาพและพัฒนาความรู้แก่อสม.ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพบนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

 คำนิยามศัพท์

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ   หมายถึง  กระบวนพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนที่เกิดจากการรวมตัวของประชาชน บนพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจตามสภาพปัญหาแต่ละชุมชนและใช้กระบวนการกลุ่มในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามสภาพทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี

                การสร้างสุขภาพ บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง  หมายถึง การจัดการเรียนรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ. อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ โดยยึดหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 3 ประการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกัน

 พื้นที่เป้าหมาย  

คัดเลือกพื้นที่แบบเฉพาะเจาะจง (Purposive) ตำบลเมืองไผ่  อำเภอกระสัง  จังหวัดบุรีรัมย์                      7  หมู่บ้าน  ได้แก่  บ้านเมืองไผ่  บ้านเมืองไผ่ถาวร บ้านบุตาแพง  บ้านอโณทัย  บ้านคันรุ้ง  บ้านสก๊วน  บ้านสวาย 

 กลุ่มเป้าหมาย

1.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านทุกคน  ทั้ง  7  หมู่บ้านนำร่อง  จำนวน  67  คน

2.ขยายเครือข่ายมายังกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการ  หมู่  จำนวน  54  คน

 วิธีดำเนินงาน

1. ศึกษาความเป็นอยู่ของชุมชนเบื้องต้นโดยลงพื้นที่เก็บข้อมูล  ทั้ง  7  หมู่บ้าน

2. ประชุมชี้แจงแนวทางให้กับกลุ่ม อสม.การพัฒนาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของชุมชน   

บนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

3. จัดประชุมประจำเดือนแลกเปลี่ยนการเรียนรู้

4. ลงพื้นที่ติดตามผล

5. จัดทำเครื่องมือในการสัมภาษณ์เพื่อศึกษาสถานการณ์เบื้องต้น มี 2 ชุดคือ

                    - แนวทางการสัมภาษณ์  อสม.  

                    - แนวทางการสัมภาษณ์  กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการ 

 

ผลการดำเนินการ

1. บริบทของชุมชน   ด้านสังคม กึ่งเมืองกึ่งชนบท และเป็นสังคมแบบเครือญาติ  อาชีพเกษตรกรรม ฐานะทางเศรษฐกิจมีฐานะปานกลาง  ดำเนินชีวิตแบบประหยัดอดออม

2. ระบบสุขภาพของชุมชน    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการ  โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน จากพฤติกรรมเสี่ยงในการบริโภคอาหาร เช่น   บริโภคอาหารที่มีรสเค็มนำโดยมีการปรุงอาหารด้วยปลาร้า  กะปิ เกลือ น้ำปลาและผงชูรสในการประกอบอาหารทุกมื้อ และบางครอบครัวเน้นอาหารรสมัน และหวานจัดจากกะทิ

.3 พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ 

ด้านการออกกำลังกาย   อสม.และ กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการ  มีการออกกำลังกาย มีที่หลากหลายและทุกกลุ่มทุกวัยตามศักยภาพของแต่ละบุคคล  

ด้านอาหาร   อสม.และ กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการ มีการปลูกผักปลอดสารพิษไว้กินเอง  ทุกหลังคาเรือน   บ้านคันรู้ง  ม. 6  มีศูนย์การเรียนรู้เรื่องหมอดินและเกษตรอินทรีย์ในชุมชน  เพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้ใช้ปุ๋ยเกษตรอินทรีย์แทนการใช้สารเคมีและส่งเสริมให้กินผักปลอดสารพิษการปลูกผักสวนครัวไว้กิน  นอกจากนี้ยังมีการปลูกผักปลอดสารพิษไว้บริโภคและจำหน่ายให้กับชุมชนด้วยราคากันเอง  แจกบ้างขายบ้าง

ด้านอารมณ์

                พบว่า     อสม.และ กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการ  มีความสุขมากขึ้น  มีบริเวณที่ผ่อนคลายเครียดให้ตัวเอง หรือ อสม.และ กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการส่วนมากเรียกมุมนี้ว่า  มุมความสุข

 ระยะเวลาดำเนินการ        6   เดือน   ( ตั้งแต่วันที่  1  ธันวาคม  2552  -  30  พฤษภาคม  2553 )

 การนำไปใช้ประโยชน์

การนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน

-                   การไม่ฟุ่มเฟือย ประหยัดอดออม ไม่เป็นหนี้

-                   อาหาร เช่นการปลูกผักปลอดสารพิษไว้กินเอง  ทำให้ร่างกายแข็งแรง ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้แก่ครัวเรือน

-                   ออกกำลังกาย เลือกวิธีออกกำลังกายตามความเหมาะสมกับร่างกาย ออกกำลังกายสะสมจากการประกอบอาชีพ

-                   อารมณ์ ทำจิตใจให้เบิกบาน แจ่มใส ไม่เครียด ปล่อยวาง  “ โกรธคือโง่ โมโหคือบ้า”  มีศีลธรรม ครองศีล 5

 ข้อเสนอแนะ

-                   ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนมีการเรียนรู้เรื่องระบบการจัดการสุขภาพ ซึ่งเป็นรูปแบบการพัฒนาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของชุมชน ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

-                   ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนมีการพัฒนาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของชุมชน หรือประเด็นอื่นๆ ด้านสุขภาพ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

-    ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนมีการเรียนรู้เรื่องการพัฒนาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ    

     ตามสุขภาพของชุมชน เช่น ให้มีข้อมูลสถานการณ์ความเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อและผลจาก       

     การวิเคราะห์พฤติกรรมการกินอาหารของชุมชน เพื่อหาแนวทางแก้ไขด้วยชุมชนเอง

-  จัดตั้งเครือข่ายดูแลสุขภาพในชุมชน

 วิจัยที่ต่อเนื่อง

-                   ประเมินผลกระบวนการพัฒนาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของชุมชน บนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

-                   ศึกษาสภาวะพฤติกรรมสุขภาพของชุมชนภายใต้การพัฒนาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพบนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

-                   ความพึงพอใจเครือข่ายสุขภาพต่อการพัฒนาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสุขภาพของชุมชน บนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

หมายเลขบันทึก: 387666เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2010 11:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ได้มีโอกาสฟังจากปากน้องกุ้งแล้ว ต้องขอชมน้องกุ้งและทีมงาม ที่มีหัวใจอันตั้งมั่นที่จะพัฒนางาน

หากมีโอกาสจะได้ถอดบทเรียนที่ได้ฟังจากน้องกุ้งมาแลกเปลี่ยนกันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท