KM ที่รัก ตอนที่ 17 การเข้า(ให้)ถึงคลังความรู้


ความรู้อยู่แสนไกล
   

      อาทิตย์ที่แล้วดีใจมากเลยที่ได้สิทธิในการเข้าใช้ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ก้าวเข้าไปครั้งแรกตื่นเต้น มีหนังสือมากมีระบบการจัดการที่ดี เนื่องจากผมทำวิทยานิพนธ์ เกี่ยวกับนโยบาย ตามความคิดผมน่าจะมีงานวิจัยออกมามาก  แต่ผิดคาด ค้นหา อยู่ 2-3 วัน ปรากฏน้อยมาก ระบบเครือข่ายล้มบ่อย ผมเกิดความกังวลใจ อ.ธิติพล ให้กลับมาปรับปรุงที่มาและความสำคัญใหม่ ผมไม่สบายใจมาก พอกลับมาถึงบ้าน ปรึกษากับภรรยา ซึ่งเขากำลังเรียนปริญญาโทเหมือนกัน ในสาขาหลักสูตรและการสอนที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นสถาบันเก่าที่เขาเรียนตอนปริญญาตรี เขาแนะนำ  เราไปค้นที่ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยมหาสารคามดีไหม ที่ขามเรียง เปิดใหม่ มีหนังสือมากมาย แต่ยังกังวลว่าไกลมาก ระยะเกือบ 200 กิโลเมตร และมันก็แพง แต่พอนึกถึง อ.ชะอรสิน จาก ม.มหิดล ให้ข้อคิดว่า "เราต้องรักวิทยานิพนธ์ ความรู้ที่ไหนไกลแค่ไหนก็ต้องไปเอา"  การรวบรวมเอกสาร ควรอ่าน บทคัดย่อก่อนว่าเรื่องใดเกี่ยวข้องกับเรื่องของเรา จะนำวิธีการ หรือเทคนิคอะไรมาใช้  เมื่ออ่านแล้วให้เขียนประเด็นไว้หัวกระดาษแต่ละเรื่อง จะได้ไม่ต้องกลับมาอ่านอีก ถ้าต้องการข้อมูลเชิงลึกก็ เข้าไปค้นอ่านอีกที  ก็ไม่ผิดหวังเลยไปถึง มีหนังสือและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เรื่องนโยบายรัฐบาล เช่น

     1.นโยบายรัฐ บทบาทผู้นำท้องถิ่นต้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ศึกษากรณีจังหวัดนครศรีธรรมราช

     2.การเปลี่ยนแปลงทางสังคมกับการย้ายถิ่นในประเทศไทย : กรณีศึกษา อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

     3.ความคาดหวังของประชาชน จ.นครสวรรค์ ต่อพรรคการเมือง และนักการเมือง ภายใต้รัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่  พ.ศ. 2540

      4.พัฒนาการของกลุ่มระยะยาวและผลกระทบที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ชนบท กรณีของกลุ่มอำเภนาทวีจังหวัดยะลา

     5.ผลกระทบนโยบายเศรษฐกิจมหาภาค ที่มีผลต่อภาคการเกษตรของประเทศไทย

      6.ปฏิสัมพันธ์ ระหว่างรัฐกับการพึ่งตนเองของชุมชน ศึกษาเบี้ยกุดชุม จังหวัดยโสธร

      7.นโยบายของรัฐ กับการแก้ไขปัญหา กลุ่มผลประโยชน์: กรณีศึกษาสมัชชาคนจน

           สิ่งที่ได้จากการอ่าน บทคัดย่อ เช่น การแบ่งกลุ่มของประชาชนกลุ่มตัวอย่าง, การกำหนดพื้นที่ ,การอธิบายโครงสร้างทางสังคมและวิถีชีวิตที่มีผลต่อนโยบายรัฐ,  การค้นหาปัจจัยที่มีผลทำให้นโยบายสำหรับโครงการ สำเร็จและล้มเหลว ,การวิเคราะห์ประชากร ,การวิเคราะห์บทบาทของรัฐ กับการมีส่วนร่วมของชุมชน และอีกประเด็นที่น่าสนใจ น่าจะมีประโยชน์กับการเขียนและแนวทางการทำงานในพื้นที่ต่อไป 
หมายเลขบันทึก: 38764เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2006 11:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท