มาเรียน AI กัน.. ตอน .."..อาจารย์ครับ...อย่างนี้ใช่ไหมครับ..".


Appreciative Inquiry

ไม่กี่วันก่อน มีโอกาสคุยกับผู้บริหารระดับสูงรายหนึ่งที่สนใจ AI เคยเรียน AI และจะทำโครงการ AI...เขาบอกว่าเขามี idea ที่จะเอาของเสียจากกระบวนการผลิตไปทำสินค้าประเภทหนึ่ง (ติ๊ต่าง ว่าเป็นปุ๋ย)...

เขาเลยถามผมว่า "อาจารย์ครับอาจารย์ว่า Idea ผมเป็นไงบ้าง ใช้ได้ไหมครับ..."

ผมเลยบอกเขาว่า "ที่คุณทำน่าสนใจนะ แต่ว่าถ้าถามว่าใช่ AI หรือยัง ต้องตอบว่ายัง ที่คุณทำน่ะ เราเรียกว่า การคิดนอกกรอบ หรือ ความคิดสร้างสรรค์.."

ผมเลยเริ่มซักเขากลับ..โดยบอกว่าเรื่องนี้น่าจะพัฒนาเป็นโครงการ AI ได้ในบางมุม..ผมเลยถามเขาว่า "ก่อนที่จะได้ Idea นี้มา มันเกิดอะไรขึ้น อะไรที่เป็นจุดเปลี่ยน.."

เขานึกซักพักก็บอกว่า "..ผมได้ Idea มาจากเพื่อนร่วมงานที่เป็นผู้บริหารเหมือนกัน แต่อยู่คนละแผนก พวกเรานั่งติดกัน...เพื่อนเขาจะชอบเสนอแนวความคิดแปลกๆ...เขาก็รู้สึกว่าเรื่องนี้เข้าท่าดี..เลยจะเอาไปทำดู..ตอนนี้ถึงกับ vendor เข้ามาดูจนเริ่มทำอะไรบางอย่างไปแล้ว...

ผมเลยบอกเขาว่า "นี่ไง Discovery เห็นไหม..นี่คือกระบวนการก่อนการได้ idea ดีๆ ตัวคุณเองน่ะ..เนื่องจากนั่งไกล้กับคนที่ทำงานคนละแผนก เลยทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันโดยธรรมชาติ..." ลองคิดดูสิ..ถ้าคนในแผนกคุณได้มีโอกาสคุยกันคนต่างแผนก..ประมาณว่าได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างนี้ซัก 100 ครั้ง จะเกิดอะไรขึ้น...ผมว่าคงได้นวัตกรรมเพียบ.."

...........................................

ผมเลยยกตัวอย่างขอ Levi ที่แต่ก่อนใช้ระบบเถ้าแก่ ทำอะไรไม่เป็นระบบ ในโรงงาน Levi คุณอาจเจอวิศวกรจากอีกรัฐ คุยกับฝ่ายขายของอีกรัฐที่โรงงานของอีกรัฐอื่นๆ แบบมั่วไปหมด...ต่อมาเจ้าของรุ่นหลาน คิดว่านี่มันมั่วสิ้นดี ไม่มีประสิทธิภาพ ภายหลังก็เลยสร้างสำนักงานใหม่ ให้คนแยกกันเด็ดขาด ไม่ต้องมายุ่งกัน ปรากฏว่าไม่นาน เริ่มมีเสียงบ่น หนาหูขึ้นเรื่อยๆว่าทำไม Levi เริ่มขาดความคิดสร้างสรรค์...ผลิตภัณฑ์เริ่มไม่เป็นที่ถูกใจ ที่สุดผู้บริหารเฉลียวใจ...เลยสั่งให้ออกแบบตึกใหม่ ให้คนได้มีโอกาสเจอกัน และคุยกันโดยบังเอิญมากที่สุด...แล้วก็อย่างที่คาด.. Levi กลับมารุ่งโรจน์ด้วยความคิดสร้างสรรค์เหมือนเดิม..

อีกกรณีหนึ่งก็คือ..มีมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ผมจำชื่อไม่ได้...ตั้งมาไม่ยาวนานเท่า harvard แต่อาจารย์ที่นี่ได้ Nobel Prize โดยเฉลี่ยมากกว่ามหาวิทยาลัยดังๆ...ถ้าไปดูที่นี่คุณจะพบว่าการจัดระบบเขาไม่เหมือนที่อื่น...คุณอาจเจออาจารย์ชีวะวิทยา นั่งติดกับอาจารย์คณิตศาสตร์ ถัดไปเป็นด้านมนุษยวิทยา...ซึ่งเขาบอกว่าทำให้เกิดการผสมผสานแนวคิด ออกมาเป็นงานวิจัยที่ล้ำหน้าได้บ่อยๆ

................................

เพราะฉะนั้น.. Discovery นี้อาจกลายเป็น

Dream คือ คนในแผนกควรได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับแ ผนกอื่นๆบ้าง

Design อาจออกแบบกิจกรรม KM เดือนละครั้ง..ถ้าแรงกว่านี้หน่อย..ก็อาจปรับระบบการทำงานให้ไม่มีที่นั่งประจำเลย..คล้ายบริษัทบางแห่ง (เข้าใจว่าเป็น IBM เมืองไทย)..ที่ไม่มีโต๊ะประจำ...ใครมาก่อนก็นั่งเลย..แถมมีมุมนั่งกินกาแฟรอบๆ office ใ้ห้คนมีโอกาสคุยกัน..อย่างไม่เป็นทางการ...

Destiny เริ่มทำดู  แล้วใช้ AAR วิเคราะห์ เพื่อปรับเปลี่ยน

คุณล่ะ คิดอย่างไร

คำสำคัญ (Tags): #appreciative coaching#appreciative inquiry
หมายเลขบันทึก: 387340เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2010 09:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แม้ว่าจะมีความรู้แค่กระจิ๊ดริด ก็ขออนุญาตแชร์ด้วยคนนะคะ

ที่บริษัทมีบางแผนกเหมือนกันค่ะ เช่น Call Center ที่เราเคยจัดให้พนักงานไม่มีที่นั่งประจำ ใครมาก่อนก็ log-on เครื่องแล้วทำงานเลย แต่ไม่ work ค่ะ คิดว่าส่วนนึงเป็นเพราะ culture คนไทยเรื่อง "ความผูกพัน" ถ้ามีที่ของตัวเองจะวางภาพครอบครัว จัดมุมที่นั่งแบบที่ตัวเองชอบ หรืออาจเป็นเพราะงานหนัก คนไม่ค่อยมี personal life เลยต้องยกชีวิตส่วนตัว (บางส่วน) มาไว้ที่ทำงาน พอไม่มีที่นั่งประจำพนักงานจะรู้สึกว่าการทำงานมันคือหน้าที่ไม่ใช่ความสุข ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของชีวิต ในที่สุดตอนนี้กลับไปจัดให้ทุกคนมีที่ประจำเหมือนเดิม แต่ก็มีมุมที่ทุกคนจะได้มีปฏิสัมพันธ์กันได้เช่น Pantry ที่มีทุกชั้น มีครัวเล็กๆ หลายคนนำข้าวมาทานด้วยกันซึ่งดูเหมือนจะ work กว่า

เห็นด้วยค่ะว่าการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการเกิดขึ้นได้ทุกโอกาส แต่ส่วนมากเป็นแค่ creativity หรือความคิดในอากาศ (ซึ่งแทบไม่มีประโยชน์อะไรเลย) น้อยเหลือเกินที่จะออกมาเป็น Innovation และยิ่งน้อยลงไปอีกที่จะเป็น Initiative ส่วนตัวอยากศึกษาเรื่อง AI Process ให้เข้าใจมากๆ ค่ะ ตอนนี้รู้สึกว่าตัวเองสะเปะสะปะเหลือเกิน

อ้อ...อาจารย์สบายดีนะคะ

คุณนก ที่คุณทำแล้ว Work นี่คือเป็น AI แล้วครับ...ที่คุณไปทำใน Pantry น่ะ...

เพราะมันเหมาะกับองค์กรของคุณ..ครับ..

มันต้องทำเป็นวงจรครับ...แนะนำว่า ทำไปเลย แล้วทำ AI เพื่อ Reflection 4-D แรก ไปเรื่อยๆ สัก 8 วงจร ที่สุดพอสุดท้าย จะไม่เหมือน 4-D ตัวแรกครับ... เดี่ญวผมจะเขียนต่อเรื่องนี้ให้ครับ...

เพราะฉะนั้น ไม่แปลกที่คุณไม่เห็นภาพ ...ครับ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท