พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง


พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง

พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง

1.ความหมายของพรรคการเมือง (Political Party)  

           ตอบ   ความหมายของพรรคการเมืองมีอยู่หลายประการแต่เราจะยกมาแค่ 3 ประการ

1.เป็นกลุ่มบุคคลที่มีการจัดตั้งองค์กรร่วมกัน   2.มีอุดมการณ์ทางการเมืองร่วมกัน คือ สมาชิกส่วนใหญ่มีความเห็นในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในแนวทางกว้างๆคล้ายๆกัน 3ป.มีวัตถุประสงค์ให้ได้มาซึ่งอำนาจมหาชน และใช้อำนาจนั้นดำเนินการหรือบริหารประเทศให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้น ลักษณะประการนี้สำคัญยิ่งเพราะโดยธรรมชาติในสังคมอาจมีการรวมตัวกันของบุคคลที่มีความคิดเห็นคล้ายกันเข้าด้วยกัน หากแต่ถ้ากลุ่มดังกล่าวไม่ประสงค์จะเข้ามาบริหารประเทศแล้ว ย่อมไม่ใช่พรรคการเมือง อาจเป็นสหภาพแรงงาน สมาคม หรือมูลนิธิเท่านั้น โดยสรุป ความหมายของพรรคการเมือง คือ กลุ่มบุคคลที่มีการจัดตั้งองค์กรร่วมกันโดยมีอุดมการณ์ทางการเมืองเหมือนกัน โดยกลุ่มดังกล่าวมีวัตถุประสงค์จะยึดกุมอำนาจรัฐ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ เข้าเป็นรัฐบาลเพื่อดำเนินการตามอุดมการณ์ของตนให้สัมฤทธิ์ผล

 

 

 

  2.องค์ประกอบของพรรคการเมือง

            ตอบ   องค์ประกอบสำคัญที่มีส่วนเกื้อหนุนให้การดำเนินงานของพรรคการเมืองบรรลุเป้าหมายได้ ประกอบด้วยปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

1. คน ซึ่งก็คือ สมาชิกพรรค กรรมการบริหารพรรค รวมถึงหัวหน้าพรรคและบุคลากรอันเป็นเจ้าหน้าที่ประจำพรรค

2. สถานที่และอุปกรณ์ หมายถึง ที่ทำงานทั้งสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขา ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็น เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้สำนักงาน โต๊ะ เก้าอี้ พิมพ์ดีด คอมพิวเตอร์ โทรศัทพ์ โทรสาร เครื่องถ่ายเอกสาร และอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องใช้

3. การกำหนดและจัดแบ่งโครงสร้างที่สำคัญ เช่น ที่ประชุมใหญ่ ที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร สำนักงานเลขาธิการ ฝ่ายและแผนกต่าง ๆ เช่น ฝ่ายการเงิน การคลังและบัญชี ฝ่ายวิชาการและวิจัย ฝ่ายข้อมูลและสารสนเทศ ฯลฯ มีหน่วยปฏิบัติการ มีสำนักงานและกรรมการสาขาต่าง ๆ เป็นต้น

4. ความคิดความเชื่อหรืออุดมการณ์ร่วมกัน ซึ่งปรากฏอยู่ในข้อบังคับพรรคและนโยบายพรรค ซึ่งโดยหลักการจะเป็นสิ่งเชื่อมประสานบุคลากรในพรรคเข้าด้วยกัน

 

 

   2.1  ระบบของพรรคการเมือง      

           ตอบ แบ่งระบบพรรคการเมือง โดยดูจากจำนวนพรรคการเมืองได้ 4 ประเภท คือ   (1) ระบบพรรคการเมืองพรรคใหญ่ 2 พรรค    (2) ระบบหลายพรรค    (3) ระบบพรรคเดียวผูกขาด    (4) ระบบพรรคเด่นพรรคเดียว โดยมีรายละเอียดดังนี้


1.ระบบพรรคการเมืองพรรคใหญ่ 2 พรรค (Two-party system) ประเทศที่มีระบบพรรคการเมืองแบบพรรคใหญ่ 2 พรรคก็เช่น ประเทศอังกฤษ อเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และแคนาดา ในประเทศเหล่านี้มีพรรคการเมืองเกิน 2 พรรค แต่ ณ เวลาหนึ่ง ๆ นั้นจะมีพรรคใหญ่ ๆ ที่มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลอยู่เพียง 2 พรรคเท่านั้น ความเปลี่ยนแปลงของสังคมอาจจะทำให้เกิดพรรคใหม่ขึ้นมา และพรรคที่เคยเป็นพรรคใหญ่เคยตั้งรัฐบาลมาก่อนอาจจะกลายเป็นพรรคเล็ก ๆ แต่การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เกิดขึ้นน้อยมาก


2.ระบบหลายพรรค (Multi-Party System)
ประเทศที่มีระบบหลายพรรค ก็เช่น อิตาลี สวิส นอร์เวย์ สวิเดน ประเทศที่กล่าวมานี้จะมีพรรคการเมืองหลายพรรค ไม่มีพรรคใหญ่ที่มักจะได้ควบคุมอำนาจทางการเมืองเพียง 2 พรรคดังที่เป็นอยู่ในอังกฤษ หรือสหรัฐอเมริกา จึงต้องมีรัฐบาลที่เรียกว่า รัฐบาลผสม (Coalition Government) เวลามีการเลือกสมาชิกรัฐสภาจะไม่มีพรรคใดได้เสียงข้างมากเกินครึ่ง รัฐบาลซึ่งเป็นรัฐบาลผสมมักจะอยู่ในตำแหน่งไม่นาน ตัวอย่างก็เช่นประเทศอิตาลี ซึ่งรัฐบาลจะอยู่ในอำนาจโดยเฉลี่ยไม่ถึง 1 ปี แต่ละการเลือกตั้งจะไม่มีพรรคใดได้เสียงข้างมาก


3.ระบบพรรคเดียวผูกขาด (One-Party Monopoly System)
ประเทศที่มีระบบพรรคเดียวผูกขาดที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ก็คือ ประเทศที่ใช้ระบบคอมมิวนิสต์ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน คิวบา เกาหลีเหนือ เป็นต้น ในประเทศเหล่านี้ พรรคคอมมิวนิสต์ผูกขาดอำนาจทางการเมือง การเลือกตั้งอาจจะมีแต่พรรคคอมมิวนิสต์ จะเป็นพรรคเดียวที่ส่งผู้สมัครเข้าแข่งขัน

 
4.ระบบพรรคเด่นพรรคเดียว (One-Party Dominate System)
ประเทศที่มีระบบพรรคการเมืองแบบพรรคเด่นพรรคเดียว จะต่างจากแบบพรรคเดียวผูกขาดเพราะในระบบพรรคเด่นพรรคเดียวจะมีพรรคการเมืองหลายพรรค แต่มีพรรคใหญ่มากอยู่พรรคเดียว พรรคนี้จะได้เสียงเกินครึ่งจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทำให้พรรคเดียวได้ครองเสียงข้างมากในสภาตลอดเวลาหรือเกือบตลอดเวลา เช่น ประเทศสิงคโปร์ซึ่งก็คือพรรคมีเพิลแอคชั่น (People Action Party หรือ PAP) พรรค PAP ของสิงคโปร์เป็นพรรคที่ครองอำนาจการเมืองในสิงคโปร์มาตลอดทั้งแต่เป็นเอกราชจากอักฤษ เมื่อปี ค.ศ.1959 ในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง พรรค PAP ซึ่งหัวหน้าพรรคคนแรก คือ นายลีกวนยู จะชนะได้ที่นั่งเกือบจะทั้งหมด อย่างเช่นการเลือกตั้งในปี ค.ศ.1988 พรรค PAP ได้ที่นั่ง 80 ที่นั่งจากที่นั่งทั้งหมด 81 ที่นั่ง

 

2.2บทบาทและหน้าที่ของพรรคการเมือง     

       ตอบ  พรรคการเมืองมีบทบาทและหน้าที่ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้

                    1) วางนโยบายในการแก้ไขปัญหาของประเทศ และแถลงนโยบายเหล่านั้นให้ประชนรับทราบ เพื่อจะได้พิจารณาว่าควรจะสนับสนุนพรรคการเมืองนั้นๆหรือไม่ นโยบายของพรรคดังกล่าวสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนหรือไม่
                    2) พิจารณาคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรค ในระดับชาติและท้องถิ่น หรือ ในกรณีที่ได้เข้าไปเป็นรัฐบาล พรรคก็จะทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลเข้าไปทำหน้าที่ทางการเมืองในคณะรัฐบาล
                    3) ดำเนินการหาเสียงเลือกตั้ง โดยพยายามเข้าถึงประชาชน รับฟังความคิดของกลุ่มต่างๆในสังคม และทำการประสานประโยชน์กับกลุ่มต่างๆเหล่านั้น เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนมากที่สุด
                    4) นำนโยบายของพรรคที่ได้แถลงต่อประชาชน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ประชาชนสนับสนุนพรรคด้วยการเลือกตัวแทนที่มาจากพรรคของตนไปนั่งในรัฐสภา                     
                5) ให้การศึกษาและอบรมความรู้ทางการเมืองให้กับประชาชนโดยทั่วไปและสมาชิกพรรค ด้วยการให้ข้อมูลกับประชาชนเพื่อให้มีความรู้ทางการเมือง           
                   6) หน้าที่ในการควบคุมการทำงานของรัฐบาล เพราะว่านโยบายต่างๆของรัฐบาลก็ต้องคอยตรวจสอบดูว่า รัฐบาลได้ดำเนินงานตามนโยบายที่แถลงไว้หรือไม่ ซึ่งเราจะเห็นไดจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ลักษณะดังกล่าวเป็นการควบคุมนโยบายที่รัฐบาลได้แถลงการไว้กับรัฐสภา

                    ในประเทศประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองใหญ่ๆ และมีระบบพรรคการเมืองที่มั่นคง ประชาชนมักจะนิยมเลือกผู้สมัครที่สังกัดพรรคการเมืองมากกว่าผู้สมัครอิสระ ทั้งนี้เพราะ
                  1) พรรคการเมืองมีนโยบายที่แน่นอน และต้องผ่านการพิจาณาอย่างรอบคอบแล้ว
                  2) พรรคการเมืองสามารถบริหารประเทศได้ดีกว่า เพราะมีกำลังคนและความพร้อมมากกว่า
                  3) พรรคการเมืองสามารถควบคุมความประพฤติของสมาชิกพรรคได้ ผิดกับผู้สมัครอิสระที่ไม่มีใครควบคุมได้
                  4) พรรคการเมืองประกอบด้วยสมาชิกจำนวนมาก จึงสามารถรู้ความต้องการของประชาชนได้ดีกว่า และการทำงานก็ไม่ผิดพลาดมาก เนื่องจากผ่านการพิจารณาของคนหมู่มากแล้ว
                  พรรคการเมืองมีประโยชน์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยมาก เพราะปัญหาของประเทศในปัจจุบันเป็นปัญหาใหญ่ และมีความยุ่งยากเกินกว่าที่คนคนเดียวจะแก้ไขทั้งหมดได้ อย่างไรก็ตาม
พรรคการเมืองที่ดีจะต้องมีความรับผิดชอบต่อประชาชนและประเทศชาติ คำนึงถึงความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติและความสงบสุขของประชาชนโดยส่วนใหญ่

 

3.พรรคการเมืองไทย         

    ตอบ เป็นสถาบันการเมืองที่มีความสำคัญต่อกระบวนการทางเมืองในระบอบประชาธิปไตย โดยมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการดำเนินการทางการเมืองหลายประการ นับตั้งแต่การกำหนดนโยบายของพรรค การคัดสรรผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อไปเป็นตัวแทนของประชาชน การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง การจัดตั้งรัฐบาลเพื่อเข้ามาบริหารประเทศ การเป็นฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร นอกจากนี้ยังเผยแพร่อุดมการณ์และนโยบายของพรรค พร้อมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจทางการเมืองให้แก่ประชาชน และในปัจจุบันพรรคการเมืองได้มีการปรับบทบาทเพื่อให้ใกล้ชิดกับประชาชน และเชิญชวนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับพรรคการเมืองมากขึ้น ทั้งนี้เพราะพรรคการเมืองเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยให้การปกครองประเทศดำเนินไปในทิศทางที่ดีขึ้น

คำสำคัญ (Tags): #งานด่วน
หมายเลขบันทึก: 387294เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2010 22:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ก่อนหน้านี้ มีบางกลุ่มจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นมา เพื่อแสวงหาประโยชน์จากกองทุนพัฒนาการเมือง ดีที่ต่อมาได้มีแก้ไขกฎเกณฑ์ป้องกันจนผ่านปัญหานี้ไปได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท