อาเซียนและเมียนมา(พม่่า)จะก้าวไปทางไหน-อย่างไร


สำนักข่าว "ศูนย์แม่น้ำโขงศึกษา" ตีพิมพ์เรื่อง "พม่า: เรื่องที่ทุกคนจำเป็นต้องรู้", เรื่องนี้แปล-เรียบเรียง-ย่อจากหนังสือ 'Burma/Myanmar: What everyone needs to know' เขียนโดย ศ.เดวิด สไตน์เบิร์ก ศาสราจารย์ด้านเอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ สหรัฐฯ

ขอแนะนำให้อ่านต้นฉบับเรื่องนี้ที่นี่... ขอแนะนำให้อ่านเพื่อรู้ เพื่อความเข้าใจ เพื่อขยายมุมมอง-โลกทัศน์ และไม่จำเป็นต้องเืชื่อ (ขอเพียงให้เปิดใจอ่านก็พอ) > [ ศูนย์แม่น้ำโขงศึกษา ]

...

ถึงแม้คนจำนวนมากจะต่อต้านการเลือกตั้งในพม่า ทว่า... นี่ก็เป็นการเริ่มต้นที่ดี คล้ายกับการปฏิวัติเมจิที่เปลี่ยนรัฐทหาร (โชกุน-ซามูไร) ไปสู่รัฐนายทุนทหาร ซึ่งฝ่ายหนึ่งเป็นจักรพรรดิ อีกฝ่ายหนึ่งเป็นนายทุนทหาร (อดีตซามูไร)

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนผ่าน หรือดักแด้ (cocoon) ของประชาธิปไตยญี่ปุ่นที่ได้มาจากการแพ้สงครามในเวลาต่อมา

...

ดูเหมือนท่านอาจารย์คึกฤทธิ์ ปราโมชจะกล่าวไว้ว่า ประชาธิปไตย "ครึ่งใบ" ก็ยังดีกว่าเผด็จการ, ...

อย่างน้อยสายลมแห่งเสรีภาพก็พอจะพัดโบกมาเบาๆ ได้เป็นครั้งคราว ดีกว่าเดิมที่สายลมนั้นนิ่งไปนับสิบนับร้อยปี

...

ผู้เขียนอ่านเรื่องนี้แล้ว ทำให้ได้ไอเดียว่า ภาษาในอาเซียนน่าจะพัฒนาไป 3 รูปแบบอย่างนี้

...

(1). ภาษาอังกฤษจะมีอิทธิพลมากขึ้นในทุกประเทศ > ประเทศที่มีความได้เปรียบตรงนี้ คือ สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และพม่า

สิงคโปร์นั้นได้เปรียบชาติอื่นๆ ทั้งหมดในด้านภาษา เนื่องจากมีการส่งเสริมให้คนทุกคนพูดได้ 2-3 ภาษาขึ้นไปมานานแล้ว (อังกฤษ-จีน-มาเลย์ฯ)

...

ชาวพม่านั้นเดิมเก่งอังกฤษมาก, ทว่า... เด็กพม่ารุ่นใหม่ โดยเฉพาะนักศึกษามหาวิทยาลัยนั้น ไม่ใช่จะเก่งภาษาอังกฤษแบบรุ่นปู่ย่าตายาย หรือรุ่นพ่อแม่อีกต่อไป

ชาวพม่ารู้กันดีว่า เด็กในเมืองใหญ่และเมืองท่องเที่ยวเก่งภาษาอังกฤษ เพราะไปเรียนพิเศษ หรือไม่ก็คนรุ่นเก่า เช่น คุณปู่ คุณพ่อ ฯลฯ สอน

เด็กพม่านอกเมืองใหญ่พูดและฟังภาษาอังกฤษได้น้อยมาก

...

(2). ภาษาหลักที่โตขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่โดดเด่นเท่าภาษาอังกฤษ คงจะเป็นภาษาจีน ญี่ปุ่น เกาหลี

(3). ภาษาถิ่น (dialect) จะเล็กลงเรื่อยๆ เช่น ชาวมอญทั้งในพม่าและในไทยจะพูดภาษามอญได้น้อยลง ฯลฯ ยกเ้ว้นจะมีการส่งเสริมกันเป็นการใหญ่ ทั้งๆ ที่มอญเป็นบ่อเกิดแห่งอารยธรรมของอาเซียนเหนือ (North Asian - หรืออินโดจีน)

...

(4). ภาษาของประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่จะโตขึ้นในภูมิภาค ซึ่งเราอาจแบ่งอาเซียนออกเป็น 2 ส่วน (ไม่รวมฟิลิปปินส์) ได้แก่

  • (4.1). อาเซียนเหนือ 5 ประเทศได้แก่ พม่า-ลาว-เวียดนาม-กัมพูชา-ไทย > ต่อไปกลุ่มนี้มีประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ 2 ชาติได้แก่ เวียดนาม-ไทย
  • ภาษาเวียดนามจะแพร่กระจายไปในบางส่วนของกัมพูชา-ลาว, ส่วนภาษาไทยจะแพร่กระจายไปในบางส่วนของลาว-พม่า-กัมพูชา
  • 4.2. อาเซียนใต้ 6 ประเทศได้แก่ สิงคโปร์-อินโดนีเีซีย-มาเลเซีย-บรูไน-ติมอร์ตะวันออก, กลุ่มนี้มีประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ 3 ชาติได้แก่ สิงคโปร์-อินโดนีเซีย-มาเลเซีย
  • ภาษาถิ่นที่สื่อสารกันได้ทั่ว คือ มาเลย์-อินโดฯ ซึ่งปกติก็สื่อสารกันได้อยู่แล้ว

...

การมีภาษาถิ่นขนาดใหญ่ขึ้นจะส่งผลดีต่อการค้า-ลงทุน-ท่องเที่ยว-การศึกษามาก, ตัวอย่างเช่น ถ้าเพื่อนบ้านของไทยพูดไทยได้... โอกาสเข้ามาเรียนต่อในไทยจะเพิ่มขึ้นมาก, ...

การโฆษณาสินค้าและบริการก็ทำได้ง่าย เช่น ทำโฆษณาชุดเดียว หาลูกค้าได้ทั้งในประเทศ และเพื่อนบ้าน

...

ขณะเดียวกันก็ต้องระวังไม่ไปดูหมิ่น หรือกระทบศักดิ์ศรีเพื่อนบ้านด้วยจึงจะดี เช่น หนังสือพิมพ์ไทยชอบลงข่าวเพื่อนบ้านแต่ในด้านร้าย... เดี๋ยวปล้น เดี๋ยวฆ่า เดี๋ยวชิงทรัพย์ เดี๋ยวขโมย

ข่าวเหมาโหลทำนองนี้ทำให้มิตรภาพระหว่างประเทศแย่ลง การลงทุน-ท่องเที่ยว-การค้า-การศึกษาระหว่างประเทศก็พลอยแย่ไปด้วย

...

รัฐบาลไทยควรให้ทุนจัดทำบทเรียนภาษาไทย ทั้งที่เรียนจากภาษาอังกฤษ และประเทศเพื่อนบ้าน แล้วจำหน่ายราคาถูกทั้งในรูปแผ่น DVD และเปิดให้ดาวน์โหลดออนไลน์ เช่น นำขึ้น YouTube ฯลฯ และมีศูนย์ดาวน์โหลดในประเทศ

ทำคล้ายๆ กับที่สหราชอาณาจักรมี 'British Council' สอนภาษาอังกฤษ, จีนมีบทเรียนภาษาจีนฟรีออนไลน์ และประเทศอื่นๆ มีสถาบันการเรียนภาษา

...

ถ้าเราทำให้แรงงานต่างด้าว โดยเฉพาะพม่า พูด-ฟังภาษาไทยได้... การสื่อสารกันจะดีขึ้น โอกาสเข้าใจผิดหรือทะเลาะวิวาทกับนายจ้างจะลดลงไปอย่างมากมาย

ถ้านายจ้างคนไทยพูด-ฟังภาษาพม่าได้... การสื่อสารจะดีขึ้น และที่สำคัญ คือ ได้ใจ-ได้มิตรภาพ

...

เมื่อแรงงานเหล่านี้กลับประเทศก็อาจทำงานกับบริษัทไทยที่ไปลงทุนในพม่าได้

และที่สำคัญ คือ แรงงานเหล่านี้จะดู TV ไทยได้ ทำให้คุ้นเคยกับการโฆษณาสินค้า-บริการจากฝั่งไทยในระยะยาว ทำให้ไทยมีตลาด "ใหญ่" ขึ้นเรื่อยๆ

...

ประเทศไทยมีศักยภาพสูงมากในการส่งเสริมการศึกษาภาษาไทยในฐานะ "ภาษาหลัก" ของอาเซียนเหนือ

ตัวอย่างหนึ่งที่เรา่น่าทำ คือ หาทางให้ไทยเป็นฮับด้านการศึกษา (Education Hub) ให้ได้ โดยเฉพาะฮับการศึกษาทางการแพทย์ (Medical Education Hub)

...

ถ้าเรามีชั้นเรียนที่มีนักศึกษาต่างชาติปนกับนักศึกษาไทย เช่น ขอไทยสัก 1/2-2/3, นักศึกษาต่างชาติสัก 1/3-1/2 จะทำให้เด็กไทยรุ่นใหม่เก่งภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศอื่นๆ

คนต่างชาติอยากเ้ข้ามาเรียนพยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล หมอฟัน หมอ สาธารณสุข แพทย์แผนจีน เช่น ฝังเข็ม ฯลฯ ในไทยมาก และด้านวิศวกรรมก็น่าสนใจมากเช่นกัน

...

ถ้าเราส่งเสริมให้นักศึกษาต่างชาติเข้ามาเรียนในไทย... คนเหล่านี้จะทำให้เงินค่าเล่าเรียน ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าโดยสาร ค่าท่องเที่ยวหมุนเวียนในไทยคนละ 3-7 ปี (เฉลี่ย)

และอย่าลืมส่งเสริมให้คนไทยเรียนภาษาอังกฤษ หรือภาษาที่ 3 ให้มากด้วย เพราะถ้าทำได้... นั่นคือ โอกาสที่คนไทยจะแข่งขันกับนานาชาติได้ในระยะยาว

...

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ > [ แนะนำให้อ่าน "พม่า: เรื่องที่ทุกคนต้องรู้" ] & [ จริงไหม... ใครๆก็ไม่อยากเรียนพยาบาล ]

...

นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์

...

หมายเลขบันทึก: 387140เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2010 13:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท