ท้องถิ่นไทยสู่สากล


ก้าวพ้นข้อจำกัด มองไกลสู่สากล

ผนึกพลัง“ท้องถิ่นไทยสู่สากล”  ก้าวพ้นข้อจำกัด  กระทรวงต่างประเทศหนุนเชื่อมองค์กรสากล

เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2553  มูลนิธิการพัฒนาพื้นฐาน ร่วมกับ กระทรวงการต่างประเทศ  จัดประชุมปฎิบัติการองค์กรปกครองท้องถิ่น และสมัชชาชุมชน กทม. รวม  57 องค์กร   ที่ห้อง นราธิป กระทรวงการต่างประเทศ

ช่วงเช้า นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบรรยายสถานการณ์สากล ชี้ว่าประเทศไทยเผชิญปัญหาวิกฤตสากล (Global Challenges)  ถูกต่างประเทศเฝ้ามองเรื่อง ยาเสพติด  อาชญากรรม การละเมิดสิทธิมนุษยชน ฯลฯ   อุปสรรค คือ ระบบการเมืองและความบกพร่องของรัฐส่วนกลาง  กระทรวงการต่างประเทศจะร่วมมือกับชุมชนและองค์กรปกครองท้องถิ่นแก้ปัญหาที่ต้นทาง

Mr.Young Hoon Ahn ผู้เชี่ยวชาญเกาหลี สรุปว่าประเทศเกาหลีก้าวหน้าเพราะเอาจริงกับการปรามทุจริต และหน่วยงานรัฐโปร่งใส   รัฐบาลส่งเสริมชุมชน และท้องถิ่น   ดร.Rainer Adam จากเยอรมันนี สรุปว่า ประเทศเยอรมันกำลังอยู่ระหว่างพัฒนาประชาธิปไตย มีประสบการณ์แก้ปัญหาชุมนุมของประชาชน  ภาคประชาชนมีบทบาทมากขึ้นในแนวทาง Civic Participation  เยอรมันนีกำลังมุ่งมั่นสร้างสำนึกพลเมืองให้คนรุ่นใหม่

ส่วนประเทศฝรั่งเศส ที่ประเทศไทยใช้เป็นรูปแบบการปกครอง  Ms,Pauline   และ Ms. Margat  รายงานว่า ปรัชญาการปกครองของฝรั่งเศสคือ “ เป็นรัฐที่มีความเป็นเอกภาพ ด้วยแนวทางกระจายอำนาจ”   ประเทศฝรั่งเศสคล้ายกับไทยทั้งลักษณะภูมิศาสตร์และจำนวนประชากร  มีความก้าวหน้ากระจายอำนาจ  ส่งเสริมท้องถิ่นขนาดเล็กให้มีบทบาท  และกำลังปฎิรูปกระจายอำนาจระรอกสอง 

ผู้แทนองค์กรที่เข้าประชุมรายงานสถานการณ์ท้องถิ่น พบอุปสรรคร่วม คือ รัฐบาลกลางประเทศไทยยังไม่ส่งเสริมกระจายอำนาจ  ถูกส่วนกลางบีบรัดด้วยงบประมาณ ระเบียบคำสั่ง   งานหลายอย่างที่กำหนดให้กระจายอำนาจถูกดึงกลับ  องค์กรปกครองท้องถิ่นหลายแห่งสร้างนวัตกรรมแก้ปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นได้ดีเป็นแบบอย่าง  แต่ตัวอย่างที่ดียังไม่ได้รับการเผยแพร่ก่อผลสะเทือน

สมัชชาสภาองค์กรชุมชน กทม.แจ้งว่า ได้ร่วมกับสำนักงานปราบปรามทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ประกาศจัดตั้งอาสาสมัคร 5,000 คน ต้านทุจริตใน กทม. โดยจะถวายเป็นสักการะในโอกาสวัน 5 ธันวาคม ปีนี้

ที่ประชุมมีแนวความคิดตรงกันว่า  เพื่อก้าวพ้นข้อจำกัด จะมุ่งการพัฒนาท้องถิ่นในบริบทสากล  กำหนด 6 ประเด็นยุทธศาสตร์   6 เรื่อง  ได้แก่  1) การลดแย้งทางการเมือง  2) ความปลอดภัยจากอาชญากรรรมและยาเสพติด 3) ลดการทุจริตจากภาครัฐและเอกชน  4) ป้องกันการสุ่มเสียงจากการผลิตภาคเกษตร  5) การสร้างความสมดุลธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  6) การฟื้นฟูรักษาวัฒนธรรมอันดีงามและประเพณีท้องถิ่น

องค์กรที่เข้าประชุมจะประสานงานกับ “เครือข่ายท้องถิ่นไทย” เพื่อเป็นเครือข่ายเรียนรู้ พัฒนาท้องถิ่นตนเองให้เป็นตัวอย่างแห่ง ความโปร่งใส  บริการเป็นเลิศ สร้างความสุขแก่ประชาชน  และ ร่วมเป็นพลังปฎิรูปประเทศไทย

หมายเลขบันทึก: 386935เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2010 18:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับ

ขอสนับสนุนด้วยคนครับ

อาสาสมัครต้านทุจริตนั้น ควรมีทั้งประเทศและควรมีอาสาสมัครในด้านอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะเรื่องคุณธรรมและจิตใจซึ่งเป็นต้นทางของทุจริตต่างๆ ของมนุษย์

เห็นด้วยค่ะ สาธุขอให้สำเร็จผล

ขอร่วมสนับสนุนด้วยครับ ควรจะทำให้เป็นกระบวนการเรียนรู้ ทำไประยะหนึ่งแล้วก็นำมาเรียนรู้ทบทวนแล้ววางแผนใหม่สักระยะละ ๓-๕ ปี หมุนเวียนและยกระดับไปเรื่อยๆกระทั่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะต้องมีอยู่ในระบบบริหารจัดการความเป็นชุมชน ทั้งในชุมชนเมืองอย่างกรุงเทพมหานครและในชุมชนของเมืองในภูมิภาค-ท้องถิ่นต่างๆซึ่งมีความแตกต่างกัน

สำหรับภาพรวมแล้ว น่าจะเพิ่มประเด็นยุทธศาสตร์ทางด้าน การพัฒนาการศึกษาเรียนรู้เพื่อสร้างสุขภาวะชุมชนท้องถิ่นมาตรการเชิงยุทธศาสตร์ ครอบคลุม... การพัฒนาการเรียนรู้ท้องถิ่น การสร้างความรู้และเรียนรู้ชุมชน การพัฒนาเวทีเรียนรู้และกิจกรรมการแสดงออกในความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้บูรณาการของครอบครัว ชุมชน กลุ่มประชาคม  การพัฒนาองค์กรชุมชนและแหล่งสาธารณะ การพัฒนาพิพิธภัณฑ์และแหล่งจัดแสดงเอนกประสงค์เพื่อการศึกษาเรียนรู้และสร้างสรรค์ทางศิลปวัฒนธรรม การพัฒนาแหล่งแสดงผลิตภัณฑ์และสินค้าทางศิลปหัตกรรมของชุมชน ระบบข้อมูลข่าวสาร สื่อและการสื่อสารเรียนรู้

ในส่วนของ กทม.นั้น ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๕ น่าจะครอบคลุมไปถึง....การสร้างความสมดุลธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม แม่น้ำคูคลอง และกิจกรรมสร้างสรรค์ในสวนสาธารณะของท้องถิ่น ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๖...การฟื้นฟูรักษาวัฒนธรรมอันดีงามและประเพณีท้องถิ่น....น่าจะเพิ่มเป็น.... การฟื้นฟูและส่งเสริมวิถีวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามและภูมิปัญญาสร้างสรรค์ทางศิลปะในศาสนสถานและในภาคเอกชน และควรจะเพิ่ม ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๗ ...การฟื้นฟูส่งเสริมธุรกิจขนาดเล็กของท้องถิ่นและการท่องเที่ยวชมศิลปหัตถกรรม เรียนรู้เรื่องราวชุมชนและย่านเมืองเก่า ซึ่งในกรุงเทพมหานครมีอยู่อย่างมากมายแทบจะทุกชุมชน

ร่วมต่อความคิดน่ะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท