แนวข้อสอบอาจารย์พรชัยโดย...พนิดา อุ่นกันทา(Aoy)


แนวข้อสอบอาจารย์พรชัยโดย...พนิดา อุ่นกันทา(Aoy)

                

 

historico-structural approach  พยายามวิเคราะห์วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย จากมรดกตกทอดของอดีต  โดยเน้นที่การต่อเนื่องของโครงสร้าง กระบวนการ และค่านิยม

-                   ลักษณะการปกครองสมัยพ่อขุนรามคำแหงเป็นอย่างไร  คือ  เป็นลักษณะการปกครองแบบบิดาปกครองบุตร (พ่อปกครองลูก)  เป็นรูปแบบที่อาศัยหลักการปกครองแบบครอบครัว

-                   ศักดินา  คือ  อำนาจเหนือนา

-                   ระบบศักดินา  คือ  เป็นระบบที่กำหนดฐานะคนในสังคม  เป็นการจัดระบบสังคม การแบ่งสรรทางเศรษฐกิจและจัดชนชั้นทางสังคม

-                   ไพร่หลวง  คือ  ไพร่ที่ขึ้นต่อพระเจ้าแผ่นดินหรือกรมกองของรัฐบาล

-                   ไพร่สม  คือ (ไพร่สะสมกำลัง)  ไพร่ที่ขึ้นต่อราชวงค์หรือตระกูลขุนนาง

(โดยไพร่ทั้งสองนี้ ต้องถูกเกณฑ์แรงงานรับใช้นายของตนทุกเดือน เว้นเดือน หรือเข้าเดือน ออกเดือน)

-                   ไพร่ส่วย  คือ  การจ่ายส่วยแทนการถูกเกณฑ์แรงงาน (เป็นวิธีการเก็บภาษีที่แยบยล)  การจ่ายเงินหรือการหาของป่ามาส่งแทนการใช้แรงงาน

-                   สมมุติเทพ  คือ   เทพเจ้าที่สรวงสรรค์ส่งมาเกิด

-                   ระบบไพร่  เป็นระบบควบคุมทรัพยากรมนุษย์ ในสังคมที่ขาดวิทยาการหรือเทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรง (การใช้แรงงานคน)

-                   ลัทธิเทวราช  คือ  ศาสนาและความเชื่ออื่น ๆ นำไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์และยิ่งใหญ่ของสถาบันพระมหากษัตริย์  เพื่อให้ประชาชนมีความศรัทราและเกิดความยำเกรง เป็นการสร้างความสง่างามให้กับสถาบันพระมหากษัตริย์

-                   การสร้างชาติ (nation-building)  คือ  การใช้ระบบการศึกษาโดยมีหลักสูตรจากส่วนกลาง  ใช้ภาษากลาง คือ ภาษากรุงเทพ เป็นสื่อกลางการถ่ายทอดเพื่อให้เกิดการผสมผสานกลมกลืน

-                   การสร้างรัฐชาติ (nation-state)  เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาการเมือง กล่าวคือ ต้องมีการจัดตั้งในรูปแบบของหน่วยชุมชนการเมืองที่ใหญ่  ประชาชนมีความผูกพันต่อหน่วยการเมือง  มีเอกลักษณ์ร่วมกัน  มีความภักดีต่อชุมชนการเมือง ระบอบการปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ  รัฐชาติ (Nation State) ที่มีสถาบันหลักของชาติเป็นจุดศูนย์กลาง

-                   การสร้างรัฐชาตินั้นมีจุดสำคัญ คือ  การรวมศูนย์อำนาจให้รัฐบาลกลางมีอำนาจในการปกครองบริหาร และการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในรัฐชาติ

-                   ดุสิตธานีคืออะไร  คือ  การจำลองเมือง ที่มีการปกครองแบบระบอบประชาธิปไตย  ในเนื้อที่ 2 ไร่  มีข้าราชการ  250 คน มีการตั้งรัฐบาล  มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ  เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  และมีพรรคการเมืองและพรรคฝ่ายค้าน

-                   24  มิถุนายน  2475  คือ การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็น  การเมืองการปกครองแบบกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ

-                   นักศึกษาจงอธิบายวงจรอุบาทว์   คือ  เมื่อเกิดการ รัฐประหาร  ก็เป็นการปกครองในระบอบเผด็จการทหาร  แล้วมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว  จึงมีการกำหนดการเลือกตั้ง  เสร็จแล้วก็มีกระบวนการทางรัฐสภา  ต่อมาก็มีปัญหาการขัดแย้งกัน  แล้วเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองขึ้น  ก็เกิดการปฏิวัติรัฐประหาร เป็นวงจรที่เกิดขึ้น จึงเรียกว่าวงจรอุบาทว์

-                   ทฤษฎีการพัฒนา  คือ  คนมีความต้องการทางการเมืองสูง  มีความเจริญทางการเมืองสูง แต่มีระดับการเมืองต่ำ  ทำให้เกิดความวุ่นวาย

-                   อำมาตยาธิปไตย  คือ  “ระบบการเมืองที่ข้าราชการประจำปกครองอำนาจ”

-                   ธนาธิปไตย – รัฐธุรกิจ  คือ  เป็นอะไรที่เป็นของชนชั้นนำ เป็นเรื่องของผู้ปกครอง

-                   การปกครองคนรวย  (Plutocracy)  การตัดสินนโยบายแทนที่จะกำหนดโดยมโนธรรม   กลายเป็นกำหนดโดยธนาธรรมและเป็น “รัฐธุรกิจ”  เงินตรา คือ อำนาจ

-                   ระบบธนาธิปไตย  จะดำรงอยู่เพื่อผลประโยชน์ของธนาธิปัตย์ ประชาชนคนยากจนจะหวังพึ่งได้ยาก นอกจากจะถูกอ้างเป็นเครื่องมือเพื่อสร้างความชอบธรรมทางการเมืองเท่านั้น

-                   การปกครองแบบประชาธิปไตยที่ถูกชักจูงโดยบุคคลที่มีเงิน  เป็นกระบวนการซื้อๆ ขายๆ โดยใช้เงินซื้อได้ทุกอย่าง แม้กระทั่งตำแหน่ง ยศถาบรรดาศักดิ์ เมื่อเข้ามาแล้วต้องหาเงินคืน โดยการ  “ฉ้อราษฎร์บังหลวง”  คือ  ลักษณะโจรปล้นบ้านปล้นแผ่นดิน (Kleptocracy)  โกงกินบ้านเมือง โดยไม่สนใจต่อตัวบทกฎหมาย

                                                            โดย...พนิดา    อุ่นกันทา(Aoy)

            ดาวโหลด  ได้ที่นี่

หมายเลขบันทึก: 386642เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2010 17:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 09:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท