อธิบายภาพรวมสาขาวิชาวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์


วิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต  

        สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต (Electrical – Mechanical Manufacturing Engineering) เป็นหลักสูตรวิศวกรรมสมัยใหม่ที่สามารถตอบสนอง และรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมให้ก้าวทันเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย เนื่องจากเทคโนโลยีทางวิศวกรรมเครื่องกลและวิศวกรรมไฟฟ้า ได้เป็นองค์ประกอบหลักของเครื่องจักรกลการผลิตในโรงงาน ทำให้วิศวกรต้องทราบหลักการทางวิศวกรรมของทั้งสองสาขา เพื่อให้สามารถควบคุมกำหนดการทำงาน และการออกแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

       นอกจากนี้ ในส่วนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อการผลิตจำหน่ายในตลาดสากล เทคโนโลยีการออกแบบและการผลิตเป็นกิจกรรมหลักที่สำคัญในการพัฒนาสินค้า และมีบทบาทที่สำคัญยิ่งในการออกแบบและพัฒนาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ให้มีรูปทรง สีสรรที่น่าใช้และดึงดูดผู้ใช้ เช่น ยานยนต์ โทรศัพท์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เป็นต้น ดังนั้นในอุตสาหกรรมการผลิตในปัจจุบัน จึงต้องพึ่งเทคโนโลยี สมัยใหม่ทางด้าน CAD/CAM/CAE (Computer-Aided Design/Computer-Aided Manufacturing/Computer-Aided Engineering), CNC (Computer Numerical Control), Product Design and Development, RP (Rapid Prototyping), ระบบอิเล็กทรอนิกส์และการควบคุม เป็นต้น

        การเรียนการสอนมุ่งเน้นทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติ โดยได้ทำงานจริงกับเครื่องจักรกล CNC เครื่องฉีดพลาสติก เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรม CAD/CAM/CAE และทัศนศึกษาตามโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ นอกจากนี้วิชาหลักทางวิศวกรรมเครื่องกลและวิศวกรรมไฟฟ้าเป็นการเรียนร่วมกันกับนิสิตวิศวกรรมเครื่องกลและวิศวกรรมไฟฟ้าซึ่งทำการสอนโดยอาจารย์ประจำภาคนั้นๆ จึงทำให้นิสิตได้ประโยชน์สูงสุดจากการรับการถ่ายทอด ความรู้และประสบการณ์เฉพาะด้านโดยตรงจากอาจารย์ในสายวิชาชีพดังกล่าว

        วิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต ได้ผลิตวิศวกรที่เป็นความต้องการอย่างสูงให้แก่โรงงานอุตสาหรรม เนื่องจากความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนในวิศวกรรมสาขานี้สอดคล้องกับลักษณะงานในโรงงาน โดยเฉพาะโรงงานที่นำเทคโนโลยีชั้นสูงที่ต้องใช้ความรู้ทั้งทางด้าน วิศวกรรมการผลิต วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า/คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ในการออกแบบ วิจัยพัฒนาและผลิต ผลิตภัณฑ์สมัยใหม่ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต

        นิสิตที่จบการศึกษาจากสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต เป็นบุคลากรที่สามารถปฏิบัติงานได้ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ อุตสาหกรรมพลาสติกและแม่พิมพ์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ และอุตสาหกรรมของเล่นเด็ก เป็นต้น โดยลักษณะวิชาชีพวิศวกรที่สามารถดำเนินการได้ ได้แก่ วิศวกรด้านงานวิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์ (Research and Development หรือ R & D) วิศวกรออกแบบทางวิศวกรรม (CAD/CAM/CAE) วิศวกรการผลิต วิศวกรควบคุมระบบและเครื่องจักร วิศวกรเครื่องกล วิศวกรไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และวิศวกรบำรุงรักษา นอกจากนี้ยังสามารถประกอบอาชีพอิสระ เช่น รับจ้างออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์และเครื่องจักร การผลิตแม่พิมพ์ การผลิตชิ้นส่วนพลาสติกและโลหะ การออกแบบและผลิตสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ การออกแบบอุปกรณ์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น นิสิตที่ต้องการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาทั้งในและต่างประเทศสามารถ สมัครเรียนได้ทั้งในสาขา วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมการผลิต วิศวกรรมอุตสาหการ

        คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต โดยรับนิสิตเข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2542 เป็นต้นมา คณาจารย์ผู้รับผิดชอบดูแลนิสิตในสังกัดสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต ได้แก่ อาจารย์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในสังกัดภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ และโครงการเปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต

วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

       สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมให้การศึกษาเกี่ยวกับการจัดการมลพิษสิ่งแวดล้อมด้วยแนวความคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน กระบวนการต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตน้ำประปา การปรับปรุงคุณภาพน้ำขั้นสูง เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียชุมชนและอุตสาหกรรม การออกแบบระบบรวบรวมน้ำเสีย การจัดการมูลฝอยแบบผสมผสาน การจัดการของเสียอันตราย การควบคุมมลพิษทางอากาศ แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการสิ่งแวดล้อมในโครงการหรือองค์กร

       ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจะได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม) หรือ วศ.บ. (วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จะได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม) หรือ วศ.ม. (วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม) ซึ่งเปิดสอนทั้งหลักสูตรปกติ หลักสูตรภาคพิเศษและหลักสูตรนานาชาติ ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจะได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม) หรือ วศ.ด. (วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม)

       อนึ่งงานด้านวิศวกรรม สิ่งแวดล้อมได้รับการรับรองเป็นงาน “วิชาชีพควบคุม” 1 ใน 7 สาขา ตามกฎกระทรวง เรื่อง กำหนดสาขา วิชาชีพวิศวกรรมและวิศวกรรมควบคุม พ.ศ.2550 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 86 ก. ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550 วิศวกรสิ่งแวดล้อมจึงสามารถขอสอบเพื่อขอใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

วิศวกรรมเคมี

       สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี เป็นการศึกษาเกี่ยวกับหลักการของกระบวนการผลิตต่างๆ ทางอุตสาหกรรม ปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ยาง กระดาษ เซรามิกส์ เส้นใย อาหาร ยา พลาสติก ฟอกย้อม สิ่งทอ หรือ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนส่วนผสม สถานะภาวะและลักษณะสมบัติของวัตถุดิบไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามความต้องการอย่างปลอดภัยและประหยัด

       สาขาวิชาวิศวกรรมเคมีเน้นการศึกษาออกแบบอุปกรณ์และโรงงาน และระบบควบคุม หลักสูตรประกอบด้วยภาคทฤษฎีและการประยุกต์ใช้งานเสริมความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ ภาษาอังกฤษ การนำเสนอผลงานและการเขียนรายงาน

       ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจะได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเคมี) หรือ วศ.บ. (วิศวกรรมเคมี) ระดับปริญญาโทจะได้รับ ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมเคมี) หรือ วศ.ม. (วิศวกรรมเคมี) และระดับปริญญาเอกจะ ได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วิศวกรรมเคมี) หรือ วศ.ด. (วิศวกรรมเคมี) นอกจากนี้ภาควิชายัง เปิดหลักสูตรภาษาอังกฤษในระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญา M.Eng.(Chemical Engineering) หรือ D.Eng. (Chemical Engineering) ตามระดับการศึกษา

สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

        เป็นสาขาวิชาหนึ่งซึ่งอยู่ในความดูแลของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ โดยให้การศึกษาและวิจัยทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์

       สาขาที่เชี่ยวชาญได้แก่ เครือข่ายคอมพิวเตอร์และสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง การประยุกต์ใช้งานไมโครโพรเซสเซอร์ การออกแบบซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ การออกแบบวงจรดิจิทัล การออกแบบระบบเครื่องจักรกลอัตโนมัติ การโปรแกรมระบบปัญญาประดิษฐ์ ระบบเทคโนโลยีสื่อประสม วิศวกรรมซอฟต์แวร์ การพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ ระบบจัดการฐานข้อมูล การสืบค้นข้อมูล เป็นต้น โดยมุ่งหวังให้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาสามารถ ประกอบอาชีพเป็นวิศวกรคอมพิวเตอร์ วิศวกรระบบ นักวิเคราะห์และพัฒนาระบบงาน หรือผู้บริหารศูนย์คอมพิวเตอร์ในหน่วยงานต่างๆ ได้

       ในปัจจุบัน ภาควิชาฯ ได้เปิดสอนนิสิตในระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟแวร์และความรู้ (นานาชาติ) ผู้สำเร็จการศึกษาจะ ได้รับปริญญา วศ.บ. (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์) และปริญญา วศ.บ. วิศวกรรมซอฟแวร์และความรู้ (นานาชาติ)

       นอกจากนี้ภาควิชาฯ ยังได้เปิดสอนนิสิตในระดับปริญญาโท 2 หลักสูตร ประกอบด้วย หลักสูตร วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญา วศ.ม. (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์) และ วท.ม. (เทคโนโลยีสารสนเทศ) และในปัจจุบันภาควิชาฯ ยังได้เปิดสอนนิสิตในระดับปริญญาเอกในหลักสูตร วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญา วศ.ด. (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)

       ในด้านการให้บริการวิชาการแก่สังคม มีความมุ่งหวังที่จะมีส่วนช่วยพัฒนาและชี้นำทางด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นประโยชน์และเหมาะสมแก่บุคคลและแก่องค์กรต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

        เน้นการศึกษาเพื่อออกแบบและวิเคราะห์ระบบต่างๆ ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง อิเล็กทรอนิกส์ สื่อสารโทรคมนาคม ระบบควบคุมและวัดคุม การประมวลผลสัญญาณดิจิทัล การประยุกต์เทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าเพื่อใช้งานด้านอุตสาหกรรม ธุรกิจการสื่อสาร การแพทย์ การเกษตรและอื่นๆ

         ผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี จะได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมไฟฟ้า) หรือ วศ.บ. (วิศวกรรมไฟฟ้า) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จะได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต(วิศวกรรมไฟฟ้า) หรือ วศ.ม. (วิศวกรรมไฟฟ้า) และสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจะได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วิศวกรรมไฟฟ้า) หรือ วศ.ด.(วิศวกรรมไฟฟ้า)

สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ

        เน้นการฝึกสอนนิสิตให้มีความรู้ในด้านการควบคุมออกแบบ และการวางแผนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งนี้ได้ครอบคลุมหลักวิชาที่สำคัญ เช่น การควบคุมคุณภาพ การวางผังโรงงาน เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม การวิจัยการดำเนินงานและการศึกษาการปฏิบัติงาน ตลอดจน การประยุกต์เทคโนโลยีอันทันสมัย เช่น คอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรม

        ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญาตรีจะได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมอุตสาหการ)หรือ วศ.บ.(วิศวกรรมอุตสาหการ) ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจะได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมอุตสาหการ) หรือ วศ.ม. (วิศวกรรมอุตสาหการ) ซึ่งเปิดสอนทั้งหลักสูตรปกติ และหลักสูตรนานาชาติ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาเอกจะได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วิศวกรรมอุตสาหการ) หรือ วศ.ด. (วิศวกรรมอุตสาหการ) ซึ่งเปิดสอนทั้งหลักสูตรปกติ และหลักสูตรนานาชาติ

        นอกจากนี้ในปีการศึกษา 2547 ภาควิชาได้เปิดสอนระดับปริญญาโท สาขาการจัดการวิศวกรรม ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการวิศวกรรม) โดยเปิดสอนทั้ง หลักสูตรพิเศษ และหลักสูตรนานาชาติ

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล

        เปิดสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยมีการจัดการเรียนการสอนให้นิสิตมีความรู้ครอบคลุม วิชาพื้นฐานจนกระทั่งวิชาขั้นสูง สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

         ในระดับปริญญาตรี มีการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล โดยมีรายวิชาเฉพาะได้แก่ อุณหพลศาสตร์ การถ่ายเทความร้อน กลศาสตร์ของไหล กลศาสตร์เครื่องจักรกล การสั่นสะเทือนทางกล การควบคุมอัตโนมัติ การเปลี่ยนรูปพลังงานกล การถ่ายเทความร้อน การทำความเย็นและการปรับอากาศ เครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน วิศวกรรมยานยนต์ วิศวกรรมโรงงานต้นกำลัง การวิเคราะห์และการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล การอนุรักษ์และการจัดการพลังงาน การออกแบบโดยใช้ CAD/CAM หลักการป้องกันอัคคีภัยและการออกแบบ โดยเรียนที่วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ตลอดเวลา 4 ปีการศึกษา

        ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จะได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเครื่องกล) หรือ วศ.บ. (วิศวกรรมเครื่องกล) การศึกษาในระดับปริญญาโท มุ่งเน้นให้มีความรู้ขั้นสูงในด้านกลศาสตร์ประยุกต์ ความร้อนและของไหล พลศาสตร์และระบบควบคุม และวิศวกรรมป้องกันอัคคีภัย โดยให้มีการเรียนรู้การทำงานวิจัย สามารถวิเคราะห์และแก้ปัญหาทาง วิศวกรรมเครื่องกลได้อย่างเป็นระบบ และผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จะได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเครื่องกล) หรือ วศ.ม.(วิศวกรรมเครื่องกล)

สาขาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ

       ให้การศึกษาในด้านกลศาสตร์ของของไหล ชลศาสตร์ อุทกวิทยาของน้ำผิวดินและใต้ดิน วิศวกรรมแม่น้ำ วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ การควบคุมคุณภาพน้ำ วิศวกรรมชายฝั่งทะเล การป้องกันน้ำท่วม และการระบายน้ำในชุมชนเมือง รวมทั้งการประยุกต์วิชาการเพื่อการพัฒนา และจัดการแหล่งน้ำทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด และยั่งยืน

       ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจะได้รับ ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมโยธา-ทรัพยากรน้ำ) หรือ วศ.บ. (วิศวกรรมโยธา-ทรัพยากรน้ำ) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจะได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ) หรือ วศ.ม.(วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ) การศึกษาระดับปริญญาโทของภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำเปิดสอนทั้งหลักสูตรปกติ และหลักสูตรภาคพิเศษ หลักสูตรระดับปริญญาเอกเปิดสอนในปีการศึกษา 2544 เป็นปีแรก ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจะได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ) หรือ วศ.ด.(วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ)

วิศวกรรมวัสดุ

       เป็นสาขาวิชาบูรณาการความรู้ที่เกี่ยวข้องกับวัสดุต่างๆที่สามารถนำไปใช้ใน วิศวกรรมศาสตร์แทบทุกสาขา โดยสาขาวิศวกรรมวัสดุนี้มุ่งเน้นการศึกษาความสัมพันธ์ของโครงสร้าง สมบัติ กระบวนการผลิต และสมรรถนะของวัสดุเชิงวิศวกรรม ได้แก่ โลหะ พอลิเมอร์ เซรามิก และรวมถึง วัสดุผสม วัสดุนาโน วัสดุการแพทย์ วัสดุอิเลคทรอนิกส์ และ วัสดุการบินและอวกาศ เป็นต้น โดยตัวอย่างงานของวิศวกรวัสดุในปัจจุบัน ได้แก่

  • งานวิจัยเพื่อสร้างวัสดุชนิดใหม่
  • งานพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมถึงกระบวนการผลิตด้านโลหะ พอลิเมอร์ และเซรามิก
  • งานวิเคราะห์ ตรวจสอบ ทดสอบวัสดุ และการประกันคุณภาพ
  • วิศวกรกระบวนการ (Process Engineer)

ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2540 โดยภาควิชาฯ ได้เปิดรับนิสิต ปริญญาตรี รุ่นที่ 1 ในปีการศึกษา 2541 และเปิดรับนิสิตระดับปริญญาโท รุ่นที่ 1 ในปีการศึกษา 2550 นอกจากนี้ทางภาควิชากำลังจะเปิดรับนิสิตระดับปริญญาเอกในปี 2553 ซึ่งสำนักงาน ห้องเรียนและ ห้องปฏิบัติการของภาควิชาตั้งอยู่ ณ บริเวณชั้น 1 ถึง 3 อาคารชูชาติกำภู คณะวิศวกรรมศาสตร์ ในปีการศึกษา 2551 ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ รับนิสิตเข้าศึกษาตามระบบการสอบคัดเลือกผ่านสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยแยกรหัสรับนิสิตทั้งในภาคปกติและภาคพิเศษ

ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ

        คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ก่อตั้งขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกในประเทศที่ผลิตวิศวกรการบินและอวกาศสำหรับ พลเรือน นับจากเริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน ภาควิชาได้ผลิตบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ ไปแล้ว กว่า 200 คน รวมทั้งมีการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการบินและอวกาศอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีอาจารย์ ประจำทั้งหมด 28 คน มีความเชี่ยวชาญครอบคลุมด้านวิศวกรรมอวกาศยาน การดำเนินงานและการจัดการ เทคโนโลยีการบิน การบริหารองค์กรการบิน และเทคโนโลยีอวกาศ การเรียนการสอนในแต่ละหลักสูตร มี การผสมผสานด้วยทฤษฎีและการปฏิบัติเพื่อสร้างความเป็นมืออาชีพด้านการบินและอวกาศโดยมีแนบคิดให้ นิสิตได้เรียนรู้จากการคิดและการปฏิบัติจริง “Learning by Doing” 

        สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ (Aerospace Engineering) เกี่ยวข้องกับการออกแบบ การ วิเคราะห์ การผลิตอากาศยานและอวกาศยาน โดยมุ่งเน้นผลิตวิศวกรเพื่อเข้าทำงานในอุตสาหกรรมการบินด้าน การออกแบบ การซ่อมบำรุง และการผลิต หลักสูตรในสาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศที่เปิดสอนมีดังนี้

  • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมการบินและอวกาศ (B.Eng. in Aerospace Engineering)
  • หลักสูตร International Double Degree Program (B.Eng. in Aerospace Engineering & B.Bus. in Management) ซึ่งเป็นหลักสูตร 5.5 ปี โดยนิสิตจะศึกษาที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3 ปี และที่ RMIT University อีก 2.5 ปี
  • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมการบินและอวกาศ (M. Eng. in Aerospace Engineering) สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ

วิศวกรรมซอฟต์แวร์และความรู้

        สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์และความรู้ เป็นสาขาหนึ่งซึ่งอยู่ในความดูแลของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ โดยเป็นสาขาวิชาที่เปิดสอนเพื่อตอบสนองและรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ที่เกิดขึ้นภายในประเทศและต่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นวิศวกรที่มีความชำนาญเฉพาะด้านในสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์และความรู้ ที่มีทั้งทฤษฎีและปฏิบัติในระดับความสามารถได้มาตรฐานสากล ในการผลิตซอฟต์แวร์และการจัดการข้อมูลสารสนเทศ และความรู้สำหรับองค์กรทุกระดับ มีความสามารถเพียงพอที่จะดำเนินการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็กในการผลิตซอฟต์แวร์ได้ด้วยตนเอง มีทักษะการทำงานเป็นกลุ่มคณะ เพื่อเป็นสมาชิกในวิสาหกิจขนาดใหญ่ นอกจากนี้บัณฑิตมีความรู้พื้นฐานเพียงพอที่จะศึกษาและวิจัยขั้นสูงในสาขาวิศวกรรมและวิทยาการคอมพิวเตอร์

        หลักสูตรวิศวกรรมซอฟต์แวร์และความรู้เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี (นานาชาติ) ที่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ โดยคณาจารย์ของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และอาจารย์พิเศษชาวต่างประเทศที่ทางภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์มีความร่วมมืออยู่ หลักสูตรนี้ใช้ระยะเวลาในการศึกษา 4 ปี โดยในปีที่ 4 ภาคการศึกษาต้น ภาควิชาจัดการเรียนในลักษณะสหกิจศึกษา เพื่อให้นิสิตมีโอกาสทำงานจริงให้กับองค์กรหรือบริษัท ในตำแหน่งผู้ช่วยวิศวกร เพื่อให้นิสิตได้สัมผัสกับการทำงานจริงซึ่งจะแตกต่างจากการฝึกงานในการเรียนปกติ นอกจากนี้การเรียน การสอนเน้นการเรียนเชิงปฏิบัติที่มีทฤษฎีที่เข้มแข็งรองรับโดยมีวิชาแนวใหม่ โดยเน้นการสร้างทักษะนอกเหนือจากทักษะภาษาอังกฤษ ได้แก่ ทักษะการโปรแกรม ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการดำเนินการโครงการซอฟต์แวร์สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์และความรู้

วิศวกรรมสำรวจและสารสนเทศภูมิศาสตร์

        สาขาวิศวกรรมสำรวจและสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นสาขาหนึ่งในภาควิชาวิศวกรรมโยธา โดยมุ่งที่จะให้การศึกษาในหลักการเชิงทฤษฎี รวมทั้งการปฏิบัติด้านการสำรวจ การทำแผนที่เทคโนโลยีภาพถ่าย ดาวเทียม และสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งจะสามารถควบคุมการใช้และการผลิตแผนที่อันจะเป็นประโยชน์ใน การวางแผน วิเคราะห์ ออกแบบ ตลอดจนติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลโครงการต่างๆ ที่สอดคล้องกับการให้ได้มาซึ่งข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลทางภูมิศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ผสมผสานกับเทคโนโลยีพื้นฐานเดิม ยังผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งยังเอื้อประโยชน์ต่อส่วนรวมและ สาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง

        ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจะได้รับปริญญา วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมสำรวจและสารสนเทศภูมิศาสตร์) หรือ วศ.บ. (วิศวกรรมสำรวจและสารสนเทศภูมิศาสตร์) โดยเปิดสอนเป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี ภาคพิเศษ

วิศวกรรมการบินและอวกาศและบริหารธุรกิจ

        สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศเป็นสาขาที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากที่สุดสาขาหนึ่ง สำหรับผู้ที่เรียนในหลักสูตรนี้จะได้เรียนรู้ทั้งสาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศและสาขาวิชาบริหารธุรกิจ เพื่อเสริมสร้างความรู้และฝึกทักษะทางด้านวิศวกรรมการบินและอวกาศและการจัดการ อันจะนำไปสู่โอกาส ในการเลือกอาชีพได้มากกว่าการฝึกฝนในเชิงวิศวกรรม ระบบอาจนำไปใช้ในงานแขนงอื่นๆ นอกเหนือไปจากอุตสาหกรรมการบินได้ เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์หรืออุตสาหกรรมต่อเรือ เป็นต้น

        หลักสูตรปริญญาตรีร่วมนานาชาติ 2 ปริญญา เป็นหลักสูตรพิเศษใช้เวลาศึกษา 5 ปีครึ่ง สำหรับปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมการบินและอวกาศ) และบริหารธุรกิจบัณฑิต หลักสูตรนี้เป็น โครงการร่วมมือในการจัดการศึกษาโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมีความร่วมมือทางวิชาการกับ Royal Melbourne Institute of Technology (RMIT University) ประเทศออสเตรเลีย ในปี การศึกษา 2551 มีนิสิตที่ได้รับการคัดเลือกเข้าโครงการนี้โดยการสอบคัดเลือกผ่านสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จำนวน 5 คน สอบคัดเลือกโดยตรง จำนวนประมาณ 18 คน ซึ่งจะศึกษา 3 ปี ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และอีก 2 ปีครึ่ง ที่มหาวิทยาลัย RMIT เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาจากทั้งสองมหาวิทยาลัย หลักสูตรนานาชาติ 2 ปริญญานี้ การเรียนการสอนจะใช้ภาษาอังกฤษตลอดหลักสูตร 5 ปีครึ่ง สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศและบริหารธุรกิจ

***สามารถชมวิดีทัศน์เพิ่มเติมจากเว็บไซท์อ้างอิง: http://admission.eng.ku.ac.th/department 

คำสำคัญ (Tags): #วิศวกรรม
หมายเลขบันทึก: 386613เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2010 16:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

ตามมาทักทายชาวบางเขนครับ

มาได้ไงเนี่ย มาเขียนอีกนะครับ

น้องๆคนไหน มีข้อสงสัยอะไร ถามได้นะคะ

คำถามไหนที่สามารถตอบได้ ก็จะตอบให้เร็วที่สุดนะคะ

แล้ว วิศวกรรมเครื่องกล ม. เกษตร นี้จะเปิด รั บตรง หรือพวก โควต้าเมื่อไร คับ ผมเรียน ปวช นะ

ตอนนี้มีรับตรงแล้วนะคะ ระเบียบการลิงค์นี้ค่ะ http://admission.eng.ku.ac.th/sites/default/files/direct-announce-54-updated.pdf สามารถ ติดตาม การรับสมัคร จากเว็บไซท์ของคณะได้ตลอดนะคะ http://www.eng.ku.ac.th/

เกรดเลือกภาคในโครงการ กลุ่มวิทยาเขตบางเขนภาคพิเศษ อยากทราบเกรดต่ำสุดที่แต่ละสาขาวิชารับเข้าไปในปีที่เเล้ว

แล้วก็จำนวนรับของแต่ละสาขาด้วยครับ ขอบคุณครับ

ของปีล่าสุดยังไม่สามารถนำมาให้ดูได้นะคะ แต่สามารถทราบได้ตอนพบอาจารย์ที่ปรึกษา ช่วงใกล้ๆเลือกภาคค่ะ

2549(ปกติ,พิเศษ) 2550(ปกติ,พิเศษ) 2551(ปกติ,พิเศษ) 2552(ปกติ,พิเศษ)

เคมี 3.75-2.44 , 3.35-(-0.21) 3.71-2.81 , 3.75-1.37 3.86-2.54 , 3.26-1.00 53,-คน

โยธา 1.81-0.08 , - 3.00-1.23,- 2.92-0.42 , - 21,-คน

คอม 3.90-2.58 , - 3.94-2.83 , - 4.00-2.74 , - 21,-คน

ไฟ 3.83-1.38 , 3.31-(-1.21) 3.88-1.79 , 2.87-(-0.31) 3.78-1.36 , 2.96-1.26 137,25คน

IE 3.52-2.06 , 3.38-0.75 3.21-2.15 , 2.88-1.15 3.52-0.60 , 3.18-1.26 84,51คน

เครื่อง 3.40-1.75 , 3.37-0.58 3.71-2.19 , 3.38-0.65 3.60-1.84 , 3.06-1.02 106,86คน

ไฟเครื่อง 3.37-1.44 , 2.73-0.08 3.29-1.48 , 2.83-0.54 1.84-(-0.3) , 2.52-0.56 42,34คน

วัสดุ 3.19-(-0.08) , 2.37-(-0.29) 3.33-(-0.33) , 1.35-(-0.37) - , 1.12-0.28 -,34คน

การบิน 3.54-1.90 , - 3.94-2.21 , - 3.84-1.78 , - 42,-คน

สำรวจ - , 1.29-(-1.29) - , 1.00-(-1.04) - , 1.44-(-1.12) - , 43คน

ตามมาเชียร์น้อง ว่าแต่ว่าบ้านอยู่ตรงไหนของตราด กำลังจะไป สพท ตราด อาทิตย์หน้าครับ มาเขียนบ่อยๆๆนะครับ

มีอะไรช่วยเหลือได้ยิยดีครับ

คห.6 ดูรู้เรื่องมั้ยอ่ะ อุตส่าจัดตั้งนาน พอบันทึกทีไรเป็นแบบนี้ทุกที ลองไล่ๆดูเองละกันนะ

ขอบคุณค่ะคุณ ขจิต ฝอยทอง สำหรับกำลังใจนะคะ

บ้านหนูอยู่ในเมืองแหละค่ะ ห่างไกลจาก สพท.มากค่ะ

บ้านหนูอยู่บริเวรรอบคุกค่ะ แฮ่ๆ

แยกสีให้แล้ว  ดูรู้เรืื่องกว่ามั้ย!!!

ของปีล่าสุดยังไม่สามารถนำมาให้ดูได้นะคะ แต่สามารถทราบได้ตอนพบอาจารย์ที่ปรึกษา ช่วงใกล้ๆเลือกภาคค่ะ

2549(ปกติ,พิเศษ) 2550(ปกติ,พิเศษ) 2551(ปกติ,พิเศษ) 2552(ปกติ,พิเศษ)

เคมี 3.75-2.44 , 3.35-(-0.21)     3.71-2.81 , 3.75-1.37     3.86-2.54 , 3.26-1.00     53,-คน

โยธา 1.81-0.08 , -   3.00-1.23,-    2.92-0.42 , -    21,-คน

คอม 3.90-2.58 , -    3.94-2.83 , -    4.00-2.74 , -   21,-คน

ไฟ 3.83-1.38 , 3.31-(-1.21)   3.88-1.79 , 2.87-(-0.31)    3.78-1.36 , 2.96-1.26    137,25คน

IE 3.52-2.06 , 3.38-0.75     3.21-2.15 , 2.88-1.15     3.52-0.60 , 3.18-1.26 84,51คน

เครื่อง 3.40-1.75 , 3.37-0.58     3.71-2.19 , 3.38-0.65      3.60-1.84 , 3.06-1.02    106,86คน

ไฟเครื่อง 3.37-1.44 , 2.73-0.08     3.29-1.48 , 2.83-0.54     1.84-(-0.3) , 2.52-0.56   42,34คน

วัสดุ 3.19-(-0.08) , 2.37-(-0.29)      3.33-(-0.33) , 1.35-(-0.37)     - , 1.12-0.28       -,34คน

การบิน 3.54-1.90 , -     3.94-2.21 , -     3.84-1.78 , -     42,-คน

สำรวจ - , 1.29-(-1.29)      - , 1.00-(-1.04)       - , 1.44-(-1.12)      - , 43คน

ไม่มี แกตแพท คุณสมบัติ ไม่ครบ เช่น เรียน วิท คณิต ไม่ตรงเกณ แบบ นี้ก้เข้ามะได้อะดิคับ โฮฮฮ

ไม่มี gat pat ก็ลองไปสมัครสอบดูนะเพราะส่วนใหญ่เด๋วนี้เค้าใช้ gat pat (สอบได้ทุกคนมั้ง)

ส่วนเรื่องคุณสมบัติ ลองดูสถาบันอื่นบ้างหรือยังคะ

เพื่อนพี่ก็คุณสมบัติไม่ครบ เค้าจบสายอาชีพมา แต่ตอนนี้เค้าเรียนอยู่คณะวิศวะที่เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร(แมคคาทรอนิค)

แล้วนะ แสดงว่า ก็ยังมีหนทางนะคะ

ถ้าอยากคุยกับเพื่อนพี่คนนี้ก็มาขอที่พี่ได้นะคะ

  • โอโหขยันน่าดู
  • รออ่านที่หนูเขียนอีกครับ
  • เอามาฝาก
  • http://gotoknow.org/blog/yahoo/

ใครจะสนใจ  หรืออยากเข้าภาควิชาไหนกันบ้างนะ  อยากรู้จัง!!!

แก้ไขเกรดเลือกภาคให้อีกรอบนะคะ จะได้ดูง่ายขึ้นค่ะ

 

2549 ปกติ

2549พิเศษ

2550 ปกติ

2550 พิเศษ

2551 ปกติ

2551 พิเศษ

2552 ปกติ

2552 พิเศษ

เคมี

 3.75-2.44

3.35-(-0.21)

3.71-2.81

3.75-1.37

3.86-2.54

3.26-1.00

53 คน

-

โยธา

 1.81-0.08

 -  

3.00-1.23

-

2.92-0.42

- 

21 คน

-

คอม

 3.90-2.58  

 -

3.94-2.83

-

4.00-2.74

 -

21 คน

-

ไฟ

3.83-1.38

3.31-(-1.21)

3.88-1.79

2.87-(-0.31)

3.78-1.36

2.96-1.26   

137 คน

25 คน

อุตสาหการ

3.52-2.06

3.38-0.75

3.21-2.15

2.88-1.15

3.52-0.60

3.18-1.26

84 คน

51 คน

เครื่อง

3.40-1.75

3.37-0.58

3.71-2.19

3.38-0.65

3.60-1.84

3.06-1.02 

106 คน

86 คน

ไฟเครื่อง

3.37-1.44

2.73-0.08

3.29-1.48

2.83-0.54

1.84-(-0.3)

2.52-0.56

42 คน

34 คน

วัสดุ

3.19-(-0.08)

2.37-(-0.29)  

3.33-(-0.33)

1.35-(-0.37)

-

1.12-0.28

-

34 คน

การบิน

3.54-1.90   

- 

3.94-2.21

- 

3.84-1.78

- 

42 คน

-

สำรวจ

 -

 1.29-(-1.29)

 -

1.00-(-1.04) 

-

1.44-(-1.12)  

-

43 คน

ขอบคุณครับ ดูง่าย และชัดเจนมากเลย

ตอนนี้อยากเข้าเครื่องกลครับ!!

เครื่องกลปีที่แล้ว รู้สึกว่า ต่ำสุดประมาณ 1.7 ก่าๆนะคะ

ถามตอนนี้ทันมั้ยคะ5555 อยากทราบว่าจบอิเล็กทรอนิกส์สามารถต่อวิศวะสำรวจได้มั้ยคะ

ถามตอนนี้ทันมั้ยคะ5555 อยากทราบว่าจบอิเล็กทรอนิกส์สามารถต่อวิศวะสำรวจได้มั้ยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท