Come to here.


Prefix

Prefix     

     Prefix แปลว่า “อุปสรรค”หมายถึงคำที่ใช้เติมเข้าข้างหน้าคำอื่น

แล้วทำให้คำคำนั้นมีความหมายผิดไปจากเดิม

เราเรียนคำเช่นนี้ว่า “Prefix” = อุปสรรค ในภาษาอังกฤษอุปสรรคที่ใช้กันมาก

และมักพบเห็นบ่อย ๆ มีอยู่ 10 ตัว คือ

     1. –Un (ไม่) ใช้สำหรับเติมหน้าคำคุณศัพท์ (Adjective) หรือ คำกริยาวิเศษณ์ (Adverb)

เมื่อเติมแล้วทำให้คำนั้นมีความหมายตรงกันข้าม

เช่น suitable เหมาะสม unsuitable ไม่เหมาะสม

countable นับได้ uncountable นับไม่ได้

    2. –Im (ไม่) ใช้สำหรับเติมหน้าคำคุณศัพท์ (Adjective) หรือ คำกริยาวิเศษณ์ (Adverb)

เมื่อเติมแล้ว ทำให้คำนั้นมีความหมายตรงกันข้าม

เช่น pure บริสุทธิ์ impure ไม่บริสุทธิ์

polite สุภาพ impolite ไม่สุภาพ

    3. –In (ไม่) ใช้สำหรับเติมหน้าคำคุณศัพท์ (Adjective) เท่านั้น

เมื่อเติมแล้วทำให้คำนั้นมีความหมาย direct ตรง indirect

ไม่ตรงexpensive แพง inexpensive ไม่แพง

    4. –Re (อีก) ใช้สำหรับเติมหน้าคำกริยา (verb) หรือคำนามที่มาจากกริยาเท่านั้น

เมื่อเติมแล้วทำให้คำนั้นมีความหมายว่า “ทำอีก”

เช่น write เขียน rewrite เขียนใหม่

speak พูด respeak พูดอีก

     5. –Dis (ไม่) ใช้สำหรับเติมหน้ากริยา (verb) หรือเติมหน้าคุณศัพท์ (Adjective)

และเมื่อเติมแล้ว ทำให้คำนั้นมีความหมายตรงกันข้าม

like ชอบ dislike ไม่ชอบ

agree เห็นด้วย disagree ไม่เห็นด้วย

     6. –Mis (ผิด) ใช้สำหรับนำหน้าหรือเติมหน้าคำกริยา (verb) เท่านั้น

เมื่อเติมแล้วทำให้กริยาตัวนั้น มีความหมายว่า “กระทำผิด”

เช่น write เขียน miswrite เขียนผิด

spell สะกดตัว misspell สะกดตัวผิด

     7. –Pre (ก่อน) ใช้สำหรับเติมหน้าคำนาม (Noun) หรือกริยา (verb)

เมื่อเติมแล้วทำให้นามนั้นมีความหมายว่า “ก่อน , หรือทำก่อน”

เช่น history ประวัติศาสตร์ prehistory ก่อนประวัติศาสตร์

university มหาวิทยาลัย preuniversity ก่อนมหาวิทยาลัย

     8. –Tri (สาม) ใช้สำหรับเติมหน้าคำนาม

และเมื่อเติม tri เข้าข้างหน้าแล้ว

ทำให้คำนั้นมีความหมายว่า “สาม” ขึ้นมาทันที

เช่น คำเดิม คำแปล เติมอุปสรรค tri แล้ว คำแปล angle เหลี่ยม triangle

รูปสามเหลี่ยมcycle จักรยาน tricycle รถสามล้อ

     9. –Bi (สอง) ใช้สำหรับเติมหน้าคำนาม

 และเมื่อเติม bi เข้าข้างหน้าแล้ว

ทำให้คำนั้นมีความหมาย“สอง”ขึ้นมาทันที

เช่น cycle จักรยาน bicycle จักรยานสองล้อ

polar ขั้วโลก bipolar มีสองขั้วโลก

     10. –En อุปสรรคตัวนี้ไม่มีคำแปลเป็นเอกเทศ เพียงแต่ว่าเมื่อนำไปเติมข้างหน้าคำนาม

หรือคำคุณศัพท์แล้วทำให้คำนั้นกลับเป็นกริยา (verb) ขึ้นมาทันที

เช่น camp ค่ายพัก encamp ตั้งค่าย

sure แน่ใจ ensure รับประกัน

คำสำคัญ (Tags): #eng5111204
หมายเลขบันทึก: 386513เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2010 11:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท