ห้องเรียนในศตวรรษที่ 21


การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยมโดยใช้ ICT เป็นฐาน ของห้องเรียนในศตวรรษที่ 21

เป้าประสงค์หลักของแผนแม่บทสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2550-2554 ซึ่ง “มุ่งเน้นให้สถานศึกษาทุกระดับจัดการเรียนการสอนโดยใช้ ICT เป็นฐาน (ICT Based Learning)” และสถานศึกษาต้องสามารถใช้ ICT บริหารจัดการองค์กรได้ตามมาตรฐานที่กำหนด เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21 อย่างเต็มรูปแบบ

แนวคิดการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 นักการศึกษาส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับ ทฤษฏีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivist Learning) โดยเชื่อว่า “ความรู้เกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ที่เป็นของตนเองขึ้นมาจากความรู้ที่มีอยู่เดิมหรือจากความรู้ที่ได้รับเข้ามาใหม่” ดังนั้นห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 ต้องเปลี่ยนแปลงโดย …

  1. มีการอำนวยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ (Creative) ผู้สอนต้องให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติและสร้างความรู้โดยเกิดจากความเข้าใจของผู้เรียนเอง
  2. เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนมากขึ้น (Active Learning) สร้างให้เกิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) และการเรียนรู้แบบช่วยเหลือกัน (Collaborative Learning) ทำให้ผู้เรียนมีความสุขในสังคมเครือข่ายผู้เรียน
  3. ผู้สอนเปลี่ยนบทบาทจาก Teacher เป็น Facilitator หรือผู้ให้คำแนะนำโดยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้โดยการค้นคว้าอย่างอิสระ (Independent Investigation) จากการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ ICT เป็นฐาน

จากที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นจะเห็นได้ว่า … ครูผู้สอนในยุคศตวรรษที่ 21 จะต้องพัฒนาความรู้ของตนเองเป็นอย่างมากโดยเฉพาะความรู้ในการประยุต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและผู้เรียนเกิดประสบการณ์ทางการศึกษาอย่างสูงสุด

 

ติดตามอ่านเรื่องอื่นๆต่อได้ที่ www.saranslive.com ครับ

 

หมายเลขบันทึก: 386000เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2010 22:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท