Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมทางจริยธรรมกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษา 2


แพรภัทร ยอดแก้ว. 2552. บทความวิจัยเรื่อง "ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมทางจริยธรรมกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม" วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎตะวันตก ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 กรกฎาคม - ธันวาคม 2551

ผลการวิจัย

จากการวิเคราะห์ข้อมูล  สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

1. ปัจจัยส่วนบุคคล 

 

ส่วนที่ 1 ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม  ได้แก่  เพศ  อายุ  คณะ  หลักสูตร  เกรดเฉลี่ย และรายได้ต่อเดือน  

 

ตารางที่ 1  จำนวนและร้อยละของนักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม

      จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล

(n = 328)

ปัจจัยส่วนบุคคล

   จำนวน (คน)

        ร้อยละ

เพศ

            หญิง

 

230

 

70.1

            ชาย

                                    รวม

98

328

29.9

100.00

 

อายุ

            น้อยกว่าหรือเท่ากับ 22 ปี

 

183

 

55.8

            มากกว่า 22 ปีขึ้นไป

                                     รวม

 

145

328

44.2

100.00

คณะ

            บริหารธุรกิจ

 

292

 

89

            วิศวกรรมศาสตร์

                                     รวม

 

36

328

11

100.00

หลักสูตรที่เรียน

            หลักสูตร  4  ปี

            หลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี 

                                     รวม

 

200

128

328

 

61

39

100.00

 

เกรดเฉลี่ย

            น้อยกว่า 2.50

 

208

 

63.4

            มากกว่าหรือเท่ากับ 2.50

                                     รวม

120

328

36.6

100.00

รายได้ต่อเดือน

            น้อยกว่า 3500 บาท

 

210

 

64

            มากกว่าหรือเท่ากับ 3500 บาท

                                     รวม

118

328

36

100.00

 

 

            จากตารางที่ 1 พบว่า  นักศึกษามหาวิทยาลัยสยามในกลุ่มตัวอย่าง  ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง  มีอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 22 ปี  ศึกษาในคณะบริหารธุรกิจ  ในหลักสูตร  4  ปี  มีเกรดเฉลี่ยน้อยกว่า 2.50 และมีรายได้ต่อเดือน  น้อยกว่า 3,500 บาท

 

2. พฤติกรรมทางจริยธรรม

 

ตารางที่  2  แสดงค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และระดับพฤติกรรมทางจริยธรรม ของนักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม

 

ระดับ

       ×̅

S.D.

ระดับพฤติกรรมทางจริยธรรม

พฤติกรรมทางจริยธรรมโดยรวม

ด้านความรับผิดชอบ

ด้านความซื่อสัตย์

ด้านความมีระเบียบวินัย

5.26

5.23

5.17

5.12

0.69

0.64

0.80

0.86

5

5

5

5

 

 

            จากตารางที่ 2 พบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม  มีระดับพฤติกรรมทางจริยธรรมโดยรวมอยู่ในระดับขั้นที่ 5 (×̅ = 5.26)  และเมื่อแยกพิจารณาในแต่ละด้าน  พบว่า  ด้านความรับผิดชอบ ด้านความซื่อสัตย์และด้านความมีระเบียบวินัย มีระดับพฤติกรรมทางจริยธรรมอยู่ในระดับขั้นที่ 5  ×̅ = 5.23, ×̅ = 5.17 และ ×̅ = 5.12 ตามลำดับ

 

ตารางที่  3  แสดงจำนวนและร้อยละของนักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม

                  จำแนกตามระดับพฤติกรรมทางจริยธรรม

 

ระดับพฤติกรรมทางจริยธรรม

จำนวน (คน)

ร้อยละ

6

129

39.3

5

155

47.3

4

3

2

1

43

1

0

0

13.1

0.3

0

0

รวม

328

100

 

จากตารางที่ 3 พบว่า  ของนักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม  ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรมทางจริยธรรม  อยู่ในระดับขั้นที่ 5  จำนวน 155 คน  คิดเป็นร้อยละ 47.3

 

3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

 

ตารางที่  4  แสดงค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม

 

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

×̅

S.D.

ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยรวม

2.40

.51

ปานกลาง

     ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์     

2.52

.52

ปานกลาง

     ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ                

2.45

.57

ปานกลาง

     ด้านการกระตุ้นทางปัญญา    

     ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล

 

2.42

2.18

.50

.56

ปานกลาง

ปานกลาง

 

            จากตารางที่ 4 แสดงให้เห็นว่า  นักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม มีระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง อยู่ในระดับปานกลาง (×̅̅ = 2.40)  และเมื่อแยกพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า  ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์   มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง อยู่ในระดับปานกลาง  (×̅ = 2.52)  ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง อยู่ในระดับปานกลาง (×̅ = 2.45) ด้านการกระตุ้นทางปัญญา มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง อยู่ในระดับปานกลาง (×̅ = 2.42) ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล  มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง อยู่ในระดับปานกลาง (×̅ = 2.18)

 

ตารางที่ 5   แสดงจำนวนและร้อยละของนักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม 

                    จำแนกตามระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

 

ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

จำนวน (คน)

ร้อยละ

สูง

134

40.9

ปานกลาง

191

58.2

ต่ำ

3

0.9

รวม

328

100

           

            จากตารางที่ 5  พบว่า  นักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม  ส่วนใหญ่มีระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง อยู่ในระดับปานกลาง  คิดเป็นร้อยละ 58.2

 

สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะจากการวิจัย

 

            จากการรวบรวมแนวคิด  ทฤษฎี  งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและผลการวิจัยในครั้งนี้  ผู้วิจัยขอเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในแต่ละประเด็น  เพื่อเป็นแนวทางในการเสริมสร้างและพัฒนาพฤติกรรมทางจริยธรรมกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม ดังนี้

            1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  จากผลการวิจัย  พบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม มีระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อแยกพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า  ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์   ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา และด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล  มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง อยู่ในระดับปานกลาง

            ดังนั้น  ผู้บริหารการศึกษา  จึงควรส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม มีระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้น โดยมหาวิทยาลัยควรมีนโยบายสนับสนุนให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษา ทุกคณะ  เพื่อให้นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของภาวะผู้นำและแสดงพฤติกรรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น โดยฝึกการสร้างวิสัยทัศน์  การคิดและการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ  การวางแผน การตั้งเป้าหมาย ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำงาน  การมองปัญหา  และการเผชิญกับสถานการณ์เก่าๆ ด้วยวิถีทาแบบใหม่ๆ  การทำงานร่วมกันเป็นทีม  การพัฒนาเพื่อนร่วมงานให้มีความสามารถในการทำงาน จูงใจให้ปฏิบัติงานโดยเน้นประโยชน์ของกลุ่ม คอยส่งเสริมและให้กำลังใจแก่กลุ่ม การบริหารอารมณ์และการบริหารความเครียด การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองให้มีระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในระดับสูงขึ้น เพื่อเพิ่มความสำเร็จในการเรียน  การทำงานและเพิ่มโอกาสก้าวหน้าในชีวิตมากขึ้น 

            2. พฤติกรรมทางจริยธรรม  จากผลการวิจัย  พบว่า  นักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม  มีระดับพฤติกรรมทางจริยธรรมโดยรวมอยู่ในระดับขั้นที่ 5 และเมื่อแยกพิจารณาในแต่ละด้าน  พบว่า  ด้านความรับผิดชอบ ด้านความซื่อสัตย์และด้านความมีระเบียบวินัย มีระดับพฤติกรรมทางจริยธรรมอยู่ในระดับขั้นที่ 5  คือ หลักสัญญาสังคม (Social Contract)  ในขั้นนี้บุคคลจะแสดงพฤติกรรมเพื่อทำตามมาตรฐานของสังคม เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน โดยบุคคลเห็นความสำคัญของคนหมู่มากจึงไม่ทำตนให้ขัดต่อสิทธิอันพึงมีได้ของผู้อื่น  สามารถควบคุมบังคับใจตนเองได้  พฤติกรรมที่ถูกต้องจะต้องเป็นไปตามค่านิยมส่วนตัว  ผสมผสานกับมาตรฐานซึ่งได้รับการตรวจสอบและยอมรับจากสังคม 

            ดังนั้น  ผู้บริหารการศึกษา  จึงควรส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม มีระดับพฤติกรรมทางจริยธรรมสูงขึ้น โดยมหาวิทยาลัยควรมีนโยบายสนับสนุนให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาพฤติกรรมทางจริยธรรมในระดับนักศึกษา ทุกคณะ หรือการสนับสนุนให้มีการจัดโครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวกับจริยธรรมอย่างต่อเนื่อง [1]

            1.    โครงการครูบ้านนอก (มูลนิธิกระจกเงา จ.เชียงราย)  http://www.bannok.com/volunteer/

            2.    โครงการช่วยเหลือผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาสและผู้ประสบภัยทางธรรมชาติต่างๆ  http://www.siamvolunteer.com/

            3.    โครงการอบรมค่ายพุทธบุตร   http://www.watphrasri.org/bhutabut_web/index.html

            4.    โครงการเลี้ยงอาหารกลางวันแก่เด็กๆในโรงเรียนชนบท  http://www.gotoknow.org/blog/goodproject

            5.    โครงการค่ายอาสาเพื่อพัฒนาชนบท  http://www.klong6.com/index.php 

            6.    โครงการปลูกต้นไม้และอนุรักษ์พันธุ์สัตว์   http://www.redbullspirit.org/index.php

            7.    โครงการที่เกี่ยวกับศาสนา เช่น โครงการอบรมพัฒนาจิตเพื่อพ่อ http://www.veeranon.com/

            8.   โครงการต้นกล้าสีขาว  http://www.bizethics.ktb.co.th/home1.jsp

            9.   โครงการอาสาสมัครเพื่อสังคม  http://www.thaivolunteer.org/

            10. โครงการสุขแท้ด้วยปัญญา   http://www.volunteerspirit.org/

 

ซึ่งโครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวกับจริยธรรมต่างๆ  จะต้องมีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์  วิทยุกระจายเสียง ป้ายประกาศ  เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย และหนังสือแจ้งเกี่ยวกับกิจกรรมไปยังภาควิชาและคณะต่างๆในมหาวิทยาลัยสยาม  เพื่อให้นักศึกษาทุกคนรับทราบอย่างทั่วถึง ส่งเสริมให้นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของพฤติกรรมทางจริยธรรม และแสดงพฤติกรรมทางจริยธรรมเพิ่มขึ้น 

 

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป

 

            เพื่อให้ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น  ผู้วิจัยใคร่ขอเสนอข้อเสนอแนะการวิจัยในครั้งต่อไป ดังนี้

            1.  ควรศึกษาตัวแปรอิสระอื่นๆ ที่มีความสำคัญและอาจมีผลต่อพฤติกรรมทางจริยธรรมกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม เช่น บุคลิกภาพ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์  ความฉลาดทางอารมณ์  ความคาดหวัง ความเครียด ความพึงพอใจในการเรียน เป็นต้น

            2. ควรศึกษาเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมทางจริยธรรมและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม  คณะอื่นๆ  หรือในมหาวิทยาลัยอื่นๆ ของประเทศ

            3. ควรศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษามหาวิทยาลัยสยามที่ไม่ได้เข้าเรียนในวิชาจริยธรรมทางธุรกิจกับวิชาธุรกิจและสิ่งแวดล้อม เพื่อหาสาเหตุปัจจัยของกลุ่มนักศึกษาที่ไม่ได้เรียน แล้วนำผลการศึกษาวิจัยมาเปรียบเทียบกัน

            4.  ควรมีการศึกษาวิจัยโดยใช้การผสานวิธีวิจัยเพื่อรวบรวมข้อมูลด้วย เช่น การสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถามปลายเปิด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ลึกและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

            5. ในการประเมินภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ใช้แบบการประเมินตัวเอง ดังนั้น ในการวิจัยครั้งต่อไป อาจจะใช้วิธีการประเมินจากหลายแหล่งร่วมกันได้ เช่น อาจารย์ที่ปรึกษาของนักศึกษา อาจารย์ผู้สอน  และเพื่อนร่วมห้อง เป็นต้น

 

เอกสารอ้างอิง

 

Bass, Bernard M.  1997, February.  “Does the Transactional-Transformational Leadership paradigm  Transcend Organizational and National Boundaries.”  American Psychologist. 52 (2) : 130-139.

Yamane, t. 1973. Statistic; An Introductory Analysis. 3 rd ed., Time Printers Sdn. Bnd. Singapore. 1130 p.

แพรภัทร  ยอดแก้ว. 2551. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership)ในมหาวิทยาลัย. http://gotoknow.org/blog/teachingdevelopment/195965

รัตติกรณ์  จงวิศาล. 2543. ผลการฝึกอบรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้นำนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ปริญญานิพนธ์ (วิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  ประสานมิตร.

รัตติกรณ์ จงวิศาล . 2544. "ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership)" . วารสารสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2537. รายงานการวิจัยเรื่องภาวะการมีงานทำ และคุณภาพในการทำงานของผู้จบอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

 

 

            [1] แพรภัทร  ยอดแก้ว. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership)ในมหาวิทยาลัย. http://gotoknow.org/blog/teachingdevelopment/195965. 2551.

 

อ่านบทคัดย่องานวิจัยได้ที่นี่ค่ะ

http://researchers.in.th/blog/praepatresearch/1493

 

อ่านบทความงานวิจัยตอนที่ 1 ได้ที่นี่ค่ะ

http://gotoknow.org/blog/praearticle/385901

 

หมายเลขบันทึก: 385904เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2010 16:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 05:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท