นู๋นาย
นาง นภาพร นู๋นาย มหายศนันท์

แรงเคลื่อนที่สำคัญ...ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน


การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

1. ชื่อผลงาน     : แรงเคลื่อนที่สำคัญ...ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

2. คำสำคัญ          : ทีมดูแลเบาหวาน ,  Diabetic  care team

3. สรุปเรื่องเล่าโดยย่อ :   การดูแลผู้ป่วยเบาหวานมีแรงเคลื่อนหลายอย่างที่เป็นปัจจัยในการดำเนินงานให้สำเร็จโดยเฉพาะการสร้างทีมดูแลผู้ป่วยโรงพยาบาลท่าวังผา  จังหวัดน่านใช้ แนวคิดและกระบวนการดำเนินงานดังนี้

1.  ผู้บริหารระดับสูงให้ความสำคัญ 

2.  หาแนวร่วมในการดำเนินงาน  โดยการประสานกับหน่วยงาน / บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง  หรือบุคคลที่เคยดำเนินการด้านนี้มาก่อนเพื่อหาแนวทางในการดูแลร่วมกัน

3.  กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของแนวร่วมให้ชัดเจน  ให้โอกาสและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพตนเองของทีมงานทุกคน

4. ชื่อและที่อยู่ขององค์กร : โรงพยาบาลท่าวังผา  จังหวัดน่าน  

5. สมาชิกทีม : แพทย์  พยาบาล  เภสัชกร  นักโภชนากร  นักกายภาพบำบัด  นักวิทยาศาสตร์การแพทย์  ทันตแพทย์

6. เป้าหมาย :   เกิดทีมในการจัดกระบวนการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ยั่งยืน

7. ที่มาของปัญหา : ตั้งแต่ปี  2547  ที่ดิฉันได้รับให้รับผิดชอบในการจัดคลินิกดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานของโรงพยาบาลท่าวังผา ซึ่งขณะนั้นมีผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรักษา  ประมาณ 400 กว่าคน  มีผู้ร่วมดำเนินการ พยาบาลวิชาชีพ 2 คน  ผู้ช่วยเหลือคนไข้  1 คน  แพทย์ 1 คน ( ที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยมากทุก 2เดือน)มีผู้รับบริการเฉลี่ยวันละ 60-80 คน บางวันมีถึง 100 คน(เพราะยังไม่มีการจัดระบบการนัดหมายผู้ป่วย)  เวลาให้บริการตั้งแต่เวลา 07.00-12.00น.  จากที่กล่าวมาข้างต้น  แค่ดูเรื่องข้อจำกัดด้านเวลาให้บริการผู้รับผิดชอบคงไม่มีเวลาที่จะทำอะไรได้มากนอกจากจะทำอย่างไรที่จะให้บริการผู้ป่วยให้ไม่เกินเวลา 12.00น. แต่การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีหลายสิ่งที่ต้องทำควบคู่กับการให้การรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี  ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน  แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ทำให้ข้าพเจ้าเกิดความท้อแท้แต่กลับเป็นแรงผลักดันให้ตัวเองคิดว่าเราจะดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ได้อย่างไร  แค่เรา3-4 คนที่ทำอยู่คงไม่ไหว ทำให้มีแนวคิดว่าใครบ้างที่จะช่วยเราได้  แต่การช่วยเหลือเราเขาคนนั้นต้องได้รับค่าตอบแทนที่คุ้มค่า(หมายถึงความสุขที่ได้ทำ)  ดิฉันจึงได้เริ่มดำเนินการหาหน่วยงาน  บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องแลกเปลี่ยนแนวคิด  จุดประกายความคิดให้ทุกคนรู้ถึงผลลัพธ์ที่เราจะได้รับ หน่วยงานได้รับ  และจุดสูงสุดที่ผู้ป่วยได้รับ  การดำเนินการแรกๆก็มีปัญหามากมายเกินคำบรรยายแต่มาถึงเวลานี้เรามีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนรักษา กว่า 1000 คน  เรามีแนวทางการรักษาผู้ป่วยตามมาตรฐาน  มีการพัฒนาศักยภาพการคัดกรองความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยด้านห้องปฏิบัติการได้ทุกอย่าง  มีการจัดกิจกรรมการส่งเสริมการดูแลตนเองในผู้ป่วยในรูป การจัดการความรู้ผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรายใหม่  หลักสูตร 3 ชั่วโมง  มีการจัดค่ายเบาหวานในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมโรคได้  และกิจกรรมอีกมากมายที่เป็นความคิดและความร่วมมือของทีมงาน  ในขณะที่คลินิกโรคเบาหวานขอดิฉันก็ยังมีผู้ให้บริการเท่าเดิมคือ  แพทย์ 1 คน พยาบาลวิชาชีพ 2 คน  ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 1 คน

8. กิจกรรมพัฒนา :

1. กำหนดผู้รับผิดชอบเฉพาะโรค  (Case  manager)

2.  กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ  เป้าหมายการทำงาน อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม ให้แต่ละหน่วยงานทราบเพื่อการวางแผนการดูแล

3.  ทีมงานได้รับการพัฒนาศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

4.  มีการใช้ผลงานวิชาการ(R2R)มาพัฒนาการดูแลผู้ป่วย

9. เรื่องเล่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น :

1. มีทีมผู้ปฏิบัติงานที่ชัดเจนโดยเฉพาะกลุ่มแพทย์ที่เราคิดว่าเป็นปัญหาในการขับเคลื่อนเราก็ได้แพทย์ที่มารับผิดชอบในการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยเบาหวานร่วมกับเราโดยให้แพทย์ที่รับผิดชอบประสานการดำเนินงานในองค์กรแพทย์กันเอง  เพื่อให้การดูแลเป็นไปตามแนวทางที่ทีมงานกำหนดขึ้น  ลดปัญหาแนวทางการดูแลผู้ป่วยตามแต่สถาบันของแพทย์แต่ละที่ที่สำเร็จการศึกษามา

2.  หน่วยงานที่สำคัญๆเช่น ฝ่ายเภสัชกรรม  ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน ตึกผู้ป่วยใน ห้องชันสูตร  กายภาพบำบัด  โภชนาการ   ฝ่ายทันตสาธารณสุข  เมื่อพูดถึงการดูแลผู้ป่วยเบาหวานทุกคนจะรู้ว่าเป็นใครที่รับผิดชอบกรณีมีข้อซักถามเกี่ยวกับการดูแลทีมงานสามารถให้ความเห็นที่ตรงกันได้ทุกหน่วยงาน

3.  ผู้บริหารมีความพึงพอใจในการดำเนินงานและพร้อมที่จะสนับสนุนการดำเนินงาน

10. บทเรียนที่ได้รับ :

1.  องค์กรมีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานมากขึ้นจนเป็นที่ยอมรับของผู้ป่วยและญาติ

2.  ผู้ป่วยและญาติมีความพึงพอใจในบริการที่ได้รับ  ว่าจะได้รับการดูแลตามาตรฐาน

3. ทีมงานทุกคนมีความภาคภูมิในในการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน  และได้พัฒนาศักยภาพของตนเองเพิ่มมากขึ้น  และรู้สึกสนุกกับการทำงานเป็นทีมไม่โดดเดี่ยวอีกต่อไป

4.  องค์กรเอกชน  และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมองเห็นความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยเบาหวานมากขึ้น และพร้อมที่จะให้การสนับสนุน

11. การติดต่อกับทีมงาน :   นางนภาพร  มหายศนันท์

E- mail  [email protected]  Tel  0861857065  , 054755-380     

หมายเลขบันทึก: 385378เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2010 21:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 09:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

โรคนี้ร้ายกาจจริงๆ คุณแม่ผมเป็นมานาน ทานยาเป็นกำๆ เลยครับ หลายปีแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท