วิจารณ์ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)


     ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง วีก็อทสกี้ (Vygotsky) นักจิตวิทยาชาวรัสเซีย ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาในสมัยเดียวกับ

     เพียเจต์(Piaget) พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของบุคคล มีการปรับตัวผ่านทางกระบวนการซึมซาบหรือดูดซึมและมีกระบวนการปรับโครงสร้างทางปัญญาดั้งนี้

             1.ปัญญา  การที่มนุษย์คิดได้เกิดขึ้นได้ด้วยกระบวนการซึมซาบทางเชาวน์ปัญญาของบุคคล ประสบการณ์ใหม่เข้าไปสัมพันธ์กับความรู้ทางปัญญาที่มีอยู่เดิม เช่นขั้นตอนการซักผ้า

             2. สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการเปลื่อนแปลงความคิดของคนเริ่มตั้งแต่สถาบันครอบครัว วัฒนธรรม กระบวนการดำเนินชีวิตที่สือทอดกันมาเช่นการนุ่งผ้าถุงได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย และการกินข้าวด้วยมือ 

              3. ภาษา เป็นเครื่องมือสำคัญของการคิด และการพัฒนาการเชาวน์ ความคิดของเด็กเริ่มต้นด้วยการพัฒนาที่แยกจากกัน แต่เมื่ออายุมากขึ้น พัฒนาการทั้งสองด้านจะเป็นไปร่วมกัน

               ทฤษฎีกลุ่มปรนัยนิยม(Objectivism) มีความเห็นว่าความรู้ไม่เปลื่นแปลง จริงแท้แน่นอน จากการศึกษาคือการให้ผู้เชื่อว่าโลกกลม น้ำไหลที่สูงลงสู่ที่ต่ำแต่ขึ้นอยู่กันหลายปัจจัย ได้เรียนรู้ความจริง ครูเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ เช่นใบไม้มีหลายสี คนแต่ละคนเกิดความคิดจากประสบการณ์  เป็นความแตกต่างของบุคคล และการให้ความช่วยเหลือผู้เรียนเพื่อให้ก้าวหน้า จากระดับพัฒนาการที่เป็นอยู่ ไปถึงระดับพัฒนาการที่เด็กมีศักยภาพจะไปถึงได้ สอนให้สอดคล้องกับระดับพัฒนาการของเด็ก การสอนมีลักษณะเป็นเส้นตรง เปิดโอกาสให้เด็กได้คิดเพี่มเติม ครูไม่ควรสอนสี่งที่ตายตัวเปลื่อนแปลงได้ เด็กอายุ 8 ขวบจะสามารถทำงานที่เด็กอายุ 8 ขวบทั่วไปทำได้ ให้งานของเด็กอายุ 9 ขวบ เด็กทำไม่ได้แต่เมื่อได้รับการชี้แนะหรือสาธิให้ดูเด็กทำได้ แสดงว่า เด็กมีวุฒิภาวะที่จะไปถึงระดับที่ตนเองมีศักยภาพจะพัฒนาไปให้ถึง ต่อไปจะทำสิ่งนั้นได้โดยไม่ต้องชี้แนะในขณะเดียวกันมีเด็กคนหนึ่งอยู่ในระดับสมองเท่ากันอายุ 8 ขวบให้ทำงานเด็กอายุ 9 ขวบเด็กทำไม่ได้แม้จะได้รับการชี้แนะ แสดงให้เห็นว่าความสามารถของเด็กแตกต่างกัน ทุกคนทำสี่งใดๆไม่เหมือนกัน เด็กพัฒนาการแล้วเด็กไปไม่ได้ครูต้องคอยชี้แนะ เวลาแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมต้องคละนักเรียนชายและหญิง

              สรุปได้ว่า ทฤษฎีการสร้างความรู้เป็นกระบวนการ ที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล ไม่ใช่เพียงรับข้อมูลเข้ามาเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ทางสมองด้านสติปัญญา และกระบวนการทางสังคมควบคู่กันไป

 

               การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการเรียนการสอน

         1.การเรียนรู้จะต้องมาจากการปฏิบัติงานจริง ครูเป็นตัวอย่างและฝึกฝนกระบวนการเรียนรู้ เด็กๆทำได้จริงด้วยตนเอง เช่นการเพาะถั่วงอก ทลองเพาะหลายๆวิธี

         2.เป้าหมายของการสอนจะเปลื่อนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ รู้ทักษะต่างๆมีประสิทธิภาพและแก้ปัญหาจริงได้

          3. การเรียนการสอนเรียนอย่างจริงจัง การเรียนรู้อย่างตื่นตัว (active)

          4. การจัดการเรียนการสอนครูต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคมจริยธรรม ผู้เรียนจะต้องมีโอกาศเรียนรู้ที่เอื้อต่อการปฎิสัมพันธ์ทางสังคมการร่วมมือการแลกเปลื่อนความรู้ช่วยให้การเรียนรู้กว้างขึ้นซ้บซ้อนหลากหลายขึ้น

           5.มีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่ เช่นผู้เรียน เป็นผู้เลือกสิ่งที่ต้องการเรียนเอง ก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเอง

           6. ครูจะมีบทบาทแตกต่างไปจากเดิม คือจากการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และควบคุมการเรียนรู้ เปลื่อนเป็นผู้อำนวยความสะดวก ช่วยสร้างแรงจูงใจจัดเตรียมกิจกรรมเรียนรู้ที่ตรงกับความสนใจของผู้เรียน

          7.การประเมินผลการเรียนการสอน ใช้วิธีการหลากหลายซึ่งอาจจะเป็นการประเมินจากเพื่อน แฟ้มผลงาน ที่สะสมผลงานนักเรียน 

 

สุดท้ายนี้ อาจารย์น้ำอ้อย ดูแลสุขภาพดว้ยนะค่ะ

ชื่อ  ชนกานต์  อักษรทิพย์  ป.บัณฑิตวิชาชีพครู รุ่น  11  ห้อง 1  รหัสประจำตัว 52051502092 

คำสำคัญ (Tags): #constructivism
หมายเลขบันทึก: 385069เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2010 16:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรื่องนี้ดีครับ ขอนำไปประยุกต์ใช้ ขอบคุณมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท