ลปรร. ตำบลต้นแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว (5) สถานดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย


 

ช่วงนี้ เป็นผลจากการศึกษาสถานการณ์ การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในประเทศไทย มาเล่าสู่กันฟัง โดย ผศ.รอ.หญิง.ดร.ศิริพันธุ์ สาสัตย์ ค่ะ

การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวแบบครอบคลุม แบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ภาคหนึ่งเป็นการดูแลในชุมชน อีกส่วนหนึ่งเป็นการดูแลในสถานบริการ

การดูแลผู้สูงอายุในชุมชน เป็นเรื่องของในบ้าน มีคนดูแล หรือบางรายไม่มีผู้ดูแลเลย

เมื่อผู้สูงอายุเริ่มมีความต้องการการดูแล หรือต้องการความช่วยเหลือ ต้องมีเรื่องของการปรับตัวในครอบครัว ว่าใครจะเป็นผู้ดูแล แบ่งหน้าที่กันอย่างไร ลูกหลานใครจะทำหน้าที่อะไร ... ต้องตกลงกัน

ถ้าในบ้านนั้นมีผู้ดูแลอยู่แล้ว บริการที่เราจะให้ในชุมชน ก็คือ บริการเสริม เช่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขไปเยี่ยมที่บ้าน ไปให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแล การป้องกันแผลกดทับ ทานอาหารไม่ได้ควรทำอย่างไร

หรือ ถ้าการดูแลเริ่มซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เริ่มต้องทานอาหารปั่น ต้องใส่สวนปัสสาวะ ... ต้องมีคนช่วย ก็ต้องมี complex care package

ถ้าเกิดภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉิน ก็ไปในโรงพยาบาล อาจกลับมาอยู่บ้านไม่ได้ เพราะว่าช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ลูกหลานดูแลไม่ได้ ... ในต่างประเทศ จะมี Nursing Home สถานพยาบาลที่รองรับผู้สูงอายุกลุ่มนี้ ... การดูแลจะมีความเข้มข้นมากขึ้น

ในรายที่ไม่มีผู้ดูแล ก็ให้บริการทดแทน เช่น ไปทำกับข้าวให้ ไปจ่ายตลาดไม่ได้-ก็ delivery สู่บ้าน ทำกับข้าวส่งไปที่บ้าน หรือส่งคนไปเยี่ยมที่บ้าน ไปเฝ้าในช่วงหนึ่งที่เขาช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือว่าพาไปนอนโรงพยาบาลระยะสั้นๆ ... ที่สุดท้ายของบ้านเรา เป็นบ้านพักคนชรา

ประเทศเราก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุ มีปัญหาโรคเรื้อรังที่นำไปสู่ภาวะทุพพลภาพ หรือภาวะพึ่งพิง ... ศักยภาพของครอบครัวลดลง ไม่สามารถดูแลผู้สูงอายุได้ ... แนวโน้มลักษณะการอยู่อาศัย ของผู้สูงอายุอยู่ตามลำพังสามีภรรยาเพิ่มมากขึ้น หมายความว่า ลูกหลานไม่ได้อยู่ด้วยสูงขึ้น ... ยังไม่มีสถานบริบาลสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นของภาครัฐ มีแต่ของภาคเอกชน พบมากที่สุด ในกรุงเทพฯ และราคาค่อนข้างแพง ... การดูแลที่ต้องการการพยาบาล ต้องการการดูแลระดับสูง จะแฝงอยู่ในบ้านพักคนชรา ... แล้วอย่างไรก็ตาม สถานที่รับเลี้ยงผู้สูงอายุยังไม่มีการขึ้นทะเบียน ... เกณฑ์การจัดตั้งยังไม่ชัดเจน และยังไม่มีการจัดทำมาตรฐานในการดูแลผู้สูงอายุ

อ.สิทธิชัยได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ผู้สูงอายุที่อยู่ติดบ้านเพิ่มขึ้น ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง เริ่มมีภาวะสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น ... กลุ่มคนเหล่านี้ต้องการคนดูแลเป็นพิเศษ ... และเราจะทำอย่างไร

การศึกษา ของอาจารย์สุวิทย์ บอกไว้ว่า การดูแลผู้สูงอายุ พบทั้งการดูแลในครอบครัว และสถานบริการ ในครอบครัว ส่วนหนึ่งญาติดูแลเอง หรือจ้างคนมาดูแล ... แนวโน้มการดูแลในครอบครัวจะเพิ่มมากขึ้น ในสถานบริการ รายที่ต้องการการดูแลระดับปานกลาง ถึงระดับมาก ก็มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น ... ในภาพรวม ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ มีความต้องการการดูแลเพิ่มขึ้น แต่เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ

การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง มีเรื่องของการให้ผู้ป่วยจัดการกับโรคอย่างมีประสิทธิภาพ บุคลากรในการดูแลผู้สูงอายุต้องปรับเปลี่ยนบทบาท และการดูแลที่มีภาวะฉุกเฉิน จากการดูแลในโรงพยาบาล เป็นการดูแลผู้ที่มีภาวะเรื้อรัง

เป้าหมายในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ต้องส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเอง เขายังตักอาหารทานได้อยู่ ก็ต้องให้ทานได้ต่อ คุณพ่อคุณแม่ยังทำงานได้อยู่ ก็ต้องให้ทำงานต่อ ... เราต้องรักคุณพ่อคุณแม่ให้ถูกทาง ... เรื่องของ ต้องชะลอความเสื่อมถอยทางสุขภาพ และส่งเสริมคุณภาพชีวิต และช่วยเหลือผู้ที่เสียชีวิตไปอย่างสงบ ... นี่เป็นสิ่งสำคัญ

การดูแลระยะยาวในสถานบริการ หมายถึง ที่พักอาศัยที่ให้บริการทางเลือก โดยวิถีการดำเนินชีวิตของบุคคล เพื่อตอบสนองความต้องการการดูแลของผู้สูงอายุ ตลอดกระบวนการสูงอายุ เป็นสิ่งสำคัญ ว่า ช่วงหนึ่งของชีวิตที่เขาไม่สามารถดูแลตัวเองได้ ช่วยเหลือตัวเองได้อย่างชัดเจน เขาต้องมีสถานที่รองรับ เพื่อตอบสนองความต้องการการดูแลตลอดกระบวนการสูงอายุ ก่อนที่จะเสียชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว การดูแลระยะยาว เราจะนับตั้งแต่อย่างน้อย 3 เดือนขึ้นไป

สถานบริการระยะยาว แบ่งเป็น 5 สถานบริการใหญ่ๆ ก็คือ

  1. บ้านพักคนชรา
    ... ช่วยเหลือในกิจวัตรประจำวัน การอาบน้ำ การรับประทานอาหาร การขับถ่าย และดูแลทางด้านสังคม มีกิจกรรมผ่อนคลาย และอาจมีพยาบาลไปเยี่ยมเมื่อต้องการเท่านั้น มีที่พัก ดูแลอาหาร ผู้รับบริการในประเทศไทย ส่วนใหญ่ยังเป็นผู้สูงอายุ บางรายก็ยังช่วยเหลือตัวเองได้ อาจมีฐานะยากจน หรือญาติไม่สามารถดูแล หรือไม่สามารถอยู่กับครอบครัว หรืออยู่ด้วยกันไม่ได้ หรือขาดผู้ดูแล
  2. สถานช่วยเหลือในการดำรงชีวิต คนที่เริ่มจะเดินไม่ค่อยไหว ต้องใช้ไม้เท้า รถเข็น ประกอบอาหารเองไม่ได้
    ... ส่วนใหญ่จะมีระบบขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน และมีกลุ่มคนคล้ายๆ หอพัก เรียกเวลาเราต้องการความช่วยเหลือฉุกเฉิน อาจมีนักสังคมสงเคราะห์ไปเยี่ยม ต้องการบริการอาหารและที่พัก อาจจะมีพยาบาลไปเยี่ยมบางวัน
  3. สถานบริบาล ที่ให้การบริการเป็นการพยาบาลมากขึ้น ยังเป็นการให้บริการแบบชั่วคราว ไปเช้าเย็นกลับ ให้บริการระยะสั้นๆ ในรายที่ญาติไปต่างจังหวัด
    ...  ต้องการบริการ 24 ชั่วโมง การอาบน้ำ ป้อนข้าว การขับถ่าย ดูแลเรื่องการเคลื่อนไหว เดินเองไม่ได้ ต้องมีคนพยุง หรือนั่งรถเข็น ต้องการดูแลทางด้านจิตสังคม ต้องการการฟื้นฟูสภาพ
  4. สถานดูแลระยะยาวในโรงพยาบาล
    ... ให้ออกจากโรงพยาบาลก็ไม่ได้ เพราะว่า อาจต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ บางคนอาจไม่มีผู้ดูแล ก็ต้องให้อยู่นาน ๆ ... ผู้รับบริการเป็นผู้สูงอายุหลังภาวะวิกฤต และอยู่เฉพาะระยะพักฟื้น เพื่อเตรียมพร้อมกับที่บ้าน
  5. สถานดูแลระยะสุดท้าย ที่พบอยู่ มีทั้งที่วัด เช่น วัดธรรมประมง สกลนคร หรือในโรงพยาบาล เช่น รพ.สงฆ์ มีหอดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย และ รพ.มหาวชิราลงกรณ์ ที่ปทุมธานี ... ส่วนนี้ต้องการการดูแลทางด้านการแพทย์ การพยาบาล ด้านจิตวิญญาณ และการบริการทางเลือก ผู้รับบริการเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะเป็นมะเร็ง หรือโรคสมองเสื่อม หรือโรคผู้สูงอายุระยะสุดท้ายต่างๆ ก็ต้องการการดูแลระดับสูงสุด

ในต่างประเทศ เขาแบ่งออกเป็น 5 ระดับ อย่างไรก็ตาม ช่วงหลังๆ จะไปรวมในสถานบริบาล เขาพยายามไม่ให้โรงพยาบาลเปิดสถานดูแลระยะยาว เพราะว่าค่าใช้จ่ายจะแพงมาก เตียงมีจำกัด

เรื่องของระดับการดูแล เราแบ่งสถานบริการต่างๆ ตามระดับการดูแลจากต่ำไปสูง ตั้งแต่การดูแลส่วนบุคคล ไปถึงการพยาบาล และการรักษา การดูแลระดับต่ำๆ จะเป็นบ้านพักคนชรา สถานสงเคราะห์คนชรา สูงขึ้นไปอีกนิดหนึ่ง คือ สถานช่วยเหลือในการดำรงชีวิต สูงขึ้นเป็นสถานบริบาล บางส่วนก็ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม ดูแลระยะสุดท้ายด้วย สูงขึ้นไปเป็นสถานดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ในโรงพยาบาลก็จะมีการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายอยู่ด้วยบางแห่ง และสถานดูแลระยะสุดท้าย บ้านเราอยู่ในวัด ต่างประเทศอยู่ในโบสถ์

การศึกษาสถานดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย

ได้ข้อสรุปว่า สถานบริการทั้งหมดในประเทศไทย พบสถานบริบาลมากที่สุด 44% โดยเฉพาะอย่างยิ่งพบในกรุงเทพฯ พบว่า ผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพฯ เป็นโรคเรื้อรัง มีภาวะทุพพลภาพสูงขึ้น รองลงมาเป็นสถานสงเคราะห์คนชรา 4 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ

  • บ้านพักคนชรา พบในกระทรวง พม. มากที่สุด รองลงมา อปท.
  • ภาคเอกชนเยอะที่สุด
  • จำนวนเตียง พบว่า ในบ้านพักคนชรา มีจำนวนเตียงมากที่สุด
  • สัดส่วนของบุคลากรในสถานบริการ พบทั้งเป็นพยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยดูแล พี่เลี้ยง นักกายภาพบำบัด
  • ในสถานบริบาล ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุนอนติดเตียง ต้องการการดูแลตลอด 24 ชม. เพราะฉะนั้นบุคลากรจะค่อนข้างเป็นวิชาชีพมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับสถานสงเคราะห์คนชรา ซึ่งส่วนใหญ่จะช่วยเหลือตัวเองได้
  • ลักษณะการให้บริการ มีทั้งการดูแลระยะสุดท้าย การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม การดูแลกลางวัน การดูแลชั่วคราว ฟื้นฟูสภาพพบมากที่สุด บางแห่งขยายไปดูแลสุขภาพที่บ้าน
  • ผู้ที่อยู่ในสถานบริการ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง

รวมเรื่อง ลปรร. ตำบลต้นแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว

  

หมายเลขบันทึก: 384556เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2010 22:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

  เรียนเพื่อนร่วมทางที่คิดถึง

     แวะมาเรียนรู้ด้วยคนนะคะ ชื่นชมมากค่ะ

สวัสดีค่ะ

เข้ามาเรียนรู้ เตรียมตัวเผื่อว่าตอนแก่อาจจะได้มาใช้บริการค่ะ

มีคนชวนไปกินขนมจีนน้ำยาค่ะ

 

P 

  • เมื่อไหร่จะมาให้เลี้ยงอีก...
  • ช่วงนี้ผลไม้เยอะมาก  โดยเฉพาะทุเรียน  hi  hi
  • ทีม KM  กรมฯ จะมาที่ศูนย์ 12 ฯ วันที่ 31 สค. นี้ มาด้วยไหมมมม..
  • ตามมายืนยันว่า มายะลาเมื่อไหร่
  • จะเลี้ยงทั้งขนมจีน  ข้าวยำ สะตอ ลูกเนียงจ้า...

อยากไปกินด้วยจัง

โดยเฉพาะทุเรียนบ้าน  อิอิ

ฝากคุณหมอกินแทนด้วยนะจ๊ะ

เปลี่ยนจากเส้นพาสต้า  เป้นเส้นขนมจีน

  • P + P
  • เรื่องเล่า ช้าหน่อยนะคะ ... ช่วงนี้กิจกรรมเยอะ
  • เรื่องนี้ สรุปว่า เราคงจะต้องเตรียมตัวกันแต่เนิ่นๆ จะได้ สว. อย่างมีคุณภาพค่ะ อิอิ
  • P + P
  • อยากไป ทั้งเหนือ ทั้งใต้ เลย ... ทำไงดี
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท