SHA season2... บ้านของเรา ( Healing Environment)


โรงพยาบาล คล้ายกับเป็นบ้านหลังที่๒ ของเราเอง บ้านหลังนี้จึงควรมี” รัก” เพื่อคอยประคับประคองและขับเคลื่อนหลังชีวิตในการทำงานอย่างดียิ่ง

เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็วเหลือเกิน เสร็จจาก การประชุมเครือข่าย SHA ได้แค่วันสองวัน เราก็เริ่มเข้าสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในอีกหนึ่งองค์ประกอบในโครงการ SHA นั่นคือการสร้างสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา หรือที่เรียกชื่อเป็นภาษาฝรั่งว่า Healing Environment นั่นเอง

คราวนี้เราได้เชิญผู้ที่ทำงานในรพ.ที่รับผิดชอบเรื่องสิ่งแวดล้อม หรือเรื่องคุณภาพมาร่วมเรียนรู้ ความจริงแม่ต้อยตั้งใจหมายมั่นที่จะพยายามให้เป็นผู้รู้จริง เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะเลยทีเดียว เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่เราจัดหลักสูตรนี้ขึ้นมา

ไม่แน่ใจในระบบการคัดเลือกของโรงพยาบาลเท่าไหร่นัก อาจจะเป็นเพราะการสื่อสาร หรืออะไรก็สุดแล้วแต่ ปรากฏว่าหลายๆคนที่มาต่างก็ไม่รู้ตัวว่าทำไมถึงได้รับการคัดเลือก และหลายๆคนก็เป็นคนเดิมๆที่เข้าแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งแรกนั่นเอง  แต่ก็ดีคะ เพราะทำให้น้องๆ ตั้งใจเรียนรู้มากขึ้นนะคะ แม่ต้อยว่า

ความตั้งใจคือ  พยายามที่จะจัดทีม และสร้างการเรียนรู้เป็นกลุ่มๆ เพราะแต่ละเรื่องราวก็จะมีความเป็นพิเศษลงไป เมื่อรวมทีมที่เข้ามาอบรมในแต่ละหัวข้อแล้ว ทั้งรพ.จะมีทีมประมาณ ๑๐ คนที่เข้าใจและผสานกันทำงานได้ดี  และทุกการอบรมก็ต้องใช้มิติจิตใจและความละเอียดอ่อนเป็นพื้นฐานความคิดทั้งสิ้น

แต่หากรพ.ใดส่งคนเดิมๆมาก็จะทำให้ทีมมีจำนวนน้อยลงไปตามนั้น แต่อันนี้แม่ต้อยคิดว่าเป็นการออกแบบของรพ.เองด้วย

สำหรับกลุ่มนี้ ความเจาะจงคือการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยี่ยวยา ซึ่งเป็นองค์ ประกอบหนึ่งของ SHA

 

ที่ใช้คำว่า “เยียวยา”นี้แท้ที่จริงเพื่อต้องการให้เกิดการบูรณาการ ทั้งทางกาย จิตใจ สังคม ความเชื่อ ตลอดจนวัฒนธรรมท้องถิ่น หลอมรวมกับระบบโครงสร้าง สิ่งแวดล้อม ซึ่งหมายความรวมถึงสัมผัสทั้ง ๕ อันได้แก่ การได้ยิน การได้กลิ่น การสัมผัส การลิ้มรสชาดอาหาร สิ่งแวดล้อมทางจิตใจ ที่ต้องการได้รับการตอบสนอง เช่น ความรัก การเคารพ สิทธิที่พึงจะได้รับ หรือการขอโทษ และสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุดคือเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคนในระบบบริการ ด้วย

และที่แม่ต้อยจะต้องคอยย้ำเตือนเสมอว่า เรื่อง Safety นั้นก็เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญด้วยเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากเป็นมาตรฐานในระดับที่๑ หรือบันไดขั้นที่๑ ของการเป็นโรงพยาบาลคุณภาพ

การสร้างสรรพื้นที่เพื่อการเยียวยานั้น เป็นการยกระดับประสาทสัมผัสที่คนจะสามารถรับรู้และสัมผัสได้

“ คน” ในที่นี้แม่ต้อยอยากที่จะให้ความสำคัญสำหรับทั้งคนที่ทำงานในองค์กรเป็นอันดับแรก เพราะที่ทำงาน หรือโรงพยาบาล คล้ายกับเป็นบ้านหลังที่๒ ของเราเอง บ้านหลังนี้จึงควรมี” รัก” เพื่อคอยประคับประคองและขับเคลื่อนหลังชีวิตในการทำงานอย่างดียิ่ง

และโรงพยาบาล ก็น่าจะเป็น “ บ้าน” หลังที่สองของคนไข้ หรือของญาติ ยามที่เขาเจ็บป่วย ซึ่งเป็นช่วงชีวิตที่เขาอยู่ในภาวะถดถอย ท้อแท้ และสูญเสีย

ในช่วงนี้เอง กระบวนการรักษาพยาบาลจึงต้องมีการผสมผสานมิติจิตใจ ของปัจเจกบุคคล รวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่ทำให้ผ่อนคลาย ไม่วิตกกังวล ไม่หวาดกลัว ซึ่ง เราจะให้ความสำคัญกับธรรมชาติ อากาศบริสุทธ์ ต้นไม้ ดอกไม้ งานด้านศิลปะต่างๆ เสียงดนตรี  รวมทั้งพื้นผิวที่สัมผัสกายอันบอบบางของคนไข้  อาหารที่เหมาะสม การลดโทนเสียงที่ก่อให้เกิดมลพิษ เป็นต้น

มีอยู่ตอนหนึ่ง แม่ต้อยก็บอกน้องๆว่า

“ เวลาทำเรื่อง สิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา เราต้องเข้าใจว่า เป้าหมายของการเยียวยา นั้นคือกลุ่มใด สิ่งที่เป็นมิติจิตใจหรือความต้องการของเขาคืออะไร  หากเราสามารถค้นหาได้ เราจะเริ่มเห็นแนวทาง “

ทีนี้การวางระบบเพื่อจัดสิ่งแวดล้อมเพื้อเอื้อก้จะตามมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแสง สี เสียง ธรรมชาติ วาจา การสื่อสารที่จะทำความเข้าใจ สัมพันธภาพต่างๆ ภายใต้เงื่อนไขนั้นๆให้ดีที่สุด

แต่ไม่ใช่ว่า ไปทุกแห่งก็จะเห็นน้ำตกจำลอง หรือมีเพลงขับกล่อมที OPD โดย ไม่รู้ว่าเนื้อแท้คนไข้ต้องการอะไร ? เรียกเสียง ฮาครืนจากน้องๆ เลยทีเดียว

ที่จริงในวันแรก อาจารย์ โกมาตร  ( ปรมาจารย์ ขั้นเทพ) ก็เกรินนำเรื่องนี้มาพอสมควร แต่เวลาอาจจะน้อยไปหน่อย  อีกอย่าง เมื่อไหร่ก็ตามที่แม่ต้อยมีโอกาส บรรยายคู่กับอาจารย์ โกมาตร  ทำมั้ย..ทำไม เวลามันสั้นเสียจริงๆ อิอิ

สิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุดคน หรืออาจจะเรียกว่าเป็นสิ่งแวดล้อมในกายมนุษย์ก็ว่าได้ ผู้รักษาพยาบาลที่ดี ต้องตรวจไปให้ถึงความต้องการระดับจิตวิญญาญของคนไข้

การสื่อสารด้วยวาจา บางครั้งก็สามารถทำร้ายผู้คนได้ เช่นกัน ดังนั้นการเยียวยาที่ดี อาจจะไม่ได้เริ่มต้นที่การปรับปรุงโครงสร้างตึก หรือ ทาสีใหม่ก็ได้ ที่สำคัญกว่าและลงทุนน้อยกว่าคือ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน หรือการสร้างความเมตตา เอื้ออาทรต่อกัน

คำพูดที่บั่นทอนคนอื่นโดยที่เรานั้นไม่ได้ตั้งใจ อาจจะมีมากมาย การมีสติและกลั่นกรองคำพูดรวมทั้งภาษากาย ท่าทางต่างๆเพื่อมิให้ทำร้ายคนอื่น ไม่ทำให้คนอื่นเสียใจ ฝึกตนเองให้มีความนุ่มนวล รู้จักให้อภัย และขอโทษ  

แม่ต้อยว่านี่คือการเยียวยาที่ดีที่สุดในระดับปัจเจกบุคคลที่เราจะเริ่มต้นได้ในทุกขณะจิต

ที่เป็นสุดยอดคือหากโรงพยาบาลใด พัฒนาจนเป็นสถานที่ให้การรักษาอย่างมีมาตรฐาน  มีสิ่งแวดล้อมที่สำคัญคือความสัมพันธ์ที่ดีของบุคคล ที่มีเมตตา เอื้อเฟื้อและเข้าใจ แสดงออกด้วยการสัมผัสทางกาย ทางคำพูดด้วยวาจา และ ด้วยใจที่งดงาม

เพิ่มความละเอียดอ่อน และประณีต ด้วยการวางโครงสร้างทางกายภาพที่เอื้อต่อการเยียวยา ซึ่งรวมความถึง พื้นที่ สัดส่วน การออกแบบผังพื้น การใช้สี การใช้แสงที่เหมาะสมกับผู้ป่วยและความรู้สึก การจะเฟอร์นิเจอร์ บรรยากาศ งานศิลปะกรรมต่างๆ กลิ่น ฯลฯ โครงสร้างเหล่านี้สามารถรับรู้ได้ด้วยสัมผัสอันละเอียดของมนุษย์ นับตั้งแต่ย่างก้าวเข้ามาในโรงพยาบาล

โรงพยาบาล นี้ คงเป็นเหมือนบ้านที่สองของทั้งคนทำงานและคนที่มารับบริการ

และทั้งหมดนี้คือความหมายของสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา

และแม่ต้อยอยากจะบอกว่าในแต่ละแห่งก็จะมีความแตกต่างกันออกไป

ไม่สามารถที่จะยกจากที่หนึ่งไปไว้อีกที่หนึ่งได้

เราจึงเรียนรู้ได้ แต่อาจจะไม่สามารถลอกแบบได้ทั้งดุ้นโดยไม่มีการดัดแปลงให้เข้ากับสภาพของเราเองได้

จึงเป็นอีกหนึ่งมิติที่น่าสนใจมากๆ ใช่ไหมคะ?

สำหรับการอบรมรุ่นนี้ แม่ต้อยเห็นแววตาที่มุ่งมั่น ความสนใจใฝ่รู้ของน้องๆมากมาย พร้อมที่จะนำเสนอผลงานและความคิดสร้างสรรค์ให้กับทีมงาน ให้กับโรงพยาบาล และให้กับคนไข้ของเขาและเธอเอง

ขอชื่นชมในความคิดที่ดีดีมากมาย ที่น้องๆได้นำเสนอในวันนั้น

ก่อนที่จะจบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทางสรพ.ได้จัดเวลาให้มีการไปเยี่ยมชมโรงพยาบาลที่ได้รับรางวัล Healing Environment Award   ทั้งสองแห่งคือที่คณะแพทยศาตร์ รพ.รามาธิบดี และที่รพ.บีแคร์

ต้องขอขอบคุณ คณะผู้บริหารทั้งสองรพ.ที่ได้กรุณาให้พวกเราได้เยี่ยมชม พร้อมกับตอบข้อซักถามด้วยความเต็มใจ ด้วยความเอื้ออาทร ด้วยความเป้นกัลยาณมิตรที่แท้จริง

เชื่อว่า น้องๆใน SHA2 คงกระจ่างในใจแล้วละ ว่าสิ่งแวดล้อมเพื่อ การเยียวยานั้น ต้องทำอย่างไร  และเริ่มที่ใคร?

ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แม่ต้อยชอบใจชื่อของกลุ่มๆหนึ่ง เขาตั้งชื่อว่า SHA   shi mi  shi mi

ตอนแรกไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร ในที่สุดก็ถึงบางอ้อ

เขาแปลว่า SHA ใช่ไหม? ใช่ไหม? ( shimi คือใช่ไหม ) ฮ่าๆๆ แม่ต้อยเชยอีกแล้ว

เอาเป็นว่าในเร็ววันนี้ เราคงเห็นภาพฝันของน้องๆโลดแล่นออกมาปรากฎในทุกแห่งแน่นอนนะคะ

 

Shimi shimi

สวัสดีคะ

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #sha
หมายเลขบันทึก: 384240เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2010 19:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

เเม่ต้อยขยันไม่หยุดเลยนะคะเนี่ย ต่อยอดโครงการ SHA อย่างต่อเนื่องสิ่งเเวดล้อมที่เอื้อต่อการเยียวยา ไม่ใช่เพียงการจัดสิ่งเเวดล้อม สร้างตึกทาสีใหม่ ใช่ค่ะเเม่ต้อย เเต่ส่วนหนึ่งของการเยียวยาคนเจ็บไข้ ที่กุ้งเองคิดว่าสำคัญมากๆ คือการสื่อสารด้วยวาจา เพราะบางครั้งก็สามารถทำร้ายผู้คนได้ เหมือนเเม่ต้อยว่า เมื่อวานนี้เองที่กุ้งประสบด้วยตัวเอง เพราะไม่สบายไปตรวจเเล้วโดนจับ ultrasound หมอบอกว่าทำหน่อยเนาะ เผื่อมีอะไรซ่อนอยู่  คำนี้เราก็กลัวเเล้วนะคะ เเต่ไม่ได้ว่าเขาพูดไม่ดี เเต่มีคำพูดไหนที่ดีกว่านี้มั๊ยคะ เเม่ต้อยว่า  มาบอกเเม่ต้อยว่ากุ้งจะได้เข้าฝึกวิทยายุทธการเขียนเรื่องเล่าค่ะ

กลับมาจากสิงคโปร์ได้ไม่กี่วัน ก็ได้รับทาบทามจากงานพัฒนาคุภาพให้เป็นตัวเเทนชาวศรีนครินทร์ค่ะเเม่ต้อย ไปฝึกวิชากับกูรูเลยใช่มั๊ยคะ ดีใจค่ะ คงได้เจอเเม่ต้อยนะคะ

Shimi shimi อิอิ

P
กุ้งนาง สุธีรา
เมื่อ พฤ. 12 ส.ค. 2553 @ 20:05
สวัสดีคะ
น้องกุ้งก้ขยันมากคะ
อาทิตย์หน้าก็จะเริ่มอีกกลุ่มหนึ่งคะ คือการเขียนเรื่องเล่า
แม่ต้อยว่าคราวนี้ น้องกุ้งคงเขียนระเบิดไปเลยนะคะ เพราะว่าเรื่อง pallative นี้มีเรื่องที่จะเล่าได้มากมายคะ
แล้วเจอกันนะคะ
ชิมิ ชิมิ

สมัครเป็นน้องใหม่ SHA season 2 ค่ะ

อ่านบันทึกนี้แล้ว ได้ความรู้มากขึ้นค่ะ มีพี่ที่รพ.เข้าร่วมอบรม Healing Environment ด้วย

ต้องขอบคุณ"แม่ต้อย"มากๆค่ะ

 

  • สวัสดีค่ะ อ. แม่ต้อย
  • แม่ต้อยเป็นขวัญใจ ทุกกลุ่ม ทุกวัยจริงๆนะคะ
  • วัยรุ่นก็เข้าถึง..สูงวัยก้เข้าได้
  • นับถือจริงๆค่ะ
P
คุณระพี
สวัสดีคะ
ยินดีมากๆคะ ที่ได้รู้จัก และ ยิ่งดีใจคะที่เป็นสมาชิกSHA2 คะ
ขอให้กำลังใจนะคะ
P
kumfun
เมื่อ ศ. 13 ส.ค. 2553 @ 11:14
สวัสดีคะ 
แม่ต้อยต้องให้คะแนน แฟนพันธ์แท้ เสียแล้วคะ
แต่ว่านี่คือกำลังใจของแม่ต้อยคะ
ขอบคุณมากๆคะ
P
คุณระพี
สวัสดีคะ
ยินดีมากๆคะ ที่ได้รู้จัก และ ยิ่งดีใจคะที่เป็นสมาชิกSHA2 คะ
ขอให้กำลังใจนะคะ

อบรมสนุกมากค่ะเเม่ต้อย เเต่ยังไม่มีเวลา update เเม่ต้อยไม่สบายเป็นห่วงนะคะ พักผ่อนบ้างนะคะ

ขอบคุณสำหรับทุกสิ่งที่เพิ่มเติมให้

จะได้นำไปพัฒนาคุณภาพบริการ..

ช่วงนี้ได้รับสิ่งดีดีที่แม่ต้อยจัดให้.....น้องที่ รพ.ไปร่วมกิจกรรมกลับมา บอกว่าชอบมาก ได้อะไรมากมาย...อยากให้ทุกคนได้ยินได้ฟังบ้าง...จะได้ช่วยกันพัฒนา..คนฟังก็ปลื้มนะ Shimi shimi (กลัวเชย)

สวัสดีค่ะแม่ต้อย

หลังจากอบรม Healing environment กับแม่ต้อยแล้ว ดีใจมากเลยค่ะ ที่มีโอกาสได้ไปรับรู้สิ่งที่ดี ดี และเป็นประโยชน์

อย่างมาก ตอนนี้ได้นำความรู้ที่ได้รับมานำเสนอให้ทีม คณะกรรมการบริหารของโรงพยาบาลสีชมพู ทราบแล้วค่ะ และช่วงนี้โรง

พยาบาลกำลังปรับปรุงในเรื่องอาคาร สถานที่ และ ภูมิทัศน์ พอดีเลยค่ะ ขอบคุณ แม่ต้อยและทีมงานมากนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท