12 สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ


เรื่องวันแม่แห่งชาติ

วันแม่แห่งชาติ

ประวัติความเป็นมา วันแม่

พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ไว้ดังนี้
แม่ หมายถึง หญิงในฐานะที่เป็นผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน พุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ซึ่งหมายถึง หญิงที่มีครอบครัวไว้หลายนัย เช่น

     

แม่ บางทีเรียกว่า มารดา มารดร หมายถึง เป็นใหญ่ เช่น แม่ทัพ แม่น้ำ แม่กอง เป็นต้น อันแสดงถึงความยิ่งใหญ่ภายในกิจการนั้นๆ ในที่นี้มาใช้กับผู้ให้กำเนิดแก่ลูกและหาตัวแทนไม่ได้
- หญิงในฐานะผู้ให้กำเนิดแก่ลูก และหาตัวแทนไม่ได้
- คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน
- คนที่เป็นหัวหน้า หรือเป็นนาย โดยไม่จำกัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง ฯลฯ
รวมความแล้ว "แม่" คือ ผู้รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน โดยการรับผิดชอบนั้นมีขอบเขตภายในบ้านเรือน

 ชนนี หมายถึง ผู้ให้กำเนิดลูก, เป็นที่บังเกิดเกล้าของลูก

ภรรยา หรือภริยา หมายถึง
- เมีย หรือ หญิงผู้เป็นคู่ครองของชาย
- ผู้เลี้ยง หรือผู้ดูแลสมาชิกของครอบครัว


ชาวอเมริกันเป็นผู้กำหนดให้มีวันแม่อย่างเป็นทางการขึ้น และผู้ที่พยายามเรียกร้องให้มีวันแม่ในอเมริกา คือ แอนนา เอ็ม. จาร์วิส คุณครูแห่งรัฐฟิลาเดลเฟีย แต่กว่าเธอจะประสบความสำเร็จก็ครบ 2 ปีพอดีในปี ค.ศ.1914 (พ.ศ. 2457) โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และดอกไม้สำหรับวันแม่ของชาวอเมริกันก็คือดอกคาร์เนชั่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ให้ประดับตกแต่งบ้านหรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้วให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาว

สำหรับในประเทศไทยนั้นมีการจัดงานวันแม่ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดงาน แต่เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไปโดยปริยาย หลังจากผ่านพ้นวิกฤติสงครามไปแล้ว หลายหน่วยงานได้พยายามรื้อฟื้นให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง แต่กำหนดวันแม่ที่ประชาชนนิยม และเป็นที่รับรองของรัฐบาล คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 กำหนดงานวันแม่ในวันนี้ยังดำเนินต่อมาอีกหลายปี ก็ต้องมาหยุดชะงักลงอีก ด้วยเหตุผลที่ว่าสภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุนซึ่งก็คือกระทรวงวัฒนธรรมที่ถูกยุบไปนั่นเอง

ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทยเห็นว่าควรมีการจัดงานวันแม่ต่อไป จึงได้รื้อฟื้นงานวันแม่ขึ้นมาอีก และได้กำหนดให้จัดงานวันแม่ คือวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวก็เลิกไป จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เห็นว่าควรกำหนดวันแม่ให้แน่นอนเสียที จึงได้กำหนดวันแม่ใหม่โดยให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และ กำหนดให้ดอกมะลิเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ตั้งแต่นั้นมา


เหตุผลที่ให้ดอกมะลิ เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ ก็เนื่องจาก ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย...
อย่างคำประพันธ์บทดอกสร้อยชื่อ แม่จ๋า ของท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา ที่ว่า

กลอนวันแม่

อุ่นอันใดในหล้าที่ว่าอุ่น
ไม่ละมุมทดแทนเท่าแขนแม่
ที่ตวัดโอบร่างอย่างดูแล
ยามลูกแพ้ด้วยฤทธิ์พิษสังคม

มือแม่นั้นโอบมาจากบ่าซ้าย
แนบเรือนกายกลางหลังฝังความขม
ตบเบาเบาหมายให้ไล่ความตรม
ดุจสายลมอบอุ่นละมุนละไม

น้ำตาลูกรินลงอยู่ตรงหน้า
แม้เหนื่อยล้าเจ็บท้อเพียงขอให้
รอยกอดนั้นลึกล้ำมาค้ำใจ
ตลอดไปชั่วกาลนานนิรันดร์

ลูกวันนี้อยู่อย่างห่างคนกอด
คำพร่ำพลอดห่วงใยไกลเกินฝัน
แขนที่โอบแนบสนิทติดชีวัน
ก็มีอันจากไปในเวลา

ลูกจะรอวันหนึ่งถึงวันนั้น
วันที่ฝันอบอุ่นยังกรุ่นฟ้า
วันที่ต้องทดท้อต่อชะตา
วันเหว่ว้ามาเตือนเยือนชีวี

ลูกจะหยิบมือแม่วางกลางศีรษะ
อย่าปล่อยนะวางไว้ตรงใจนี่
ด้วยความรักศรัทธาและปรานี
ให้ลูกนี้ยืนหยัดในบัดดล...


คำขวัญวันแม่

สามร้อยหกสิบห้าวันคือวันแม่
มิใช่แค่วันใดให้นึกถึงแม่
สม่ำเสมอสมัครจิตรคิดคำนึง
เหมือนแม่ที่รักลูกครบทุกวัน

เพลงค่าน้ำนม

แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง

ที่เฝ้าหวงห่วงลูกแต่หลังเมื่อยังนอนเปล

แม่ ...เราเฝ้าโอ้ละเห่

กล่อมลูกน้อยนอนเปลไม่ห่างหันเห ไปจนไกล

แต่เล็กจนโตโอ้แม่ถนอม

แม่ผ่ายผอมย่อมเกิดจากรักลูกปักดวงใจ

เติบโตโอ้เล็กจนใหญ่

นี่แหละหนาอะไร มิใช่ใดหนาเพราะค่าน้ำนม

ควร คิดพินิจให้ดี

ค่าน้ำนมแม่นี้ จะมีอะไรเหมาะสม

โอ้ว่าแม่จ๋า ลูกคิดถึงค่าน้ำนม

เลือดในอกผสม กลั่นเป็นน้ำนมให้ลูกดื่มกิน

...ค่าน้ำนมควรชวนให้ลูกฝัง

แต่เมื่อหลังเปรียบดังผืนฟ้าหนักกว่าแผ่นดิน

บวช เรียนพากเพียรจนสิ้น

หยดหนึ่งน้ำนมกิน ทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย

ควร คิดพินิจให้ดี

ค่าน้ำนมแม่นี้ จะมีอะไรเหมาะสม

โอ้ว่าแม่จ๋า ลูกคิดถึงค่าน้ำนม

เลือดในอกผสมกลั่นเป็นน้ำนมให้ลูกดื่มกิน

...ค่าน้ำนมควรชวนให้ลูกฝัง

แต่เมื่อหลังเปรียบดังผืนฟ้าหนักกว่าแผ่นดิน

บวช เรียนพากเพียรจนสิ้น

หยดหนึ่งน้ำนมกินทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย

 

กิจกรรมการปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรในวันแม่แห่งชาติ

ของโรงเรียนไทยรัฐวิทยา (63)

น้องปางและน้องขวัญกำลังปลูกต้นไม้ค่ะ

โชว์ต้นไม้กันสะด้วย

ปลูกกันอย่างสนุกเลยนะ

คุณครูของพวกเราลงนามถวายพระพร

คณะกรรมการหมู่บ้านและครูร่วมกันถ่ายรูป

ที่มา http://campus.sanook.com/u_life/knowledge_01819.php

หมายเลขบันทึก: 383954เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2010 15:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท