จำนวน (Numbers) : ตอนที่ 1


จำนวน (Number)

จำนวนเป็นแบบบล็อกที่สร้างพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ จำนวนบางจำนวนมีสมบัติร่วมกัน และสามารถจัดเข้าเป็นกลุ่มในเซต

เลขโดด (Digit)

เลขโดด 10 ตัว ที่เขียนเป็นตัวเลขฮินดูอารบิกได้แก่ 0 , 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6 , 7 , 8 และ 9

ระบบจำนวน (Number system)

วิธีการหนึ่งของการนำจำนวนมาใช้ก็คือระบบจำนวนฐานสิบ มีเลขโดด 10 ตัว (0,1,2,3,4,5,6,7,8,9) ซึ่งสามารถนำมาจัดจำนวนที่มีค่ามาก ระบบจำนวนฐานสิบได้นำมาใช้มากในปัจจุบันที่เป็นเช่นนี้เพราะพัฒนามาจากการที่มนุษย์ใช้นิ้วมือสิบนิ้วและนิ้วเท้าสิบนิ้วในการนับ

ระบบจำนวนฐานสองได้นำมาใช้ในคอมพิวเตอร์และใช้เลขโดดเพียงสองตัวเท่านั้น คือ 0 และ 1

จำนวนเต็ม (Integers : I)

ได้แก่ จำนวนเต็มบวก จำนวนเต็มลบ และศูนย์ เช่น -11 , -4 , 0 , 3 , 8 , 102 

จำนวนเต็มไม่รวมเศษส่วน ทศนิยม หรือจำนวนคละ

จำนวนธรรมชาติ หรือจำนวนนับ (Natural or Counting numbers : N)

จำนวนเต็มบวกที่เราใช้สำหรับการนับ ได้แก่ 1 , 2 , 3 , 4 , ...

จำนวนถัดไป (Consecutive numbers)

จำนวนซึ่งอยู่ถัดไปของจำนวนอื่นแต่ละจำนวน เช่น 4 , 5 , 6 , 7 , 8 , ...

ค่าประจำหลัก (Place value)

ค่าของเลขโดดที่สัมพันธ์กับตำแหน่งของค่าประจำหลัก ตัวอย่างเช่น 12 , 205 , 2600 ทุกจำนวนมีเลขโดด 2 แต่ค่าประจำหลักของ 2 แตกต่างกัน

จำนวน    12      2  มีค่า สอง

           205      2  มีค่า  สองร้อย

          2600     2  มีค่า  สองพัน

ค่าของเลขโดดจะเพิ่มขึ้นตามค่าประจำหลักของแต่ละหลักเป็นเลขยกกำลังของสิบ โดยแต่ละหลักต่อเนื่องกันไปทางซ้ายมือ

จำนวนบวก (Positive number)

จำนวนใดที่อยู่เหนือศูนย์ เช่น +1 , +6.5 , +328 สามารถเขียนจำนวนบวกได้ โดยมีเครื่องหมาย + อยู่หน้าจำนวน แต่โดยทั่วไปจะเขียนโดยไม่ใส่เครื่องหมาย + จำนวนใดที่ไม่มีเครื่องหมาย + อยู่ข้างหน้าก็ถือว่าเป็นจำนวนบวก

จำนวนลบ (Negative number)

จำนวนใดที่น้อยกว่าศูนย์  -3 , -21.8 , -40  จำนวนลบเขียนโดยใช้เครื่องหมาย - อยู่หน้าจำนวน ควรหลีกเลี่ยงความสับสนเกี่ยวกับการลบ เครื่องหมายลบอาจจะวางในตำแหน่งที่สูงก็ได้ เช่น -3

โดยทั่วไปได้นำจำนวนบวก จำนวนลบมาใช้ในชีวิตประจำวัน ในการวัดอุณหภูมิ ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 0 C หรือ 0 F ก็จะต้องวัดอุณหภูมิโดยใช้จำนวนลบ

จำนวนระบุทิศทาง (Directed numbers)

จำนวนบวกและจำนวนลบทั้งหมดแสดงได้ด้วยเส้นจำนวน (Number line) ดังรูปที่แสดงไว้ข้างล่าง ที่เรียกว่าจำนวนระบุทิศทาง เพราะว่ามีความสำคัญในการที่จะนำทิศทางมาใช้โดยการวัดจากศูนย์

^^^โปรดติดตาม ตอนที่ 2 ในโอกาสต่อไปครับ^^^

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #จำนวน
หมายเลขบันทึก: 383783เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2010 00:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ความรู้แบบรื้อฟื้น ความทรงจำ ครั้งม.ปลาย^^ สมัยหนุ่มๆ ^^

ขอบคุณมากเลยครับความรู้นะเนี้ย ...บ้างที่เราไม่ทบทวน แล้วนานไปมันก็จะลืมไปเอง แต่ถ้าเอามาทบทวนบ้าง มันก็จะจำได้ครั บ^^

ขอบคุณทุกท่านที่ร่วมติดตามครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท