สำนวนสุภาาษิต


สำนวนสุภาษิตไทย

 

  

สุภาาษิตไทย

  

ดูช้างให้ดูหาง  ดูนางให้ดูแม่

ที่มาของสำนวนสุภาษิต

คนโบราณ(ดูช้างให้ดูที่หาง)จะดูเวลาช้างพังตกลูกเป็นช้างเผือก  พวกช้างพังและช้างพลายจะช่วยกันย้อมกายของลูกมัน ด้วยกันใช้ ใบไม้หรือขี้โคลนดำๆพ่นทับให้สีเผือกกลายเป็นสีนิล  เพื่อให้คนรู้แต่จะมีร่องรอยอยู่อย่างหนึ่ง คือ ที่หางจะมีสีขาวหลงเหลืออยู่

คนโบราณ(ดูนางให้ดูแม่)  จะดูผู้หญิงที่จะมาเป็นสะใภ้ในบ้านหรือหมู่ญาติต้องดูที่ นิสัยใจคอ หรืองานบ้านงานเรือน และกริยามารยาทร่วมไปถึงคำพูดคำจา

  

 

ความหมายของสำนวนนี้

         สำนวนทำนองนี้  มีอยู่ด้วยกันหลายประโยค  และมีความหมายไปในทำนองเดียวกัน  เช่น  “  ดูวัวให้ดูหาง  ดูนางให้ดูแม่ “  ” ดูข้างให้ดูหน้าหนาว  ดูสาวให้ดูหน้าร้อน “  ดังที่ได้ยินได้ฟังมาบ้างแล้ว  แต่สำนวนที่ว่า  ” ดูช้างให้ดูหาง “  นี้  มุ่งให้ดูหางช้าง  ที่บอกลักษณะว่าเป็นช้างดีหรือช้างเผือก  เพราะที่ปลายหางของมันยังเหลือให้เห็นสีขาวอยู่ตามเรื่องที่เล่าว่า  เวลาช้างพังตกลูกเป็นช้างเผือกสีประหลาด  พวกช้างพลายและช้างพังจะช่วยกัน  ” ย้อม “  กลายลูกมันเสีย  ด้วยการใช้ใบไม้หรือขี้โคนดำ ๆ  พ่นทับ  เพื่อมิให้คนรู้ว่าเป็นช้างเผือกแล้วมาจับไป  หรืออย่างไรไม่แน่ชัด  แต่การย้อมลูกของมันด้วยสีเผือกให้เป็นสีนิลนั้น  ก็ยังเหลือร่องรอยอยู่อย่างหนึ่ง  คือที่ปลายหางเป็นสีขาว  เหตุนี้เขาจึงให้สังเกตลักษณะของช้างเผือกที่ตรงหางไว้เป็นหลักสำคัญ

 

 

ตักน้ำรดหัวตอ 

ที่มาของสำนวนนี้

โบราณใช้เป็นคำเปรียบเทียบถึงการที่เราจะตักเตือน  หรือสั่งสอนใครสักคนหนึ่งแต่คนนั้นไม่ยอมรับ  หรือไม่เชื่อฟังคำเรา  เปรียบได้กับการที่เราเฝ้าหมั่นรดน้ำหัวตอของต้นไม้  เพื่อหวังจะให้งอกงามขึ้นมาได้  ความหมายอย่างเดียวกับสำนวนพังเพยที่ว่า  " ตักน้ำรดหัวสากล "  และ  " สีซอให้ควายฟัง ".

 

 

   ความหมายของสำนวนนี้       หมายถึง         สั่งสอนอย่างไรก็ไม่เป็นผล

 

ที่มา http://www.siamtower.com/supasit/p22.html

หมายเลขบันทึก: 383139เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2010 15:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 10:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ ภาพรวมเข้าใจดีว่าต้องดูอย่างถี่ถ้วนรอบคอบจึงได้ของดี แต่เฉพาะ "ดูช้างให้ดูหาง" ไม่แน่ใจว่าเป็นอย่างไร แต่ที่รู้คือ หางนั้นช้างจะหวงมาก คนทั่วไปถือว่าหางช้างมีคุณค่าศักดิ์สิทธิ์คุ้มภัยได้

อืมดีจัง ป้าเราเอง ฮิฮิ จากหลานจร้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท