โรงเรียนมาตรฐานสากล


โรงเรียนมาตรฐานสากล

ในช่วงวันที่ 9-19 สิงหาคม 2553 ผมจะมีโอกาสไปเยี่ยมโรงเรียนมาตรฐานสากลในจังหวัดเชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน บางโรงเรียน

ผมคิดว่าเรื่องนี้ควรได้รับรู้รับทราบถึงการดำเนินงานกันโดยทั่วไปว่า โรงเรียนมาตรฐานสากลของไทยเป็นอย่างไร  มีหลักการ แนวคิด วัตถุประสงค์อย่างไร  จึงได้คัดตัดต่อและเรียบเรียงเอกสารของโครงการมาเสนอไว้ในที่นี้  ด้วยวัตถุประสงค์ของผมดังนี้

1.เพื่อบอกเล่าท่านที่มาเยี่ยมบล็อกของผม

2.เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคุณครู ผู้บริหาร(ตลอดจนท่านผู้สนใจทั่วไป) ของโรงเรียนที่ไปเยี่ยม และไม่ได้ไปเยี่ยมซึ่งมีเวลาไม่มาก  เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่  มีองค์ความรู้บางอย่างที่อาจใหม่สำหรับบางท่าน และมีวิธีการใหม่สำหรับหลายๆ ท่าน(รวมทั้งผมด้วย)   ที่ต้องช่วยกันความเข้าใจ  เพื่อให้เรื่องนี้ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนที่มีมาตรฐานในระดับสากล

จึงขอเชิญชวนทุกท่านเข้ามาแลกเปลี่ยน พูดคุยซักถาม และตอบร่วมกัน

หากท่านสนใจในรายละเอียดทั้งหมดท่านสามารถดาวโหลดเอกสารโครงการได้จาก

http://www.worldclassschoolthai.net/

 

 โรงเรียนมาตรฐานสากล

 World Class Standard School

 (คัด และเรียบเรียงจากเอกสารโครงการ ซึ่งสมารถดูรายละเอียด และดาวโหลดได้ จาก http://www.worldclassschoolthai.net/ )

ความหมาย

โรงเรียนมาตรฐานสากล หมายถึง โรงเรียนที่จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เทียบเคียงมาตรฐานสากล ผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลเมื่องโลก (World Citizen,Global Citizen) เพื่อพัฒนายกระดับคุณภาพการจัดการเยนการสอนและการการจัดการด้วยระบบคุณภาพ เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนเป็นมาตรฐานสากล เป้นการต่อยอดคุณลักษณะที่เป็นมาตรฐานชาติ

วัตถุประสงค์

 เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพเป็นพลเมืองโลก

โครงสร้างหลักสูตร

          1. จัดการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานปีพุทธศักราช 2551

- ภาษาไทย

- ภาษาอังกฤษ

- คณิตศาสตร์

- วิทยาศาสตร์

- สังคมศึกษา / ศาสนา/

- วัฒนธรรม/ประวัติศาสตร์

- สุขศึกษาและพลศึกษา

- ศิลปะ

- การงานอาชีพและเทคโนโลยี

2. มีสาระเพิ่มเติมตามจุดเน้นในบางกลุ่ม หรือทุกกลุ่มสาระ

3. มีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 

          4. มีสาระที่เป็นสากล ดังนี้

             4.1 Theory of Knowledge

             4.2 Extended Essay

             4.3 Creativity, Action,Service

             4.4 Global Education

             4.5 ภาษาอังกฤษ

             4.6 ภาษาต่างประเทศที่ 2

 ทฤษฎีความรู้ (Theory of Knowledge)

 

 เป็นสาระที่ว่าด้วย การแสวงหาความรู้เพิ่มเติมอย่างลึกซึ้งในสิ่งที่ผู้เรียนรู้ เพื่อพิสูจน์ประเด็นความรู้ ข้อค้นพบ หรือสมมติฐานของความรู้ที่ผู้เรียนได้รับรู้ และเป็นที่ยอมรับ ว่าด้วยการส่งเสริมให้ผูเรียนรู้จักตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของความรู้ ว่าด้วยการจัดประสบการณ์ใมห้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการรับรู้ และการรับรู้ที่ความรู้ที่ใช้ความรู้สึก และว่าด้วยการปลูกฝังการสร้างความรู้ความเข้าใจที่เป็นสากลให้แก่ผู้เรียน

 วัตถุประสงค์

  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแสดงความคิดเห็นเชิงคิดวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐาน และ    การหาคำตอบเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้เรียนรู้ (Knowing) สามรถตั้งคำถามให้อธิบาย แสดงความคิดเห็นต่างๆ รู้จักหาทางออกในการแก้ปัญหา ได้กระจ่างชัด สามารถเชื่อมโยงความรู้ เปรียบเทียบวิธีการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาต่างๆ และวิธีการับความรู้ (Ways of Knowing) จำนวน 4 วิถีทาง ได้แก่ วิธีการสร้างความรู้จากการสัมผัสรับรู้ (Sense Perception) สร้างความรู้จากการใช้ภาษา (Language) สร้างความรู้จากการให้เหตุผล และการสร้างคามรู้จากสิ่งที่เป็นอารมณ์ (Emotion)

การเขียนความเรียงชั้นสูง (Extended Essay)

 เป็นสาระว่าด้วยการศึกษาค้นคว้าอย่างอิสระ (Interdependent) ในเรื่องที่ผู้เรียนสนใจ ซึ่งมาจากการที่ผู้เรียน ได้เรียนจากสาระการเรียนรู้ เน้นการฝึกกระบวนการค้นคว้าด้วยตนเอง การถ่ายทอด สื่อความหมาย แนวคิด และข้อมูลเป็นความเรียง ลักษณะเป็นความเรียงทางวิชาการที่มีเนิ้อหาเชื่อมโยงอย่างเป็นขั้นตอน สมเหตุสมผลที่สละสลวย โดยใช้จำนวน 4,000 คำ แต่ครูจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจว่าการเขียนความเรียงระดับสูง ไม่ใช่การเขียนรายงานวิจัย 5 บท แต่เป้นการเขียนความเรียงทางวิชาการที่ใช้ข้อมูลจากการค้นคว้า เพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เพื่ออธิบาย แสดงผลการศึกษาค้นคว้า โต้แย้ง และสนับสนุนเป็นเหตุเป็นผล

 

วัตถุประสงค์

 เพื่อให้ผู้เรียน

1. ค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่ตนสนใจ และต้องการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม

2. พัฒนาทักษะการเขียนรายงานการค้นคว้าอย่างอิสระ โดยใช้คำสำหรับการเขียนผลงาน

 จำนวน 4,000 คำ

3. พัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ และการคิดวิเคราะห์                            4. มีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการค้นคว้าที่เหมาะสมสำหรับแต่ละสาขาวิชา

5. มีวิธีการ และสั่งสมประสบการณ์ในการค้นคว้าความรู้ด้วยสติปัญญาของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ 

กิจกรรมสร้างสรรค์ประโยชน์ (Creativity, Action,Service)

กิจกรรมสร้างสรรค์ประโยชน์ (CAS) เป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเอง และพัฒนาซึ่งกันและกัน เรียนรู้จากประสบการณ์การจัดกิจกรรม(Experiential Learning) เป็นสาระที่ให้ผู้เรียนได้ค้นพบตนเอง โดยการริเริ่มสร้างสรรค์กิจกรรม (Creativity) ได้ปฏิบัติกิจกรรม ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง(Action) และผู้เรียนได้ช่วยเหลือผู้อื่นโดยการให้บริการเป็นอาสาสมัคร (Service) ควบคู่กับการเรียนสาระการเรียนรู้ที่เป็นวิชาการ

กิจกรรมสร้างสรรค์ (Creativity) มุ่งหวังให้ผู้เรียนฝึกทักษะการคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) และทักษะการคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking)

 การปฏิบัติ (Action) มุ่งหวังให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมที่เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของตนเอง การบริการ (Service) เป็นกิจกรรมจิตอาสาที่ไม่ค่าจ้างตอบแทน เป็นกิจกรรมที่มุ่งหวังให้ผู้เรียนมีความตระหนักรู้ มีสานึกความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อสังคม เป็นกิจกรรมอาสาสมัครที่กาหนดให้ผู้เรียนเลือกกระทา มีจุดมุ่งหมายเพื่อปลูกฝังความสง่างาม ความเป็นอิสระในการคิดให้เกิดในตัวผู้เรียน ทั้งนี้ต้องคำนึงถึง การใช้เวลาในการทากิจกรรมสร้างสรรค์ของผู้เรียน สถานศึกษาจะต้องกาหนดเป็นตารางงานนอกเวลาเรียน โดยผู้เรียนจะต้องวางแผนเวลาของตนเอง โดยทั่วไปสถานศึกษาได้กาหนดให้ผู้เรียนทากิจกรรมแต่ละรายการของ CAS อย่างน้อย 50 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้นสูงสุด 150 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและสภาพความพร้อมของสถานศึกษา 
 

วัตถุประสงค์
การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ประโยชน์ (CAS : Creativity, Action, Service)  เป็นกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนได้พัฒนาตนเองตามศักยภาพอย่างรอบด้าน เป็นกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังและสร้างจิตสานึกของการทำประโยชน์เพื่อสังคมสามารถจัดการตนเองได้และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข 

โลกศึกษา(Global Education)

โลกศึกษา” (Global Education) หรือมีผู้บัญญัติว่าโลกาภิวัตน์ศึกษาเป็นแนวคิดทางการศึกษาซึ่งพัฒนามาจากข้อเท็จจริงที่ว่ามนุษย์ปัจจุบันมีความเป็นอยู่ และมีปฏิสัมพันธ์กันในโล ยุคโลกาภิวัตน์มากขึ้น จึงจาเป็นต้องจัดการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนรับรู้ความเป็นจริงต่าง ๆ ของโลกโลกาภิวัตน์ (Globalized world) และปลุกให้ผู้เรียนได้ลุกขึ้นมาสร้างโลกที่มีความชอบธรรม เสมอภาค และเคารพสิทธิมนุษยชนมากขี้น รวมถึงความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน สันติภาพ การป้องกันความขัดแย้ง และการศึกษาระหว่างวัฒนธรรม ตลอดจนความเป็นพลเมืองโลก โลกศึกษาเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงในเชิงลึกทั้งด้านพื้นฐานความคิด ความรู้สึกและการกระทาที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยน แปลง การเชื่อมโยงประสานสัมพันธ์ ความเสมอภาคเท่าเทียม ความยุติธรรมในสังคมความเข้าใจกันระหว่างมนุษย์ โดยมีสาระสำคัญที่พึงพิจารณาในการจัดการเรียนการสอนคือ

- การวิเคราะห์เหตุการณ์และการพัฒนาที่เกิดขึ้นในจุดเล็ก ๆ ที่เป็นสถานการณ์หรือความจริงใกล้ตัวผู้เรียน

- การเลือกประเด็นเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจงและสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

- การกระตุ้นให้ตระหนักถึงความเชื่อมโยงเหตุการณ์ดังกล่าวในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง และให้มีการอภิปราย สนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ดังกล่าว

แนวคิดหลักของโลกศึกษาและขอบข่าย  เนื้อหาสาระ

โลกศึกษาเป็นสหวิทยาการ (Interdisciplinary) ไม่มุ่งเน้นการสอนเนื้อหาใหม่ ๆ แต่เน้นการเพิ่มพูนความรู้ ความคิดรวบยอดและเนื้อหาสาระของสาขาวิชา หรือกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาในมิติที่ขยายกว้างระดับโลก ซึ่งจำแนกได้ดังนี้  

- ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการโลกาภิวัตน์และการพัฒนาสังคมโลก

- ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาและปรัชญาความคิดของมนุษยชาติ

- ความรู้เกี่ยวกับความเป็นสังคมชุมชนและความแตกต่าง

 

ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการโลกาภิวัตน์และการพัฒนาสังคมโลก           จุดเน้นของโลกศึกษาคือความเป็นธรรมในสังคม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อเปิดโอกาสให้กับชีวิตของมนุษย์ทุกคน ดังนั้น ขอบข่ายเนื้อหาควรประกอบด้วยประเด็นที่สำคัญว่าด้วย สภาพการดำรงชีวิตในระดับท้องถิ่น และส่วนอื่น ๆ ของโลก สังคมที่มีวัฒนธรรมหลากหลาย สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรม ความสัมพันธ์และการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างภูมิภาค ประเทศ และทวีปตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติที่จากัด สังคมข้อมูลข่าวสาร และสื่อ ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาและปรัชญาความคิด ของมนุษยชาติ

โลกศึกษามีขอบข่ายสาระความรู้ที่เกี่ยวกับความคิดรวบยอดของความเป็นมนุษยชาติ เช่น สิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และธรรมาภิบาล เศรษฐศาสตร์ ความยุติธรรมในสังคม การค้าที่เป็นธรรม ความเสมอภาคทางเพศ สันติภาพและความขัดแย้ง การเปลี่ยนแปลง ความเป็นพลเมือง ความหลากหลาย ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรม การพัฒนาอย่างยั่งยืน สุขภาพอนามัยและความเสมอภาคเท่าเทียมในการเข้าถึงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

ความรู้เกี่ยวกับความเป็นสังคมชุมชนและความแตกต่าง

ได้แก่ความรู้เกี่ยวกับความเป็นชุมชน และความแตกต่างหลากหลายของแบบแผนการดารงชีวิต (Life Styles) ศาสนา วัฒนธรรม ชีวิตของคนต่างรุ่นต่างวัย (Generations) โลกศึกษามีมิติของโลก(Global Dimension) ที่เป็นแนวคิดหลักซึ่งสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน 8 ด้าน ดังนี้

โลกศึกษามีมิติของโลก (Global Dimension) ที่เป็นแนวคิดหลัก ซึ่งสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน 8 ด้าน ดังนี้

1. ความเป็นพลเมืองโลก (Global Citizenship) ได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด หลักการ และสถาบัน การมีบทบาทที่เกี่ยวข้องในฐานะสมาชิกของสังคมทั้งในระดับ ท้องถิ่น ประเทศ และระดับโลก ตลอดจนการมีส่วนร่วมรับผิดชอบในฐานะพลเมืองที่ดีของสังคมที่คานึงถึงสิทธิมนุษยชนและอุดมการณ์ประชาธิปไตย

 

2. ความยุติธรรมในสังคม (Social justice) ได้แก่ ความสานึกตระหนักในความสาคัญของความเสมอภาคและความยุติธรรมในสังคม มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการสร้างความเท่าเทียมและความเป็นธรรมในสังคม

3. สิทธิมนุษยชน (Human Rights) ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนการเคารพ และยึดมั่นในสิทธิและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

4. การแก้ปัญหาความขัดแย้ง (Conflict Resolution) ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจธรรมชาติของความขัดแย้ง มีขันติ อดทน อดกลั้นต่อความแตกต่างขัดแย้งสามารถเจรจาต่อรอง เชื่อมประสาน เพื่อลดปัญหาหรือคลายปมขัดแย้ง โดยปราศจากการใช้ความรุนแรง

5. การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจหรือความจาเป็นในการจรรโลง รักษาและพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยปราศจากการทาลายโลกเพื่อความอยู่รอดของชีวิตในรุ่นต่อไป โดยคานึงถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน

6. ค่านิยม และการสัมผัสรับรู้ (Values &Perceptions) ได้แก่ ความสามารถในการประเมินคุณค่าเกี่ยวกับประเด็นสาคัญระดับโลกและผลที่กระทบต่อเจตคติและค่านิยมของผู้คนที่เกี่ยวข้อง โดยคานึงถึงความสาคัญและค่านิยมด้านสิทธิมนุษยชน

7. ความหลากหลาย (Diversity) ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจการยอมรับ และตระหนักในความหลากหลายทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ สังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี รวมทั้งความหลากหลาย ทางชีวภาพตลอดจนผลกระทบของสภาพแวดล้อมที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

8. การพึ่งพาอาศัยกัน (Interdependence) ได้แก่ ความเข้าใจตระหนักรู้ถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างกันของผู้คน ถิ่นฐาน เศรษฐกิจ ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เข้าใจสภาวการณ์ในระดับโลก

สามารถเรียนรู้ที่จะจัดการกับความซับซ้อนได้ การจัดการเรียนรู้ตามมิติโลกทั้ง 8 ด้านควรคานึงถึงการสร้างความเชื่อมโยงประเด็นระหว่างท้องถิ่นกับเรื่องราวที่เกี่ยวข้องระดับโลกรวมทั้งการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบวิพากษ์ ค่านิยม เจตคติของตน ตระหนักถึงความละม้ายคล้ายคลึงกันของผู้คนในทุกถิ่นที่ และความหลากหลายทางค่านิยม รวมถึงการทาความเข้าใจบริบทระดับโลกที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ในท้องถิ่นของผู้เรียน ตลอดจนการพัฒนาทักษะที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถยืนหยัดต่อสู้กับความอยุติธรรม อคติ ความไร้เหตุผล และการแบ่งแยก

วัตถุประสงค์

การจัดการเรียนรู้โลกศึกษามีจุดมุ่งหมายที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุวัตถุประสงค์ ตามมิติโลกด้านต่างๆ ดังนี้

ความเป็นพลเมืองโลก

มีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และความเข้าใจแนวคิดและสถาบันต่าง ๆ ที่มีความจาเป็นต่อการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองโลกที่กระตือรือร้นรับผิดชอบ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1. ผู้เรียนมีทักษะการวิเคราะห์ ประเมิน ข้อมูลข่าวสาร และทัศนคติ

ความเห็นที่ แตกต่างกันซึ่งส่งผ่านสื่อและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ

2. ผู้เรียนเรียนรู้บทบาทของสถาบัน องค์กร สนธิสัญญา ตลอดจนบทบาทของ กลุ่มต่างๆ องค์กรพัฒนาเอกชนและรัฐบาลของประเทศต่างๆในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวของโลก

3. ผู้เรียนพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการและสถานที่หรือ

แหล่งของการตัดสินใจสาคัญ ๆในประเด็นระดับโลก

4. ผู้เรียนมีความตระหนักถึงความสำคัญของทัศนะและบทบาทของ

เยาวชนในการแสดงออกถึงความรับผิดชอบที่สามารถมีอิทธิพล ส่งผลต่อประเด็นต่างๆระดับโลก

5. ผู้เรียนมีความตระหนักถึงความสำคัญของบริบทโลกในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และการตัดสินใจทั้งในระดับบุคคลและระดับสังคม

6. ผู้เรียนมีความเข้าใจบทบาทของภาษา ขนบธรรมเนียม ถิ่นฐาน ศิลปะ ศาสนา ที่เป็นอัตลักษณ์ของตนเองและผู้อื่นในโลก

 

แนวทางการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียน

มาตรฐาสากล

 

การจัดการเรียนการสอนสาระที่เป็นสากล 4 สาระ ได้แก่  ทฤษฎีความรู้ (Theory of Knowledge : TOK) ความเรียงขั้นนสูง (Extended- Essay) กิจกรรมสร้างสรรค์ (CAS:Creativity, Action,Service) โลกศึกษา (Global Education) จะช่วยให้การสะท้อนภาพความสาเร็จที่ชัดเจนทั้งความรู้ความสามารถตามสมรรถนะทั้ง 5 ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขันพื้นฐาน ได้แก่ คความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี และศักยภาพความเป็นพลโลกของโรงเรียนมาตรฐานสากล  ที่กล่าวถึงผลจากการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 ที่ผู้เรียนจะต้อง
  1. รู้ภาษายุคดิจิตัล (Digital-Age Literacy) พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ภาษาข้อมูล และทัศนภาพ (Visual & Information Literacies รู้พหุวัฒนธรรมและมีความตระหนักสำนึกระดับโลก (Multicultural Literacy & Global Awareness) 
 2. คิดประดิษฐ์-สร้าง (Inventive Thinking) ปรับตัว-นำตน จัดการกับความซับซ้อน ใฝ่รู้ สร้างสรรค์ กล้าเสี่ยง คิดได้ในระดับสูงและมีเหตุมีผล 
 3. มีผลิตภาพสูง (High Productivity) จัดลำดับความสาคัญ วางแผน และบริหาร จัดการมุ่งผลสาเร็จ ใช้เครื่องมืออย่างมีประสิทธิผลในโลกแห่ง ความเป็นจริงสามารถผลิตผลงานที่เหมาะสม มีคุณภาพสูง 
 4. สื่อสารมีประสิทธิผล (Effective Communication) ทักษะทีม การร่วมมือและสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และส่วนรวม การสื่อสารเชิงปฏิสัมพันธ์ 

การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนมาตรฐานสากลจึงควรพิจารณา ดำเนินการ
ตามแนวทาง ดังนี้ 
1. โรงเรียนมาตรฐานสากลในระดับประถมศึกษา ควรจัดสาระสากลในลักษณะของการบูรณาการเป็นหน่วยการเรียนรู้ในสาระพื้นฐาน หรืออาจจะจัดเป็นเพิ่มเติมในบางสาระ โดยมีแนวดำเนินการดังนี้ 

1.1 ทฤษฎีความรู้ (Theory of Knowledge) ควรจัดเป็นหน่วยบูรณาการอยู่ในสาระพื้นฐานทั้ง 8 สาระ ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6

1.2 การเขียนความเรียงชั้นสูง ( Extended-Essay ) ควรจัดเป็นหน่วยบูรณาการอยู่ในสาระพื้นฐาน  ภาษาไทย หรือเป็นสาระเพิ่มเติม ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้

1.3 โลกศึกษา ( Global Education ) ควรเป็นหน่วยบูรณาการอยู่ในสาระพื้นฐานทั้ง 8 สาระในชั้น  ปฐมวัย ประถมศึกษาปีที่ 1 - 6

1.4 กิจสร้างสรรค์ประโยชน์ (Creativity, Action, Service)ควรจัดเป็นหน่วยกิจกรรมอยู่ในกิจกรรม พัฒนาผู้เรียน ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2. โรงเรียนมาตรฐานสากลในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ควรจัดสาระสากลในลักษณะของการบูรณาการเป็นหน่วยการเรียนรู้ในสาระพื้นฐาน หรืออาจจะจัดเป็นเพิ่มเติมในบางสาระ โดยมีแนวดาเนินการดังนี้ 1.1 ทฤษฎีความรู้ (Theory of Knowledge) ควรจัดเป็นหน่วยบูรณาการอยู่ในสาระพื้นฐานทั้ง 8 สาระในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 1.2 การเขียนความเรียงชั้นสูง ( Extended-Essay ) ควรจัดเป็นหน่วยบูรณาการอยู่ในสาระพื้นฐานภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หรือเป็นสาระเพิ่มเติม ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ 1.3 โลกศึกษา ( Global Education ) ควรเป็นหน่วยบูรณาการอยู่ในสาระพื้นฐานทั้ง 8 สาระ หรือ เป็นสาระเพิ่มเติมในสาระสังคมหรือสาระอื่นๆ ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ 1.4 กิจสร้างสรรค์ประโยชน์(Creativity, Action, Service) ควรจัดเป็นหน่วยกิจกรรมอยู่ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หรือเป็นสาระเพิ่มเติม ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้

3. โรงเรียนมาตรฐานสากลในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ควรจัดสาระสากลในลักษณะของการบูรณาการเป็นหน่วยการเรียนรู้ในสาระพื้นฐาน หรืออาจจะจัดเป็นเพิ่มเติมในบางสาระ โดยมีแนวดาเนินการดังนี้ 1.1 ทฤษฎีความรู้ (Theory of Knowledge) ควรจัดเป็นหน่วยบูรณาการอยู่ในสาระพื้นฐานทั้ง 8 สาระ หรืออาจจะจัดเป็นเพิ่มเติมในบางสาระในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 1.2 การเขียนความเรียงชั้นสูง ( Extended-Essay ) ควรจัดเป็นหน่วยบูรณาการอยู่ในสาระพื้นฐานภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หรือเป็นสาระเพิ่มเติม ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ 1.3 โลกศึกษา ( Global Education ) ควรเป็นหน่วยบูรณาการอยู่ในสาระพื้นฐานทั้ง 8 สาระ หรือ เป็นสาระเพิ่มเติมในสาระสังคมหรือสาระอื่นๆ ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ 1.4 กิจสร้างสรรค์ประโยชน์(Creativity, Action, Service) ควรจัดเป็นหน่วยกิจกรรมอยู่ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หรือเป็นสาระเพิ่มเติม ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้

 

 

หมายเลขบันทึก: 381981เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2010 13:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ครับ เมื่อวานเป็นวันสุดท้ายที่มีโอกาสไปเยี่ยมโรงเรียนมาตรฐานสากลจำนวน 6 โรงเรียน สิ่งสำคัญที่พบ ก็คือได้เห็นแววความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นใน 3-5 1ปี ข้างหน้า ความสำเร็จที่มุ่งหวังก็คือ คุณภาพผู้เรียน ตามความคิดเห็นของผมคือ "ในทุกมาตรฐานการฐานการเรียนรู้ นักเรียนจะต้องรู้จริง รู้ลึก รู้กว้าง เชื่อมโยงได้ สร้างองค์ความรู้ ชิ้นงาน ผลงานได้ อย่างสร้างสรรค์ นำไปใช้ประโยชน์ตน-ส่วนรวม นำเสนอ ตอบสนองทุกสถานการณ์ ทั้งในระดับห้องเรียน โรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษา ระดับชาติ และนานาชาติได้อย่างมั่นใจ ตามศักยภาพพื้นฐานของแต่ละคน"

เมื่อไปเยียมโรงเรียนครั้งนี้ ได้ขอพบนักเรียนที่ผ่านการเรียนวิชาต่างๆ ตามหลักสูตรมาตรฐานสากล ได้ตั้งคำถามถามนักเรียนเพื่อดูผลกระทบที่เกิดขึ้น คำถามที่ถามสัมภาษณ์นักเรียนมีลักษณะดัวงนี้ครับ

1.เรียน TOK, EE, CAS, GB สนุก หรือไม่สนุกอย่างไร

2. TOK, EE, CAS, GB คืออะไร

3. ทั้งสี่เรื่องเกี่ยวข้องกันอย่างไร

4. แต่ละเรื่องครูมีวัตถุประสงค์ในการสอนนักเรียนอย่างไร

5. นักเรียนจะต้องทำอะไรบ้างที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์แต่ละเรื่อง

ุ6.ได้ศึกษาศึกษาค้นคว้าในเรื่อง TOK ในหัวข้ออะไร

ึ7. มีวัตถุประสงค์ และเป้าหมายอย่างไร

8. มีขั้นตอนการศึกษาอย่างไร

9. ศึกษาค้นคว้าอย่างไร

10. เข้าห้องสมุดบ่อยไหม จดบันทึก ถ่ายเอกสารอะไรมาบ้าง

11.เว็บไซต์อะไรที่เข้าบ่อยๆ ประมาณกี่ครั้งแล้ว มีข้อมูลอะไรที่เซฟไฟล์ไว้แล้วบ้าง

12. มีความก้าวหน้า หรือความสำเร็จอย่างไร

13. จะเสร็จสิ้นเมื่อไร

14. เสร็จแล้วแล้วจะเกิดประโยชน์ต่อตัวเอง และคนอื่นๆอย่างไร

15. จะมีผลเสียในแง่มุมใดบ้าง

16. ถ้าเปรียบเทียบการเรียนวิชาทั่วไป กับสี่วิชานี้ มีความเหมือนความต่างกันอย่างไร

เด็กๆ ส่วนหนึ่ง ได้ตอบคำถามกลับมา ที่สะท้อนถึง คุณภาพผู้เรียนที่ผมกล่าวไว้ อย่างน่าชื่นชม มองเห็นแววความสำเร็จ

ที่มาจากกระบวนการสอนที่เปลี่ยนแปลงไป คือ การสอนที่ไม่ใช่การบอกให้จำ แต่เป็นกระบวนการสอนที่ให้นักเรียนค้นพบในสิ่งที่ครูต้องการจะสอน ตามมาตรฐานการเรียนรู้ และตามวัตถุประสงค์ของโรงเรียนมาตรฐานสากล

เมื่อวานนี้ได้พบกับคุณครูที่เคยเรียน TOK และ EE ในสมัยเรียนโรงเรียนมัธยม คือ ครู Julie Gamponia

เธอได้นำเสนอให้ฟัง ผมขอไฟล์มาด้วย แล้วจะนำมาให้อ่านเป็นแนวคิด แนวทางกันนะครับ

ช่วงนี้ไว้แค่นี้ก่อน วันนนี้เป็นวันย้ายสำนักงานใหม่ จากอีกมุมตึกมาอยู่อีกมุมตึก ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34

ซึ่งมีศูนย์เครือข่ายการนิเทศการมัธยมศึกษามาอยู่ด้วย เลยยุ่งเหยิงกับการจัดสถานที่อยู่บ้างครับ

ผมได้ทำโครงงานออนไลน์ หรือจะเรียกว่าโครงการออนไลน์ก็ได้ไว้เป็นแนวทางสำหรับสมาชิกที่สนใจไปเรียนรู้ ขณะนี้มีอยู่สามโครงงาน สมัครเป็นสมาชิกแล้ว เรียนรู้ได้ ทำเองได้ ท่านที่เป็นครูก็ทำไว้ใช้สอนโดยเฉพาะครูภาษาต่าวประเทศ นอกจากสอนศิษย์ของตัวเองแล้ว ยังสอนเด็กๆ ทั่วโลกได้ (ถ้าโครงงานของท่านเข้าตาเขา) ถ้าเราทำได้ ความเป็นครูสากลก็เพิ่มขึ้นมาหน่อย ทำไปเรื่อย ทำกันอย่างทั่ว จนกระทั่งมีเว็บไซต์ในทำนองเดียวกัน ความเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ก็น่าจะเพิ่มขึ้นๆๆ

ลองไปดูนะครับ สามโครงงานของผม แต่ต้องสมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ของเขาก่อนนะครับ

ชัด บุญญา

โครงการที่สาม SCHOOL WEBSITE ..http://www.elanguages.org/page/view/id/124836,

โครงการที่สอง ASEAN CLASSROOMS..http://elanguages.org/page/view/id/124644

โครงการแรก ฝึกหัดทำ How to support teachers to their better teaching....http://www.elanguages.org/page/view/id/108979

ขอบคุณสำหรับเนื้อหาต่างๆนะค่ะ

ความคาดหวังกับโรงเรียนมาตรฐานสากล อย่างหนึ่งก็คือการอยู่ได้ทั่วไทย ไปได้ทั่วโลก เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2554 ที่ผ่านมา ได้ทำกิจกรรมเล็กๆ แล้วนำเอาความคิดที่เกิดขึ้นไปเสนอไว้ในเว็บไซต์ของ British Council ลองดูนะครับ

Teacher and student conference guideline

Objective Options

(You can choose or change as you need)

To exchange and share….

= cultures (social study)

+a favorite menu

+a dance style

+a song

+a music

+festival

etc.

=Products from student project work

+art

+mathematic

+science

+geography

etc.

=Daily life in schools

-School start time

-subjects-teaching and learning

-school activities

-school break

-school lunch

-School end time

-vacation

-holidays

etc.

ICT tools

(You can choose or change as you need)

-email

-conference tools (yahoo chat, skype, msn etc.)

-mobile phone

-http://cc.britishcouncil.org forum (as we cc. members I would like to

suggest to use this ICT tool)

-web board from your school websites

etc.

With whom to start with

-anyone you want

-cc. members from every countries

-Chat Boonya’s facebook friends (teachers)

etc.

How to start

-introduce yourself by the ICT tools I have mentioned

+your name

+your school names

+your school web site

+your email

+your best friend’s email (incase you can not do at the time

you lose contact with your partners)

+level of students and their ages

+subjects you are teaching

+themes you are interested to exchange and share

Who can be partners in the conference

The ideal one…Connecting Classroom Conference

(a teacher and students with

a teacher and students

in a foreign country

with a time table of the school day

and time that both partner conference will

be online with tele-conference program.

The theme and time will be set by both

Partners, teachers and students.

The conference can be more partners when

ever you feel it is easy to do.

If not yet possible Connecting School Conference

The conference led by a school coordinator

or BCCC ambassador.

The coordinator or ambassador find out a school or an ambassador in a foreign country to organize the conference. Like.. Susana from Indonesia asked me to find a school, teachers and students for her. And we did something like a conference on the January 12th 1011.

Actually on the 12th Susana had her training course for a group of teachers and she wanted me to join her via skype on the day. I went to a school and asked teachers with students to join Susana’s group instead of me alone with Susana. While I was with students and teachers I found that they all (Also Susana) enjoy the chat while seeing each other faces. And this is why I propose you all to do teacher and student conferences.

How long for the conference.

As our school ICT tools is not 100 % proper in use.

15-30 minutes might be best.

This is a draft idea for you all to discuss and suggest.

We will be success if we feel free to talk and share here.

At the first step, if you agree with the idea, just introduce your self here as I have suggested, and you can shake hand to any one you like to do the conference together.

ผ่านไปปีเศษ ....นับจากที่ได้เขียนไว้ มีร่องรอยการเปิดอ่านพอสมควร

ที่เสนอมานั้นเป็นมาตรฐานสากลตามรูปแแบบของ สพฐ.

ตามความคิดเห็นของผม ความเป็นมาตรฐานสากล คือ การทำให้ได้ ตามเป้าหมาย ดังนี้

1. เด็กเราไม่เกร็งกับคนต่างชาติ

2. สามารถคุยผ่านล่ามได้อย่างไม่เคอะเิขิน

3. มีความรู้ทัดเทียมกับผู้ที่เรียนในสาขา วิทยาการเดี่ยวกัน ระดับชั้นเดียวกัน อภิปรายโต้ตอบกันได้ โดยไม่สึกว่าด้อยกว่า แม้จะผ่านล่าม

4. ใช้ภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาอื่นๆ สื่อสารกับคนต่างชาติได้อย่างคล่องแคล่ว

5. หลังจากจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสามารถเดินทางไปต่างประเทศเป็นกลุ่ม หรือ คนเดียวได้

ุ6. หลังจากจบปริญญาตรี สามารถเดินทางไปทั่วโลกได้ด้วยตัวเอง

ึ7. หลังจากจบปริญญาตรีแล้วสามารถติดต่อสื่อสาร ทำมาค้าขายกับต่างประเทศได้

จะสอนอะไร ในระดับชั้นใด อย่างไร คงต้องว่ากันในรายละเอียด

ท่านที่มีบุตรหลาน หากจะให้บุตรหลานเป็นบุคคลที่มีมาตรฐานสากล ข้อเสนอนี้อาจจะเป็นหลักในการแนะ และนำบุตรหลานได้บ้่าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท