BAR (Before Action Review) การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 18 ประจำปี 2553


“ถ้าจะไปร่วมงานประชุมวิชาการ หนูจะไปเพื่ออะไร” “มีเป้าหมายอะไรในการไป”

เมื่อเช้าได้เข้าประชุมที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 6 (ขอนแก่น) โดยการนำของท่านผู้อำนวยการศิริพงษ์ ณ น่าน เกี่ยวกับกระบวนการเตรียมการ เตรียมทีมในการเป็นผู้จัดร่วมในงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ในครั้งนี้ อืม.......ในความรู้สึกของหนูนะรู้สึกว่า

“เอ๊ะ ปีนี้มาแปลก”

อย่างว่าแหละค่ะหนูพึ่งกลับต้นสังกัดมาไม่กี่เดือน ต้องยอมรับเลยว่ายังต่ออะไรไม่ค่อยติดนัก แต่ก็เป็นโอกาสที่ดีที่จะได้เรียนรู้วิธีการจิ๊กซองาน จากบริบทที่ยืนอยู่ อืมชักจะเพ้อไปนาน เอาเป็นว่า เข้าเรื่องดีกว่า

                แม้ใจจะอยากไปร่วมงาน

เพราะหนูเห็นงานประชุมวิชาการเป็น “ตลาดความรู้” 

เป็นแหล่ง “ช๊อปปิ้งไอเดีย” ที่น่าเดินกว่าห้างสรรพสินค้าเสียอีก

 

แต่ด้วยภารกิจงานด้าน ComMedSci สมุนไพรที่ปูรากฐานไว้ ต้องไปร่วมงานผ้าป่าสมุนไพรในวันที่ 26 สิงหาคม 2553 ที่จังหวัดมหาสารคาม เลยมีแนวโน้มอาจจะอดไปเข้าร่วม

แต่ก็อย่างว่า หนูอยากจะเขียน ลองถามตนเองเล่น ๆ จากที่เห็น การเตรียมงานของพี่ ๆ ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 6 (ขอนแก่น) และเมลล์ประชาสัมพันธ์งานจากพี่กาญจนี สีชมพูสดใส

 

เชิญชวนให้ไปร่วมงานที่ได้รับพระเมตตาจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จมาเป็นองค์ประธาน

                แล้วก็ตามด้วยคำโปรยที่แสนจะยั่วยวนว่า  

 

“วิทยาศาสตร์การแพทย์ก้าวหน้า นวัตกรรมก้าวไกล เครือข่ายยั่งยืน” 
วันที่ 24-26 สิงหาคม 2553 ณ โรงแรมแชงกรี-ลา บางรัก กรุงเทพมหานคร

 

จากข้อมูลที่ได้ทำให้หนูเกิดประกายความหวัง หากมีโอกาสได้เข้าร่วมงานนี้คงได้เรียนรู้นวัตกรรมใหม่ ๆ ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ งานวิเคราะห์ งานวิจัย  (แต่ไม่อยากจะบอกพี่ ๆ เลยค่ะว่า ขนาดงานประจำที่ พี่ ๆ ทำอยู่ น้องน้อย ๆ ที่อยู่แต่ในกะลาอย่างหนู ก็รู้ไม่เท่าขี้เล็บของพี่ ๆ เลย เฮอะ ๆ) ที่พี่ ๆ น้อง ๆ ทั้งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นส่วนกลาง หรือ ส่วนภูมิภาค เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ยินดีทั้งผู้มาให้และผู้มารับ

ที่ดูจะดึงดูดใจ ผู้ทำงานอยู่ในส่วนภูมิภาคอย่างหนูก็คงเป็นงานด้าน ComMedSci หรือ งานเกี่ยวกับการสร้างเครือข่าย และอีกทีก็เป็นงานวิจัยเกี่ยวกับสมุนไพร ทำไงได้หล่ะค่ะ ไม่ว่าอยู่ที่ไหนสิ่งเหล่านี้มันก็เหมือนถูกฝังเข้าไปในจิตวิญญาณอย่างที่หนูเองก็คงปฏิเสธไม่ได้

ส่วนที่ทางศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 6 รับผิดชอบหลักเป็นห้องเกี่ยวกับเครือข่ายชันสูตรสาธารณสุข หนูแอบเห็นหัวเรื่องของผู้ที่จะขึ้นนำเสนอแล้ว มีเสียงภายในดังว่า

“ว้าว เขาทำวิจัยเรื่องแบบนี้กันด้วยเหรอเนี่ย น่าเข้าไปฟัง”

 

เกิดคำถามให้ตนเองว่า

“ถ้าจะไปร่วมงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ในปีนี้ ไปเพื่ออะไร”

“มีเป้าหมายอะไรในการไป”

 

(ลองตอบกันเล่น ๆ ดูไหมค่ะ)

          อืม........สิ่งที่อยากเห็น อยากทำก็คือ

ไปเก็บเกี่ยว เรื่องราวมาเล่า มาเขียน มาถ่ายทอด เพราะหนูเชื่อว่างานทุกอย่าง ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีคุณค่า แต่ยังมีคน เห็น มีคน เข้าใจอย่างถ่องแท้ น้อย

(อันนี้มองผ่านมุมเล็ก ๆ ของตนเอง ผู้อ่านอาจจะแย้งได้เต็มเหนี่ยวเลยค่ะ) แล้วตอนนี้หนูพยายามทำอะไรอยู่ พยายามฝึกการเขียน การถ่ายทอด อย่างที่ครูท่านเมตตาเปิดโอกาสให้ทำอย่างสม่ำเสมอ

        ยอมรับกับตนเองว่า ภารกิจของ note taker ในงานมหกรรม R2R ครั้งที่ 3 หนูทำออกมาได้ แย่มาก ๆ แม้จะรู้สึกท้อกับตนเอง แต่ก็ไม่ได้บอกว่า “จะถอย” ถ้ามีโอกาส ก็จะเขียน จะถ่ายทอดไปเรื่อย ๆ เล่าผ่านมุมมองเล็ก ๆ ของตนเอง

 

ก็แหมการเขียนเรื่องคนอื่น ไม่ง่ายอย่างที่คิด เขียนเรื่องตนเองดูจะเขียนได้คล่องกว่า (แอบเชียร์ให้พี่ ๆ เจ้าของเรื่อง ออกมาเขียนกันเอง) แต่ก็ต้องฝึกฝนไป วันนี้ทำได้ หนึ่ง ก็ สำเร็จหนึ่ง แม้จะเเบบเป๋ ๆ ทำได้ สิบก็ สำเร็จสิบ ทำได้แปดสิบ ก็สำเร็จแปดสิบ

มันไม่มีคำว่าล้มเหลวอยู่แล้ว เพราะว่า "กำไรที่ได้ทำ"

ถึงร้อยเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น ไม่ใช่ สมบูรณ์แบบเมื่อไหร่แล้วค่อยทำ (เพราะไม่มีใครเกิดมาแล้วแก่เลยจริงไหมค่ะ มันต้องมีกระบวนการเติบโต อยู่ที่ว่า เราเข้าไปเห็น Phase ไหนเท่านั้นเอง) ถ้ามัวแต่รอให้งานออกมาเริ่ด ตอนนั้นอาจจะไม่ทันการณ์เสียแล้ว แก้ไขไม่ทัน ในเมื่อหนูเชื่อว่า สิ่งที่ทำอยู่ คือ ความงดงาม และมันก็งดงามอย่างที่มันเป็นค่ะ

 

มากกว่านั้น การได้อ่านได้ฟังงานวิจัย แถมมีโอกาสเจอตัวเป็น ๆ ของนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่คิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ชุดทดสอบง่าย ๆ ที่ชาว รพ.สต. และ อสม. เอาไปเฝ้าระวังในชุมชนนี่ อาจจะทำให้เกิดประกายความรู้ สอบถามข้อสงสัย  หรืออาจจะเกิดแรงบันดาลใจ ก็เป็นได้ ไม่แน่ใจว่าตนเองฝันสูงไปไหม แต่เป็นสิ่งที่ตั้งใจและอยากเห็น อยากทำ หากได้มีโอกาสเข้าร่วมก็ประมาณนี้ค่ะ

 

แต่ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีสิ่งใด เที่ยงแท้แน่นอน ได้ไปก็คือได้ไป ได้ทำก็คือ ได้ทำ ทุกอย่างมันก็เป็นเช่นนั้นเอง เอวัง.

               

หมายเลขบันทึก: 381785เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2010 19:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

พี่ก็เพิ่งไปร่วมประชุมวิชาการ 8 จังหวัดภาคเหนือมาค่ะ

แต่เสียดายตอนนำเสนอผลงานวิชาการ

ไม่สามารถแยกร่างได้

เพราะน่าฟังเกือบทุกห้องเลยค่ะ

ขอบพระคุณที่แวะมาทักทาย

รู้สึกดีจังเลยค่ะ

ติ๋วว่า "เวทีแบบนี้ หากเราเปิดใจเรียนรู้ เราจะเห็นอะไรที่ไม่เคยเห็นมาก่อนจริง ๆเลยนะคะ"

(^_^)

เช้านี้หนูได้รับเมลล์ชี้แนะจากท่านอธิบดีว่า

 

ดีใจที่่ได้อ่านครับ 

ปีนี้แปลกจริงๆเพราะแม้แต่ชื่อการประชุมเราก็เปลี่ยนครับ 

ไม่ใช่"การประชุมวิชาการกรม" แต่เป็น"การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์"

ซึ่งจะกว้างขวางกว่าเดิม

ช่วยเขียนเเพิ่มเติมอีกนะครับ

 

รู้สึกประทับใจค่ะ ทำให้หนูกลับมามองย้อน ถึงตนเองว่า

 

“รู้เรื่องภายในของกรมนี้น้อย แม้กระทั่งงานประชุมวิชาการครั้งนี้ หนูก็รู้อย่างจำกัด ไม่ใช่เขาไม่ประชาสัมพันธ์นะคะ”

 เปล่าเลยพี่ ๆ ลุยงานกันอย่างหนัก

ทำงานกันอย่างเต็มที่ ทั้ง ๆ ที่ช่วงนี้เป็นช่วง ไฮซีซั่นของงานในระบบราชการอย่างที่ใคร ๆ ปฏิเสธไม่ได้ แต่ท่านก็ เสียสละเวลามาทำ

 

เป็นจุดสะท้อนว่า

หนูปิดตาตนเอง หนูยังโลกแคบ แล้วก็ยังไม่ถาม ไม่หาข้อมูลเพิ่ม

 

และตีความตามฐานความรู้เดิมที่มี ว่าเพียงแค่ประชุมวิชาการกรมฯ อย่างที่ผ่านมา

 

อะ พอรู้แล้วก็ค่อย ๆ แก้ไขปรับปรุงตนเองไป ขอน้อมรับความบกพร่องมาแก้ไขปรับปรุงเจ้าค่ะ

 

 

หนูหันกลับมาอ่านงานใหม่ ทบทวนในตนเองใหม่

 

มีงานอะไรอีกนะที่เปิดกว้างมากขึ้น

 

จากเอกสารประชาสัมพันธ์ หัวข้อใหญ่ ๆ

 

มีการบรรยายพิเศษเรื่อง ความสุขมวลรวมประชาชาติ; ประยุกต์ในมุมมองของสาธารณสุขโดยปลัดกระทรวงจากประเทศ ภูฏาน ผู้รู้จาก WHO และ ผู้รู้จากประเทศเมียนม่า

 

 

หัวข้อนี้ถ้าเราไม่ปิดกั้นตนเอง ด้วยภาษา หรือ ฐานความรู้เดิม คงเป็นโอกาสที่งดงามที่จะได้เรียนรู้การมองงานสาธารณสุขในอีกมุม

 

 

ในหัวข้อการอภิปราย

               เป็นหัวข้อหลัก ๆ ของงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่กว้างขวางหลากหลาย เช่น โรคทางพันธุกรรม วัคซีน AIDS (อืม น่าจะมีคนปลอดภัยและมีสุขภาพชีวิตที่ดีขึ้นจาก การค้นพบในครั้งนี้มากทีเดียว)

 

รวมถึงงานวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับ ยาต้านมะเร็ง หัวข้อนี้เหมือนเป็นประกายความหวังของผู้ป่วยหลาย ๆคน เพราะปัจจุบันเรามิอาจปฏิเสธได้เลยว่า มะเร็งเป็นโรคฮิต ถ้าใครเป็นก็อินเทร็น

ก็แหม อารมณ์ อาหาร อากาศ ที่เราเป็นกัน ที่เราใช้ชีวิตทุกวันนี้มันก็ย่ำแย่ เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดมะเร็งอยู่แล้ว

คนเราส่วนใหญ่รู้ แต่ไม่ยอมรับ ไม่แก้ไขปรับปรุง

 

ในเมื่อไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ท่านก็ต้องน้อมรับว่า ท่านกำลังสร้างเหตุของการเป็นมะเร็งอยู่ ก็เท่านั้น

 

หัวข้อ ผลิตภัณฑ์เสริมความงามและชะลอวัย

               ห้องนี้น่าแวะไป สาว ๆ คงจะตรึมใช่ไหมค่ะ (^_^) เพราะธรรมชาติของมนุษย์ต้องแก่ แต่มีคนอีกมากที่ยอมรับไม่ได้ ยิ่งสื่อมีผลต่อการตัดสินใจมนุษย์อย่างปัจจุบันนี่ องศาของความอยากสวยจึง พุ่งกระฉูด

(เอ..........จะว่าไปความงามไม่ได้ปิดกั้นนะคะ หนูว่า ท่านชายก็ดูจะสนใจอยู่มิใช่น้อย)

 

และขอแก้ไขความเข้าใจผิดเดิมของหนูคือ คนที่มานำเสนองานในเวทีนี้ ไม่ใช่เพียง พี่ ๆน้อง ๆ ในกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เท่านั้นนะคะ (กราบขออภัยที่สื่อสารคลาดเคลื่อน) เพราะยิ่งใหญ่กว่านั้น

มีการเปิดกว้าง สหสาขาอย่างหลากหลาย หลาย ๆ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ งานนี้จะมารวมกันสร้างพลังของคนทำงาน แบ่งปันเติมเต็ม ถักทอสายสัมพันธ์ของการขับเคลื่อนงาน เพื่อให้ผู้ป่วยและประชาชนมีสุขภาพดี

.........................ขอบพระคุณที่เมตตาชี้แนะเจ้าค่ะ (^_^)

                                          

              

 

 

 

 

หวัดดีจ๊ะน้องติ๋ว

พี่แมวเองนะ :) ท่าทางจะงานยุ่งมากนะ แต่ก็ยังขยันขันแข็งและมีแนวคิดดีๆอยู่ตลอดเหมือนเดิมเลยนะ รู้สึกทึ่งในความสามารถและยินด๊ด้วยมากๆเลย ได้อ่านงานของติ๋วหลายชิ้นแล้วแต่ไม่ได้คุยด้วยซักที เลยต้องแวะมาทักทายและให้กำลังใจนี่แหละจ้ะ สู้ๆนะ คนอ่านเอาใจช่วย :D

ถ้ามีโอกาสคงได้เจอกันในงานประชุมวิชาการ หรืองานมหกรรมสมุนไพรนะจ๊ะ....

สวัสดีหนูติ๋ว ได้อ่านแล้วรู้สึกว่าเราคิดเหมือนกันว่าการประชุมวิชาการเป็นแหล่งความรู้ที่เราสามารถหาได้อย่างดี ได้รู้การเปลี่ยนแปลงและการทำงานต่างๆ ถ้าเป็นไปได้อยากให้เป็นการเปิดโอกาสให้คนทำงานมีโอกาสได้เข้าร่วมประชุมกันไม่เพียงแต่คนที่เสนอผลงานเท่านั้น เพราะการได้รับรู้เรื่องราวงานวิจัยใหม่ๆก็เป็นการเพิ่มพูนความรู้อีกวิธีหนึงแต่ว่าก็แล้วแต่ความคิดของใครนะ โดนเฉพาะแนวทางการบริหารของผู้นำองค์กร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท