การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ มีการสรุปผลงานประจำปีเพื่อเปรียบเทียบผลงานกับแผนมาตั้งแต่ปี 2540 มีการวิเคราะห์รายได้ รายจ่าย หนี้สิน ภาระงาน มาตลอดพร้อมทั้งการประเมินแผนงานโครงการที่ทำ แต่ไม่ได้มีตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่ชัดเจนจะวัดจากกระบวนการและปัจจัยนำเข้าเป็นหลัก ในปี 2546 มีการกำหนดตัวชี้วัดมากขึ้น ในปี 2547 กำหนดตัวชี้วัดระดับโรงพยาบาลเป็นตัวชี้วัดหลักตาม 4 มุมมอง มีตัวชี้วัดระดับทีมคร่อมหน่วยงาน ระดับงานต่างๆ ในปี 2548 มีการติดตามตัวชี้วัดระดับโรงพยาบาลในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารทุกเดือน ร่วมกับการติดตามความเสี่ยง มีการจัดทำกราฟแนวโน้มของค่าตัวชี้วัดเทียบกับเป้าหมาย มีการหาค่าเทียบเคียงจากหน่วยงานภายนอก 4-5 หน่วยงานแต่พบปัญหาคือหาได้ยากและหลายตัวมีการเก็บข้อมูลที่แตกต่างกัน
ในปี 2549 มีการกำหนดค่าเป้าหมายตัวชี้วัดระดับโรงพยาบาล 5 ปี มีการติดตามตัวชี้วัดทุกเดือน นำค่าที่ผิดปกติไปวิเคราะห์เพื่อพัฒนาและปรับปรุง มีการเทียบเคียงกับหน่วยงานภายนอก ในส่วนของการจัดการความรู้มีการใช้ข้อมูลที่วิเคราะห์เป็นสารสนเทศมาใช้ในการวางแผนการทำงานจนสามารถพัฒนาโรงพยาบาลมาได้แสดงถึงมีการเรียนรู้และการจัดการความรู้อยู่ในระบบงานมาตั้งแต่ปี 2540 มีการนำเอาความสำเร็จนวัตกรรมมาถอดบทเรียน มีการนำเอาความผิดพลาดหรือความเสี่ยงมาวิเคราะห์เพื่อการเรียนรู้จากความผิดพลาด(Lesson learned) มีการทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อแก้ปัญหาการทำงานให้ดีขึ้นด้วยCQI มีเวทีการทำงานเป็นกลุ่มแบบคร่อมหน่วยงาน มีหัวเรื่องชัดเจน มีวาระการพบปะพูดคุยกันชัดเจนและมีการกำหนดแนวทางการทำงานในเรื่องนั้นๆออกมาจึงถือได้ว่าเกิดเป็นชุมชนแนวปฏิบัติ(CoP)ในโรงพยาบาล มีการไปเรียนรู้จากหน่วยงานอื่นๆเพื่อคว้า(Capture)ความรู้ของเขามาปรับปรุงการทำงานหรือมาประยุกต์ใช้เช่นระบบบริหารความเสี่ยง การใช้โปรแกรมHospital os มีการรับศึกษาดูงานหรือจัดทีมไปช่วยที่อื่นแบบเพื่อนช่วยเพื่อน (peer assist) มีเวทีแลกเปลี่ยนความสำเร็จ(Success story)โดยนำเสนอนวัตกรรม มีการจัดทำเวทีแลกเปลี่ยนโดยใช้เครื่องมือชุดธารปัญญา มีการจัดทำขุมทรัพย์ความรู้ไว้ในศูนย์คุณภาพและศูนย์สารสนเทศ มีการทำบัญชีผู้เชี่ยวชาญ(Expert network)ภายในโรงพยาบาล มีการฝึกอบรมวิทยากรภายในโดยการให้บรรยายในสิ่งที่ได้ไปอบรมมาแก่เจ้าหน้าที่คนอื่นๆ ในปี 2548 จึงได้มีการวิเคราะห์และสรุปแนวทางการจัดการความรู้ของโรงพยาบาลบ้านตากด้วย LKASA Model