การบำบัดฟื้นฟูจิตสังคมในโลกแห่งความเป็นจริง


ขอบพระคุณคุณหมออุดม เพชรสังหาร ผู้ที่ผมชื่นชมในแนวคิดสากลในการค้นหา "ความสามารถของคนและการป้องกันทุกขภาวะ" มากกว่าการบำบัดฟื้นฟูแก้ไขปัญหาผู้ป่วยจิตสังคม

ขอบพระคุณคุณหมออุดม เพชรสังหาร ที่จุดประกายความคิดและสร้างกำลังใจให้ผมได้เรียนรู้คุณค่าของการอ่านค้นคว้าและวิจัยอย่างรู้จริง รู้ลึก และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ผลดีต่อสังคมอย่างมีเป้าหมาย

คำถามที่ผมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคุณหมออุดมนั้นมีหลายประเด็นหลังจากเรื่องเล่าการทำงานเพื่อสังคมของคุณหมอที่น่าชื่นชมอย่างยิ่ง แต่มีประเด็นหนึ่งที่ผมคิดว่าน่านำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพี่น้องที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคมของเมืองไทย

กล่าวคือ เราไม่จำเป็นต้องสร้างศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายและจิตที่สมบูรณ์แบบ เพราะระยะการบำบัดฟื้นฟูของคนหนึ่งคนนั้นต้องการ "อิสรภาพทางความคิดและการกระทำที่ตรงกับใจของคนหนึ่งคนอย่างแท้จริง" มิใช่แพทย์ ผู้บำบัด และผู้ช่วยเหลือผู้ป่วย คอยสนับสนุน ฝึกฝน และช่วยเหลือ ตลอดชีวิตของผู้ป่วย ลองคิดดูว่า "หากผู้ป่วยต้องอยู่คนเดียวในวันนี้ เราต้องให้ข้อมูลของทักษะการดำรงชีวิตอย่างไร ต้องช่วยฝึกฝนทักษะชีวิตอย่างไร และการฝึกที่ดีที่สุดคือการให้โอกาสผู้ป่วยเลือกฝึกทักษะด้วยตนเองในสถานการณ์ชีวิตจริง"

ยกตัวอย่าง เด็กปัญหาอ่อนมีความซื่อสัตย์มากสองคน แต่ผู้ปกครองบ้านหนึ่งมุ่งเน้นตรวจ IQ และ EQ แล้วฝึกทักษะการเรียนรู้เฉพาะด้านในคลินิกกิจกรรมบำบัด โดยไม่มีการฝึกทักษะการเรียนรู้ชีวิตของเด็กเองที่บ้าน โรงเรียน และชุมชน

เปรียบเทียบกับผู้ปกครองอีกบ้านหนึ่งที่ไม่สนใจตรวจประเมิน IQ และ EQ เพราะทราบดีว่า IQ และ EQ ที่รู้คะแนนแล้ว จะแก้ไขให้คะแนนนั้นดีขึ้นเพื่อนำมาใช้ในชีวิตจริงอย่างไร และสนใจเพิ่มทักษะการเรียนรู้ศักยภาพร่วมกับนักกิจกรรมบำบัดในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่บ้าน โรงเรียน และชุมชน โดยเน้นให้เด็กเรียนรู้และนำความสามารถของตนเองมาคิดทำกิจกรรมต่างๆ อย่างอิสระ พร้อมกับผู้ปกครองและจิตแพทย์ร่วมวางแผนติดต่อที่ทำงานที่เด็กน่าจะทำได้อย่างมีความสุข พร้อมจ่ายเงินเดือนให้จริง (Job Placement) โดยไม่ต้องผ่านการฝึกอาชีพที่เด็กอาจไม่ได้ประกอบอาชีพจริงที่ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ เช่น เด็กมีความซื่อสัตย์จนรับผิดชอบรับจ่ายเงินของหน่วยงาน เป็นต้น  

นอกจากนี้คุณหมออุดมยังเล่าว่า เหตุที่ผมเลือกสนใจศึกษา ค้นคว้า วิจัย เขียนและอ่านบทความ-หนังสือต่างประเทศเพื่อตอบโจทย์ว่า การเล่นดนตรีช่วยพัฒนาสมองผ่านเซลล์กระจกเงาได้อย่างไร ดนตรีศึกษาต่างจากดนตรีบำบัดอย่างไร ดนตรีบำบัดไม่จำเป็นต้องเป็นนักดนตรีหรือเรียนรู้เพื่อเล่นดนตรี หากแต่ผู้บำบัด นำศาสตร์ทางดนตรีที่เหมาะสมมาบำบัดฟื้นฟูโดยเริ่มจากงานเล่นดนตรีเพื่อพัฒนากายและจิตของผู้บำบัดเองจนสามารถถ่ายทอดเพื่อพัฒนาชีวิตกับคนอื่นๆ ได้ ตามคำพูดที่ว่า "งานและดนตรีคือชีวิต...ทำกิจกรรมการงานและกิจกรรมดนตรีอย่างมีชีวิตเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต"

แนวคิด Recovery Model (http://gotoknow.org/blog/otpop/374725) และ Self-Management Model of Chronic Care http://gotoknow.org/blog/otpop/214051) นั้นควรนำมาปรับใช้ในระบบการแพทย์และสาธารณสุขไทยและวิจัยคุณภาพของระบบได้แล้ว

แต่ปัจจุบันทีมบุคลากรทางการแพทย์มีแนวคิดสองมิติ ได้แก่ 1) สร้างศูนย์บำบัดฟื้นฟูเพื่อแก้ไขความบกพร่องในผู้ป่วยเรื้อรังทางจิตสังคม กับ 2) พัฒนาแนวทางบำบัดฟื้นฟูเพื่อส่งเสริมความสามารถที่มีอยู่ของผู้ป่วยทางจิตสังคมในระยะเริ่มแรกในสถานการณ์ชีวิตจริงพร้อมกับการรักษาทางยาและจิตบำบัดอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ซึ่งในแนวคิดที่สองตรงกับภาพแนวคิด Recovery Model ที่ผมได้ศึกษามาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตทางคลินิกทางสุขภาพจิต เน้นหลักการและระบบการพัฒนาผู้ที่มีทุกขภาวะทางจิตสังคมมากกว่าเทคนิคการบำบัดฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัดจิตสังคม

ผมเพิ่งเข้าใจแนวคิดที่สองมากขึ้นในวันนี้ เมื่อคุณหมออุดมเล่าว่า "ผู้ช่วยเหลือและผู้บำบัดไทยหลายท่านมุ่งแก้ไขโรคทั้งๆ ที่ทราบแล้วว่า เมื่อการรักษาด้วยยาอย่างต่อเนื่องและมีการติดตามประสิทธิผลของการใช้ยาและจิตบำบัดตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการทางจิตจะทำให้ผู้ป่วยมีการฟื้นสภาพทางระบบจิตประสาทสรีรวิทยาตามธรรมชาติและสามารถริเริ่มทำกิจกรรมด้วยความรู้ความเข้าใจที่เหมาะสมมากขึ้น...โรคจิตเภทระยะแรกหายขาดได้จากการรักษาที่เพียงพอ...กิจกรรมบำบัดจะช่วยผู้ป่วยได้เมื่อจัดสุขภาวะของการมีส่วนร่วมทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของคนหนึ่งคนนั้นอย่างแท้จริง"

 

หมายเลขบันทึก: 380789เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2010 16:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 14:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรียนท่าน Dr.Pop

   ขอบคุณสำหรับเรื่องเล่าดีๆนี้นะคะ ดิฉันเองระลึกถึงคุณหมออุดมอยู่ตลอดเวลาค่ะ ท่านเคยเป็นผอ.ที่โรงพยาบาลบรบือค่ะ ใจดีมากๆให้ความเป็นกันเองกับลูกน้องทุกคนช่วงที่ท่านอยู่พวกเราทำงานอย่างมีความสุขมากค่ะ ฝากความระลึกถึงท่านด้วยนะคะ

ยินดีและขอบคุณมากครับคุณยาย

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆนี้นะคะ

จากบทความ การบำบัดฟื้นฟูจิตสังคมในโลกแห่งความเป็นจริง ดิฉันได้เรียนรู้

- การฝึกที่ดีที่สุดคือการให้โอกาสผู้ป่วยเลือกฝึกทักษะด้วยตนเองในสถานการณ์ชีวิตจริง ซึ่งหากผู้รับบริการสามารถฝึกในบริบท สิ่งแวดล้อมจริงของผู้ป่วยเองแล้วนั้น จะช่วยบำบัดฟื้นฟูให้ผู้รับบริการสามารถทำกิจกรรมนั้นได้

- สามารถนำหลักการการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ คือ มองผู้รับบริการเป็นคนปกติทั่วไป ที่สามารถพัฒนาเปลี่ยนแปลงได้ โดยไม่มองว่าเป็นโรค เพื่อเป็นการเก็นถึงความสามารถ ศักยภาพของผู้รับบริการ สามารถกลับมาใช้ชีวิตที่มีความหมาย และมีความสุข ซึ่งในอนาคตข้างหน้านั้น การบำบัดฟื้นฟูควรนำหลักการนี้ไปใช้ในการรักษาโดยมีการตั้งเป้าหมายแบบมองเป็นองค์รวม ^____^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท