เทคโนโลยีทางการบริหารการศึกษา


การเรียนรู้จากงานวิจัย

เทคโนโลยีสารสนเทศทางการบริหารการศึกษา (MIS)

  1. พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 กำหนดให้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

                พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในมาตรา 63-69 ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาว่า  ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับการจัดการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยกำหนดขอบเขตครอบคลุมไปถึงการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาบุคลากร การวิจัย การจัดตั้งกองทุนและหน่วยงานกลางเพื่อวางนโยบายและบริหารงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา 

2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545–2549) กับเทคโนโลยี

     ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4 ด้านดังนี้

 1)การประยุกต์ใช้และการพัฒนาเทคโนโลยี

 2)การพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 3)การยกระดับการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

 4) การบริหารการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มุ่งประสิทธิผล

3. กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2544-2553 ของประเทศไทย

               กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2544-2553 ของประเทศไทยได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ไว้ 5 ด้าน คือ ด้านการบริหารงานของรัฐบาล (E-GOVERNMENT) ด้านการพานิชยกรรม (E-COMMERCE) ด้านการอุตาสาหกรรม (E-INDUSTRY) ด้านการศึกษา (E-EDUCATION) และด้านสังคม( E-SOCIETY)

โดยได้กำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านการศึกษา        (E-Education) ดังนี้
    เป้าหมาย  พัฒนาและเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรมนุษย์ในทุกระดับของประเทศ เพื่อรองรับการพัฒนาสู่การเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้

    ยุทธศาสตร์การพัฒนา
             1.พัฒนากลไกการบริหารนโยบายและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ที่มีประสิทธิภาพ
             2.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศเพื่อการศึกษา ให้เกิดการเข้าถึงอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
             3.สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในทุกระดับ
             4.เร่งพัฒนาและจัดหาความรู้ (Knowledge) และสาระทางการศึกษา(Content) ที่มีคุณภาพและมีความเหมาะสม
             5.ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้

4.  แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของ ศธ. (พ.ศ. 2547 – 2549)

          ได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อให้บรรลุซึ่งวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร อย่างเป็นรูปธรรมภายใต้เงื่อนไขที่เป็นจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคามของ การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2547– 2549 ไว้ 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

                1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 การใช้ ICT เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
                ส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้เรียนใช้ประโยชน์จาก ICT เพื่อการเรียนรู้จากแหล่งและวิธีการที่หลากหลาย โดยจัดให้มีการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา พัฒนาหลักสูตรให้เอื้อต่อการประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการจัดการเรียนการสอน เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนทางไกล จัดให้มีการศูนย์ข้อมูลสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Courseware center) ให้มีการเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) จัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e - Book) จัดให้มีห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (Lifelong Learning) นำไปสู่สังคมแห่งคุณธรรมและสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้

              2.ยุทธศาสตร์ที่ 2 การใช้ ICT พัฒนาการบริหารจัดการและให้บริการทางการศึกษา
               พัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ ระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ และพัฒนา
บุคลากรทุกระดับที่เกี่ยวข้อง โดยความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาที่มีความพร้อมและเอกชน สร้างศูนย์ปฏิบัติการสารสนเทศ (Operation center) เชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระดับชาติและระดับกระทรวง รวมทั้งส่งเสริมการใช้ ICT เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และให้บริการทางการศึกษา ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สอดคล้องกับการปฏิรูประบบราชการ

            3.ยุทธศาสตร์ที่ 3 การผลิตและพัฒนาบุคลากรด้าน ICT
               ผลิตและพัฒนาบุคลากร เพื่อรองรับความต้องการกำลังคนด้าน ICT โดยจัดให้มีการพัฒนาหลักสูตร ICT ในทุกระดับการศึกษา พัฒนาผู้สอนและนักวิจัย ส่งเสริมการวิจัย และนำผล การวิจัยไปประยุกต์ใช้ รวมทั้งประสานความร่วมมือกับองค์กรของรัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ในการพัฒนาบุคลากรด้าน ICT เพื่อการพัฒนาการศึกษาและอุตสาหกรรม

            4. ยุทธศาสตร์ที่ 4 การกระจายโครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อการศึกษา
               จัดให้มีและกระจายโครงสร้างพื้นฐาน ICT อย่างทั่วถึง มุ่งเน้นการจัดหาและใช้ทรัพยากรทางด้านเครือข่ายร่วมกัน จัดหาระบบคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยร่วมมือกับภาครัฐ เอกชน ชุมชน และท้องถิ่น เตรียมบุคลากรปฏิบัติงานด้าน ICT ให้เพียงพอ รวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่ม และการซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์ ICT ที่มีอยู่ให้มี ประสิทธิภาพในการใช้ปฏิบัติงาน

             สาระสำคัญที่กล่าวมาข้างต้นเป็นนโยบายและแผนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา อันเป็นตัวกำหนดแนวทางในการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีให้บังเกิดผลตามเจตนารมย์ของการปฏิรูปการศึกษาต่อไป

                ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น ได้กำหนดแผนแม่บทในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ที่ตอบสนองแผนระดับชาติและระดับกระทรวง โดยกำหนดยุทธศาสตร์และเป้าหมาย โดยกำหนดยุทธศาสตร์ 4 ด้าน คือ

                1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 จัดหาระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย

2. ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาและสรรหาบุคลากรด้าน ICT

                3. ยุทธศาสตร์ที่ 3 การประยุกต์ใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้

                4. ยุทธศาสตร์ที่ 4 การประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการบริหารจัดการ

                ในยุทธศาสตร์ที่ 4 การประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการบริหารจัดการนั้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้จัดให้มีศูนย์ปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร (ICT Operrating Center) ทุกระดับ ให้มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภายนอกและหน่วยงานภายใน รวมทั้งส่งเสริมการใช้ ICTเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและให้บริการทางการศึกษา ให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของรัฐบาล (E-Government)และด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ( E- Education) โดยมีเป้าหมาย ดังนี้      

1.       มีระบบฐานข้อมูลสำหรับการบริหารจัดการที่เป็นมาตรฐานเดียวกันและสอดรับกับทุกระดับ

2.       หน่วยงานทุกระดับมีคลังข้อมูล(Data Warehouse) เพื่อการตัดสินใจ

3.       มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยผ่านระบบเครือข่าย

4.       มีศูนย์ปฏิบัติการด้านICT ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตฯ

5.       มีระบบเครือข่ายภายในองค์กร (Intranet) เพื่อใช้ในการบริหารงาน

6.       หน่วยงานทุกระดับมี  Software ที่ถูกกฎหมายสำหรับการบริหารจัดการและพัฒนาระบบ

7.       มีโปรแกรมประยุคที่ใช้ในการบริหารงานด้านบุคลากร ด้านบริหารทั่วไป ด้านงบประมาณ         ด้านวิชาการ ด้านติดตามประเมินผล ด้านบริหารกิจการนักเรียนในทุกระดับ

8.       มีระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์(Geographic  Information  System :GIS)

9.       มีเวปไซท์เพื่อการประชาสัมพันธ์และให้บริการข้อมูลข่าวสารของหน่วยงาน

5.ทิศทางการบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

         การบริหาร หมายถึง การทำงานให้สำเร็จแต่จะมีกลวิธีใดบ้างที่จะช่วยให้งานสำเร็จได้นั้น โดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัตน์ที่โลกเสมือนเล็กลง (Global Village)  ในขณะที่ทรัพยากรธรรมชาติ และทรัพยากรการผลิตลงด้วยนั้น นักบริหารในระยะหลังๆ นี้ พยายามใช้ยุทธศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อมุ่งบรรลุเรื่อง 3 เรื่อง คือ หนึ่งใช้คนเท่าเดิมทำงานได้มากขึ้น สองงานเท่าเดิม แต่ใช้คนน้อยลง และสามคุณภาพของงานต้องดีเท่าเดิม หรือดีกว่า การจะบรรลุเรื่อง 3 เรื่อง ดังกล่าวนั้น จะต้องใช้ยุทธศาสตร์ คือ

1)      การใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศ (Information Utilization)  เพื่อประกอบการตัดสินใจให้มากขึ้น 

2)      การบริหารทางไกล (High-Tech Administration) 

3)       การหาความรู้ทำงานกับระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) 

4)       การมองการณ์ไกล (Introspection)

5)       การใช้หน่วยงาน/องค์กรอื่นทำงาน (Decentralization)

6)       การจัดรูปองค์กรที่ทำงานได้ฉับไว (Organization Development)

7)       การพัฒนาบุคลากร (Personnel Development)

ระบบสารสนเทศทางการศึกษา

        ความหมายของระบบ

ระบบ  (System)  คือ  ชุดขององค์ประกอบซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ ต่อกันในรูปของความเป็นหนึ่งเดียวและ                    ดำเนินงานร่วมไปสู่เป้าหมายเดียวกัน  ประกอบด้วยส่วนสำคัญสี่ประการ คือ

1.       ข้อมูลนำเข้า  (Input)

2.       กระบวนการประมวลผล (Process)

3.       ผลลัพธ์ (Input)

4.       การควบคุมการย้อนกลับ (Feedback 

 

ที่มา  http://learners.in.th/blog/phenphatson/260918

การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศทางการบริหารการศึกษา

เทคโนโลยีสารสนเทศมีต้นกำเนิดจากองค์กรที่แสวงหาผลกำไร ในช่วงปี คศ 1950 – 1960 โดยให้ความสำคัญในการทำงานประจำของเสมียน โดยเฉพาะในส่วนของการทำบัญชีเกี่ยวกับบัญชีเงินเดือนและบัญชีแยกประเภท ซึ่งเป็นสิ่งแรกที่ถูกทำอย่างอัตโนมัติ เมื่อคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพและใช้กันอย่างกว้างขวางมากขึ้น ทำให้ความมั่นคงของสารสนเทศมีการเติบโตเพื่อรองรับทุกกระบวนการทางธุรกิจ เครือข่ายของข้อมูลก็เติบโตมากขึ้นในเวลาดังกล่าว และถูกใช้มากขึ้นเพื่อรองรับการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ โดยการติดต่อสื่อสารข้อมูลถูกรวมเข้ากับกับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับคู่ค้าและลูกค้ามากยิ่งขึ้น การติดต่อสื่อสารข้อมูลเริ่มแรกจากระบบ Electronic Data Interchange (EDI) ในช่วงปี คศ 1970 ซึ่งในช่วงนั้น คำว่า การค้าเริ่มมีความหมายเดียวกันกับเครือข่ายข้อมูล ความเร็วและขนาดของข้อมูลมีการเพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยการที่องค์กรขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น ทำให้ระบบสารสนเทศมีระดับและความซับซ้อนที่มากขึ้น
กลยุทธ์และความมั่นคงของสารสนเทศ (Strategy and Information Security)
          การวางแผนกลยุทธ์สารสนเทศมีความสำคัญยิ่งในโลกของการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วยแผนกลยุทธ์ย่อยที่บ่งชี้ถึงองค์ประกอบแต่ละอย่างในโครงสร้างทางเทคโนโลยี โดยการวางกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอาจประกอบด้วยโปรแกรมประยุกต์ โครงสร้างเครือข่าย การจัดการ IT และอื่นๆ ส่วนประกอบที่สำคัญจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อองค์กร ดังนั้นในการวางกลยุทธ์จะต้องให้ความสำคัญ
          ความมั่นคงของสารสนเทศเป็นส่วนประกอบหนึ่งของกลยุทธ์ ความซับซ้อนของข้อมูลในองค์กรที่เพิ่มมากขึ้นทำให้การปกป้องข้อมูลมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน การปกป้องไม่ใช่เพียงแค่การตรวจสอบในการเข้าถึงข้อมูลเท่านั้น แต่จะต้องมีความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลประกอบด้วย ซึ่งข้อมูลภายในองค์กรอาจยังขาดระบบควบคุมความมั่นคงที่เพียงพอ แต่ก็ยังสามารถทำงานต่อไปได้หากอุปกรณ์การติดต่อสื่อสารและการควบคุมการเข้าถึงของพนักงานภายในองค์กรมีความมั่นคงเพียงพอ  ส่วนของระบบเปิดที่มีการเชื่อมโยงกับคู่ค้าและลูกค้านั้น การมีระบบควบคุมความมั่นคงนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีเพื่อสร้างความไว้วางใจกันระหว่างองค์กรบทบาทความมั่นคงของสารสนเทศในการวางกลยุทธ์นั้นได้ถูกพัฒนาให้สามารถเก็บความลับและสร้างให้เป็นเครือข่ายที่มีความน่าเชื่อถือ นำเสนอประโยชน์ที่สูงสุดในการวางกลยุทธ์สำหรับองค์กร ซึ่งข้อมูลสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับเป้าหมายขององค์กร มีการจัดการที่มีประสิทธิภาพ และเพิ่มประโยชน์ให้กับองค์กร
          การวางแผนกลยุทธ์ความมั่นคงของข้อมูลมีการสร้างโปรแกรมการรักษาความมั่นคงของข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมทั้งหมดที่สนับสนุนการป้องกันข้อมูล นอกจากนั้นยังมีเทคโนโลยี กระบวนการจัดการที่เป็นแบบแผน และคำนึงถึงวัฒนธรรมองค์กร โดยโปรแกรมดังกล่าวมีส่วนช่วยสร้างระบบควบคุมที่มีประสิทธิภาพและมีการจัดการการควบคุมอีกด้วย

วิธีการวางแผนกลยุทธ์ความมั่นคงของข้อมูล  (Information Security Strategy Planning Methodology)
          กลยุทธ์ความมั่นคงของข้อมูลถูกสร้างขึ้นมาโดยเฉพาะ ดูจากสภาพแวดล้อมโดยรวม เป้าหมายขององค์กร และความเป็นไปได้ในวิธีการที่จะประสบความสำเร็จในอนาคต ซึ่งกลยุทธ์ยังจะรวมถึงภารกิจ เป้าหมาย การะบวนทางธุรกิจ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ การปฏิบัติงานภายในองค์กร และเทคโนโลยีที่ใช้ในปัจจุบันและในอนาคต
          การวางกลยุทธ์ความมั่นคงของข้อมูลที่ดีนั้นต้องประกอบด้วยวิธีการรวบรวมข้อมูล การหาข้อเท็จจริง และการวิเคราะห์ โดยการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอนจะช่วยพัฒนาให้องค์กรได้รับประโยชน์สูงสุด

รูปแบบการวางกลยุทธ์ความมั่นคงของข้อมูล
(Information Security Strategy Planning Model)
1. สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ (The Business Environment)
          ความมั่นคงของข้อมูลช่วยสนับสนุนเป้าหมายขององค์กร โดยการวางกลยุทธ์ความมั่นคงของข้อมูลประกอบด้วยรูปแบบ เป้าหมาย โครงสร้าง และกระบวนการขององค์กร
          สภาพแวดล้อมทางธุรกิจจะเป็นตัวกำหนดว่าการรักษาความมั่นคงมีความจำเป็นหรือไม่ และยังมีผลต่อระดับความจำเป็นในการรักษาความมั่นคงด้วย โดยความมั่นคงของข้อมูลต้องสนับสนุนเป้าหมายขององค์กร กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ความมั่นคงของข้อมูลจะต้องทำความเข้าใจในภารกิจขององค์กร ระบบการจัดการที่เป็นทางการ และวัฒนธรรมขององค์กร

2. มูลค่าของข้อมูล (Information Value)
          ความมั่นคงของข้อมูลเกี่ยวข้องกับการป้องกันข้อมูล แหล่งที่มาของการป้องกันข้อมูลขึ้นอยู่กับมูลค่าของข้อมูล เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลกันสินค้าที่จับต้องได้ ข้อมูลถือว่าเป็นสิ่งที่ยุ่งยากในเชิงเศรษฐศาสตร์ สามารถทำซ้ำได้โดยใช้ต้นทุนที่ต่ำและมันไม่สามารถตรวจสอบได้หากถูกทำลาย แต่ถ้านำข้อมูลไปเชื่อมโยงกับข้อมูลอื่นเพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจ ข้อมูลนั้นจะมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

3. ความเสี่ยง (Risk)
          การรักษาความมั่นคงของข้อมูลพยายามลดความไม่ชัดเจนในการแบ่งแยกความมั่นคง โดยวัตถุประสงค์ของโปรแกรมความมั่นคงของข้อมูลเพื่อลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ในราคาที่เหมาะสม ซึ่งองค์กรจะเป็นผู้กำหนดว่าความเสี่ยงใดยอมรับได้ และความเสี่ยงใดยอมรับไม่ได้
แนวทางในการเข้าถึงการจัดการความเสี่ยงคือการวิเคราะห์ความเสี่ยง โดยใช้มาตรฐานที่ได้กำหนดไว้มาพิจารณา การวิเคราะห์ความเสี่ยงจะดูจากความเป็นไปได้ของความเสียหายและทำการพิจารณาแนวทางในการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับแต่ละความเสี่ยง
4. กระบวนการการวางแผนกลยุทธ์ (The Strategic Planning Process)
          การพัฒนากลยุทธ์ความมั่นคงของข้อมูลประกอบด้วยการหาข้อเท็จจริง การวิเคราะห์ การกำหนดเป้าหมาย และการพัฒนาโครงงานให้บรรลุเป้าหมาย โดยกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ได้นำเครื่องมือต่างๆ มาใช้ในการจัดการ การสัมภาษณ์เพื่อหาข้อมูลควบคู่กับการจัดการ การทบทวนระบบเอกสารต่างๆที่มีอยู่ ทำการศึกษาสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ตลอดจนการควบคุมจากภาครัฐล้วนมีบทบาทสำคัญในกระบวนการวางแผนกลยุทธ์
5. การวางแผนด้านเทคโนโลยี (Technology Plan)
          การวางแผนด้านเทคโนโลยีจะบ่งบอกถึงเทคโนโลยีและเทคนิคมาตรฐานที่ช่วยสนับสนุนการป้องกันความมั่นคงของข้อมูลในองค์กร การรักษาความมั่นคงถูกนำมาใช้ในทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับเครือข่าย อุปกรณ์ที่ใช้ต้องมั่นใจว่าใช้ไม่ผิดวัตถุประสงค์ โดยกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีความมั่นคงของข้อมูลต้องกำหนดเทคโนโลยีทีจะนำมาใช้ให้สอดคล้องเป้าหมายของธุรกิจ
6. การวางแผนด้านการจัดการ (Management Plan)
          ความมั่นคงของข้อมูลถือเป็นระบบการจัดการ ซึ่งการจัดการจะเกี่ยวข้องกับการควบคุมองค์กร รวมถึงเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ นอกจากนี้กลยุทธ์การรักษาความมั่นคงของข้อมูลต้องสนับสนุนกลไลการทำงานขององค์กรด้วย
บทบาทหน้าที่สำคัญของผู้บริหารระดับสูงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 
          ลักษณะของผลงานที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ CIO ในด้านของความรับผิดชอบของผู้บริหาร กลยุทธ์ที่ต้องอาศัยความชำนาญ และความสามารถพิเศษ และสภาพที่มีความสัมพันธ์ในทุกหน้าที่ภายในองค์กร ทั้งผู้ร่วมงาน, พนักงาน  IT, ลูกจ้าง ซึ่งสิ่งเหล่านั้นถือเป็นผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ทรัพยากรให้ประสบความสำเร็จ ดังนั้น CIO จะประสบความสำเร็จ ได้จำเป็นต้องปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
         เป็นผู้นำ (leader) ไม่ใช่ผู้จัดการ (manager)
         รู้ถึงปัจจัยพื้นฐานขององค์กรได้แก่ความมุ่งหมายและเป้าหมายทางธุรกิจ ความต้องการทางธุรกิจที่ยังมีอยู่ และผู้ตัดสินใจ
         สร้างวิสัยทัศน์เพื่อให้เป็นองค์กรที่สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้โดยไม่ใช้วิธีการชักจูง แต่ใช้การสร้างกรอบวิสัยทัศน์ในการส่งเสริมเทคโนโลยี โดยเฉพาะการส่งเสริมในด้านเครือข่าย และ Real time 
         ทำให้เกิดการคาดหวังที่จะใช้ประโยชน์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีหลักการที่รัดกุม มีแนวทางที่ชัดเจนแน่นอน ว่าจะดำเนินการอย่างไรที่จะส่งผลให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

แปลงกลยุทธ์ธุรกิจสู่กลยุทธ์ด้าน IT
          ในปัจจุบันบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ไม่ใช่เพียงที่จะมาช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานและดำเนินงานเท่านั้น แต่จะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้กลยุทธ์ของบริษัทประสบความสำเร็จ โดยจะช่วยสนับสนุนให้ผู้บริหารตัดสินใจถูกต้องและแม่นยำบนพื้นฐานของข้อมูลที่ทันสมัยตลอดเวลา รวมทั้งการนำเอาข้อมูลมาวิเคราะห์ในการวางแผนและการกำหนดกลยุทธ์ต่างๆของบริษัท เพื่อความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม อย่างยั่งยืน 
          จากบทบาทที่สำคัญดังกล่าว จึงเป็นที่มาของแนวคิดในการบริหารกลยุทธ์ด้าน IT  โดยมีหลักการที่สำคัญ คือ บริษัทควรใช้จ่ายงบประมาณกับ IT ในส่วนที่มีการสนับสนุนโดยตรงต่อกลยุทธ์ทางธุรกิจ (Business strategy) และเพื่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบริษัทเท่านั้น โดยผู้บริหารต้องมีความสามารถในการควบคุมงบประมาณและการลงทุนใน IT และขณะเดียวกันต้องติดตามวัดประสิทธิผลของ IT ที่มีต่อความสามารถหลักขององค์กร (IT’s bottom-line impact)  และต้องกำจัดธุรกรรมด้าน IT ที่มีอยู่แต่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควรจะเป็น (Underperforming) ออกไปจากองค์กร
เพื่อความสำเร็จขององค์กร ผู้บริหาร ต้องตระหนักถึงประเด็นต่างๆที่สำคัญ เกี่ยวกับการบริหารและจัดการด้าน IT ดังต่อไปนี้ 
          (1)  ผู้บริหารด้านธุรกิจ (Business Manager) และผู้บริหารด้าน IT (IT manager) จะต้องมีความเห็นร่วมกันว่าบริษัทจะกำลังไปทิศทางไหน และอะไรที่ IT สามารถช่วยได้ โดยการแปลงกลยุทธ์ด้านธุรกิจ (Business strategy) มาสู่การปฏิบัติงานเชิงกลยุทธ์ด้าน IT ที่เรียกว่า “ strategic IT requirements ” หรือกล่าวได้ว่า ความต้องการเชิงกลยุทธ์ของฝ่ายบริหาร (management’s strategic intentions) จะเป็นตัวกำหนดเป้าหมายและเป็นตัวขับเคลื่อน IT (strategic IT requirements) นั่นเอง
          (2)  ต้องมีแนวคิดนวัตกรรมใหม่ๆในด้านผลิตภัณฑ์และการให้บริการ ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ทางธุรกิจเดิม โดยประยุกต์ความสามารถของ IT และจะต้องทำให้ IT เป็นตัวผลักดันให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น และช่วยสนับสนุนให้โอกาสเหล่านี้ สามารถนำเสนอออกมาในรูปแบบการวางแผนเชิงกลยุทธ์ทางธุรกิจ ผลที่ได้คือ ธุรกิจสามารถแสวงหาโอกาสใหม่ๆ ที่มีศักยภาพทางการแข่งขันที่เหนือกว่าในอดีต จากการสนับสนุนของ IT
          (3)  จัดลำดับความสำคัญของโครงการ IT  และจัดสรรทรัพยากรไปสู่โครงการที่ให้ผลประโยชน์สูงสุด ซึ่งบริษัทควรใช้จ่ายงบประมาณลงไปในโครงการที่มีความสัมพันธ์กับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (Strategic intention) ของธุรกิจเท่านั้น ผลที่ได้ คือ เงินจะถูกใช้จ่ายอย่างถูกต้องตรงตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้  และผู้บริหารด้านธุรกิจและผู้บริหารด้าน IT ต้องเห็นด้วยกันกับการตัดสินใจนั้น
          (4)  ต้องมีการประเมินผลทางธุรกิจที่ได้จาก IT ในโครงการเดิมที่มีอยู่แล้ว โดย ผู้บริหารด้านธุรกิจและผู้บริหารด้าน IT จะต้องช่วยกันตัดสินใจว่าโครงการ IT เดิมโครงการใดควรจะได้รับงบประมาณสนับสนุนต่อไปในระดับใด ผลที่ได้คือ บริษัทจะมีเกณฑ์ในการจ่ายเงินให้กับโครงการที่มีอยู่แล้วและสามารถพิจารณา ว่าควรสนับสนุนต่อไปหรือไม่ ซึ่งจะทำให้มีเงินเหลือพอที่จะสนับสนุนโครงการ พัฒนาใหม่ๆ ต่อไป
          (5)  ต้องมีการวัดผลงานของ IT ว่ามีส่วนช่วยและสัมพันธ์กับธุรกิจเพียงใด ซึ่งเป็นการง่ายที่จะวัดประสิทธิผล IT ในเชิงการปฏิบัติงาน แต่เป็นการยากที่จะวัดผลของ IT ที่มีต่อธุรกิจในส่วนที่จับต้องไม่ได้ เช่น ผลของการเก็บข้อมูลในระยะยาวเพื่อช่วยผู้บริหารตัดสินใจการวางทิศทางขององค์กรในอนาคต เป็นต้น

          บริษัทส่วนใหญ่มักจะมีการเชื่อมโยงกันแบบหลวมๆ ระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในระดับบริหารกับ IT ผลก็คือทำให้การลงทุนด้าน IT ไม่สนับสนุนกลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัทได้อย่างชัดเจน ทำให้ CEO ไม่สามารถบอกได้ว่าบริษัทได้อะไรจากการลงทุนด้าน IT บ้าง ผู้บริหารด้าน IT ก็มีความยากลำบาก โดยไม่สามารถสื่อสารกับผู้บริหารด้านธุรกิจและ CEO ได้ว่า IT ทำอะไรให้องค์กรบ้าง ซึ่งปัญหาการขาดการเชื่อมโยงระหว่างการบริหารทางธุรกิจกับ IT นี้จำเป็นต้องถูกแก้ไข

นอกจากปัญหาการเชื่อมโยงของกระบวนการบริหารดังกล่าว  ยังคงมีปัญหาต่างๆ อีกมากที่มักพบบ่อยมีดังนี้
          (1) แผนทางธุรกิจ (Business plan) ไม่เกื้อหนุนการขับเคลื่อนแผนงานด้าน IT      
          (2) แผนงานด้าน IT มุ่งเน้นแต่ในด้านเทคโนโลยี มากกว่าจะเข้าถึงกลยุทธ์ทางธุรกิจโดยตรง
          (3) ผู้บริหารด้าน IT ไม่มีความสามารถที่จะสื่อสารกับผู้บริหารด้านธุรกิจในแง่ของมุมมองทางธุรกิจ (business perspective) จึงทำให้ผู้บริหารด้านธุรกิจ มองไม่เห็นและไม่เข้าใจว่า IT  จะเป็นสิ่งที่สนับสนุนกลยุทธ์ของพวกเขาได้  
          (4) โครงการ IT ใหม่ๆไม่สนับสนุนกลยุทธ์ทางธุรกิจ รวมทั้งค่าใช้จ่ายของ IT ในการบำรุงรักษาทั้งในด้านอุปกรณ์และการใช้งานไม่สนับสนุนกลยุทธ์ของบริษัท
          (5) งบประมาณของบริษัทไม่สะท้อนถึงการวางแผนด้าน IT เนื่องจากแผนงานด้าน IT ไม่สามารถชี้แนะผู้บริหารในการตัดสินใจได้อย่างถูกทิศทาง  ทั้งในโครงการใหม่และโครงการเดิม
วามท้าทายของ ผู้บริหารระดับสูงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  CIO; Chief Information Officers)
          ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน บทบาทและหน้าที่ของ CIO ได้มีการเปลี่ยนแปลงมาอย่างต่อเนื่อง  เริ่มตั้งแต่ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 นั้น CIO ไม่ได้มีบทบาทอย่างแท้จริง โดยงานส่วนใหญ่จะเป็นการรับผิดชอบเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ (Information Infrastructure) แต่เมื่อโลกเริ่มเปลียนวิธีการตัดสินใจโดยมุ่งเน้นการใช้ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ จึงทำให้หน้าที่ของ CIO ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ซึ่งรวมถึงการมีส่วนร่วมในการกำหนดกลยุทธ์และสร้างวิสัยทัศน์ให้แก่องค์กร  ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา องค์กรเริ่มที่จะเห็นความสำคัญของ CIO มากขึ้นในการสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีผู้บริหารจำนวนมากที่ยังมองว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่บริโภคทรัพยากรขององค์กรมากเกินไป แต่กลับให้ผลตอบแทนที่ไม่คุ้มค่า  ทำให้ผู้บริหารเหล่านี้ไม่เห็นว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กร ดังนั้นผู้บริหารกลุ่มนี้จึงเห็นเพียงว่าเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นต้องการผู้บริหารเพียงระดับผู้จัดการ หรือเพียง Line manager เข้ามาดูแลเพื่อสนับสนุนกระบวนการทำงานของพวกเขาเท่านั้น 
          ผู้บริหารระดับสูงหลายท่านกล่าวว่า “My CIO talks techno-bubble” จึงทำให้บางองค์กร ตำแหน่ง CIO มักเป็นตำแหน่งที่ไม่มีอนาคต ซึ่งในอดีตหลายคนกล่าวว่า CIO ย่อมาจาก “Career is over” ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพราะ CIO ไม่สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่สามารถอธิบายถึงเหตุผลว่าโครงการสารสนเทศที่นำเสนอ จะสามารถสร้าง Business Value ให้กับองค์กรได้อย่างไร
          ความท้าทายของ CIO ในยุคต่อจากนี้คือ การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและความเป็นผู้นำนั่นเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำ
          มีการศึกษาวิจัยในกลุ่มผู้นำและผู้ปฏิบัติงานในองค์การต่างๆ ซึ่งศึกษาจากองค์กรกว่า 200 องค์กรในอเมริกาพบว่า EQ เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้นำมาก โดยผลการวิจัยชี้ชัดว่า 67% ของความสามารถที่บุคคลใช้เพื่อความสำเร็จในงาน เป็นเรื่องของ EQ (เช่นความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น ความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงต่างๆในองค์กรได้ เป็นต้น) ในขณะที่อีก 33% ที่เหลือเป็นเรื่องของความสามารถทางสติปัญญา และความรู้ความชำนาญในงาน (Technical Skills) ยิ่งไปกว่านั้นการวิจัยยังพบว่า ยิ่งงานมีตำแหน่งสูงขึ้นเท่าไร ความรู้ความชำนาญในงาน (Technical Skills) และความสามารถทางสติปัญญาจะลดความสำคัญลง แต่ EQ จะมีความสำคัญเพิ่มขึ้น
ที่มา  http://www.vcharkarn.com/varticle/40631

 

 

การใช้ ICT เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

ปัจจุบันเรามักจะได้ยินคำว่า ICT กันเสมอ ในเชิงการแข่งขันคนที่มีความรู้ความสามารถเท่านั้น จึงจะสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีศักยภาพและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ที่เราเรียกว่า ยุคสมัยของการดำรงชีวิตภายใต้การแข่งขันด้านความรู้ความสามารถ (Knowledge-based economy/society) การนำ ICT ไปใช้ในการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเรื่องที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในวงการศึกษา ทั้งนี้เนื่องจาก ICT เป็นเครื่องมือที่ได้รับการยอมรับว่ามีศักยภาพสูง กว่าเครื่องมือการสอนอื่น ๆ เราสามารถใช้ ICT เพื่อปรับปรุงคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ คำว่า “ ICT” ย่อมาจาก Information and Communication Technologies หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง การรวมตัวกันของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และเทคโนโลยีการสื่อสาร (CT) เพื่อให้เกิดการนำข้อมูลข่าวสารมาจัดเก็บอย่างเป็นระบบ หรือหมวดหมู่ เพื่อให้ทุกคนที่สนใจเข้าถึงข้อมูล และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ตามกรอบแนวความคิดทั้ง 6 ประการ ดังกล่าว จัดเป็นองค์ประกอบเบื้องต้นที่สำคัญในสาระขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกัน และมีรายละเอียดดังนี้
นโยบายของรัฐบาล นโยบายการเร่งใช้ ICT (Information and Communication Technology) เพื่อพัฒนาการศึกษาในทุกด้านโดยเฉพาะการช่วยพัฒนา ครู อาจารย์ นักศึ

หมายเลขบันทึก: 380194เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2010 23:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 06:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท