ก้าวทันเทคโนโลยี วิสัยทัศน์ที่(อาจ)บกพร่อง 1


วิสัยทัศน์ไม่ใช่การมองไปข้างหน้าแต่เพียงอย่างเดียว

การบริหารยุคนี้หรือยุคไหนๆก็ตาม สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญอีกอย่างหนึ่งซึ่งจะขาดเสียมิได้ก็คือการมีแผนงานที่ชัดเจนเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์
ผู้เขียนคงไม่เจาะลึกลงไปในรายละเอียด เพราะผู้บริหารทุกคนล้วนต้องทราบ จนบางคนสามารถหลับตาอธิบายได้คล่องแคล่วเป็นตุเป็นตะราวกับเจ้าของทฤษฎี มีหลายคนบอกว่าองค์ความรู้ในเรื่องของการบริหารจัดการกับแผนงานที่มีมากมายหลากหลายนับร้อยนับพันโมเดลเหล่านี้ได้ถูกเผยแพร่กระจายซึมซับสู่ทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติไม่ว่าจะในรูปแบบการเรียนการสอนระดับต่างๆ การอบรมสัมมนาสารพัดชนิดที่แต่ละคนได้รับซ้ำๆจนนับครั้งไม่ถ้วน นี่ถ้าหากปริมาณองค์ความรู้ที่ผู้บริหารหรือบุคลากรได้รับ แปรตรงกับสมรรถนะของการบริหารงานและความสำเร็จขององค์กรแล้วละก็ ความเจริญรุ่งเรืองขององค์กรต่างๆทั่วประเทศคงเทียบได้กับพัฒนาการของ microprocessor เลยทีเดียว
ในการปฏิบัติงานของผู้เขียนหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเกี่ยวข้องกับแผนงานการดำเนินงานของสถานศึกษาทุกแห่ง ที่ได้เข้าไปประเมินในระยะเวลาสั้นๆแต่สิ่งที่สะกิดความรู้สึกผู้เขียนจนต้องนำออกมาเล่าสู่กันก็คือการกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กรเหล่านั้น
หากจะแจงออกมาเป็นตัวเลขทางสถิติผู้เขียนเองคงไม่มีเวลามากขนาดที่จะเก็บข้อมูลเหล่านี้มาแสดงรายละเอียดได้ แต่จากสิ่งที่ได้ผ่านเข้ามาในสายตาจำนวนมากมายนั้นทำให้มีความรู้สึกว่าในยุคนี้ หากองค์กรใดจะกำหนดวิสัยทัศน์ออกมาแล้วละก็ จะละเลยคำว่า "เทคโนโลยี" ไปไม่ได้เป็นอันขาดเราจึงได้เห็น "..ก้าวทันเทคโนโลยี.." "..เทคโนโลยีล้ำ.." และอีกหลายลีลาของเทคโนโลยี สอดแทรกอยู่ในวิสัยทัศน์ขององค์กรต่างๆจนแทบเป็นคำบังคับเลยทีเดียว 
อันที่จริงผู้เขียนเองก็เชื่อว่าการมองไปข้างหน้าพร้อมกับการดำเนินไปอย่างมั่นคงจะต้องให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเทคโนโลยี การรู้เท่าทัน สามารถใช้และบริหารเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพได้นอกจากจะสามารถลดอุปสรรคและความเสี่ยงจากการดำเนินงานได้แล้ว การเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็วยังจะทำให้องค์กรมีความได้เปรียบสูงขึ้นตามไปอีกด้วย การบริหารจัดการสิ่งที่มีความซับซ้อนมากๆก็จะสามารถทำได้อย่างรวดเร็วถูกต้องแม่นยำและทันสมัยอยู่เสมอ แม้ว่าเทคโนโลยีจะมีความหมายที่กว้างขวาง แต่เรามักจะคุ้นเคยเพียงบางส่วนของมันเท่านั้นซึ่งโดยส่วนใหญ่เรามักจะนึกถึงเทคโนโลยีในด้านของสารสนเทศและคอมพิวเตอร์มากกว่าอย่างอื่น แต่ปัญหาที่สำคัญก็คือเรารู้จักเทคโนโลยีกันดีเพียงพอแล้วหรือยัง เราสามารถนำมันมาใช้ มาบริหารจัดการได้ดีสอดคล้องกับความเป็นตัวตนของเราเพียงใด หรือเรารู้จักมันเพียงแค่ "Specification" เท่านั้น
ผู้เขียนลองย้อนความจำไปถึงเมื่อครั้งที่ทำงานกับบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์เมื่อเกือบยี่สิบปีที่แล้ว ต้องยอมรับว่าพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์เป็นไปอย่างรวดเร็วมากเหลือเกิน โดยเฉพาะฮาร์ดแวร์ หรืออุปกรณ์(ที่มองเห็นจับต้องได้) นั้นแทบจะเรียกได้ว่าพัฒนาการในแต่ละขั้นจะเกิดขึ้นทุกควอเตอร์ (ไตรมาศ) แน่นอนว่าพัฒนาการของซอฟท์แวร์ก็ย่อมเป็นไปอย่างก้าวกระโดดเช่นเดียวกัน โดยผู้ใช้จะได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น Aplication ต่างๆมีขีดความสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้จนแทบไม่มีข้อจำกัด อีกทั้งยังสามารถเชื่อมโยงไปได้ทั่วโลกผ่านระบบอินเตอร์เน็ต แถมยังมีความสวยงามแปลกตานับไม่ถ้วนสไตล์ แต่ก็ต้องแลกด้วยทรัพยากรของเครื่องมากขึ้นเป็นทวีคูณเช่นเดียวกัน พัฒนาการของทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์จึงคู่ขนานกันไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
ที่สำคัญ..มันเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก 
สิ่งที่ตามมาก็คือ ผู้คนจะเฝ้ารอเพื่อปรับเปลี่ยนให้ทันเทคโนโลยีตัวใหม่ๆ และที่สำคัญก็คือตัวที่มาพร้อมเทคโนโลยีล่าสุดมีราคาสูงลิ่วขณะที่ตัวที่ใช้อยู่ปัจจุบันราคาถูกลงมาก สิ่งที่ได้เห็นก็คือความต้องการของผู้คนในระดับหนึ่งที่ยอมจ่ายและเฝ้ารอเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า จนถึงขนาดที่เรียกได้ว่ามันกลายเป็นตัวชี้วัดที่แสดงสถานภาพของผู้ใช้มากกว่าเป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือเพื่อรับใช้ผู้คน การนำเทคโนโลยีมาใช้บางครั้งจึงวางอยู่บนเส้นแบ่งบางๆระหว่าง "การใช้งานเทคโนโลยีอย่างสมเหตุผล" กับ "การบริโภคที่ไม่รู้จักพอ" หรือระหว่าง "เครื่องมือเครื่องใช้" กับ "เครื่องหมายแสดงสถานภาพ"

การบริหารยุคนี้หรือยุคไหนๆก็ตาม สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญอีกอย่างหนึ่งซึ่งจะขาดเสียมิได้ก็คือการมีแผนงานที่ชัดเจนเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์


ผู้เขียนคงไม่เจาะลึกลงไปในรายละเอียด เพราะผู้บริหารทุกคนล้วนต้องทราบ จนบางคนสามารถหลับตาอธิบายได้คล่องแคล่วเป็นตุเป็นตะราวกับเจ้าของทฤษฎี มีหลายคนบอกว่าองค์ความรู้ในเรื่องของการบริหารจัดการกับแผนงานที่มีมากมายหลากหลายนับร้อยนับพันโมเดลเหล่านี้ได้ถูกเผยแพร่กระจายซึมซับสู่ทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติไม่ว่าจะในรูปแบบการเรียนการสอนระดับต่างๆ การอบรมสัมมนาสารพัดชนิดที่แต่ละคนได้รับซ้ำๆจนนับครั้งไม่ถ้วน นี่ถ้าหากปริมาณองค์ความรู้ที่ผู้บริหารหรือบุคลากรได้รับ แปรตรงกับสมรรถนะของการบริหารงานและความสำเร็จขององค์กรแล้วละก็ ความเจริญรุ่งเรืองขององค์กรต่างๆทั่วประเทศคงเทียบได้กับพัฒนาการของ microprocessor เลยทีเดียว
ในการปฏิบัติงานของผู้เขียนหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเกี่ยวข้องกับแผนงานการดำเนินงานของสถานศึกษาทุกแห่ง ที่ได้เข้าไปประเมินในระยะเวลาสั้นๆแต่สิ่งที่สะกิดความรู้สึกผู้เขียนจนต้องนำออกมาเล่าสู่กันก็คือการกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กรเหล่านั้น
หากจะแจงออกมาเป็นตัวเลขทางสถิติผู้เขียนเองคงไม่มีเวลามากขนาดที่จะเก็บข้อมูลเหล่านี้มาแสดงรายละเอียดได้ แต่จากสิ่งที่ได้ผ่านเข้ามาในสายตาจำนวนมากมายนั้นทำให้มีความรู้สึกว่าในยุคนี้ หากองค์กรใดจะกำหนดวิสัยทัศน์ออกมาแล้วละก็ จะละเลยคำว่า "เทคโนโลยี" ไปไม่ได้เป็นอันขาดเราจึงได้เห็น "..ก้าวทันเทคโนโลยี.." "..เทคโนโลยีล้ำ.." และอีกหลายลีลาของเทคโนโลยี สอดแทรกอยู่ในวิสัยทัศน์ขององค์กรต่างๆจนแทบเป็นคำบังคับเลยทีเดียว

 
อันที่จริงผู้เขียนเองก็เชื่อว่าการมองไปข้างหน้าพร้อมกับการดำเนินไปอย่างมั่นคงจะต้องให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเทคโนโลยี การรู้เท่าทัน สามารถใช้และบริหารเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพได้นอกจากจะสามารถลดอุปสรรคและความเสี่ยงจากการดำเนินงานได้แล้ว การเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็วยังจะทำให้องค์กรมีความได้เปรียบสูงขึ้นตามไปอีกด้วย การบริหารจัดการสิ่งที่มีความซับซ้อนมากๆก็จะสามารถทำได้อย่างรวดเร็วถูกต้องแม่นยำและทันสมัยอยู่เสมอ แม้ว่าเทคโนโลยีจะมีความหมายที่กว้างขวาง แต่เรามักจะคุ้นเคยเพียงบางส่วนของมันเท่านั้นซึ่งโดยส่วนใหญ่เรามักจะนึกถึงเทคโนโลยีในด้านของสารสนเทศและคอมพิวเตอร์มากกว่าอย่างอื่น แต่ปัญหาที่สำคัญก็คือเรารู้จักเทคโนโลยีกันดีเพียงพอแล้วหรือยัง เราสามารถนำมันมาใช้ มาบริหารจัดการได้ดีสอดคล้องกับความเป็นตัวตนของเราเพียงใด หรือเรารู้จักมันเพียงแค่ "Specification" เท่านั้น


ผู้เขียนลองย้อนความจำไปถึงเมื่อครั้งที่ทำงานกับบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์เมื่อเกือบยี่สิบปีที่แล้ว ต้องยอมรับว่าพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์เป็นไปอย่างรวดเร็วมากเหลือเกิน โดยเฉพาะฮาร์ดแวร์ หรืออุปกรณ์(ที่มองเห็นจับต้องได้) นั้นแทบจะเรียกได้ว่าพัฒนาการในแต่ละขั้นจะเกิดขึ้นทุกควอเตอร์ (ไตรมาศ) แน่นอนว่าพัฒนาการของซอฟท์แวร์ก็ย่อมเป็นไปอย่างก้าวกระโดดเช่นเดียวกัน โดยผู้ใช้จะได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น Aplication ต่างๆมีขีดความสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้จนแทบไม่มีข้อจำกัด อีกทั้งยังสามารถเชื่อมโยงไปได้ทั่วโลกผ่านระบบอินเตอร์เน็ต แถมยังมีความสวยงามแปลกตานับไม่ถ้วนสไตล์ แต่ก็ต้องแลกด้วยทรัพยากรของเครื่องมากขึ้นเป็นทวีคูณเช่นเดียวกัน พัฒนาการของทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์จึงคู่ขนานกันไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด


ที่สำคัญ..มันเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก 


สิ่งที่ตามมาก็คือ ผู้คนจะเฝ้ารอเพื่อปรับเปลี่ยนให้ทันเทคโนโลยีตัวใหม่ๆ และที่สำคัญก็คือตัวที่มาพร้อมเทคโนโลยีล่าสุดมีราคาสูงลิ่วขณะที่ตัวที่ใช้อยู่ปัจจุบันราคาถูกลงมาก สิ่งที่ได้เห็นก็คือความต้องการของผู้คนในระดับหนึ่งที่ยอมจ่ายและเฝ้ารอเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า จนถึงขนาดที่เรียกได้ว่ามันกลายเป็นตัวชี้วัดที่แสดงสถานภาพของผู้ใช้มากกว่าเป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือเพื่อรับใช้ผู้คน การนำเทคโนโลยีมาใช้บางครั้งจึงวางอยู่บนเส้นแบ่งบางๆระหว่าง "การใช้งานเทคโนโลยีอย่างสมเหตุผล" กับ "การบริโภคที่ไม่รู้จักพอ" หรือระหว่าง "เครื่องมือเครื่องใช้" กับ "เครื่องหมายแสดงสถานภาพ"

หมายเลขบันทึก: 379474เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2010 12:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 11:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท