เรื่องเล่าจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระบาก; ชุดทดสอบอย่างง่ายพาชุมชนปลอดภัย


 เรื่องเล่าจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระบาก เรื่องของเรื่องมาจากการดำเนิน

โครงการวิทยาศาสตร์การแพทย์สู่ชุมชนด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์การแพทย์สู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขต 11 และ 12

ชื่อยาวใช่ไหมค่ะ ฮ่า ๆ ๆ แต่ชื่อนั้นสำคัญไฉน อยู่ที่ใจของคนทำงานต่างหาก ดำเนินการโดยการเอาชุดทดสอบอย่างง่าย ที่คิดค้นโดยทีมของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มาถ่ายทอดให้มีการนำไปใช้เฝ้าระวังในชุมชน

สงสัยไหมค่ะ ชุดทดสอบอย่างง่ายมีอะไรบ้าง ขอเล่าคร่าว ๆ ยกตัวอย่างแค่บางชนิดนะคะ  ชุดทดสอบสารสเตียรอยด์ในยาและยาแผนโบราณ ตรวจสารฟอร์มาลีนในอาหาร ชุดตรวจสารปรอท ชุดตรวจสารไฮโดรควินโนนในเครื่องสำอางค์ เป็นต้น อันที่จริงมีเยอะทีเดียวค่ะ แต่ขอเกริ่นแค่นี้ก่อนนะคะ

เข้าเรื่องซะที ที่มาของเรื่องเล่าก็มีว่าพี่อ้อ (ศุภลักษณ์ พริ้งเพราะ) ลงพื้นที่ ตรวจเยี่ยม รพ.สต.กระบากกับพี่วิชัย ท่านได้คุยกับคนทำงาน กลับมาท่านมาเล่าให้ฟังด้วยความประทับใจ เกี่ยวกับ ทีม อสม. ชาวรพ.สต. ที่ขยันขันแข็ง ทำงานจนท่านบอกว่า

"เขาทำงานสมกับเป็นข้าแห่งองค์ราชะ คือ ข้าราชการจริง ๆ"

พอได้ลงพื้นที่ก็ทำให้เข้าใจว่า งานที่เราทำเเล็บ งก ๆ อยู่เนี่ย มันเป็นประโยชน์นะ มีผู้คนปลอดภัย จากสารพิษเจือปนใน อาหารและยามากขึ้น

งบประมาณที่เราขอมาทำงานแบบปูพรมทั่วพื้นที่นี่ สำหรับพี่ พอได้ฟังการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของชาวบ้านที่นี่ ก็คุ้มแล้ว

หนูได้ฟังแล้วรู้สึกประทับใจจากการได้ฟังเรื่องราว และทราบมาว่าจากแรงเชียร์ ของพี่ ๆ ในที่ทำงาน พี่อ้อได้เขียนเรื่องเล่า เรียบเรียงออกมา หนูเห็นว่าเป็นประโยชน์ จึงขออนุญาตท่านเอานำมาลง ณ ที่นี่ แต่ท่านก็ออกตัวว่า

"ไม่ใช่นักเขียน ไม่รู้จะเขียนได้ดีแค่ไหน"

 ทำให้หนูระลึกถึงครูที่ท่านเมตตาสั่งสอน ว่าทำดี ทำไปเลย ทำสิบเราก็ได้สิบ ทำหกสิบเราก็ได้หกสิบ ไม่ใช่ว่าต้องรอถึงร้อยแล้วค่อยทำ

เรื่องราวที่เรียบเรียง หนูเห็นว่า มันงดงามอย่างที่มันเป็น ที่สำคัญ หนูเห็นและรู้สึกได้ ถึงใจที่ชุ่มฉ่ำของพี่อ้อ ที่ได้รางวัลจากการได้ทำงานแล้ว ยังมีเมตตาแลกเปลี่ยนเรื่องดี ๆ เล่าให้ใคร ๆ ฟัง แล้วยังเขียนบันทึกไว้อีก ด้วยความเคารพในความดี จึงขอนำส่งบทความนี้ไว้ที่บันทึกนี้ค่ะ

 

วันที่  14  กรกฎาคม  2553  เวลา  14.00  -  15.00  น.
สรุปการติดตามงาน
          เรื่อง  ชุดทดสอบหาสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณ
       เนื่องจากทางศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่  ๖  ได้มีโครงการวิทยาศาสตร์การแพทย์สู่ชุมชนด้านสมุนไพร  ได้จัดอบรมให้ความรู้และแจกชุดทดสอบเพื่อไปเฝ้าระวังยาแผนโบราณที่มีความเสี่ยงในพื้นที่  ซึ่งทาง  รพ.สต.กระบาก   ได้ถ่ายทอดให้ความรู้และสอนการใช้ชุดทดสอบให้กับกลุ่ม  อสม. ซึ่งในหมู่บ้านที่  รพ.สต.  กระบากรับผิดชอบมีทั้งหมด  11  หมู่บ้าน  
เมื่อกลุ่ม  อสม.  มีความรู้และความสามารถจึงออกพื้นที่เพื่อหาข้อมูลว่ามีใครกินยาแผนโบราณและต้องการทราบหรือไม่ว่ามียากลุ่มสเตียรอยด์ผสมอยู่  ในหมู่บ้านชาวบ้านจะนิยมรับประทานยาสมุนไพรและยาชุดมาก  ด้วยความเชื่อส่วนตัวว่าถ้าไม่ทานแล้วจะไม่มีแรงทำงาน  จะทานต่อเนื่องจนกว่าจะทำงานไม่ไหว  อายุประมาณ  70  ปี  หรือบางคนมีโรคประตัวสมุนไพร  หรือยาแผนโบราณไหนดีก็จะเริ่มหารับประทานโดยลักษณะบอกต่อ  ๆ  กัน  ว่าทานแล้วมีอาการดีขึ้น  และเห็นผลเร็ว  ไม่เหมือนกับยาแผนปัจจุบันจะใช้เวลารักษานาน  หรืออาจต้องทานยาไปตลอดชีวิต 
ดังนั้นยาแผนโบราณจึงเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่จะทำให้หายจากโรคได้    โดยศูนย์วิทย์  ฯ  ให้การสนับสนุนชุดทดสอบจำนวน   5  ตัวอย่าง   ทาง  อสม.จึงเก็บตัวอย่างรอบแรกมาทำการทดสอบทดสอบจำนวน  5  ตัวอย่าง  โดยมีเจ้าหน้าที่ของ  รพ.สต.  เป็นพี่เลี้ยง  มีการลงบันทึกข้อมูลของตัวอย่างทั้งหมด 

 

ถ่ายรูปตัวอย่าง  และแบ่งตัวอย่างออกเป็น  3  ส่วน  ๆ  ที่หนึ่ง  ใช้ในการทดสอบ   ส่วนที่สอง  ส่งกลับมายังศูนย์วิทย์ฯ  และส่วนที่สามทาง  รพ.สต.  ได้เก็บไว้ดูเป็นตัวอย่าง  (ในอนาคตจะมีมุมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องสเตียรอยด์  จะมีรูปภาพและตัวอย่างจริงตั้งตู้โชร์ ) 

 

              ในจำนวน   5  ตัวอย่าง  ตรวจพบสเตียรอยด์จำนวน  2  ตัวอย่าง  และส่งตัวอย่างมาตรวจยืนยันผลที่ห้องปฏิบัติการของศูนย์วิทยาสตร์การแพทย์ที่  ๖  ผลที่ทดสอบได้สอดคล้องกับที่  รพ.สต.  ทดสอบ  เมื่อทาง  รพ.สต.  ได้ข้อมูลผลการทดสอบแล้ว  นำข้อมูลที่ได้ถ่ายทอดไปยังประชาชนโดยตรง   ใช้การสื่อสารด้วยการจัดรายการวิทยุชุมชน  ซึ่งได้รับการสนันสนุนจาก  องค์การบริหารส่วนตำบล  โดยทางองค์การ  ฯ  จะซื้อเวลาของวิทยุชุมชนวันละ  1  ชั่วโมง  เพื่อให้หน่วยงานต่าง  ๆ  ที่มีข่าวสารต่าง  ๆ  ที่จะเผยแพร่ให้กับประชาชน  และทาง  รพ.สต.  กระบาก 
ยังนำความรู้ที่เข้าวาระการประชุมระดับอำเภอ  ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดี   และทางสถานีอนามัยที่ยังไม่ได้เป็น  รพ.สต.  ให้ความสนใจกับเรื่องนี้มาก  ต้องการเข้าร่วมโครงการนี้ด้วย  ทาง  รพ.สต.  กระบากจึงรับหน้าที่เป็นแหล่งทดสอบตัวอย่างให้ก่อน  ถ้าในพื้นที่มียาแผนโบราณที่เสี่ยงอยู่  จนกว่าจะมีแนวทางปฏิบัติให้กับสถานีอนามัยต่าง 
และทาง  รพ.สต.  กระบาก  ได้ทำโครงการเพื่อขอการสนับสนุนจาก  องค์การบริหารส่วนตำบล  กำลังอยู่ในช่วงประชุมพิจารณาโครงการ  สรุปได้ว่าทาง  รพ.สต.มีความสามารถในการใช้ชุดทดสอบนี้ได้เป็นอย่างดี  และนำสิ่งที่ได้รับจากศูนย์วิทย์  ฯ  ไปถ่ายทอดต่อให้กับ  อสม.และประชาชน  โดยทาง  รพ.สต.  กระบาก  มีทีมงานที่เข้มแข็งคือกลุ่ม  อสม.  ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความพร้อมมีจิตอาสาที่จะทำงานเพื่อเพื่อนบ้านในหมู่บ้านเป็นอย่างดีเยี่ยม 
แหล่งที่มีของตัวอย่าง
           พื้นที่ที่  รพ.สต.กระบาก  รับผิดชอบนิยมรับประทานยาแผนโบราณมาก  และในหมู่บ้านยังมีตลกชื่อดังของวงนกน้อย  อุไรพร  ชื่อคุณประยงค์  เป็นดีเจจัดรายการวิทยุชุมชน  ซึ่งบุคคลนี้มีผลต่อประชาชนในหมู่บ้านมาก 

ไม่ว่าจะพูด  จะทำอะไร  ชาวบ้านก็จะทำตาม  และให้ความเชื่อถือมาก 

และมีโรคประตัวคือเบาหวาน  ดังนั้นจึงมีผู้ประกอบการเห็นช่องทางทำมาหากิน  โดยการนำตัวอย่างยาแผนโบราณไปให้คุณประยงค์ทดลองทานว่าดีหรือไป  และให้โฆษณายาแผนโบราณให้ด้วย  โดยจ่ายเงินเป็นค่าโฆษณายา  และให้ยาไว้จำนวนหนึ่งเผื่อว่ามีใครสนใจก็ให้มาซื้อที่สถานีได้  
 
 เมื่อทางศูนย์วิทย์  ฯ  ได้นำโครงการนี้ลงพื้นที่  ลูกสาวของคุณประยงค์  ซึ่งเป็น  อสม.  ก็เลยไปคุยกับคุณประยงค์และ

 

ได้นำตัวอย่างมาทดสอบ   ก็พบว่ามีสเตียรอยด์ผสมอยู่  ทางคุณประยงค์ก็ได้นำยาแผนโบราณที่ยังเหลืออยู่ไปทิ้ง  และเลิกโฆษณายาแผนโบราณชนิดนี้  ถึงแม้ว่าจะได้รับค่าโฆษณายาแผนโบราณนี้ก็ตาม   

   
ในพื้นที่นี้ตัวอย่างที่ทดสอบแล้วพบมีสเตียรอยด์ผสมอยู่  ชาวบ้านในหมู่บ้านก็เลิกรับประทาน  ซึ่งมองให้เห็นว่าชาวบ้านในพื้นที่มีความตระหนักเห็นโทษของการปนปลอมสเตียรอยด์  ว่าทำให้มีผลต่อสุขภาพ  และชาวบ้านมีการใส่ใจกับสุขภาพของตนเองเป็นอย่างดี  อาจจะสืบเนื่องมาจากในหมู่บ้าน  มีบุคคลถึง  2  คน  อายุประมาณ  70  ปี  คนที่  1  เป็นคนไข้ของ  รพ.สต.  ซึ่งเข้ามารักษาตัวเนื่องจากลื่นล้ม  และมีบาดแผลตามแขน  เจ้าหน้าที่ของ  รพ.สต.  ได้สืบประวัติทราบว่า 
 
คุณตาเป็นคนทำงานหนักตั้งแต่ยังหนุ่ม  อาชีพก็คือเกษตรกร  ก่อนจะทำงานจะต้องทานยาชุด หรือยาแผนโบราณก่อน  เพราะกว่าจะทำงานได้ไม่นาน  และกลัวปวดเมื่อยตามตัว  จึงต้องทาน  พฤติกรรมก็จะเป็นอย่างนี้มาตลอดจนกระทั่งทำงานงานไม่ไหวแล้ว  จึงได้เลิกทานยาชุด  แต่ก็ยังมีทานยาแผนโบราณบ้าง 

 

เนื่องจากคุณตาเลื่อนล้ม  ผู้ที่พบเห็นจึงไปช่วย  และได้นวดตามแขนเพื่อให้รู้สึกตัว  แล้วพาไปรักษาที่  รพ.สต.  เมื่อถอดเสื้อแขนยาวออกมามีชิ้นเนื้อหลุดออกมาเป็นบาดแผล 

 

เนื่องจากผิวหนังบางมาก  เมื่อโดนนวดแรง ๆ  จึงมีผลกระทบ  หน้าก็ยังบวบอยู่และผิวหน้าบางมากจนกระทั่งเห็นเส้นเลือด  ช่วงนี้ก็ยังต้องล้างแผลทุกวัน
                                               

คนที่  2 

ก็เป็นคนไข้ของ  รพ.สต.  เหมือนกัน  เป็นผู้ชายนั่งซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซด์คนขับกลัวตกก็เลยจับคุณตาไว้  ก็เลยทำให้คุณตาได้รับบาดเจ็บ  โดยเนื้อของคุณตาหลุด  ลักษณะของคุณตาคนนี้ก็คล้ายกับคนแรก   

เรื่อง  เครื่องสำอาง

       อยู่ในช่วงการออกสำรวจข้อมูลและเก็บตัวอย่างทดสอบ  โดยมี  อสม.เป็นผู้เก็บตัวอย่างให้  และเจ้าหน้า  รพ.สต.  เป็นผู้ตรวจเนื่องจากขั้นตอนการตรวจเครื่องสำอางจะยุ่งยากนิดหน่อยทางเจ้าหน้าที่จะทำการทดสอบเองก่อนที่จะถ่ายทอดไปยัง  อสม.  ทางศูนย์วิทย์ ฯ  จะหาข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยไปให้ทาง  รพ.สต.  เพื่อที่จะได้ไม่ทำการทดสอบกับผลิตภัณฑ์เดิมที่เคยผ่านการทดสอบแล้ว
 

เรื่อง  สมุนไพร

       ทาง  รพ.สต. กระบาก  ได้มีเจ้าหน้าที่แพทย์แผนไทยจำนวน  1 อัตรา  ต้องการที่จะปลูกพืชสมุนไพร  ได้มีโครงการเพื่อจะเป็นแหล่งดูงานทางด้านสมุนไพร   สืบเนื่องมาจากทาง   รพ.สต.  ไม่ได้เข้าร่วมประชุมของโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียติฯ  จึงขอเข้าร่วมประชุมกับศูนย์วิทย์  ฯ   ในวันที่  23  กรกฎาคม  2553 
                                               
                                                      ศุภลักษณ์ พริ้งเพราะ ผู้เขียน
หมายเลขบันทึก: 379285เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2010 15:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 09:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ลองมานั่ง ๆดู มีภาพกิจกรรม ตอนที่พี่ ๆ ไปถ่ายทอดแล้วรู้สึกประทับใจ แม้จะไม่ใช่วันเดียวกันกับที่เล่า แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน จึงขอนำมาประกอบร่วมด้วยค่ะ

ชุดทดสอบเครื่องสำอาง

 

ภาพการเรียนรู้การใช้ชุดทดสอบสารเสตียรอยด์ในยาแผนโบราณของผู้ร่วมประชุม

ท่านตั้งใจมากจริง ๆค่ะ

 

ภาพนี้ที่กาฬสินธุ์ เป็นพื้นที่ ๆ เราไปแล้ว รู้สึกประทับใจมาก กับความเข้มแข็งและกระตือรือล้น เรียนรู้ ต้องยกนิ้วให้เลยค่ะ ของเขาดีจริง ๆ

เป็นเรื่องที่น่าปลื้มใจ...

ที่ "เภสัชกร" เดินออกจากออบฟิช ตรงเข้าไปในชุมชน

ไปเยี่ยมไปหา...แบบเชิงรุกกันเลยนะคะ

(^__^)

 

ที่สุดแล้วจะไม่เหลือความเป็น...อันเป็นที่ว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้

จะเหลือเพียงการดำรงอยู่...อย่างเกื้อกูล

Zen_pics_007 

ขอบพระคุณค่ะพี่ปี งานเชิงรุกเป็นงานที่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตระหนักมากขึ้นว่า ช่วยลดปัญหาสุขภาพของชาวบ้านได้ทันท่วงที เพราะเมื่อก่อน ต้องรอให้เกิดพิษแล้วค่อยส่งมาตรวจวิเคราะห์ บางรายคนไข้ตายไปแล้ว ค่อยได้เก็บตัวอย่างมาตรวจ

แต่ปัจจุบัน มีคนเล็งเห็นความสำคัญในการป้องกัน เฝ้าระวังมากขึ้น ที่สำคัญ เรามีกำลังสำคัญในพื้นที่คือ ชาว อสม.และพี่ ๆที่ รพ.สต.

ที่น่าประทับใจอีกอย่างของที่นี่คือ ถ้า เจ้าหน้าที่ ๆ รพ.สต. ทำอะไร แล้วไม่บอก อสม. หรือ ไม่เรียกให้มาช่วย หรือ ร่วมด้วยเนี่ย มีงอน ท่านน่ารัก กันมาก ๆ เลยค่ะ ขอบอก (^_^)

จากเดิมที่ชาวกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ คุ้นเคยแต่กับการทำ Lab คุยแต่กับเครื่องมือ แต่พอมาได้ คุยกับชาวบ้านแล้ว ยิ่งมีกำลังใจกลับไป คิดค้นงาน กลับไปวิเคราะห์งานได้มากโขทีเดียวค่ะ

ขอบพระคุณค่ะพี่ปุ๋ม ที่เมตตาเตือนสติ

ทำให้ติ๋วมานึกย้อนว่า "ใช่แล้ว" เพราะวิชาเหล่านี้ไม่มีในมหาวิทยาลัย แต่ที่นี่  กลุ่มคนเหล่านี้ ทุก ๆ คน ที่มาเจอกัน เป็นผู้มาให้ มาสอน ทำให้เราได้เข้าใจบทบาทของตนเอง เข้าใจหน้าที่ของตนเอง สะท้อนโอกาสในการทำประโยชน์ได้มากขึ้นค่ะ

เป็นการเกื้อกูลกันอย่างที่พี่ปุ๋มแนะนำจริง ๆค่ะ

(^_^)

เห็นอ้อเขียนเป็น mind map ด้วยนี่ ไม่เอามาลงด้วยล่ะจ้ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท