โสภณ เปียสนิท
นาย โสภณ เปียสนิท ตึ๋ง เปียสนิท

หลักธรรมคำคมข้อคิดชีวิตรักจากแดจังกึม 26-1


มีหลักวิชาอยู่ว่า “นินทา กับ สรรเสริญ” เป็นของคู่กัน และเป็นของคู่โลก ยามที่เราถูกนินทาคนส่วนมากไม่พึงพอใจ ลืมคิดว่านินทาเป็นของคู่โลก พระสอนว่า “คนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก”

หลักธรรมคำคมข้อคิดชีวิตรักจากแดจังกึม 26

โสภณ เปียสนิท

........................................

                “ใต้เท้าชมเชยเช่นนี้มิทราบต้องซุกร่างไว้ที่ใดแล้ว เหนือสิ่งอื่นใด วาจาใต้เท้าเป็นกำลังอย่างยิ่งต่อข้าน้อย” (แดจังกึม/เล่ม4/หน้า199)


 

                มีหลักวิชาอยู่ว่า “นินทา กับ สรรเสริญ” เป็นของคู่กัน และเป็นของคู่โลก ยามที่เราถูกนินทาคนส่วนมากไม่พึงพอใจ ลืมคิดว่านินทาเป็นของคู่โลก พระสอนว่า “คนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก” ดังนั้นทางที่ถูกเราควรคิดว่า ทำอย่างไรเราจึงจะวางเฉยกับคำนินทาให้ได้ เมื่อได้รับคำสรรเสริญ ทางหนึ่งถือว่าเป็นกำลังใจ แต่พึงระวังไว้เสมอว่า เมื่อมีสรรเสริญ นินทาย่อมมีได้ด้วยเช่นกัน จังกึมยังอยู่ในวังวนนี้เช่นกัน

 

                “เราเพียงทำหน้าที่ของตน กระทำเรื่องที่สมควร ใครจักพูดเช่นไร ย่อมมิต้องใส่ใจแต่อย่างใด” (แดจังกึม/เล่ม4/หน้า207)


 

                แง่คิดมุมมองของจังกึมมีส่วนที่เป็นแบบอย่างให้แก่ผู้อ่านได้มาก “เราเพียงทำหน้าที่” คำนี้ก็เช่นกัน ให้แง่คิดแก่ผู้อ่านว่าอุปสรรคต่าง ๆ แม้มีมากเพียงใด คนเราต้องทำหน้าที่ต่อไปให้ดีที่สุด ปราชญ์บางคนให้แง่คิดง่ายว่า ลองคิดดู หากหัวใจของคนไม่ทำหน้าที่เต้น หากตาไม่ยอมดู หากหูไม่ยอมฟัง ลิ้นไม่รับรส กายไม่รับสัมผัส ใจไม่ยอมคิด อะไรจะเกิดขึ้น...เห็นภาพชัดเจน

 

“งานของสตรีนางนี้คือชิกอึย (ตรวจสอบอาหาร) เล่ากันว่าที่องค์จักพรรดิแผ่นดินใหญ่ทรงตั้งหน่วยซิกอึยก็เป็นเพราะสตรีนางนี้ แม้นางกำเนิดมาเป็นทาสโนบี แต่ก็เป็นอาจารย์ของปวงประชาชน ยามมีชีวิตนางสามารถแปลงผืนดินให้เป็นขุนเขา กระทั่งยามจากไป ตำนานยังเล่าว่า ขุนเขานั้นสามารถเปลี่ยนเป็นทะเล ขอมามาทายว่าสตรีนางนี้คือผู้ใดเพค่ะ” (แดจังกึม/เล่ม4/หน้า218)


 

                คนเก่าผูกปัญหาให้แง่คิดได้ลึกซึ้ง คำตอบสำหรับคำถามนี้คือ “แม่” แม่เป็นผู้ทำอาหารเลี้ยงลูก แม่ทำงานทุกอย่างในบ้านเหมือนทาสโนบี แต่เป็นอาจารย์ให้ความรู้นานาประการแก่ลูก การงานยากลำบากเหมือนขุนเขาแม่ทำได้ ยามแม่ตายจากลูกร้องไห้น้ำตาเหมือนทะเล อ่านแล้วได้แง่คิดถึงความกตัญญูกตเวที

 

              “ไทเฮากำลังร่ำให้ น้ำตาของมารดาผู้ชรานั้น กระทั่งเล่าเทพยังอดไม่ได้ให้หดหู่ใจ เช่นนั้น คงมิต้องเอ่ยถึงมนุษย์สามัญแล้ว” (แดจังกึม/เล่ม4/หน้า219)


 

                ไทเฮามีภูมิปัญญาล้ำลึก คิดได้ว่าคำตอบของปัญหาที่ทายนั้นคือ แม่ แม่ทำสิ่งใดๆ ให้ลูกได้ทั้งหมด ยิ่งคิดยิ่งเกิดความเมตตาต่อลูกอันเป็นคุณธรรมประจำจิตของแม่อยู่แล้วจนอดร้องไห้ไม่ได้ เมื่อความคิดแง่ดีเกิดขึ้น ความคิดที่จะเอาชนะลูกด้วยมานะทิฐิก็หมดไป

      

“องค์ฮ่องเต้นั้นได้ทรงใส่ใจในการบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์อย่างมาก นอกจากบัญชาให้จัดพิมพ์แล้ว ยังมีการจัดเก็บไว้ในซาโก (หอประวัติศาสตร์) ในสภาพที่สมบูรณ์ดังนั้น เรื่องราวของแพทย์หญิงจังกึมยังปรากฏให้ผู้คนสามารถศึกษาได้จนยุคปัจจุบัน” (แดจังกึม/เล่ม4/หน้า221)


 

                โลกนี้มีคนใหญ่คนโตมากมาย แต่จะมีสักกี่คนที่เป็นนักบันทึกเรื่องราวให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา มีกี่คนที่เอาใจใส่การจัดเก็บรักษา ฮ่องเต้ผู้บันทึกเรื่องราวของจังกึมจึงเป็นผู้ที่ควรแก่การเคารพ และยึดเป็นแบบอย่าง

หมายเลขบันทึก: 379021เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2010 20:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 07:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ตามมาทักทาย ดีใจที่อาจารย์มาเมืองกาญจน์เสียดายไม่ได้พบอาจารย์ว้าแย่จัง

อยู่กับแม่2-3วันครับ ทำบุญวันเข้าพรรษา

สร้างพระพุทธรูปด้วย ดีใจที่ได้บุญเรื่อยๆ

ท่านอาจารย์มาหัวหินเมื่อไรครับ

มาทานข้าวกันหน่อยครับ

  • สำหรับบันทึกนี้ เป็นธรรมดาของมนุษย์ นะคะท่านอาจารย์
  • ใกล้แล้วขอต่อให้จบก่อน แล้วกันค่ะ
  • ว่างๆ ก็จะกลับมาทบทวนข้อคิดดีดีอีก

เรียนคุณอุ้มบุญครับ

ย่อหน้าสุดท้าย ชอบเรื่องการบันทึกครับ เพราะพระราชาบันทึกไว้เราจึงได้อ่านประวัติของแดจังกึม เพราะผมบันทึกไว้ คุณอุ้มบุญและคนอื่นจึงได้อ่านต่อ เพราะ G2K เราจึงมีเวทีให้แสดงบันทึก ไว้แบ่งปันกัน เย้ๆๆๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท