ผู้นำชุมชนกับการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง


เป็นการฝึกให้ผู้นำท้องถิ่นได้เขียนถึงประสบการณ์และความประทับใจออกเป็น"องค์ความรู้"เรื่องการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง..เพื่อให้ผู้นำชุมชนได้เรียนรู้ว่าทุกคนมีความสามารถที่จะถ่ายทอดความรู้ของตนเองให้ผู้อื่นเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ผลงานที่ภาคภูมิใจ    “หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ”
เจ้าของความรู้ชื่อ    นางนารถรำไพ    สิงห์มี
ที่อยู่  120 หมู่ 11 ต.ไผ่เขียว อ.สว่างอารมณ์  จ.อุทัยธานี
วันที่บันทึกความรู้   21 กรกฎาคม  2553
                ในแต่ละหมู่บ้าน แต่ละครัวเรือน และแต่ละคน มีความสุข ความทุกข์ไม่เหมือนกัน แต่เชื่อเถอะว่าหากเลือกได้ ทุกคนก็อยากมีความสุขพร้อมทั้งกายและใจด้วยกันทั้งนั้น ถึงแม้ว่าความยากจนจะเป็นตัวแปรสำคัญในชีวิตของคนเรา แต่ถ้าหากรู้จักการใช้ชีวิตแบบพอเพียง สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตของเราก็จะเกิดความสุข
                 บ้านคลองข่อย หมู่ 11 ต.ไผ่เขียว ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ 90 %เป็นชาวไทยอีสาน ซึ่งมีความเป็นอยู่และวัฒนธรรมประเพณีของชาวอีสาน ชาวบ้านมีนิสัยชอบปลูกพืชผักไว้กินเอง หาปลาตามแหล่งน้ำธรรมชาติกินเอง มีความเอื่ออารีย์ต่อกันโดยการแบ่งปันแลกเปลี่ยนอาหารการกินซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือกันมาตั่งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
                  ต่อมาผู้นำชุมชนและชาวบ้านร่วมกันพัฒนาหมู่บ้านและรณรงค์ในเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งเป็นแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 9 ชาวบ้านได้ยึดมาเป็นแนวทางในการใช้แก้ไขปัญหาความยากจนของคนในหมู่บ้าน และได้ร่วมมือกับหน่วงงานราชการอื่นๆมากมาย แต่หน่วยงานหลักที่เข้ามาจุดประกายและร่วมกับคนในหมู่บ้านพัฒนาหมู่บ้านในด้านต่างๆ คือ พัฒนาชุมชนอำเภอสว่างอารมณ์ ได้มีพัฒนากรคือ คุณชุติเดช  อินทสิทธิ์ หรือที่ชาวบ้านส่วนใหญ่เรียกว่า “พัฒนาแจ็ก” และพัฒนาการอำเภอ “คุณธนหทัย  ชัยศึก” เข้ามาร่วมทำกิจกรรมตั้งแต่การจัดเวทีประชาคมในแต่ละคุ้มบ้าน การจัดเวทีประชาคมหมู่บ้าน การจัดระเบียบหมู่บ้าน ซึ่งบ้านคลองข่อยได้มีการแบ่งคุ้มบ้านเป็น 4 คุ้ม และได้มีการสร้างศาลาประจำคุ้ม ป้ายเลขที่บ้าน ป้ายคำขวัญ และมีการส่งเสริมอาชีพโดยการนำวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาแปรรูปอาหาร เช่นทำน้ำมะขาม เป็นต้น และยังมีการพัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเสือกก  การทำน้ำยาล้างจานใช้เอง  การพัฒนาศักยภาพกลุ่ม องค์กรต่างๆ คือกลุ่มออมทรัพย์ฯ กลุ่มสตรี กลุ่มเยาวชน และดำเนินการจัดทำศูนย์เรียนรู้ชุมชนเพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของคนในหมู่บ้านและเป็นการสืบทอดวิถีชีวิตความพอเพียงให้แก่เยาวชนรุ่นหลังได้เรียนรู้และสืบทอดต่อ ได้มีการสร้างและปลูกจิตสำนึกให้คนในชุมชนมีความรัก ความสามัคคี อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี สิ่งแวดล้อม และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ จนหมู่บ้านคลองข่อยได้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ และได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดกิจกรรมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2553

หมายเลขบันทึก: 378996เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2010 17:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีมากเลยครับ ทุกหมู่บ้านควรดำเนินการตามแบบอย่างที่ดีนี้ ขอชื่นชมครับ โรงเรียนของผมก็กำลังทำอยู่ครับ

ขอบคุณครับท่าน ผอ.

  • การพัฒนาหมู่บ้านก็ใช้แนว "บวร" ครับ ในโรงเรียนก็มีการส่งเสริมแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และยังได้ให้สถานที่ห้องเรียน 1 ห้อง เป็นศูนย์วัฒนธรรมของหมู่บ้านครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท