ทดลองวิจัยเก็บข้อมูลหมูหลุม เพื่อพัฒนาเป็นฟาร์มเลี้ยงสัตว์ยั่งยืน


ต้องไปติดตามตลอดเพื่อรับรู้ปัญหาอุปสรรค

ปีนี้สำนักงานปศุสัตว์เวียงเชียงรุ้งได้รับโครงการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ยั่งยืน มาดำเนินการโดยของภาคเหนือเชียงรายกรมปศุสัตว์ กำหนดให้ทำเรื่องหมูหลุม พอดีเลยเครือข่ายที่อบรมจากศูนย์เครือข่ายเรียนรู้การเลี้ยงสัตว์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง นายสมัย ษาวงสา กำลังจะเริ่มเลี้ยงก็สวมเข้ากับโครงการนี้ได้เลย ได้ไปเยี่ยมความก้าวหน้าทุกอาทิตย์ตอนนี้คอกไกล้เสร็จก็เตรียมเชื้อราขาว เชื้อราท้องถิ่น น้ำหมักจุลินทรีย์ ๗ ชนิดที่จะต้องใช้ในการเตรียมทุกขั้นตอนครับ เน้นการทำบัญชีฟาร์มมากที่สุดครับ จะนำมาเล่าต่อเนื่องเรื่อยๆครับ กำลังทำคอกไปได้ระดับหนึ่งคาดว่าประมาณอีก ๑๐ วันจะนำลูกหมูเข้าเลี้ยงครับ พอเดินผ่านคอกเป็ดเห็นกรงอนุบาลก็เลยถ่ารูปมาขยายความครับเป็นความรู้เล็กๆ เช่นว่า แยกลูกเป็ดลูกไก่ออกจากแม่มาเลี้ยงเอง ให้หัดกินอาหารตั้งแต่วันแรก ลูกเป็ดจะแข็งแรง เอาลูกเป็ดใส่ปิ๊บตอนกลางคืนกันลมหนาว วันนี้ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ นางสาวรัชนีกร บั้งเงินเจ้าหน้าที่จากสำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้งเข้าร่วมกิจกรรมทำนำ้หมัก ๗ ชนิดและหาเชื้อราท้องถิ่นเพื่อเตรียมไว้ใช้ในการทำพื้นคอกหมูหลุม ที่จะเลี้ยงแบบธรรมชาติให้มากที่สุด การเตรียมคอกหลุมเรียบร้อยคงเหลือแต่การนำวัสดุใส่ลงในหลุมเพื่อให้หมูหมักเป็นปุ๋ยหมูหมักต่อไปอุปกรณ์วันนี้มี

  1. ยอดกล้วย ๓ ก.ก.มาหมักน้ำตาล ๑ ก.ก. เป็นน้ำหมักชีวภาพจากพืช
  2. ผลไม้สุกมีฟักทอง,กล้วย,มะละกอ รวมกัน ๓ ก.ก. กับนำ้ตาล ๑ ก.ก. เป็นนำ้หมักชีวภาพจากผลไม้หวานสุก
  3. เปลือกไข่ตำละเอียด ครึ่งกิโลกรัม กับน้ำซาวข้าว ๓ ลิตรเป็นน้ำหมักแคลเซียม
  4. ถ่านกระดูกทุบพอแหลก ครึ่งกิโลกรัม กับนำ้ซาวข้าว ๓ ลิตร เป็นน้ำหมักฟอสฟอรัส

วันนี้ได้ แค่ ๔ อย่างหมักทิ้งไว้อีก ๑๔ วันถึงเปิดเอาน้ำแต่ละชนิดออกมาใช้ได้ จากมติที่ประชุมสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด มอบให้สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้งดำเนินโครงการการจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ยั่งยืน(หมูหลุม) อำเภอเวียงเชียงรุ้งได้คัดเลือกนายสมัย สาวงษา ซึ่งเป็นอาสาปศุสัตว์ บ้านป่าเลา ตำบลดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย ที่มีความตั้งใจในการเลี้ยงสัตว์ หลายอย่างทำเกษตรผสมผสานมานานพอสมควร ผ่านการอบรมจากศุนย์เครือข่ายการเลี้ยงสัตว์ของอำเภอเวียงเชียงรุ้งมาสองรอบแล้ว จึงได้ส่งเสริมให้ดำเนินการเลี้ยงหมูหลุมตามแบบเกษตรธรรมชาติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เริ่มวางแผนทำคอกสถานที่ต่างๆเดือนมกราคม ๒๕๕๓ พร้อมกันนั้นฝึกทำน้ำหมัก ๗ ชนิด การหาเชื้อราท้องถิ่น เพื่อนำมาใช้ในการจัดการเลี้ยงหมูหลุมอย่างครบสูตร เมื่อทุกอย่างพร้อม ได้นำ หมูเข้าเลี้ยงเมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ และจากนี้ไปก็จะเริ่มบันทึกประจำวันการปฏิบัติงานไปเรื่อยๆจนครบหนึ่งปี เตรียมอุปกรณ์พร้อม สถานที่เหมาะสมน้ำไม่ท่วม ลงมือทำหลังคาจั่ว ตามแนวเหนือ ขุดหลุมลึก ๐.๙๐ เมตร ใส่วัสดุต่างๆที่เป็นอินทรีย์วัตถุ เช่น แกลบ ใบไม้ ฟาง มูลสัตว์ ถ่านละเอียด เกลือ ดินแดง สองชั้นๆละ ๐.๔๕ เมตร ร่วมกับนำ้หมัก ๗ ชนิด เชื้อราท้องถิ่น โรยทับทั้งสองชั้น กลบหน้าไว้หนาประมาณสองฝ่ามือ การฝึกเตรียมนำ้หมัก ๗ ชนิด จากพืช ผลไม้ สมุนไพร เปล์อกไข่ ถ่านกระดูก นมสดแลกติก และเชื้อราขาว การทำอาหารสูตรเริ่มต้น ๑๐๐/๔/๑ คือหยวกกล้วย ๑๐๐กิโลกรัม น้ำตาล ๔ กิโลกรัม เกลือ ๑ กิโลกรัม มีคอกมีอาหารพร้อมเอาหมูลงเลี้ยงรุ่นละ ๕ ตัว ต่อเดือนตั้งใจจะทำไว้ ๔ หลุม หมุนเวียนกันไปเรื่อยๆ บ่ายวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ไปเยี่ยมฟาร์มยั่งยืนหมูหลุมของนายสมัย สาวงษา เพื่อฝึกหัดทำอาหารแบบธรรมชาติให้ครบวงจร หลังจากที่เมื่อ ๔ วันก่อนไปทำอาหารหมักเตรียมไว้ก่อนแล้ว วันนี้หาวัสดุมาเพิ่มเป็นต้นว่า แกลบกลาง ๓๐ กก. ดินแดง ๘ กก. มูลสัตว์ ๘ กก. ปลาบ่น ๑.๕ กก. เปลือกไข่ป่น ๑.๕ กก. กากถั่วเหลืองป่น ๕ กก. ข้าวโพดป่น ๑๓ กก. อาหารหมัก ๕๐ กก. ผสมกันราดด้วยน้ำหมัก ๗ ชนิดอย่างละ ๒ ซ้อน น้ำ้ตาลทรายแดง ๑๔ ซ้อนที่ละลายในน้ำ ๑๐ ลิตร เมื่อผสมเรียบร้อยได้อาหารสำหรับให้หมูหลุมประมาณ ๑๒๐ กิโลกรัม ใส่กระสอบไว้ เก็บไว้ได้ ๑๔ วัน เตรียมน้ำหมัก ๗ ชนิดและเชื้อราขาวท้องถิ่น ปัญหาที่พบคือสับหยวกอาหารหมักหยาบชิ้นใหญ่เกินไปรวมทั้งเปลือกไข่ ดินแดง มูลสัตว์ ที่ทุบไม่ละเอียด

หมายเลขบันทึก: 378976เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2010 16:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ตอนนี้อยากเลี้ยงหมูหลุมมากค่ะ ไม่ทราบว่าตนทุนในการเลี้ยงมากน้อยเท่าไหร่ค่ะ

ขอบคุณคุณดาว ที่ติดตามเวบครับ

ผมยังไม่แน่ใจนะครับว่าตอนนี้ราคาหมูแพงขึ้นมากแค่ไหน ส่วนอาหารหากทำตามสูตรก็จะลดลงกว่าครึ่งครับ

สมมุตินะครับว่า..

อาหารสำเร็จปกติหมู ๑ ตัวจะเลี้ยงอยู้ ๗ กระสอบ ๆละประมาณ๕๐๐บาทก็ปาเข้าไป ๓๕๐๐ บาทแล้ว..

ค่าหมูพันธ์ เอาตัวโตเลี้ยงได้เลย๑๕-๒๐กิโลกรัม ก็น่าจะ ๒๐๐๐ บาท..

จะเห็นว่าต้นทุนสูงมาก ซึ่งแบบนี้หมูจะต้องน้ำหนัก ๑๐๐ กก ครับ

ราคาขายก็ตามตลาดครับ ลำบากกำหนดไม่ได้ เลี้ยง ไปถ้าราคาตกก็ขาดทุนแน่นอน

หนึ่งตัว ๑๐๐กกคูณราคา๗๐บาท/กก.เท่ากับ ๗๐๐๐บาท ณ ปัจจุบัน

.ถ้าเลี้ยงหมูหลุมจะทำน้ำหนักยากมากถ้าเลี้ยงอาหารธรรมชาติ ตามที่ทดลองดู..

ปัจจัยมีหลายอย่างตลาดสำคัญมาก

สุดท้ายขอแนะนำว่า

๑.เลี้ยงหมูหลุมจริงๆขายเมื่อไหร่ก็ได้ สนใจแต่ปุ๋ยเท่านั้นเป็นกำไร วัสดุรองหลุมใช้วัสดุแห้งที่ย่อยสลายง่ายจะได้นำมาใช้ได้เร็วๆ ถ้าป็นแกลบล้วนๆจะย่อยยากครับ

๒.เลี้ยงกึ่งหมูหลุมเพื่อหวังกำไร ทุนมากพอเลี้ยงหลุมแต่อาหารสำเร็จครับ ได้ปุ๋ยด้วยได้ทุนคืนมีกำไรเหมือนทั่วๆไปแต่ถ้าหมูราคาลงตัวใครตัวมันครับ โอกาสขาดทุนมีมาก

ผมแนะนำได้ตามประสบการณ์นะไม่เป็นวิชาการแน่นอนแล้วปัจจัยแวดล้อมด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท