ไฉน
นาย ประกาศิต ปอ ประกอบผล

พระจักษุบาลอธิษฐานจิตเข้าพรรษา


ดวงตาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตก็จริง แต่คำสัญญาที่ตั้งเป็นสัจาธิษฐานไว้สำคัญกว่า

       การเข้าพรรษา เป็นการประกาศตนอยู่ประจำ ณ ที่ใดที่หนึ่งโดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น (ไม่มีเหตุจำเป็นจริงๆ)  การจำพรรษาจะมีการอธิษฐานจิตทำความดี ซึ่งสิ่งนั้นก็ควรอยู่ในทางสายกลางไม่ตึงไม่หย่อนเกินไป โดย

       ๑. มีเป้าหมายชัดเจน  

       ๒. มีความเฉพาะเจาะจง  

       ๓. มีวิธีการทำให้สำเร็จได้ 

       ๔. อยู่ในวิสัยของความเป็นจริง 

       ๕. กำหนดระยะเวลาได้

       วันหนึ่งนายจักษุบาลไปฟังธรรม เห็นประจักษ์ว่า "มือเท้าของคนผู้เฒ่าไม่อยู่ในอำนาจ อยากจะหยิบจำ ทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ก็ไม่สามารถทำได้" ท่านจึงกลับมาบอกน้องชายและมอบทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้แล้วไปบวช

       เมื่อบวชแล้วศึกษาธรรมวินัยในสำนักพระอุปัชฌาย์ ๕ พรรษา ๆ ที่ ๖ ท่านชักชวนภิกษุได้จำนวนหนึ่ง ไปหาที่จำพรรษา ในวันอธิษฐานจิตจำพรรษาท่านถามภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลายจะปฏิบัติธรรมในพรรษานี้ด้วยอิริยาบถเท่าไร”

       ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “ด้วยอิริยาบถ ๔”

       พระจักษุบาลเป็นผู้ทีจริงจังในการประพฤติปฏิบัติธรรมมา พรรษานั้นท่านประกาศในที่ประชุมสงฆ์ว่า “กระผมจะปฏิบัติธรรมในสามอิริยาบถ คือ ยืน เดิน และนั่ง โดยไม่นอน”

       ภิกษุหลายรูปให้สติท่านว่า “มันตึงไปหรือเปล่าครับท่าน”

      “เวลาของผมที่เหลืออยู่คงจะน้อยแล้ว ดังนั้นความดีใดที่ผมพอจะทำได้ผมต้องรีบทำ แม้จะดูว่าอุกกฤต แต่ก็อยู่ในวิสัยที่ผมทำได้”

       ด้วยความเคารพในความเป็นผู้มีอายุของท่านจักษุบาล ภิกษุทั้งหลายจึงไม่คัดค้านท่านต่อ

       ผ่านวันอธิษฐานจิตเข้าพรรษาท่านก็รักษาคำสัญญาที่ให้ไว้ในที่ประชุมสงฆ์ ผ่านแต่ละวันไปตามลำดับดวงตาท่านก็อักเสบไม่สามารถลืมตามองได้ โยมส่งหมอมาดูอาการและรักษาให้ยาหยอดโดยมีข้อแม้ว่า “ต้องนอนหยอด ยาจึงจะซึมเข้าไปรักษาระบบประสาทตาได้ทั่วถึง”

       ท่านปรึกษากับตนเองว่า “จะทำตามหมอสั่งหรือจะรักษาคำมั่นสัญญาของตนเอง”

       ในที่สุดท่านตัดสินใจรักษาสัญญา ไม่นอน แม้หมอ และภิกษุจะบอกให้ท่านผ่อนคำอธิษฐานลงบ้าง ท่านก็ปฏิเสธ ด้วยมีความเห็นว่า “ดวงตาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตก็จริง แต่คำสัญญาที่ตั้งเป็นสัจาธิษฐานไว้สำคัญกว่า” 

       หมอจึงบอกเลิกการรักษา ในวันเวลาต่อมาดวงตาของท่านก็บอดสนิท แต่ท่านก็บรรลุธรรม พร้อมกับการสิ้นไปของจักษุประสาท

       รสชาติของคุณธรรมมักจะหวานฉ่ำเสมอ

       กรรมของพระจักษุบาลวิเคราะห์ในปัจจุบันเห็นชัดว่าเหตุเพราะท่านไม่ยอมนอน คนเราเพียงคืนเดียวที่ไม่นอนก็แสบตาแล้ว ท่านไม่ยอมนอนเป็นเดือนจึงไม่แปลกใจเลยที่ดวงตาท่านบอด เมื่อกล่าวในประเด็นนี้ในประวัติของท่านกล่าวไว้ว่า เพราะอดีตชาติท่านเป็นจักษุแพทย์รักษาตาคนหายแล้วเขาเบี้ยวค่ารักษาจึงปรุงยาทำให้ดวงตาของผู้นั้นบอด เมื่อมาในชาตินี้จึงส่งผลให้ท่านยินดีในวิธีการที่ทำให้ตนเองตอบอด อันเนื่องเพราะกรรมเก่า จะเห็นได้ว่าบางคนในสังคมปัจจุบันยินดี

 

 ชมนิทานพระจุกษุบาลได้ที่นี่ http://www.clipmass.com/movie/179816575350897

หมายเลขบันทึก: 378920เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2010 12:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท