คำ อภิธานศัพท์กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ..


ทัศนศิลป์
โครงสร้างเคลื่อน ไหว (mobile)
 เป็นงานประติมากรรมที่มีโครงสร้างบอบบางจัดสมดุลด้วยเส้น ลวดแข็งบาง ๆ ที่มีวัตถุรูปร่าง  รูปทรงต่าง ๆ ที่ออกแบบเชื่อมติดกับเส้นลวด เป็นเครื่องแขวนที่เคลื่อนไหวได้ด้วยกระแสลมเพียงเบา ๆ
งานสื่อผสม (mixed media) เป็นงานออกแบบทางทัศนศิลป์ที่ประกอบด้วยหลายสื่อโดยใช้วัสดุหลาย ๆ แบบ เช่น กระดาษ ไม้ โลหะ สร้างความผสมกลมกลืนด้วยการสร้างสรรค์
จังหวะ (rhythm)   เป็นความสัมพันธ์ของทัศนธาตุ เช่น เส้น สี รูปร่าง รูปทรง น้ำหนักในลักษณะของการซ้ำกัน สลับไปมา หรือลักษณะลื่นไหล เคลื่อนไหวไม่ขาดระยะจังหวะที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันจะช่วยเน้นให้เกิด ความเด่น หรือทางดนตรีก็คือการซ้ำกันของเสียงในช่วงเท่ากันหรือแตกต่างกันจังหวะให้ ความรู้สึกหรือความพอใจทางสุนทรียภาพในงานศิลปะ
ทัศนธาตุ (visual  elements) สิ่งที่เป็นปัจจัยของการมองเห็นเป็นส่วนต่าง ๆ  ที่ประกอบกันเป็นภาพ  ได้แก่  เส้น  น้ำหนัก  ที่ว่าง  รูปร่าง   รูปทรง  สี  และลักษณะพื้นผิว
ทัศนียภาพ (perspective)   วิธีเขียนภาพของวัตถุให้มองเห็นว่ามีระยะใกล้ไกล
ทัศน ศิลป์ (visual  art) ศิลปะที่รับรู้ได้ด้วยการเห็น ได้แก่   จิตรกรรม  ประติมากรรม  ภาพพิมพ์  และงานสร้างสรรค์อื่น ๆ  ที่รับรู้ด้วยการเห็น
ภาพ ปะติด (collage) เป็นภาพที่ทำขึ้นด้วยการใช้วัสดุต่าง ๆ  เช่น  กระดาษ  ผ้า เศษวัสดุธรรมชาติ   ฯลฯ  ปะติดลงบนแผ่นภาพด้วยกาวหรือแป้งเปียก
วงสี ธรรมชาติ (color circle) คือวงกลมซึ่งจัดระบบสีในแสงสีรุ้งที่เรียงกันอยู่ในธรรมชาติ สีวรรณะอุ่น จะอยู่ในซีกที่มี
สีแดงและเหลือง ส่วนสีวรรณะเย็นอยู่ในซีกที่มีสีเขียว และสีม่วง สีคู่ตรงข้ามกันจะอยู่ตรงกันข้าม
ในวงสี
วรรณะสี (tone) ลักษณะของสีที่แบ่งตามความรู้สึกอุ่นหรือเย็น  เช่น  สีแดง  อยู่ในวรรณะอุ่น (warm tone) สีเขียวอยู่ในวรรณะเย็น (cool tone)
สีคู่ ตรงข้าม (complementary colors) สีที่อยู่ตรงกันข้ามกันในวงสีธรรมชาติเป็นคู่สีกัน  คือ สีคู่ที่ตัดกันหรือต่างจากกันมากที่สุด  เช่น  สีแดงกับสีเขียว สีเหลืองกับสีม่วง   สีน้ำเงินกับสีส้ม
องค์ประกอบศิลป์ (composition  of  art) วิชาหรือทฤษฎีที่เกี่ยวกับการสร้างรูปทรงในงานทัศนศิลป์

 

อ้างอิงจาก http://www.watchari.com/board/index.php?topic=1913.0

หมายเลขบันทึก: 378803เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2010 20:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (44)
นางสาว ศศิธร ชาญศรีภิญโญ เลขที่22 ม.6

1.ทัศนศิลป์มีงานอะไรบ้าง

ตอบ -โครงสร้างเคลื่อนไหว

-งานสื่อผสม

-จังหวะ

-ทัศนธาตุ

-ทัศนียภาพ

-ทัศนศิลป์

-ภาพปะติด

-วงสีธรรมชาติ

-วรรณะสี

-วรรณะอุ่น

-สีคู่ตรงข้าม

-องค์ประกอบศิลป์

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

2.โครงสร้างเคลื่อนไหวเป็นงานประเภทอะไร

ตอบ ประเภทงานประติมากรรม

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

3.โครงสร้างเคลื่อนไหวคือ

ตอบ เป็นงานที่ทําด้วยเส้นลวดที่จัดเป็นรูปทรงต่างๆ เป็นเครื่องแขวนที่เคลื่อนไหวได้

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

4.คําว่า"mobile"ในภาษาไทยแปลว่าอะไร

ตอบ สิ่งที่เคลื่อนไหวได้

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

5.งานสื่อผสมเป็นงานประเภทใด

ตอบ ประเภททัศนศิลป์

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------6.งานสื่อผสมมีอุปกรณ์ใดบ้างยกตัวอย่าง

ตอบ งานสื่อผสมออกแบบได้หลากหลายขึ้นอยู่กับว่าเราอยากสื่ออะไรเช่น ใบไม่ ลวด ดิน ทราย ต่างๆ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

7.คําว่า"mixed media"แปลว่าอะไร

ตอบ สื่อผสม

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

8.ทัศนียภาพ คืออะไร

ตอบ เป็นวัตถุให้มองเห็นว่ามีระยะใกล้ไกล

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

9.ภาพปะติด เป็นภาพที่ทำขึ้นด้วยวัสดุอะไรบ้าง

ตอบ เช่น กระดาษ ผ้า เศษวัสดุธรรมชาติ ปะติดลงบนแผ่นภาพด้วยกาวหรือแป้งเปียก

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

10.ทัศนศิลป์คือ

ตอบ เป็นศิลปะที่รับรู้ด้วยการเห็น เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ และทุกอย่างที่สามารถเห็นได้

--------------------------------------------------------End-------------------------------------------------------------------------

ให้นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่6 อ่าน เนื้อหาข้างบนแล้วมาตั้งคำถาม คนละ หนึ่งคำถาม และตอบ ที่ไม่ซ้ำกัน

พร้อมทั้งแหล่งอ้างอิง จาก WWW ไหน

นางสาว ธัญลักษณ์ แซ่ตั้ง ม.6 เลขที่ 12

วงสี ธรรมชาติคืออะไร

ตอบ  เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่น่ามหัศจรรย์ สีมีอยู่ในแสงแดด เป็นคลื่นแสงชนิดหนึ่ง จะปรากฏให้เห็น เมื่อแสงแดดส่องผ่านละอองน้ำ ในอากาศและเกิดการหักเห ทอเป็นสีรุ้งออกมา สีรุ้งที่เราเห็นในท้องฟ้า มีอยู่ 7 สีคือ ม่วง ม่วงน้ำเงิน น้ำเงิน เขียว เหลือง ส้ม และแดง ดังภาพที่ 1 ถ้าเราน้ำแท่งแก้ว สามเหลี่ยม (Prism) มาให้แสงแดด ส่องผ่าน แท่งแก้วก็จะแยกสี ออกจากแสงให้เห็น เป็นสีรุ้งเช่น เดียวกัน ดังภาพที่ 2 สี แต่ละสี มีความถี่ของคลื่นแสง ไม่เท่ากัน สีแดง มีความถี่ต่ำที่สุด และมีช่วงคลื่นยาวที่สุด คลื่นแสง จะมีความถี่ สูงขึ้น เรื่อย ๆ จากแดงไปส้ม จนถึงม่วงที่มีความถี่ สูงสุด คลื่นแสงที่มีความต่ำกว่าแดง หรือ สูงกว่าม่วง ยังมีอยู่อีก มากมาย เช่น แสง อินฟราเรดที่มีความถี่ต่ำกว่าแดง หรือกว่าแดง หรือแสงอัลตราไวโอเลต ที่มีความถี่ สูงกว่าม่วง แต่ ตาของมนุษย์ในอาจรับความถี่ขนาดนั้นได้ เช่น เดียวกับที่หูของเรา ก็สามารถรับคลื่นเสียง ที่มีความถี่ในช่วงหนึ่งเท่านั้น
     สี มีอยู่ 2 ชนิด คือ สีที่เป็นแสง (Spectrum) ได้แก่ สี ที่เกิดขึ้นจากการหักเหของแสง กับ สี ที่เป็นวัตถุ (Pigment) ได้แก่ สีที่มีอยู่ในวัตถุธรรมชาติทั่วไป เช่น พืช สัตว์ แร่ธาตุ ฯลฯ
     ในแสงนั้นมี สี ต่างๆ รวมกันอยู่แล้วทุกสี แต่ได้ผสมกันอย่างสมดุล จนกลายเป็นสีขาวใส เมื่อแสงกระทบ วัตถุที่มีสี วัตถุนั้นจะดูดสีทั้งหมด ของแสงไว้ แล้วสะท้อนสี ที่เหมือนกับตัววัตถุเองออกมา เราจึงเห็นสีของวัตถุนั้น ยกตัวอย่างเช่น แสงส่องมาถูกลูกโปร่งสีแดง สีแดงของลูกโป่งจะตอบรับสีแดง ในแสง แล้วสะท้อนสีแดง นั้นเข้าสู่ตาของเรา วัตถุสีขาว จะสะท้อนสีออกมาทุกสี ส่วนวัตถุสีดำ ไม่สะท้อนสีใดเลย มันดูดเก็บไว้หมด

http://www.agro.cmu.ac.th/department/pkt/packaging1.1/PACKAGINGLEARNING5-5.htm

นางสาว สุวรรณี ชำนิถิ่นเถื่อน ม.6 เลขที่28

งานสื่อผสมคืออะไร

ตอบ สื่อผสม (Mixed media art) เป็นงานวิจิตรศิลป์ที่ผสมผสานสื่อหลาย ๆ ประเภทเข้าด้วยกัน ได้แก่ งานจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ หรืองานวาดเส้น ศิลปะสื่อผสมอาจมี ๒ ลักษณะ เป็น ๒ มิติ หรือ ๓ มิติ ก็ได้

ปัจจุบันการถ่ายทอดสร้างสรรค์ ผลงานทัศนศัลป์ไมจำกัดอยู่ กั บการแสดงออกในลักษณะใด ลักษณะหนึ่ งอาจเป็นการผสมกันทั้งการวาดเขียน การระบายสีการพิมพ์ประติ มากรรม รวมทั ้งการผสมผสาน ทางเทคโนโลยี ใหม่ ๆ เช่นวิ ดี โอ คอมพิ วเตอร์ เป็นต้ น และวัสดุที่ ที่รองรั บ ผลงานอาจไม่ใชบนพื้นกระดาษ ผ้าใบ หรือเป็นรูปทรง 3 มิติ ธรรมดาอาจจะปรากฏอยู่บนสถาปัตยกรรม หรือภูมิประเทศ สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา หรือบนสื่อใหม่ ๆ ที่มีการพัฒนาตลอดเวลา

กระบวนการถ่ายทอดทัศนศิลป์

1. การวาดเขียน (Drawing)

2. การระบายสีหรือ จิตรกรรม (Painting)

3. การพิมพ์ (Printing)

4. ประติมากรรม (Sculpture)

5. สถาปัตยกรรม (Architecture)

6. สื่อผสม (Mixed Media)

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=198914

นาย นัยวัต แซ่ล๊ก ม.5 เลขที่8

ทัศนศิลป์ คือ

ตอบ กระบวนการถ่ายทอดผลงานทางศิลปะ การทำงานศิลปะอย่างมีจิตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ มีระบบระเบียบเป็นขั้นเป็นตอน การสร้างสรรค์งานอย่างมีประสิทธิภาพสวยงาม มีการปฏิบัติงานตามแผนและมีการพัฒนาผลงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B9%8C

นางสาว ปิยนุช เเซ่ชั้น ม.6 เลขที่ .2

ตอบ

ทัศนศิลป์ หมายถึง การมองเห็นหรือสิ่งที่พบเห็นในสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นทำให้เกิดความงาม ความพอใจ และเกิดอารมณ์สะเทือนใจ

ความพึงพอใจของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ขี้นอยู่กับวัฒนธรรม ประเพณี สิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ที่ได้สร้างสมมา มนุษย์ถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์จากสิ่งแวดล้อม แล้วสร้างผลงาน ทางศิลปะให้เกิดความงามและมีคุณค่า

ความสำคัญ ทัศนศิลป์ มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ มนุษย์มีความต้องการด้านร่าร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านอารมณ์ ความต้องการเหล่านี้ขึ้นอยู่กับทัศนะของแต่ละบุคคล การมองเห็นความงามของธรรมชาติ ความสงบราบเรียบของท้องทะเลและอื่นๆ เป็นทัศนียภาพ สิ่งที่มองเห็นเกิดความรู้สึกมีคุณค่าของความงามจนเกิดสุนทรียภาพ

ศิลปะทำให้ชีวิตมีความหมาย มนุษย์จะอยู่ได้ด้วยปัจจัย 4 ประการ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และ ยารักษาโรค แต่มนุษย์ก็ยังต้องการ อาหารทางใจ มาช่วยผ่อนคลายความเคร่งเครียดในชีวิตประจำวัน และช่วยพัฒนาอารมณ์ จิตใจจึงจะทำให้ชีวิตนี้มีความสุขสมบูรณ์ได้

อาหารทางใจที่มนุษย์ต้องการ มีการสืบทอดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็คือ ศิลปะนั่นเอง

ศิลปะ เป็นผลงานอันเกิดจากความต้องพากเพียรของมนุษย์ ในอันที่จะสร้างสรรค์ความงาม เพื่อจรรโลงจิตใจและประโยชน์ที่จะใช้สอยได้

การสร้างสรรค์งานศิลปะของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1.วิจิตรศิลป์ สนองความต้องการทางอารมณ์และจิตใจ

2.ศิลปประยุกต์ สนองความต้องการทางด้านประโยชน์ใช้สอย ซึ่งจะกล่าวถึงคุณค่าและการนำไปใช้เพื่อพัฒนาชีวิตและสังคมต่อไป

งานวิจิตรศิลป์ เป็นศิลปะแห่งความงดงาม เพื่อให้มนุษย์เกิดความชื่นชมทางด้านจิตใจ แบ่งเป็น 5 แขนง คือ 1.จิตรกรรม 2.ประติมากรรม 3.สถาปัตยกรรม 4.วรรณกรรม 5.นาฎศิลป์และดุริยางค์ศิลป์

1.จิตรกรรม ผลงานได้แก่ ภาพวาดหรือภาพเขียน และผลงานศิลปะอื่นที่แสดงออกบนพื้นระนาบหรืองานที่มีลักษณะเป็น 2 มิติ

ผู้สร้างสรรค์งานจิตรกรรม คือ จิตรกร เป็นอาชีพที่มีเกียรติ เป็นที่ยอมรับของสังคมทั่วไป เนื่องจากเป็นผู้ที่สร้างงานวาดภาพทั้งกระดาษวาดเขียน ผ้าใบ ฝาผนัง ภาชนะ เครื่องประดับและบนวัตถุอื่น ๆ งานจิตรกรรม มีการสร้างสรรค์หลายรูปแบบ เช่น การเขียนภาพคน ภาพคนเหมือน ภาพดอกไม้ ภาพหุ่นนิ่ง ภาพเรื่องราวการดำรงชีวิต ภาพประกอบเรื่อง เป็นต้น

ศิลปินที่เป็น จิตรกรในสาขาจิตรกรรมได้แก่ เฉลิม นาคีรักษ์ เฟื้อ หริพิทักษ์ ทวี

นันทขว้าง สุชาติ วงศ์ทอง เป็นต้น

2.ประติมากรรม เป็นงานปั้นและแกะสลักด้วยวัสดุที่แปรรูปได้ เช่น ดินเหนียว ดินน้ำมัน ปูนปลาสเตอร์ ไม้ เป็นต้น รวมทั้งการนำมาทุบ ตี เคาะ เชื่อม และหล่อเป็นรูปทรงต่าง ๆ ซึ่งเป็นลักษณะ 3 มิติ

ผู้สร้างสรรค์งานประติมากรรม คือ ประติมากร เป็นอาชีพที่สำคัญ และมีเกียรติเป็นที่ยอมรับของสังคมส่วนรวมอีกอาชีพหนึ่ง โดยทั่วไปจะมีผู้ที่นิยมน้อยกว่าอาชีพจิตรกร แต่ก็สามารถสร้างสรรค์ผลงานอันทรงคุณค่าให้แก่ตนเองและสังคมไม่ด้อยกว่าอาชีพใดๆ

งานที่ประติมากรสร้างสรรค์มีตั้งแต่ผลงานขนาดเล็ก จนถึงขนาดใหญ่ เช่น เหรียญชนิดต่าง ๆ ภาชนะ เครื่องประดับตกแต่งพระพุทธรูป และรูปปั้นอนุสาวรีย์ ซึ่งได้แสดงคุณค่าทางความงามจากรูปร่าง รูปทรง และพื้นผิว ตลอดจนแสงจากธรรมชาติที่ส่องมากระทบผลงานประติมากรรม

ศิลป์ พีระศรี ประติมากรรม ผู้สร้างศิลปินไทย สร้างอนุสาวรีย์พระบรมรูปรัชกาลที่ 6

ที่ สวนลุมพินี อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา และเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร อีกด้วย

3.สถาปัตยกรรม เป็นการออกแบบก่อสร้างอาคารสถานที่ต่าง ๆ เช่นบ้านเรือนอาคารที่ทำการ สนามกีฬา วัด โบสถ์ วิหาร เจดีย์ สถูป พีระมิด เป็นต้น

งานสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าทางวิจิตรศิลป์ หรือความงามตอบสนองความต้องการทางจิตใจ มักจะเป็นสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิม ที่สร้างขึ้นตามหลักศาสนาและความเชื่อถือศรัทธา ส่วนสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่มุ่งประโยชน์ใช้สอยเป็นหลักและจะมุ่งเน้นความงามแบบเรียบง่าย ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบแท่งเหลี่ยมสูงหลายชั้น เนื่องจากพื้นที่ก่อสร้างภาคพื้นดินค่อนข้างจำกัด จึงจำเป็นจะต้องใช้ พื้นที่บนอากาศให้มากที่สุด ศิลปินสาขานี้ทางด้าน สถาปัตยกรรมคือ พลเรือตรี สมภพ ภิรมย์ ประเวศ ลิมปรังสี และภิญโญ สุวรรณคีรี เป็นต้น

คุณค่าต่อผู้ชมและสังคมส่วนรวม

- งานจิตรกรรม เป็นศิลปะที่สื่อความงามและความรู้สึกไปสู่ผู้ดูหรือผู้ชื่นชมได้โดยง่าย คุณค่าเบื้องต้น เป็นคุณค่าทางด้านจิตใจในการชมความงาม ความละเอียดอ่อนของเส้นสี แสงเงา และองค์ประกอบของศิลป์ต่างๆ ช่วยผ่อนคลายอารมณ์ และให้คติธรรม แนวคิดในการดำรงชีวิต และยังรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม ศาสนา และประวัติศาสตร์ จากจิตรกรรมฝาผนังต่าง ๆ

- งานประติมากรรม เป็นศิลปะที่สื่อความงามและความรู้สึกไปสู่ผู้ดูหรือผู้ชื่นชมได้ด้วยรูปทรง และพื้นผิว โดยมีแสงสว่างมากระทบให้เกิดเงาจากมิติความตื้นลึกของรูปทรงนั้น ๆ

- งานสถาปัตยกรรม เป็นศิลปะที่ใช้ประโยชน์ใช้สอยมากกว่า เพราะเป็นอาคารสถานที่สูง และเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์นั่นเอง โดยเริ่มจากการดูแลรักษาที่พักอาศัยต่าง ๆ เข่น พระราชวัง โบสถ์ ตำหนัก วัด วิหาร เจดีย์ สถูป เป็นต้น

คุณค่าของผู้ชื่นชมและสังคมส่วนรวม

บทบาทของประชาชนทั่วไปในการใช้ประโยชน์และคุณค่าของสถาปัตยกรรมนับตั้งแต่บ้านเรือน ที่อยู่อาศัย โดยเริ่มต้นจากการดูแลรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในบ้าน การใช้หลักทางศิลปะ และรสนิยมส่วนตัว ตกแต่งบ้านเรือนให้น่าอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประดับตกแตงด้วยต้นไม้ และพื้นที่สีเขียวภายในบ้าน

สำหรับงานทางศิลปะที่มีคุณค่าทางวิจิตรศิลป์ ดังนั้น เราจึงควรร่วมมือกันอนุรักษ์ศิลปะทั้ง จิตรกรรม ประติมากรรม และ สถาปัตยกรรมอันเก่าแก่ไว้สืบต่อไป

นักเรียนที่ให้ความสนใจในการที่นักเรียนได้เรียนวิชานี้ เป็นศิลปะ ที่นักเรียนทุกคนจะต้องมี ทัศนศิลป์ของตนเอง เพื่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและการนำไปใช้ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ต่อไป

http://www.kr.ac.th/ebook2/pradit/02.html

นางสาว กมลรัตน์ ปานทอง ม.6 เลขที่ 20

1.วรรณะสี คืออะไร

ตอบ คือสีที่ให้ความรู้สึกร้อน-เย็น ในวงจรสีจะมีสีร้อน 7 สี และสีเย็น 7 สี ซึ่งแบ่งที่ สีม่วงกับสีเหลือง ซึ่งเป็นได้ทั้งสองวรรณะ แบ่งออกเป็น 2 วรรณะ

1.วรรณะสีร้อน (WARM TONE) ประกอบด้วยสีเหลือง สีส้มเหลือง สีส้ม สีส้มแดง สีม่วงแดงและสีม่วง สีใน วรรณะร้อนนี้จะไม่ใช่สีสดๆ ดังที่เห็นในวงจรสีเสมอไป เพราะสีในธรรมชาติย่อมมีสีแตกต่างไปกว่าสีในวงจรสีธรรมชาติอีกมาก ถ้าหากว่าสีใด ค่อนข้างไปทางสีแดงหรือสีส้ม เช่น สีน้ำตาลหรือสีเทาอมทอง ก็ถือว่าเป็นสีวรรณะร้อน

2.วรรณะสีเย็น (COOL TONE) ประกอบด้วย สีเหลือง สีเขียวเหลือง สีเขียว สีเขียวน้ำเงิน สีน้ำเงิน สีม่วงน้ำเงิน และสีม่วง ส่วนสีอื่นๆ ถ้าหนักไปทางสีน้ำเงินและสีเขียวก็เป็นสีวรรณะเย็นดังเช่น สีเทา สีดำ สีเขียวแก่ เป็นต้น จะสังเกตได้ว่าสีเหลืองและสีม่วงอยู่ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น ถ้าอยู่ในกลุ่มสีวรรณะร้อนก็ให้ความรูสึกร้อนและถ้า อยู่ในกลุ่มสีวรรณะเย็นก็ให้ความรู้สึกเย็นไปด้วย สีเหลืองและสีม่วงจึงเป็นสีได้ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น

อ้างอิง

http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/pimolnut_v/art/sec03p03.html

นางสาว ศศิธร ชาญศรีภิญโญ ม.6เลขที่22

1.ภาพปะติดคิออะไร

ตอบ ภาพปะติด หรือ คอลลาจ คือ การสร้างสรรค์งานศิลปะที่ต้องอาศัยพื้นฐานของการวาดภาพเขียนภาพนั่นเอง แทนที่จะวาภาพแล้วระบายสี กลับใช้วัสดุที่มีรูปร่าง รูปทรง ซึ่งมีสีสันต่างๆ ปะติดลงไปจะได้ภาพตามต้องการ

ภาพปะติด เป็นงานสื่อประสมแบบ 2 มิติ เริ่มแรกเป็นการนำเอาวัสดุที่มีลักษณะ 2 มิติ เช่น ภาพถ่าย ภาพพิมพ์ กระดาษ ภาพเขียนและวัสดุอื่นๆ มาปะติดลงบนแผ่นรองรับให้เกิดเป็นภาพต่างๆ ขึ้น โดยอาจจะแต่งเติมด้วยการระบายสีหรือใช้สีของวัสดุทั้งหมด ภาพปะติดในระยะหลังเริ่มใช้วัสดุที่มีความหนามากขึ้นและหลากหลายชนิดมากขึ้น แต่ยังคงปะติดอยู่บนแผ่นพื้นระนาบเช่นเดิม

http://thaigoodview.com/node/20371

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

นาย วิภพ แซ่เบ้ ม.6 เลขที่30

ทัศนียภาพ หมายถึงอะไร

ตอบ การเขียนแบบทัศนียภาพ หรือ ทัศนมิติ หรือ เพอร์สเปกทีฟ (perspective) คือการเขียนภาพให้ปรากฏออกมาในลักษณะที่เหมือนการมองเห็นจริง โดยปรกติมักจะใช้เพื่อการนำเสนอภาพจำลองของแนวความคิดในการออกแบบผลงาน เช่นภาพงานอาคารในงานสถาปัตยกรรม ภาพการตกแต่งภายในสำหรับงานมัณฑนศิลป เป็นต้น

ประเภทของทัศนียภาพ

ทัศนียภาพแบบจุดเดียว จะมีจุดลับตา หรือจุดอันตธาน (Vanishing point) จุดเดียว อาจอยู่ด้านซ้าย หรือขวา บนหรือล่าง หรืออยู่กึ่งกลางของภาพก็ได้

จุดลับตาหรือจุดอันตธาน คือจุดรวมของเส้นฉายของภาพ

ทัศนียภาพแบบสองจุด จะมีจุดลับตา สองจุด อยู่ทางด้านซ้ายและขวาของภาพ

ทัศนียภาพแบบสามจุด จะมีจุดลับตา สองจุด อยู่ทางด้านซ้ายและขวาของภาพ อีกหนึ่งจุดอาจอยู่ด้านบนหรือด้านล่างของภาพก็ได้

ระดับมุมมองของทัศนียภาพ

มองแบบนก (Bird’s eyes view) เป็นภาพในลักษณะมองจากที่สูงลงมา

มองในระดับสายตา (Human’s eyes view) เป็นภาพการมองในลักษณะระดับสายตาของคนทั่วไป

มองแบบหนอน (Worm’s eyes view) เป็นภาพในลักษณะมองขึ้นไปที่สูง

องค์ประกอบของทัศนียภาพ

จุดลับตา (Vanishing Point)

เส้นระดับสายตา

อ้างอิง http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:otFDHuxH0DkJ:th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2

นาย นนท์ กฤดาภินิหาร เลขที่3 ม.6

ศิลปะที่รับรู้ได้ด้วยการเห็น ได้แก่

ตอบ จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์

นาย ปกรณ์ ตันสกุล ม6 เลขที่15

ทศนธาตุ คือ

ตอบ ทัศนธาตุหมายถึงอะไร

ทัศนธาตุ (Visual Elements) ในทางทัศนศิลป์ หมายถึง ส่วนประกอบของศิลปะที่มองเห็นได้ ประกอบไปด้วย

1. จุด (Dot) หมายถึง รอยหรือแต้มที่มีลักษณะกลม ๆ ปรากฎที่พื้นผิว ซึ่งเกิดจากการจิ้ม กด กระแทก ด้วยวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ดินสอ ปากกา พู่กัน และวัสดุปลายแหลมทุกชนิด

จุด เป็นต้นกำเนิดของเส้น รูปร่าง รูปทรง แสงเงา พื้นผิว ฯลฯ เช่น นำจุดมาวางเรียงต่อกันจะเกิดเป็นเส้น และการนำจุดมาวาง

ให้เหมาะสม ก็จะเกิดเป็นรูปร่าง รูปทรง และลักษณะผิวได้

2. เส้น (Line) เป็นสิ่งที่มีผลต่อการรับรู้ เพราะทำให้เกิดความรู้สึกต่ออารมณ์และจิตใจของมนุษย์ เส้นเป็นพื้นฐานสำคัญของศิลปะ

ทุกแขนง ใช้ร่างภาพเพื่อถ่ายทอดสิ่งที่เห็นและสิ่งที่คิดจินตนาการให้ปรากฎเป็นรูปภาพ

เส้น (Line) หมายถึง การนำจุดหลาย ๆ จุดมาเรียงต่อกันไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งเป็นทางยาว หรือสิ่งที่เกิดจากการขูด ขีด

เขียน ลาก ให้เกิดเป็นริ้วรอย

- เส้นนอน ให้ความรู้สึกกว้างขวาง เงียบสงบ นิ่ง ราบเรียบ ผ่อนคลายสายตา

- เส้นตั้ง ให้ความรู้สึกสูงสง่า มั่นคง แข็งแรง รุ่งเรือง

- เส้นเฉียง ให้ความรู้สึกไม่มั่นคง เคลื่อนไหว รวดเร็ว แปรปรวน

- เส้นโค้ง ให้ความรู้สึกอ่อนไหว สุภาพอ่อนโยน สบาย นุ่มนวล เย้ายวน

- เส้นโค้งก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว การคลี่คลาย ขยายตัว มึนงง

- เส้นซิกแซกหรือเส้นฟันปลา ให้ความรู้สึกรุนแรง กระแทกเป็นห้วง ๆ ตื่นเต้น สับสนวุ่นวาย และการขัดแย้ง

- เส้นประ ให้ความรู้สึกไม่ต่อเนื่อง ไม่มั่นคง ไม่แน่นอน

เส้นกับความรู้สึกที่กล่าวมานี้เป็นเพียงแนวทางหนึ่ง ไม่ใช่ความรู้สึกตายตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ร่วมกับส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น เส้นโค้งคว่ำลง ถ้านำไปเขียนเป็นภาพปากในใบหน้าการ์ตูนรูปคน ก็จะให้ความรู้สึกเศร้า ผิดหวัง เสียใจ แต่ถ้าเป็นเส้นโค้งหงายขึ้น ก็จะให้ความรู้สึกอารมณ์ดี เป็นต้น

3. รูปร่างและรูปทรง

รูปร่าง (Shape) หมายถึง เส้นรอบนอกทางกายภาพของวัตถุ สิ่งของเครื่องใช้ คน สัตว์ และ พืช มีลักษณะเป็น 2 มิติ มีความกว้าง และความยาว

รูปร่าง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

- รูปร่างธรรมชาติ (Natural Shape) หมายถึง รูปร่างที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น คน สัตว์ และพืช เป็นต้น

- รูปร่างเรขาคณิต (Geometrical Shape) หมายถึง รูปร่างที่มนุษย์สร้างขึ้นมีโครงสร้างแน่นอน เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม และรูปวงกลม เป็นต้น

- รูปร่างอิสระ (Free Shape) หมายถึง รูปร่างที่เกิดขึ้นตามความต้องการของผู้สร้างสรรค์ ให้ความรู้สึกที่เป็นเสรี ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอนของตัวเอง เป็นไปตามอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม เช่น รูปร่างของหยดน้ำ เมฆ และควัน เป็นต้น

รูปทรง (Form) หมายถึง โครงสร้างทั้งหมดของวัตถุที่ปรากฎแก่สายตาในลักษณะ 3 มิติ คือมีทั้งส่วนกว้าง ส่วนยาว ส่วนหนา

หรือลึก คือ จะให้ความรู้สึกเป็นแท่ง มีเนื้อที่ภายใน มีปริมาตร และมีน้ำหนัก

4. น้ำหนักอ่อน-แก่ (Value) หมายถึง จำนวนความเข้ม ความอ่อนของสีต่าง ๆ และแสงเงาตามที่ประสาทตารับรู้ เมื่อเทียบกับน้ำหนักของสีขาว-ดำ ความอ่อนแก่ของแสงเงาทำให้เกิดมิติ เกิดระยะใกล้ไกลและสัมพันธ์กับเรื่องสีโดยตรง

5. สี (Colour) หมายถึง สิ่งที่ปรากฎอยู่ทั่้วไปรอบ ๆ ตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นสีที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติ หรือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น

สีทำให้เกิดความรู้สึกแตกต่างมากมาย เช่น ทำให้รู้สึกสดใส ร่าเริง ตื่นเต้น หม่นหมอง หรือเศร้าซึมได้ เป็นต้น

สีและการนำไปใช้

5.1 วรรณะของสี (Tone) จากวงจรสีธรรมชาติ ในทางศิลปะได้มีการแบ่งวรรณะของสีออกเป็น 2 วรรณะ คือ

- สีวรรณะร้อน ได้แก่สีที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นหรือร้อน เช่น สีเหลือง ส้มเหลือง ส้ม ส้มแดง แดง ม่วงแดง เป็นต้น

- สีวรรณะเย็น ได้แก่ สีที่ให้ความรู้สึกเย็น สงบ สบาย เช่น สีเขียว เขียวเหลือง เขียวน้ำเงิน น้ำเงิน ม่วงน้ำเงิน ม่วง เป็นต้น

5.2 ค่าของสี (Value of colour) หมายถึง สีใดสีหนึ่งทำให้ค่อย ๆ จางลงจนขาวหรือสว่างและทำให้ค่อย ๆ เข้มขึ้นจนมืด

5.3 สีเอกรงค์ (Monochrome) หมายถึง สีที่แสดงอิทธิพลเด่นชัดออกมาเพียงสีเดียว หรือใช้เพียงสีเดียวในการเขียนภาพ โดยให้ค่าของสีอ่อน กลาง แก่ คล้ายกับภาพถ่าย ขาว ดำ

5.4 สีส่วนรวม (Tonality) หมายถึง สีใดสีหนึ่งที่ให้อิทธิพลเหนือสีอื่นทั้งหมด เช่น การเขียนภาพทิวทัศน์ ปรากฎสีส่วนรวมเป็นสีเขียว สีน้ำเงิน เป็นต้น

5.5 สีที่ปรากฎเด่น (Intensity)

5.6 สีตรงข้ามกันหรือสีตัดกัน (Contrast) หมายถึง สีที่อยู่ตรงกันข้ามในวงจรสีธรรมชาติ เช่น สีแดงกับสีเขียว สีน้ำเงินกับสีส้ม สีม่วงกับสีเหลือง

6. บริเวณว่าง (Space) หมายถึง บริเวณที่เป็นความว่างไม่ใช่ส่วนที่เป็นรูปทรงหรือเนื้อหาาในกาารจัดองค์ประกอบใดก็ตาม ถ้าปล่อยให้มีพื้นที่ว่างมากและให้มีรูปทรงน้อย การจัดนั้นจะให้ความรู้สึกอ้างอ้าง โดดเดี่ยว

7. พื้นผิว (Texture) หมายถึง พื้นผิวของวัตถุต่าง ๆ ที่เกิดจากธรรมชาติและมนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น พื้นผิวของวัตถุที่แตกต่างกัน ย่อมให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันด้วย

อ้างอิง http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:hnLLb8y1-MwJ:www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php%3Fmul_content_id%3D882+%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8&cd=2&hl=th&ct=clnk&gl=th

นาย สุระ สินธุยศกุล เลขที่21ม.6

สีเขียว จัดอยู่ในวรรณะอะไร

ตอบ วรรณะเย็น (cool tone)

นางสาว ปิยนุช เเซ่ชั้น ม.6 เลขที่ 2

องค์ประกอบทางศิลปะ คืออะไร

ตอบ การจัดองค์ประกอบทางศิลปะ เป็น หลักสำคัญสำหรับผู้สร้างสรรค์ และผู้ศึกษางานศิลปะ

เนื่องจากผลงานศิลปะใด ๆ ก็ตาม ล้วนมีคุณค่าอยู่ 2 ประการ คือ คุณค่าทางด้านรูปทรง และ คุณค่าทางด้านเรื่องราว

คุณค่าทางด้านรูปทรง เกิดจากการนำเอา องค์ประกอบต่าง ๆ ของ ศิลปะ อันได้แก่ เส้น สี แสงและเงา รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว ฯลฯ

มาจัดเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดความงาม ซึ่งแนวทางในการนำองค์ประกอบต่าง ๆ มาจัดรวมกันนั้น

เรียกว่า การจัดองค์ ประกอบศิลป์ (Art Composition) โดยมีหลักการจัดตามที่จะกล่าวต่อไป

อีกคุณค่าหนึ่งของงานศิลปะ คือ คุณค่าทางด้านเนื้อหา เป็นเรื่องราว หรือสาระของผลงานที่ศิลปินผู้สร้าง สรรค์

ต้องการที่จะแสดงออกมา ให้ผู้ชมได้สัมผัส รับรู้ โดยอาศัยรูปลักษณะที่เกิดจากการจัดองค์ประกอบศิลป์นั่นเอง

หรืออาจกล่าวได้ว่า ศิลปิน นำเสนอเนื้อหาเรื่องราวผ่านรูปลักษณะที่เกิดจากการจัดองค์ประกอบทางศิลปะ

ถ้าองค์ประกอบที่จัดขึ้น ไม่สัมพันธ์กับเนื้อหาเรื่องราวที่นำเสนอ งานศิลปะนั้นก็จะขาดคุณค่าทางความงามไป

ดังนั้นการจัดองค์ประกอบศิลป์ จึงมีความสำคัญในการสร้างสรรค์งานศิลปะเป็นอย่างยิ่ง

เพราะจะทำให้งานศิลปะทรงคุณค่าทางความงามอย่างสมบูรณ์

การจัดองค์ประกอบของศิลปะ มีหลักที่ควรคำนึง

อยู่ 5 ประการ คือ

1. สัดส่วน (Proportion)

2. ความสมดุล (Balance)

3. จังหวะลีลา (Rhythm)

4. การเน้น (Emphasis)

5. เอกภาพ (Unity)

http://www.prc.ac.th/newart/webart/composition01.html

นาย ทัตพล พิพัฒน์จรัส เลขที่ 7 ม.6

สีแดง จัดอยู่ในวรรณะอะไร

ตอบ วรรณะร้อน

นาย ศิลป์ชัย นิมิตรพงศ์ธร เลขที่ 29 ม.6

องค๋ประกอบศิลป๋มีอะไรบ้าง

ตอบ ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญที่เป็นมูลฐาน 7 ประการคือ

1. จุด (Point,Dot) หมายถึง ส่วนประกอบที่เล็กที่สุด เป็นส่วนเริ่มต้นไปสู่ส่วนอื่นๆ

2. 2. เส้น (Line) หมายถึง จุดหลาย ๆ จุดที่เคลื่อนที่ต่อเนื่องไปในที่ว่างเปล่าจากทิศทางการเคลื่อนที่ต่าง ๆ กัน

3. 3. สี (Colour) หมายถึง ลักษณะของแสงสว่างที่ปรากฏแก่สายตาให้เห็นสีต่างกันสีเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึก เมื่อมองเห็น และทำให้เกิดอารมณ์ สะเทือนใจต่าง ๆ

4. พื้นผิว (Texture) หมายถึง คุณลักษณะต่าง ๆ ของผิวด้านหน้าของวัตถุทุกชนิดที่มีลักษณะต่าง ๆ กันเช่นเรียบ ขรุขระ เป็นมันวาว ด้าน เป็นต้น

5. รูปร่าง (Shape) หมายถึง การบรรจบกันของเส้นที่เป็นขอบเขตของวัตถุที่มองเห็นเป็น 2 มิติ คือ มีความกว้างและความยาว 2 ด้านเท่านั้น

รูปทรง (form) หมายถึงรูปลักษณะที่มองเห็นเป็น 3 มิติ คือ มีความกว้างความยาวและความหนาลึก

4. ค่าน้ำหนัก (value) หมายถึง ค่าความอ่อนเข้มของสีที่เกิดจากของสีที่เกิดจากแสงและเงา

5. 7. ช่องว่าง(space) หมายถึง บริเวณที่ว่างเปล่าที่เรียกกันว่า "ช่องไฟ"

ทัศนธาตุเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าองค์ประกอบทัศนศิลป์ หมายถึง สิ่งที่เป็นส่วน

ประกอบสำคัญต่าง ๆ ในงานทัศนศิลป์ ได้แก่ เส้น สี พื้นผิว แสงเงาและช่องว่าง การวาดภาพที่ดี การนำส่วนประกอบสำคัญต่าง ๆ เหล่านี้มาจัดให้เกิดความสมดุลและเกิดความงาม ซึ่งจะทำให้เป็นภาพที่สมบูรณ์ได้ เรียกว่าการจัดทัศนธาตุหรือการจัดองค์ประกอบของทัศนศิลป์

การจัดองค์ประกอบทัศนศิลป์ เป็นหลักสำคัญสำหรับผู้สร้างสรรค์ และผู้ศึกษางานศิลปะ เนื่องจากผลงานศิลปะใด ๆ ก็ตาม ล้วนมีคุณค่าอยู่ 2 ประการ คือ คุณค่าทางด้านรูปทรงและคุณค่าทางด้านเรื่องราว

องค์ประกอบศิลป์ (Art composition)

การจัดองค์ประกอบของศิลป์ มีหลักที่ควรคำนึงอยู่ 4 ประการ คือ

1. ความสมดุล (Balance)

2. ส่วน (Proportion)

3. จุดสนใจ (Emphasis)

4. เอกภาพ (Unity)

1. ความสมดุล (Balance)

ความสมดุลหรือดุลยภาพ หมายถึง น้ำหนักที่เท่ากันขององค์ประกอบ ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง

2. ส่วน (Proportion)

ส่วน หมายถึง ความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมขององค์ประกอบส่วนจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้อีก เช่น

1) ส่วนการจัดวางภาพ

2) ส่วนขนาดของภาพ

- 3) ส่วนของสี

- รูปหรือภาพสีแก่ พื้นต้องสีอ่อน

- รูปหรือภาพสีอ่อน พื้นต้องสีแก่

- รูปหรือภาพและพื้นมีสีเท่ากันแต่จะต้องมีค่าน้ำหนักของสีต่างกัน

3. จุดสนใจ (Emphasis)

จุดสนใจ หมายถึง การกระทำให้เด่นเป็นพิเศษกว่าธรรมดา

4. เอกภาพ (Unity)

เอกภาพ หมายถึง การจัดองค์ประกอบที่อยู่ในภาพให้มีลักษณะเป็นกลุ่ม ไม่ให้กระจัดกระจาย

อ้างอิงhttp://dek-d.com/board/view.php?id=1048341

งานปะติมากรรมหมายถึงอะไร

ตอบ งานประติมากรรม หมายถึง ผลงานทางด้านศิลปะที่มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้นแสดงออกโดยการใช้สื่อต่างๆ เช่น ดินเหนียว ขี้ผึ้ง ปูนปลาสเตอร์ ฯลฯ โดยทำให้เกิดมวล ปริมาตร ใช้ทักษะและความคิดกลั่นกรองให้เกิดซึ่งความงาม และมิติอย่างสมบูรณ์ ซึ่งผู้ที่สร้างสรรค์ผลงาน เรียกว่า ประติมากร ในขณะที่ปฏิมากรรม หมายถึง รูปปั้นแกะสลักหล่อที่เป็นรูปเคารพ เน้นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศาสนาเช่น ช่างปั้นพระพุทธรูปต่างๆ

ประเทศไทยนับได้ว่ามีการทำงานปั้น และงานหล่ออยู่ ๒ ลักษณะ คือ งานปั้น-งานหล่อ พระพุทธปฏิมา ซึ่งเป็นการปั้นเกี่ยวกับพุทธศาสนา และงานปั้นประติมากรรมร่วมสมัย ซึ่งเป็นการปฏิบัติในงานปั้นและงานถอดพิมพ์ เป็นขบวนการที่ต่อเนื่องกัน โดยเฉพาะงานปั้นหล่อทางพุทธศาสนา ซึ่งมีการทำกันมาตั้งแต่สมัยโบราณกาลครั้งประวัติศาสตร์ของไทย นับต่อเนื่องแต่ยุคสมัยอาณาจักรสุโขทัย กรุงศรีอยุธยาจนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ประติมากรรมร่วมสมัยได้รับอิทธิพลและความเจริญมาจากชนชาติตะวันตก ซึ่งได้รับการยอมรับและถ่ายทอดเป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบัน โดยศาสตราจารย์ศิลป์พีระศรี มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖ โดยเฉพาะ ประติมากรรมสมัยนี้เป็นลักษณะงานที่มีการปั้นรูปแบบในเชิงหลักวิชาตามแบบสากลนิยม อันหมายถึงประติมากรรมรูปเหมือน เป็นต้นhttp://www.fabeta.finearts.go.th/node/2906

นาย กนกพล ธีระธนานนท์

1. การที่เราวาดภาพวัตถุให้มองเห็นว่ามีระยะใกล้ไกล คือทัศนศิลป์แบบใด ?

ตอบ .ทัศนียภาพ

 

http://gotoknow.org/blog/artm6/378803

 

 

น.ส พัชรา บุรีศรี เลขที่26 ม.6

งานจิตรกรรมคืออะไร ตอบ จิตรกรรม เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการขีดเขียน การวาด และระบายสี เพื่อให้เกิดภาพ บรรลุ วิริยาภรณ์ประภาส 1997เป็นงานศิลปะที่มี 2 มิติ เป็นรูปแบน ไม่มีความลึกหรือนูนหนา แต่สามารถเขียนลวงตาให้ เห็นว่ามีความลึกหรือนูนได้ ความงามของจิตรกรรมเกิดจากการใช้สีในลักษณะต่าง ๆ กัน องค์ประกอบสำคัญของงานจิตรกรรม คือ 1. ผู้สร้างงาน หรือ ผู้วาด เรียกว่า จิตรกร 2. วัสดุที่ใช้รองรับการวาด เช่น กระดาษ ผ้า ผนัง ฯลฯ 3. สี เป็นสิ่งที่แสดงออกถึงเนื้อหา เรื่องราวเกี่ยวกับผลงาน งานจิตรกรรมเป็นงานศิลปะที่เก่าแก่ดั้งเดิมของมนุษย์ เริ่มตั้งแต่การขีดเขียนบนผนังถ้ำ บนร่างกาย บนภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ จนพัฒนามาเป็นภาพวาดที่ใช้ประดับตกแต่งในปัจจุบัน การวาดภาพเป็นพื้นฐานของงานศิลปะทุกชนิด ผู้สร้างสรรค์งานจิตรกรรม เรียนว่า จิตรกร งานจิตรกรรม แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ 1. การวาดเส้น (Drawing) เป็นการวาดภาพโดยใช้ปากกา หรือดินสอ ขีดเขียนลงไป แปลก กิจเฟื่องฟู 2539บนพิ้นผิววัสดุรองรับเพื่อให้เกิดภาพ การวาดเส้น คือ การขีดเขียนให้เป็นเส้นไม่ว่าจะเป็นเส้นเล็ก หรือเส้นใหญ่ ๆ มักมีสีเดียวแต การวาดเส้นไม่ได้จำกัดที่จะต้องมีสีเดียว อาจมีสีหลาย ๆ สีก็ได้ การวาดเส้น จัดเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะแทบทุกชนิด อย่างน้อย ผู้ฝึกฝนงานศิลปะควรได้มีการฝึผนงานวาดเส้นให้เชี่ยวชาญเสียก่อน ก่อนที่จะไปทำงานด้านอื่นๆต่อไป 2. การระบายสี (Painting) เป็นการวาดภาพโดยการใช้พู่กัน หรือแปรง หรือวัสดุอย่างอื่น มาระบายให้เกิดเป็นภาพ การระบายสี ต้องใช้ทักษะการควบคุมสีและเครื่องมือมากกว่าการวาด เส้น ผลงานการระบายสีจะสวยงาม เหมือนจริง และสมบูรณ์แบบมากกว่าการวาดเส้น -----------------------------------------------------------ที่มาhttp://www.mew6.com/composer/art/painting.php------------

นาย นักรบ วุฒิโอภาส ม.6 เลขที่14

โครงสร้างเคลื่อนไหว คือ

ตอบ เป็นงานประติมากรรมที่มีโครงสร้างบอบบางจัดสมดุลด้วยเส้นลวดแข็งบาง ๆ ที่มีวัตถุรูปร่าง รูปทรงต่าง ๆ ที่ออกแบบเชื่อมติดกับเส้นลวด เป็นเครื่องแขวนที่เคลื่อนไหวได้ด้วยกระแสลมเพียงเบา ๆ

http://www.google.co.th/search?hl=th&q=%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A7&aq=f&aqi=g2&aql=&oq=&gs_rfai=

นางสาวโชติกา แซ่เจียง ม5 เลขที่34

ความสมดุล หรือ ดุลยภาพ หมายถึง

ตอบ น้ำหนักที่เท่ากันขององค์ประกอบ ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง

ในทางศิลปะยังรวมถึงความประสานกลมกลืน ความพอเหมาะพอดีของ ส่วนต่าง ๆ

ในรูปทรงหนึ่ง หรืองานศิลปะชิ้นหนึ่ง การจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ ลงใน งานศิลปกรรมนั้น

จะต้องคำนึงถึงจุดศูนย์ถ่วง ในธรรมชาตินั้น ทุกสิ่งสิ่งที่ทรงตัวอยู่ได้โดยไม่ล้มเพราะมีน้ำหนักเฉลี่ยเท่ากันทุกด้าน

ฉะนั้น ในงานศิลปะถ้ามองดูแล้วรู้สึกว่าบางส่วนหนักไป แน่นไป หรือ เบา บางไป

ก็จะทำให้ภาพนั้นดูเอนเอียง และเกิดความ รู้สึกไม่สมดุล เป็นการบกพร่องทางความงาม

ดุลยภาพในงานศิลปะ มี 2 ลักษณะ คือ

1. ดุลยภาพแบบสมมาตร (Symmetry Balance) หรือ ความสมดุลแบบซ้ายขวาเหมือนกัน

คือ การวางรูปทั้งสองข้างของแกนสมดุล เป็นการสมดุลแบบธรรมชาติลักษณะแบบนี้ใน

ทางศิลปะมีใช้น้อย ส่วนมากจะใช้ในลวดลายตกแต่ง ในงานสถาปัตยกรรมบางแบบ หรือ

ในงานที่ต้องการดุลยภาพที่นิ่งและมั่นคงจริง ๆ

2. ดุลยภาพแบบอสมมาตร (Asymmetry Balance) หรือ ความสมดุลแบบซ้ายขวาไม่เหมือน

กัน มักเป็นการสมดุลที่เกิดจาการจัดใหม่ของมนุษย์ ซึ่งมีลักษณะที่ทางซ้ายและขวาจะไม่

เหมือนกัน ใช้องค์ประกอบที่ไม่เหมือนกัน แต่มีความสมดุลกัน อาจเป็นความสมดุลด้วย

น้ำหนักขององค์ประกอบ หรือสมดุลด้วยความรู้สึกก็ได้ การจัดองค์ประกอบให้เกิดความ

สมดุลแบบอสมมาตรอาจทำได้โดย เลื่อนแกนสมดุลไปทางด้านที่มีน้ำหนักมากว่า หรือ

เลื่อนรูปที่มีน้ำหนักมากว่าเข้าหาแกน จะทำให้เกิดความสมดุลขึ้น หรือใช้หน่วยที่มีขนาด

เล็กแต่มีรูปลักษณะที่น่าสนใจถ่วงดุลกับรูปลักษณะที่มีขนาดใหญ่แต่มีรูปแบบธรรมดา

นางสาวโชติกา แซ่เจียง ม6 เลขที่34

ม.6นะคะลืม

นาย อาทิตย์ แซ่ตั้ง ม.6 เลขที่ 1

ทัศนศิลป์ คือ อะไร ?

ตอบ การถ่ายทอดผลงานทางศิลปะ การทำงานศิลปะอย่างมีจิตนาการอารมณ์ของมนุษย์ มุมมอง ของแต่ละบุคคล ความคิดสร้างสรรค์ การสร้างสรรค์งานอย่างมีประสิทธิภาพสวยงาม รับรู้ทางจักษุประสาท โดยการมองเห็น สสาร วัตถุ และสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบ รวมถึงมนุษย์ และสัตว์ จะด้วยการหยุดนิ่ง หรือเคลื่อนไหว

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B9%8C

น.ส. นภัสวรรณ วงศ์วาณิชย์ศิลป์ ม.6 เลขที่ 16

วรรณะสี หมายถึง ??

ผสมออกมาทั้ง 12 สีนั้น สามารถแยกออกเป็นสองกลุ่มตามค่าความเข้มของสี หรือที่เรียกว่าวรรณะของสี (Tone of color) วรรณะของสีก็คือ ค่าความแตกต่างของสีแต่ละด้านของวงจรสีที่แสดงถึงความรู้สึกที่แตกต่างกัน ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับเสียงเพลงหรือเสียงดนตรีก็คือเสียงสูง เสียงต่ำ ที่แสดงออกทางอารมณ์ ที่มีการเคลื่อนไหว มีชีวิตชีวา หรือเศร้าโศกหรือรันทดใจ

สีที่อยู่ในวรรณะร้อน(warm tone color) สีที่อยู่ในวรรณะเย็น(cool tone color)

ได้แก่ สีเหลืองส้ม สีส้ม สีแดง และสีม่วงแดง ได้แก่ สีเขียว สีฟ้า สีม่วงคราม

นาย สิทธิชัย แซ่หวาง ม.6 เลขที่ 17

ทัศนียภาพ หมายถึง

ความหมายของทัศนียภาพ

มีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของทัศนียภาพไว้ดังนี้

Ralph Mayer (1969 : 664) ให้ความหมายว่า ทัศนียภาพ คือ ระบบการถ่ายทอดวัตถุ 3 มิติลง บนพื้นระนาบ 2 มิติ ทำให้แลเห็นเป็น 3 มิติ ดังเช่นที่ปรากฏจากมุมมองที่เห็นจริง และความหนาหรือความ ลึกของวัตถุในภาพ 2 มิติจะค่อยๆ ถดถอดลงไปเบื้องหลัง โดยมีความเป็นสัดส่วนกับส่วนอื่น ๆ

ชัยยุทธ (2533 : 229) ให้ความหมายว่า ทัศนียภาพ หมายถึง การเขียนแบบโดยยึดหลักการเห็น ของสายตามนุษย์ เมื่อมองสิ่งของต่าง ๆ โดยเกี่ยวข้องอยู่กับระยะใกล้ - ไกลในการมอง และขนาดของวัตถุ ที่มอง จะเห็นว่าสิ่งที่มีขนาดเท่ากันแต่มองแล้วไม่เท่ากัน สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวมองดูใหญ่ สิ่งที่อยู่ไกลมองดูเล็ก

เลอสม (2534 : 75) ให้ความหมายของทัศนียภาพ ว่าทัศนียภาพหมายถึงการดูที่ว่างจากซ้ายไปขวา บนลงล่าง มีระยะในการมองที่ชัดเจน สายตาจะเคลื่อนจากจุดหนึ่งไปสู่จุดอื่น ๆ ในรัศมีที่มองเห็นได้ การ มองดูทัศนียภาพจะเห็นเป็นลำดับขั้นมากกว่าจะดูระนาบ ที่ว่าง รูปร่างเพียงระดับเดียว

I am art (2538 : 35) ให้ความหมายว่า ทัศนียภาพ คือหลักการที่ใช้ในการเขียนภาพวัตถุสิ่งของ ทิวทัศน์ให้เป็น 3 มิติได้ใกล้เคียงของจริงมากที่สุด

วัฒนะ (2543 : 128) ให้ความหมายว่า เป็นการเขียนภาพ 3 มิติเพื่อแสดงให้เห็นภาพโดยรวมของ งานเมื่อทำการตกแต่งเสร็จแล้ว โดยมีรายละเอียดต่าง ๆ ใกล้เคียงของจริงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น องค์ ประกอบ สัดส่วน สี ฯลฯ ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ผู้ดูเข้าใจแบบได้รวดเร็วขึ้น จากความหมายดังกล่าวข้างต้น พอสรุปได้ว่าการเขียนทัศนียภาพ คือ การแสดงภาพในลักษณะ 3 มิติ การแสดงภาพใกล้เคียงความเป็นจริง ลักษณะของทัศนียภาพจะเปลี่ยนแปลงเสมอ ตามการมอง เห็น เช่น วัตถุอยู่ต่ำกว่าระดับสายตา วัตถุอยู่ในแนวระดับสายตา วัตถุอยู่สูงกว่าระดับสายตา วัตถุอยู่ทาง ซ้ายหรือขวามือ เป็นต้น ในการแสดงแบบภาพจะกำหนดวัตถุให้อยู่ในลักษณะใดก็ได้ตามความต้องการ

ประเภทของทัศนียภาพ

ทัศนียภาพงานออกแบบตกแต่ง ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรม สามารถแบ่งได้

เป็น 2 ประเภท คือ

1. ทัศนียภาพภายใน (Interior Perspective) ได้แก่ ทัศนียภาพที่อยู่ภายในอาคารในห้อง ในส่วนที่มีหลังคาคลุมและมีกำแพงล้อมรอบ

2. ทัศนียภาพภายนอก (Exterior Perspective) ได้แก่ ทัศนียภาพที่อยู่ภายนอกอาคารทำ ให้เห็นรูปทรงของอาคาร ชนิดของหลังคาและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่อยู่ภายนอกอาคาร เช่น ต้นไม้ ถนน ฯลฯ

นาย ณัฐสิทธิ์ จงสถิตย์ไพบูลย์ เลขที่ 27 ม.6

1.สิ่งที่เป็นปัจจัยของการมองเห็นเป็นส่วนต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นภาพ คือทัศนศิลป์แบบใด ?

 ตอบ ทัศนธาตุ .

 http://gotoknow.org/blog/artm6/378803

ประสิทธิ์ ชินวรพิทักษ์ ม.6 เลขที่10

ศิลปะที่รับรู้ได้ด้วยการเห็นคือศิลปะแบบใด

 ตอบ ทัศนศิลป์

http://gotoknow.org/blog/artm6/378803

วรากร นฤนาทมิ่ง ม.6 เลขที่ 11

เราจะทำภาพปะติดได้อย่างไร

ตอบ  นำเราเศษวัสดุมาปะติดลงบนแผ่นภาพด้วยกาวหรือแป้งเปียก

http://gotoknow.org/blog/artm6/378803

ทวี รุ่งเรืองทองทวี ม.6 เลขที่23

สีฟ้า จัดอยู่ในวรรณะอะไร

ตอบ วรรณะเย็น (cool tone)

น.ส. นภัสวรรณ วงศ์วาณิชย์ศิลป์ ม.6 เลขที่ 16

วรรณะสี หมายถึง ??

ผสมออกมาทั้ง 12 สีนั้น สามารถแยกออกเป็นสองกลุ่มตามค่าความเข้มของสี หรือที่เรียกว่าวรรณะของสี (Tone of color) วรรณะของสีก็คือ ค่าความแตกต่างของสีแต่ละด้านของวงจรสีที่แสดงถึงความรู้สึกที่แตกต่างกัน ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับเสียงเพลงหรือเสียงดนตรีก็คือเสียงสูง เสียงต่ำ ที่แสดงออกทางอารมณ์ ที่มีการเคลื่อนไหว มีชีวิตชีวา หรือเศร้าโศกหรือรันทดใจ

สีที่อยู่ในวรรณะร้อน(warm tone color) สีที่อยู่ในวรรณะเย็น(cool tone color)

ได้แก่ สีเหลืองส้ม สีส้ม สีแดง และสีม่วงแดง ได้แก่ สีเขียว สีฟ้า สีม่วงคราม

http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/pimolnut_v/art/sec03p03.html

นายสิทธิชัย แซ่หวาง เลขที่ ม.6

ทัศนียภาพ หมายถึง

ความหมายของทัศนียภาพ

มีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของทัศนียภาพไว้ดังนี้

Ralph Mayer (1969 : 664) ให้ความหมายว่า ทัศนียภาพ คือ ระบบการถ่ายทอดวัตถุ 3 มิติลง บนพื้นระนาบ 2 มิติ ทำให้แลเห็นเป็น 3 มิติ ดังเช่นที่ปรากฏจากมุมมองที่เห็นจริง และความหนาหรือความ ลึกของวัตถุในภาพ 2 มิติจะค่อยๆ ถดถอดลงไปเบื้องหลัง โดยมีความเป็นสัดส่วนกับส่วนอื่น ๆ

ชัยยุทธ (2533 : 229) ให้ความหมายว่า ทัศนียภาพ หมายถึง การเขียนแบบโดยยึดหลักการเห็น ของสายตามนุษย์ เมื่อมองสิ่งของต่าง ๆ โดยเกี่ยวข้องอยู่กับระยะใกล้ - ไกลในการมอง และขนาดของวัตถุ ที่มอง จะเห็นว่าสิ่งที่มีขนาดเท่ากันแต่มองแล้วไม่เท่ากัน สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวมองดูใหญ่ สิ่งที่อยู่ไกลมองดูเล็ก

เลอสม (2534 : 75) ให้ความหมายของทัศนียภาพ ว่าทัศนียภาพหมายถึงการดูที่ว่างจากซ้ายไปขวา บนลงล่าง มีระยะในการมองที่ชัดเจน สายตาจะเคลื่อนจากจุดหนึ่งไปสู่จุดอื่น ๆ ในรัศมีที่มองเห็นได้ การ มองดูทัศนียภาพจะเห็นเป็นลำดับขั้นมากกว่าจะดูระนาบ ที่ว่าง รูปร่างเพียงระดับเดียว

I am art (2538 : 35) ให้ความหมายว่า ทัศนียภาพ คือหลักการที่ใช้ในการเขียนภาพวัตถุสิ่งของ ทิวทัศน์ให้เป็น 3 มิติได้ใกล้เคียงของจริงมากที่สุด

วัฒนะ (2543 : 128) ให้ความหมายว่า เป็นการเขียนภาพ 3 มิติเพื่อแสดงให้เห็นภาพโดยรวมของ งานเมื่อทำการตกแต่งเสร็จแล้ว โดยมีรายละเอียดต่าง ๆ ใกล้เคียงของจริงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น องค์ ประกอบ สัดส่วน สี ฯลฯ ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ผู้ดูเข้าใจแบบได้รวดเร็วขึ้น จากความหมายดังกล่าวข้างต้น พอสรุปได้ว่าการเขียนทัศนียภาพ คือ การแสดงภาพในลักษณะ 3 มิติ การแสดงภาพใกล้เคียงความเป็นจริง ลักษณะของทัศนียภาพจะเปลี่ยนแปลงเสมอ ตามการมอง เห็น เช่น วัตถุอยู่ต่ำกว่าระดับสายตา วัตถุอยู่ในแนวระดับสายตา วัตถุอยู่สูงกว่าระดับสายตา วัตถุอยู่ทาง ซ้ายหรือขวามือ เป็นต้น ในการแสดงแบบภาพจะกำหนดวัตถุให้อยู่ในลักษณะใดก็ได้ตามความต้องการ

ประเภทของทัศนียภาพ

ทัศนียภาพงานออกแบบตกแต่ง ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรม สามารถแบ่งได้

เป็น 2 ประเภท คือ

1. ทัศนียภาพภายใน (Interior Perspective) ได้แก่ ทัศนียภาพที่อยู่ภายในอาคารในห้อง ในส่วนที่มีหลังคาคลุมและมีกำแพงล้อมรอบ

2. ทัศนียภาพภายนอก (Exterior Perspective) ได้แก่ ทัศนียภาพที่อยู่ภายนอกอาคารทำ ให้เห็นรูปทรงของอาคาร ชนิดของหลังคาและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่อยู่ภายนอกอาคาร เช่น ต้นไม้ ถนน ฯลฯ

อ้างอิง http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:otFDHuxH0DkJ:th.wikipedia.org/wiki/

น.ส. วันดี แซ่เยี่ยง เลขที่19 ม.6

สีคู่ ตรงข้าม คืออะไร อะไรบ้าง

ตอบ สีคู่ที่ตัดกันหรือต่างจากกันมากที่สุดเช่น สีเหลืองกับสีม่วง

นางสาว ธัญลักษณ์ แซ่ตั้ง ม. 6 เลขที่ 12

จังหวะ (rhythm)   เป็นความสัมพันธ์ของทัศนธาตุเช่นอะไรบ้าง

ตอบ   เส้น สี รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก

นางสาว ปิยนุช แซ่ชั้น ม. 6 เลขที่ 2

ทัศนธาตุ (visual  elements)คือ

ตอบ  สิ่งที่เป็นปัจจัยของการมองเห็นเป็นส่วนต่าง ๆ  ที่ประกอบกันเป็นภาพ

นางสาว กนกวรรณ แซ่หวอง ม. 6 เลขที่ 18

วรรณะสี (tone) ลักษณะของสีที่แบ่งตามความรู้สึกได้อะไรบ้าง

ตอบ  อุ่นและเย็น

หมดเวลาการส่งงาน ละ

แต่ส่งหลังจากปิดแล้วก็ได้นะ

แต่ได้ครึ่งราคา หรือ 0

นาย มงคล เลี้ยงพันธ์สกุล

โครงสร้างเคลื่อนไหวเป็นงานประเภทใด

ตอบ งานประเภทประติมากรรม

นาย ทัตพล พิพัตจรัส ม6 เลขที่7

สีคู่ที่ตัดกันหรือต่างจากกันมากที่สุดคือสีอะไรบ้าง

ตอบ สีแดงกับสีเขียว สีเหลืองกับสีม่วง สีน้ำเงินกับสีส้ม

น.ส. วิภาวรรณ แซ่กง เลขที่ 9 ม.6

ทัศนธาตุ มีส่วนประกอบอะไรบ้างที่สำคัญ

ตอบ ส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ เส้น น้ำหนัก ที่ว่าง รูปร่าง รูปทรง สี และลักษณะพื้นผิว

วรวิช เลี้ยงพันธุสกุล

ภาพ ปะติด (collage)คือ

ตอบ=เป็นภาพที่ทำขึ้นด้วยการใช้วัสดุต่าง ๆ เช่น กระดาษ ผ้า เศษ

นาย รัฐวิกร ก่อปฏิภาณ เลขที่ 31

" composition of art " คืออะไร

ตอบ. องค์ประกอบศิลป์ หรือทฤษฎีที่เกี่ยวกับการสร้างรูปทรงในงานทัศนศิลป์

นางสาว โสภา แซ่ว่าง เลขที่32 ม.6

งานสื่อผสม (mixed media) เป็นงานออกแบบชนิดใด

ตอบ ทัศนศิลป์

วงสี ธรรมชาติคืออะไร

ตอบ เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่น่ามหัศจรรย์ สีมีอยู่ในแสงแดด เป็นคลื่นแสงชนิดหนึ่ง จะปรากฏให้เห็น เมื่อแสงแดดส่องผ่านละอองน้ำ ในอากาศและเกิดการหักเห ทอเป็นสีรุ้งออกมา สีรุ้งที่เราเห็นในท้องฟ้า มีอยู่ 7 สีคือ ม่วง ม่วงน้ำเงิน น้ำเงิน เขียว เหลือง ส้ม และแดง ดังภาพที่ 1 ถ้าเราน้ำแท่งแก้ว สามเหลี่ยม (Prism) มาให้แสงแดด ส่องผ่าน แท่งแก้วก็จะแยกสี ออกจากแสงให้เห็น เป็นสีรุ้งเช่น เดียวกัน ดังภาพที่ 2 สี แต่ละสี มีความถี่ของคลื่นแสง ไม่เท่ากัน สีแดง มีความถี่ต่ำที่สุด และมีช่วงคลื่นยาวที่สุด คลื่นแสง จะมีความถี่ สูงขึ้น เรื่อย ๆ จากแดงไปส้ม จนถึงม่วงที่มีความถี่ สูงสุด คลื่นแสงที่มีความต่ำกว่าแดง หรือ สูงกว่าม่วง ยังมีอยู่อีก มากมาย เช่น แสง อินฟราเรดที่มีความถี่ต่ำกว่าแดง หรือกว่าแดง หรือแสงอัลตราไวโอเลต ที่มีความถี่ สูงกว่าม่วง แต่ ตาของมนุษย์ในอาจรับความถี่ขนาดนั้นได้ เช่น เดียวกับที่หูของเรา ก็สามารถรับคลื่นเสียง ที่มีความถี่ในช่วงหนึ่งเท่านั้น

สี มีอยู่ 2 ชนิด คือ สีที่เป็นแสง (Spectrum) ได้แก่ สี ที่เกิดขึ้นจากการหักเหของแสง กับ สี ที่เป็นวัตถุ (Pigment) ได้แก่ สีที่มีอยู่ในวัตถุธรรมชาติทั่วไป เช่น พืช สัตว์ แร่ธาตุ ฯลฯ

ในแสงนั้นมี สี ต่างๆ รวมกันอยู่แล้วทุกสี แต่ได้ผสมกันอย่างสมดุล จนกลายเป็นสีขาวใส เมื่อแสงกระทบ วัตถุที่มีสี วัตถุนั้นจะดูดสีทั้งหมด ของแสงไว้ แล้วสะท้อนสี ที่เหมือนกับตัววัตถุเองออกมา เราจึงเห็นสีของวัตถุนั้น ยกตัวอย่างเช่น แสงส่องมาถูกลูกโปร่งสีแดง สีแดงของลูกโป่งจะตอบรับสีแดง ในแสง แล้วสะท้อนสีแดง นั้นเข้าสู่ตาของเรา วัตถุสีขาว จะสะท้อนสีออกมาทุกสี ส่วนวัตถุสีดำ ไม่สะท้อนสีใดเลย มันดูดเก็บไว้หมด

http://www.agro.cmu.ac.th/department/pkt/packaging1.1/PACKAGINGLEARNING5-5.htm

นาย ปรีชา แซ่เจิ้ง เลขที่ 4 ม.6

วงสี ธรรมชาติ (color circle) คือ

ตอบ วงกลมซึ่งจัดระบบสีในแสงสีรุ้งที่เรียงกันอยู่ในธรรมชาติ สีวรรณะอุ่น จะอยู่ในซีกที่มี

สีแดงและเหลือง ส่วนสีวรรณะเย็นอยู่ในซีกที่มีสีเขียว และสีม่วง สีคู่ตรงข้ามกันจะอยู่ตรงกันข้าม

ในวงสี

นายโชคชัย แซ่พาน เลขที่ 25

ทัศนศิลป์ หมายถึง การมองเห็นหรือสิ่งที่พบเห็นในสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นทำให้เกิดความงาม ความพอใจ และเกิดอารมณ์สะเทือนใจ

ความพึงพอใจของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ขี้นอยู่กับวัฒนธรรม ประเพณี สิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ที่ได้สร้างสมมา มนุษย์ถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์จากสิ่งแวดล้อม แล้วสร้างผลงาน ทางศิลปะให้เกิดความงามและมีคุณค่า

ความสำคัญ ทัศนศิลป์ มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ มนุษย์มีความต้องการด้านร่าร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านอารมณ์ ความต้องการเหล่านี้ขึ้นอยู่กับทัศนะของแต่ละบุคคล การมองเห็นความงามของธรรมชาติ ความสงบราบเรียบของท้องทะเลและอื่นๆ เป็นทัศนียภาพ สิ่งที่มองเห็นเกิดความรู้สึกมีคุณค่าของความงามจนเกิดสุนทรียภาพ

ศิลปะทำให้ชีวิตมีความหมาย มนุษย์จะอยู่ได้ด้วยปัจจัย 4 ประการ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และ ยารักษาโรค แต่มนุษย์ก็ยังต้องการ อาหารทางใจ มาช่วยผ่อนคลายความเคร่งเครียดในชีวิตประจำวัน และช่วยพัฒนาอารมณ์ จิตใจจึงจะทำให้ชีวิตนี้มีความสุขสมบูรณ์ได้

อาหารทางใจที่มนุษย์ต้องการ มีการสืบทอดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็คือ ศิลปะนั่นเอง

ศิลปะ เป็นผลงานอันเกิดจากความต้องพากเพียรของมนุษย์ ในอันที่จะสร้างสรรค์ความงาม เพื่อจรรโลงจิตใจและประโยชน์ที่จะใช้สอยได้

การสร้างสรรค์งานศิลปะของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1.วิจิตรศิลป์ สนองความต้องการทางอารมณ์และจิตใจ

2.ศิลปประยุกต์ สนองความต้องการทางด้านประโยชน์ใช้สอย ซึ่งจะกล่าวถึงคุณค่าและการนำไปใช้เพื่อพัฒนาชีวิตและสังคมต่อไป

งานวิจิตรศิลป์ เป็นศิลปะแห่งความงดงาม เพื่อให้มนุษย์เกิดความชื่นชมทางด้านจิตใจ แบ่งเป็น 5 แขนง คือ 1.จิตรกรรม 2.ประติมากรรม 3.สถาปัตยกรรม 4.วรรณกรรม 5.นาฎศิลป์และดุริยางค์ศิลป์

1.จิตรกรรม ผลงานได้แก่ ภาพวาดหรือภาพเขียน และผลงานศิลปะอื่นที่แสดงออกบนพื้นระนาบหรืองานที่มีลักษณะเป็น 2 มิติ

ผู้สร้างสรรค์งานจิตรกรรม คือ จิตรกร เป็นอาชีพที่มีเกียรติ เป็นที่ยอมรับของสังคมทั่วไป เนื่องจากเป็นผู้ที่สร้างงานวาดภาพทั้งกระดาษวาดเขียน ผ้าใบ ฝาผนัง ภาชนะ เครื่องประดับและบนวัตถุอื่น ๆ งานจิตรกรรม มีการสร้างสรรค์หลายรูปแบบ เช่น การเขียนภาพคน ภาพคนเหมือน ภาพดอกไม้ ภาพหุ่นนิ่ง ภาพเรื่องราวการดำรงชีวิต ภาพประกอบเรื่อง เป็นต้น

ศิลปินที่เป็น จิตรกรในสาขาจิตรกรรมได้แก่ เฉลิม นาคีรักษ์ เฟื้อ หริพิทักษ์ ทวี

นันทขว้าง สุชาติ วงศ์ทอง เป็นต้น

2.ประติมากรรม เป็นงานปั้นและแกะสลักด้วยวัสดุที่แปรรูปได้ เช่น ดินเหนียว ดินน้ำมัน ปูนปลาสเตอร์ ไม้ เป็นต้น รวมทั้งการนำมาทุบ ตี เคาะ เชื่อม และหล่อเป็นรูปทรงต่าง ๆ ซึ่งเป็นลักษณะ 3 มิติ

ผู้สร้างสรรค์งานประติมากรรม คือ ประติมากร เป็นอาชีพที่สำคัญ และมีเกียรติเป็นที่ยอมรับของสังคมส่วนรวมอีกอาชีพหนึ่ง โดยทั่วไปจะมีผู้ที่นิยมน้อยกว่าอาชีพจิตรกร แต่ก็สามารถสร้างสรรค์ผลงานอันทรงคุณค่าให้แก่ตนเองและสังคมไม่ด้อยกว่าอาชีพใดๆ

งานที่ประติมากรสร้างสรรค์มีตั้งแต่ผลงานขนาดเล็ก จนถึงขนาดใหญ่ เช่น เหรียญชนิดต่าง ๆ ภาชนะ เครื่องประดับตกแต่งพระพุทธรูป และรูปปั้นอนุสาวรีย์ ซึ่งได้แสดงคุณค่าทางความงามจากรูปร่าง รูปทรง และพื้นผิว ตลอดจนแสงจากธรรมชาติที่ส่องมากระทบผลงานประติมากรรม

ศิลป์ พีระศรี ประติมากรรม ผู้สร้างศิลปินไทย สร้างอนุสาวรีย์พระบรมรูปรัชกาลที่ 6

ที่ สวนลุมพินี อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา และเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร อีกด้วย

3.สถาปัตยกรรม เป็นการออกแบบก่อสร้างอาคารสถานที่ต่าง ๆ เช่นบ้านเรือนอาคารที่ทำการ สนามกีฬา วัด โบสถ์ วิหาร เจดีย์ สถูป พีระมิด เป็นต้น

งานสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าทางวิจิตรศิลป์ หรือความงามตอบสนองความต้องการทางจิตใจ มักจะเป็นสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิม ที่สร้างขึ้นตามหลักศาสนาและความเชื่อถือศรัทธา ส่วนสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่มุ่งประโยชน์ใช้สอยเป็นหลักและจะมุ่งเน้นความงามแบบเรียบง่าย ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบแท่งเหลี่ยมสูงหลายชั้น เนื่องจากพื้นที่ก่อสร้างภาคพื้นดินค่อนข้างจำกัด จึงจำเป็นจะต้องใช้ พื้นที่บนอากาศให้มากที่สุด ศิลปินสาขานี้ทางด้าน สถาปัตยกรรมคือ พลเรือตรี สมภพ ภิรมย์ ประเวศ ลิมปรังสี และภิญโญ สุวรรณคีรี เป็นต้น

 

คุณค่าต่อผู้ชมและสังคมส่วนรวม

- งานจิตรกรรม เป็นศิลปะที่สื่อความงามและความรู้สึกไปสู่ผู้ดูหรือผู้ชื่นชมได้โดยง่าย คุณค่าเบื้องต้น เป็นคุณค่าทางด้านจิตใจในการชมความงาม ความละเอียดอ่อนของเส้นสี แสงเงา และองค์ประกอบของศิลป์ต่างๆ ช่วยผ่อนคลายอารมณ์ และให้คติธรรม แนวคิดในการดำรงชีวิต และยังรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม ศาสนา และประวัติศาสตร์ จากจิตรกรรมฝาผนังต่าง ๆ

- งานประติมากรรม เป็นศิลปะที่สื่อความงามและความรู้สึกไปสู่ผู้ดูหรือผู้ชื่นชมได้ด้วยรูปทรง และพื้นผิว โดยมีแสงสว่างมากระทบให้เกิดเงาจากมิติความตื้นลึกของรูปทรงนั้น ๆ

- งานสถาปัตยกรรม เป็นศิลปะที่ใช้ประโยชน์ใช้สอยมากกว่า เพราะเป็นอาคารสถานที่สูง และเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์นั่นเอง โดยเริ่มจากการดูแลรักษาที่พักอาศัยต่าง ๆ เข่น พระราชวัง โบสถ์ ตำหนัก วัด วิหาร เจดีย์ สถูป เป็นต้น

คุณค่าของผู้ชื่นชมและสังคมส่วนรวม

บทบาทของประชาชนทั่วไปในการใช้ประโยชน์และคุณค่าของสถาปัตยกรรมนับตั้งแต่บ้านเรือน ที่อยู่อาศัย โดยเริ่มต้นจากการดูแลรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในบ้าน การใช้หลักทางศิลปะ และรสนิยมส่วนตัว ตกแต่งบ้านเรือนให้น่าอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประดับตกแตงด้วยต้นไม้ และพื้นที่สีเขียวภายในบ้าน

สำหรับงานทางศิลปะที่มีคุณค่าทางวิจิตรศิลป์ ดังนั้น เราจึงควรร่วมมือกันอนุรักษ์ศิลปะทั้ง จิตรกรรม ประติมากรรม และ สถาปัตยกรรมอันเก่าแก่ไว้สืบต่อไป

นักเรียนที่ให้ความสนใจในการที่นักเรียนได้เรียนวิชานี้ เป็นศิลปะ ที่นักเรียนทุกคนจะต้องมี ทัศนศิลป์ของตนเอง เพื่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและการนำไปใช้ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ต่อไป

http://www.kr.ac.th/ebook2/pradit/02.html

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท