วันอาสาฬหบูชา วันสำคัญของชาวพุทธ


วันอาสาฬหบูชา วันสำคัญของชาวพุทธ

            วันอาสาฬหบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน๘ วันอาสาฬหบูชาเป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก โดยการแสดงปฐมเทศนา โปรดพระปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน จนพระอัญญาโกณฑัญญะได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือว่าวันนี้เป็นวันแรกที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นครบองค์พระรัตนตรัย วันอาสาฬหบูชามีเหตุการณ์สำคัญในทางพระพุทธศาสนาอยู่ ๓ ประการคือ

         ๑.  เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนา โดยทางแสดงพระปฐมเทศนา คือ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร   ประกาศสัจธรรมอันเป็นองค์แห่งพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณที่พระองค์ตรัสรู้ ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ สรรพสัตว์ทั้งหลาย

   การแสดงพระปฐมเทศนา ได้ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์  ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันคือสารนาถ เมืองพาราณสี พระธรรมที่แสดงคือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เมื่อเทศนาจบ พระโกณฑัญญะ   หนึ่งในปัญจวัคคีย์ ผู้ประกอบด้วย พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานาม และพระอัสสชิ  ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม มีความเห็นแจ้งชัดว่า

ยํ กิญฺจิ สมุทยธมฺมํ      สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ

สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา    สิ่งใดสิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา

          ๒. เป็นวันแรกที่บังเกิดพระอริยสงฆ์สาวกขึ้นในโลก คือ พระโกณฑัญญะ เมื่อได้ฟังพระปฐมเทศนาจบ ได้ดวงตาเห็นธรรม ได้ทูลขออุปสมบท และพระพุทธเจ้าได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีเอหิภิกษุอุปสัมปทา ในวันนั้น

                   ภาพจากอินเตอร์เน็ต

           ๓. เป็นวันแรกที่บังเกิดพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตน และพระสังฆรัตนะ ขึ้นในโลกอย่างสมบูรณ์บริบูรณ์

            สำหรับประเทศไทยวันอาสาฬหบูชานั้นแต่เดิม พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยจะมีพิธีเฉลิมฉลองวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเพียงวันเดียว คือวัน วิสาขบูชา ต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงโปรดให้มีการฌแลิมฉลองเนื่องในวันมาฆบูชา และมาถึง พ.ศ. ๒๕๐๑ เมื่องานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษเสร็จแล้ว ทางคณะสงฆ์เห็นว่า วันแสดงปฐมเทศนา คือธัมมจักกัปปวัตนสูตร ก็เป็นวันที่สำคัญมาก น่าจะได้กำหนดให้มีพิธีบูชาใหญ่ ทางราชการก็เลยตกลงเห็นชอบกับคณะสงฆ์ ประกาศให้มี วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นอีกวัน คือ วันอาสาฬหบูชา

            พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยถือปฏิบัติบูชาในวันอาสาฬหบูชามาตั้งแต่กรุงสุโขทัย โดยบำเพ็ญกุศลต่อเนื่อง กันไป ๒ วัน คือ วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีการกำหนดไว้ในกฏมณเฑียรบาล ให้เป็นพระราชพิธีหนึ่งในพระราชพิธี ๑๒ เดือน เรียกว่า "พระราชพิธีเข้าพระวษา" ต่อมาเปลี่ยนเป็น "พระราชพิธีอาษาฒ" ในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า มีกล่าวถึงพระราชพิธีนี้แต่เพียงย่อๆ ว่า "เดือน ๘ พระราชพิธีอาษาฒ พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาทรงบำเพ็ญ พระราชกุศลบวชนาค เป็นภิกษุบ้าง สามเณรบ้าง รวมเท่าจำนวนพระชนมายุ มีการมหรสพสมโภชพระพุทธสุรินทร ๓ วัน ๓ คืน" ทรงหล่อเทียนพรรษาแล้ว ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ส่งไปถวายเป็นพุทธบูชาตามพระอาราม ทั้งในกรุงและหัวเมือง" พระราชพิธีนี้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน โดยงดเฉพาะมหรสพสมโภชเท่านั้น

หมายเลขบันทึก: 378779เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2010 16:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 17:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ

                                

    ได้อ่านทวนความเป็นมาทางพระพุทธศาสนาอีกครั้ง ในว้นอาสาฬหบูชา  ขอบคุณมากค่ะ

            เรื่องหนังสือที่ในเมืองเชียงใหม่มีจุดรับไหมค่ะ ได้ฝากลิงค์ที่ คุณพี่ใหญ่ (นงนาท สนธิสุวรรณ) ฝ่ายกิจกรรมธนาคารไทยพาณิชย์ ด้วยแล้วนะคะ เพราะธนาคารมีโครงการแจกฯหนังสือด้วยค่ะ

                

P
อยากให้คนไทยได้มีความรู้เรื่องราวเกี่ยวกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเพิ่มมากขึ้น
  เรื่องหนังสือที่พูดถึงหมายถึง หนังสือที่ผมเคยเขียนขอรับบริจาคใช่ไหมครับ
 ถ้าจะกรุณา ก็ให้ฝากไว้ที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ วัดสวนดอก ได้ครับ
  ถ้าฝากไว้แล้วกรุณาส่งอีเมล์มาแจ้ง จะได้ให้เจ้าหน้าที่ไปรับครับผม
เจตน์สฤษฏิ์ พูนศรีวิวัฒน์

สวัดดีครับผมเด็ก ม.1 อยากจะถามว่า

สมัยรัชกาลใดที่กำหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท