จีน-ญี่ปุ่น : เปรียบเทียบการพัฒนาประเทศของจีนและญี่ปุ่นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษ์ 19 - ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ฉบับย่อ



            จีนอ่อนแอในขณะที่ชาติตะวันตกเข้ารุกราน แต่จีนไม่ยอมรับว่าตนอ่อนแอ จึงไม่ยอมทำการปฏิรูปประเทศในทิศทางที่ควนจะเป็น ในขณะเดียวกันญี่ปุ่น ยอมรับว่าตนอ่อนแอ และรีบทำการปฏิรูปประเทศทันที ขยายความได้ดังนี้

จีน 

            จีนพยายามทำความเข้าใจกับปัญหาต่าง ๆ  เพื่อหาทางแก้ไขเพื่อความจำเป็นจะต้องปรับปรุงประเทศ จีนมองว่าปัญหาความไม่มั่นคงภายในเป็นภัยที่ร้ายแรงประดุจโรคร้ายภายในร่างกาย แต่ภัยจากไม่มั่นคงจากภายนอกประดุจโรคที่เกิดกับอวัยวะภายนอก จึงไม่ยอมรับว่าตนอ่อนแอ จีนจึงเลือกแก้ไขปัญหาภายใน

            เริ่มในรัชสมัยของจักรพรรดิถงจือ จนถึงจักรพรรดิกวางสู คณะผู้นำการฟื้นฟูประเทศคือราชสำนักซึ่งนำโดยสมเด็จพระพันปีหลวง และเจ้านายองศ์สำคัญเช่น พระองศ์เจ้ากุ้ง จุดมุ่งหมายสำคัญคือรักษาสถานะเดิมของราชวงศ์ และรักษาอารยธรรมอันดีงามของจีน  และพัฒนาจีนให้ทันสมัยแบบตะวันตก

              -  ฟื้นฟูระบบการสอบคัดเลือกเข้ารับราชการ มีการลงโทษผู้ประพฤติมิชอบ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการช่อราษฎร์บังหลวง

              -  เรียนรู้ศิลปวิทยาการจากตะวันตก ส่งนักศึกษาไปศึกษาต่างประเทศ แต่นักศึกษาเหล่านั้นก็กลับมาเป็นภัยต่อราชบัลลังก์ภายหลัง

              -  พัฒนาอุตสาหกรรมหนักเน้นประโยชน์ด้านการทหาร เช่น อู่ต่อเรือ ระบบการสื่อสารคมนาคม

              -  เสริมสร้างกำลังทางการทหารตามแบบตะวันตก ประสบความสำเร็จกับการปราบกบฏภายในประเทศแต่ล้มเหลวกับสงครามต่างชาติ

            การแก้ไขโดยการฟื้นฟูถือว่าประสบความล้มเหลว เพียงแต่เป็นต่ออายุราชวงศ์ให้ยาวขึ้นเท่านั้น

 

ญี่ปุ่น 

             ส่วนญี่ปุ่นยอมรับว่าตนเองอ่อนแอ จึงต้องรูปทำการปฏิรูประเทศ เริ่ม ตั้งแต่ ค.ศ. 1871 – 1945 ได้รับการสนับสนุนจากชนทุกชั้นของญี่ปุ่น

            ญี่ปุ่นดำเนินนโยบายเพื่อทำให้ญี่ปุ่นมีความั่นคงและแข็งแรง โดยพัฒนาประเทศให้เจริญตามแบบอย่างอารยประเทศ

 

ด้านเศรษฐกิจ  

                -          ตั้งโรงงานถลุงเหล็ก ต่อเรือเดินสมุทร การสร้างทางรถไฟ เนื่องจากญี่ปุ่นเร่งพัฒนาประเทศให้มีความทันสมัย รัฐบาลจึงเข้ามารับภาระการจัดสร้างทางรถไฟ โทรเลข โทรศัพท์ ให้เงินอุดหนุนภาคเอกชนในการพัฒน

                -          ลัทธิบุชิโดยังมีส่วนสำคัยในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเพราะสร้างความเป็นชาตินิยมให้กับคนในชาติ ให้เร่งแขงขันสร้างความเป็นหนึ่งของชาติญี่ปุ่น

 

ด้านการปกครอง 

               -          พัฒนาระบบประชาธิไตย ในปี 1889 ได้มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้น โดยใช้แนวทางของจักรวรรดิเยอรมัน แต่ก็ประสบปัญหาอยู่บ้างในช่วงต้น

               -          ยกเลิกระบอบศักดินาสวามิภักดิอย่างเป็นทางการ ที่ดินกลายเป็นของรัฐและถูกจัดแบ่งไปให้ชาวนา เสียภาษีให้แก่รัฐแทนที่จะเสียให้กับเจ้าผู้ครองนครและขุนนาง ส่วนพวกไดเมียวและซามูไรจะได้รับบำนานยังชีพ

 

การศึกษา 

              -          ปี ค.ศ. 1871 รัฐบาลได้ตั้งกระทรวงศึกาธิการและสร้างโรงเรียนขึ้นมากมายโดยใช้งบของรัฐ ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศแรกในทวีปเอเชียที่มีการศึกษาภาคบังคับ

              -          กำหนดหลักสูตรระดับมัถยมและการศึกษาขั้นสูงเอาไว้อย่างเข้มงวด

              -          มีการศึกษาวรรณกรรมโบราณของจีน ปรัชญาขงจื้อ ภาษาและประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น สิ่งเหล่านี้สร้างความเป็นชาตินิยมให้กับชาวญี่ปุ่น จนนำไปสู่ลัทธินิยมทหารในที่สุด ดังนั้นแนวคิดการสร้างจักรวรรนิยมจึงได้เกิดขึ้น

 

กฏหมายและการต่างประเทศ 

             -          พัฒนาทางด้านกฎหมายและการทูตเพื่อแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม (สิทธิสภาพนอกอาณาเขต อัตราพิกัดทางศุลกากร) โดยการส่งผู้มีความรู้ความสามารถออไปเจรจา

 

การทหาร 

            -          การเสริมกำลังกองทัพให้แข็งแรง ตามแบบอย่างเยอรมัน

            -          ขายอธิพลไปทั่วเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยการทำสงคราม แต่ถึงแม้จะแพ้สงคราม แต่ญี่ปุ่นก็ยังพัมนาประเทศต่อไปได้โดยการช้วยเหลือของสหรัฐอเมริกา

 

การพัฒนาประเทศหลังการพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2  

          สิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ.1945) สหรัฐอเมริกาเข้ามามีอำนาจเหนือญี่ปุ่น ห้ามญี่ปุ่นพัฒนาทางด้านการทหาร จัดให้มัฐธรรมนูญฉบับปี ค.ศ. 1946 ที่มีหลักการของประชาธิไตยเป็นมูลฐาน

           -          ญี่ปุ่นทำการปฏิรูประเทศ โดยการออกกฏหมายห้ามผูกขาดทางการค้า ส่งเสริมการตั้งสมาคมกรรมกรต่าง ๆ

           -          ปฏิรูปการเป็นเจ้าของที่ดิน ให้ประชาชนมีที่ดินทำกินในราคาถูก

           -          กระจายอุตสาหกรรมไม่ให้ตกอยู่ในอำนาจของไซบัสสุ

           -          การไม่ต้องใช้งบประมาณทางการทหาร ทำให้ญี่ปุ่นทุ่มลงในการพัฒนา เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ การศึกษา สาธารณะสุขได้อย่างเต็มที่

 

          ปี ค.ศ. 1951  ญี่ปุ่นทำสัญญาสันติภาพสิ้นสุดการยึดครองจากสหัฐอเมริกา และหลังจากนี้ไป ญี่ปุ่นได้เร่งพัฒนาประเทศจนกลายเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของเอเชียในด้านเศรษฐกิจในที่สุด

 

วาทิน ศานติ์ สันติ : เรียบเรียง

 

จันทร์ฉาย ภัคอธิคม. ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกสมัยใหม่ = History of modern East Asia : HI 461. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2544. 

มาตยา อิงคนารถ. ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่ = History of modern China : HI 462. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2540.

คำสำคัญ (Tags): #เอเชียตะวันออก
หมายเลขบันทึก: 378649เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2010 20:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 07:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ  ได้ความรู้เพิ่มเติมได้มากทีเดียว  แถมได้ฟังเพลงที่ชอบและหาฟังยาก  อย่างนี้ถ้ามีรายการประจำจะติดตามครับ คุ้มทุนเวลาครับ ได้กองทุนปัญญาและกองทุนอารมณ์สุนทรีย์ที่สุดยอดครับ  ขอชื่นชม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท