วรรณกรรม : มหากาพย์มหาภารตะ


ภูมิหลัง

            มหากาพย์มหาภารตะและมหากาพย์รามยณะเป็นทั้งวณรกรรมและคัมภีร์ทางศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูประเภทสมฤติ ซึ่งแปลว่าเป็นสิ่งที่จดจำสืบทอดต่อกันมา โดยชั้นแรกใช้วิธีการสืบทอดแบบมุขปาฐะ ซึ่งต่อมาจึงได้มีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร รามยณะ และ มหาภารตะ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมยุตธ์ของชาวภรตประเทศทั้งคู่ เรื่องแรกแสดงการสู้รบระหว่างชาวอินเดียที่ยกเข้ามายึดครองชมพูทวีป ด้วยการขับไล่ชาวพื้นเมืองเดิมที่ถูกกดลงเป็นเป็นมิละขุ ยักษ์ รักษส ฯลฯ ออกไปจนถึงลังกาทวีป โดยที่ชาวพื้นเมืองที่เข้ามาสมัครเป็นพรรคพวก ก็ไดรับเกียรติให้เป็นพญาวานร ทั้งนี้โดยมีพื้นเพให้ได้สมพงศ์กับฝ่ายอารยันบ้าง เช่น มีบิดาเป็นเทวดา เป็นต้น ส่วนเรื่องหลังเป็นการสู้รบระหว่างชาวอารยันด้วยกันเองหลังจากที่ยึดครองชมพูทวีปได้โดยตลอดแล้ว

           มหากาพย์ภารตะได้ชื่อว่าเป็นมหากาพย์ที่ยาวที่สุดในโลก (อ้างแล้ว ดูคำนำ) จารึกสมัยคุปตะ (ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์, ๒๕๔๖ : ๖๐) รจนาเป็นคำฉันท์ รวมกันทั้งสิ้น ๑๐๐,๐๐๐ โศลก คิดเป็นบรรทัดประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ บรรทัด เนื้อเรื่องแบ่งเป็นตอน ๆ แต่ละตอนเรียกว่าบรรพ มีด้วยกันทั้งสิ้น ๑๘ บรรพ (กรุณา – เรื่องอุไร กุศลาสัย, ๒๕๕๒ : (๑๗))  กล่าวกันว่าผู้แต่งมหากาพย์เรื่องนี้คือ ฤๅษีกฤษณะ ไทวปายนะ วยาส เหตุที่มีความยาวมากเช่นนี้เพราะมีเรื่องย่อยอยู่มากมายแทรกอยู่ในเรื่องใหญ่ซึ่งเป็นเรื่องสงครามการแย้งชิงอำนาจระหว่างลูกพี่ลูกน้องตระกูลปานฑพและเการพ จากการคำนวณของผู้เชี่ยวชาญซึ่งใช้หลักบานทางโบราณคดีเทียบเคียงกับทางเอกสาร สงครามนี้อาจเกิดขึ้นในช่วง ๙๐๐ ปีก่อนคริสตกาล (ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์, ๒๕๔๖ : ๖๐)  เรื่องย่อยที่สอดแทรกอยู่ในมหากาพย์มหาภารตะเช่น  ศกุนตลา (รจนาโดยกาลิทาส) สาวิตรี พระนล และนางทมยันตี เรื่องย่อยที่นับว่าเป็นหัวใจสำคัญคือภควัตคีตา

           ภควัตคีตา เป็นบทสนทนาระหว่างอรชุนกับพระกฤษณะซึ่งรับอาสาขับรถศึกให้ในศึกกุรุเกษตร ซึ่งอรชุนเกิดลังเลใจที่จะต้องเห็นเหล่าบรรดาญาติพี่น้องจะต้องมารบราฆ่ากัน พระกฤษณะ จึงทรงปรากฏพระวรกายในรูปของพระวิษณุเทพ (พระนารายณ์) แล้วประทานอุศาสน์คือภัควคีตา หรือบทเพลงแห่งภควัตให้แก่อรชุนจนในที่สุดอรชุนได้สติตัดสินใจรบ

มหากาพย์ภารตะจากแดนภารตะสู่ประเทศไทย

          สำหรับประเทศไทยการแพร่หลายของมหากาพย์ภารตะนั้นไม่เป็นที่นิยมเท่ากับมหากาพย์รามยณะ  อาจเป็นเพราะมหากาพย์มหาภารตะเป็นเรื่องราวของการรบกันในหมู่เครือญาติ ซึ่งชาวไทยให้ความสำคัญกับหมู่เครือญาติเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในสบันพระมหากษัตริย์ที่มาแค่ครั้งสุโขทัยได้พยายามสร้างความสามัคคีในหมู่ราชวงศ์ มีการสร้างพระพุทธรูปปางห้ามญาติ เพื่อเตือนญาติวงศ์ให้สามัคคีไม่แย่งชิงราชสมบัติต่อกัน  ดังนั้นหลักฐานความนิยมของมหากาพย์มหาภารตะจึงปรากฏในเพื่อนบ้านเช่น ชวา และเขมรเป็ญส่วนใหญ่ ดังปรากฏหลักฐานเป็นภาพสลักนูนต่ำที่ระเบียงคตทิศตะวันตก ด้านทิศใต้ของปราสาทนครวัดประเทศกัมพูชา (ก่อสร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ (พ.ศ. ๑๖๕๐ – ๑๖๙๓) จุดประสงค์เพื่อสร้างอุทิศถวายแก่พระวิษณุเทพ) กล่าวคือ ภาพสลักมีความยาว ๔๙ เมตร เล่าเรื่องขณะการสู้รบ ตระกูลเการพอยู่ทางด้านซ้าย ตระกูลปานฑพอยู่ทางด้านขวา ขอบผนังทั้งสองด้านเป็นภาพของทหารแต่ละฝ่ายยืนเรียงเป็นแถวกันเป็นระเบียบ มีนายทหารบนรถม้าศึกและหลังช้าง มีภาพตังละครคือภีษมะแม่ทัพของเการพ อรชุนแม่ทัพของปานฑพ และพระกฤษณะสารถีของอรชุน (Michale Freeman and Claude Jacquse, 2006 : 58 – 59)  ในประเทศไทยปรากฏภาพสลักที่ทับหลังทางด้านทิศเหนือของห้องครรภคฤหะที่ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ในตอนพิธีสยมพรของนางทีราปตีโดยการยิงนู ผู้ชนะในครั้งนี้คืออรุชุนผู้ปอมตัวเป็นพราหมณ์ (ปราสาทหิน, ๒๕๕๐ : ๔๖) ส่วนมหากาพย์รามยณะนั้นเป็นที่นิยมมากกว่าเพราะแบ่งแยกฝ่ายธรรมะกับฝ่ายอธรรมชัดเจน จึงปรากฏหลักฐานความนิยมมกากมายเช่นภาพจิตรกรรมฝาผนังระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม การแสดงโขน เป็นต้น

            วีระ ธีระภัทร (๒๕๕๐) กล่าถึงประวัติการศึกษามหากาพย์มหาภารตะในประเทศไทยว่า  ต้นฉบับมหาภารตะที่เชื่อว่าเป็นต้นฉบับเต็ม แปลจากโศลกภาษาสันสกฤตมาเป็นภาษาอังกฤษ คือต้นฉบับ The Mahabharata ของ Kisari Mohan Ganguli ที่ใช้ความอุตสาหะทุ่มเทแปลอย่างต่อเนื่องเป็นเวลายาวนานถึง ๓๐ ปี และทยอยตีพิมพ์จนเสร็จ เข้าใจว่าต้นฉบับภาษาอังกฤษร้อยแก้วของกังกุลีนี่แหละที่แพร่หลายที่สุด และผู้รู้ชาวไทยก็คงจะใช้ต้นฉบับร้อยแก้วภาษาอังกฤษเล่มนี้เป็นฉบับหลักใน การแต่งหนังสือ บทกลอน หรือความเรียงที่ได้รับการยกย่องในเวลาต่อมา ประเทศไทยมีการศึกษาค้นคว้ามหากาพย์มหาภารตะตั่งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ มีประจักษ์พยานเป็นหนังสือหลายเล่ม เช่น วินิจฉัยเรื่องกฤษราสอนน้อง พระราชนิพนธ์ของราชการที่ ๕ และ กฤษณาสอนน้องของกรมพระปรมานุชิตชิโนรส หนังจากนี้ก็ได้มีการแปลและเรียบเรียงมหากาพย์มหาภารตะมากมายเช่น (http://th.wikipedia.org/wiki/มหาภารตะ.วันที่ค้นข้อมูล : ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓).

         

คุณค่าของมหากาพย์ภารตะ

            ๑.      มีประโยชน์ทั้งในด้านศาสนาและวัฒนธรรม เพราะเสนอเรื่องคุณค่าของความดีและโทษของความชั่ว ให้ความสำคัญในเรื่องวรรณะและการปฏิบัติตนตามแต่ละซึ่งเป็นหลักสำคัญของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู สอนเรื่องความภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าซึ่งจะนำมนุษย์ไปสู่ความหลุดพ้น ในขณะเดียวกันมหากาพย์ภารตะยังได้สอนถึงทางสายกลางที่ไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นในระบบวรรณะซึ่งในสมัยอินเดียโบราณถือว่ามีเคร่งตึงมาก ยกตัวอย่างได้จาก วนบรรพ (บรรพที่ ๓) ครั้นที่พี่น้องปานฑพได้ระหกระเหินอาศัยอยู่ในป่าอันเนื่องมากจากเสียบ้านเมืองให้แก่ทุรโยชน์ฝ่ายเการพ ครั้งนั้น ท้าวยุธิษฐิระพี่คนโตของตะกูลปานฑพได้สนธนาธรรมกับพระนารายณ์เมหาเทพที่จำแลงแปลงกายมาทดสอบปัญญาของท้าวเธอ พระนารายณ์ได้ถามเรื่องคุณสมบัติของพราหมณ์ว่า วรรณะศูทรจะเปลี่ยนเป็นวรรณะพราหมณ์ได้หรือไม่ ท้าวยุธิษฐิระได้ตอบว่า

            “...การที่คนเราจะเป็นพราหมณ์หรือศูทรนั้น มิใช่อยู่ที่ชาติกำเนิดหากอยู่ที่ความประพฤติและคุณสมบัติประจำตัวของผู้นั้นเอง...ผู้ที่เกิดในวรรณะต่ำ หากมีคุณธรรมประจำใจก็ประเสริฐเสียยิ่งกว่าผู้ที่เกิดในวรรณะสูงอีก” (กรุณา – เรื่องอุไร กุศลาสัย, ๒๕๕๒ : ๑๐๒ – ๑๐๓)

            สอนเรื่องบาปบุญคุณโทษ ผลจากการกระทำซึ่งสอดแทรกอยู่ในหลาย ๆ บท ที่เด่นชัดคือ มหาปรัสถานิกบรรพ (บรรพที่ ๑๗) กล่าวยุธิษฐิระสละราชสมบัติและออกผนวชพร้อมเหล่าพี่น้องปาณฑพและนางเทราปตี ทั้งหมดออกจาริกแสวงบุญไปยังที่ต่างๆ จนกระทั่งทั้งหมดได้พยายามไต่เขาหิมาลัยเพื่อไปสู่สวรรค์ นอกจากยุธิษฐิระแล้ว ทุกคนล้วนสิ้นชีวิตระหว่างการไต่เขา การชิ้นชีวติของแต่ละคน ภีมะผู้น้องได้ถามยุธิษฐิระผู้พี่กว่าเกิดมาจากสาเหตุใดทั้ง ๆ ที่ทุกคนล้วนแต่เป็นคนดี ท้าวยุธิษฐิระได้ตอบว่าเกิดจากผลกรรมของแต่ละคนคือ นางเทราปทีชายาของทั้ง ๕ พี่น้องปานฑพลำเอียงรักอรชุนมากกว่าพี่น้องอีก ๔ คน สหเทพน้องคนสุดท้องตายเพราะความทะนงในความฉลาดของตนมากเกินไป นกุลน้องคนที่ ๔ ตายเพราะคามทะนงในความวามของตนมากเกินไป อรชุนปานฑพลำดับที่ ๓ ตายเพราะมุสาวาทเพราะได้สาบานว่าจะฆ่าสตรุด้วยการตีให้ตายเพียงครั้งเดียว แต่ทว่าทำไม่สำเร็จจึงกลายเป็นสุสาวาทอันเป็นบาป ภีมะน้องคนรองตายเพราะมีนิสัยด่าทอผู้อื่นชอบอวดดี ทรุโยชน์ตายเพราะบาปกรรมที่ตนได้กระทำต่อพี่น้องปานฑพ (ส.พลายน้อย, ๒๕๔๖ : ๑๒๙ – ๑๓๖) กฤษณะตายเพราะลำเอียงเข้าข้างฝ่ายพี่น้องปานฑพ เป็นต้น

            สอนหลักราชธรรมหรือหน้าที่ซึ่งราชาที่ดีพึงยึดเป็นแนวทางในการปฏิบัติ เช่นใน ศานติบรรพ (บรรพที่ ๑๒) ภีษมะ ผู้มีศักดิ์เป็นปู่ของทั้งฝ่ายปานฑพและเการพได้ให้โอวาทแก่ท่าวยุธิฐธิระในเรื่องหน้าที่ของพระราชาก่อนสิ้นใจ เช่นหลักทศพิศราชธรรม เป็นต้น เป็นที่น่าสังเกตว่าในศานติบรรพจะมีควายาวที่สุด (http://th.wikipedia.org/wiki/มหากาพย์ภารตะ วันที่สืบค้นข้อมูล : ๑๑ กรกฏาคม ๒๕๕๓) จึงกล่าวได้ว่า ผู้รจนาให้ความสำคัญกับความสันติสุขและหลักการปฏิบัติตนของพระราชามากกว่าการสู้รบที่ทุ่งกุรุเกษตร

             ๒.      เป็นวรรณกรรมของทุกชนชั้น ในยุคสมัยที่ศาสนามีความสำคัญต่อชาวอินเดียทุกชนชั้น ตำรา นิทาน บทสวดมนต์ หรือแม้แต่นิทานปรัมปราเป็นสิ่งที่สงวนไว้ของแต่ละตระกูล สืบทอดจากสู่รุน จะไม่ถ่ายถอดข้ามตระกูล การบันทึกก็จะถูกบันทึกด้วยอักษรที่คนสามัยไม่สามารถอ่านได้เช่นเทวนาครี และเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับคนวรรณะต่ำ แต่มหากาพย์ภารตะเป็นวรรณกรรมที่เข้าถึงทุกชนชั้นวรรณะ มหากาพย์ภารตะเปิดให้คนทุกวรรณะอ่านและฟังได้ ให้หลักธรรม ความรู้ และความบันเทิงต่อมหาชน เรื่องย่อยที่แทรกเพิ่มเป็นวิธีที่กวีผู้เล่าไดเสอดแทรกเป็นตัวอย่างเพื่ออธิบายความหมายของเรื่องใหญ่ให้กระจ่าง เช่น การเสียบ้านเสียเมืองของยุธิฐธิระอันเนื่องมากจากการพนัน ผู้อ่านผู้ฟังจึงเข้าใจเนื้องหาสาระของเรื่องได้ดี เกิดความซาบซึ่งในคุณธรรม และรังเกียจความชั่วร้าย เป็นการยกระดับจิตใจและให้การศึกษาในสมัยโบราณ (ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์, ๒๕๔๕ : ๖๑ – ๖๒)

             ๓.      เข้าใจถึงวิถีชีวิตประวัติศาสตร์ของอินเดียมหากาพย์ภารตะเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงวิธีการอันเป็นแบบฉบับดั่งเดิมของชาวอินเดีย ในการสังเคราะห์ทุกชนชั้นให้มีความเจริญก้าวหน้าทางวัฒนธรรมในระดับต่าง ๆ กัน นับได้ตั่งแต่ชนชั้นที่มีสติปัญญาสูงลงมาถึงระดับชาวชนบทที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ช่วยให้เข้าใจเคล็ดลับของชาวอินเดียโบราณในการรักษาไว้ซึ่งสังคมอันประกอบด้วยเผ่าพันธุ์นานาเชื้อชาติที่แบ่งออกเป็นหลายชั้นวรรณะ ช่วยให้เราเข้าใจถึงการประสานความแตกแยกขัดแย้งของกลุ่มชนเหล่านั้น ช่วยให้เราเข้าใจถึงการปูพื้นฐานโดยทั่วไปในการดำเนินชีวิตอย่างมีศีลธรรมของชาวอินเดียโบราณ มหากาพย์ภารตะมีเจตนาอย่างจริงจังที่จะสร้างเอกภาพให้เกิดขึ้นในความรู้สึกนึกคิดของประชาชน ทั้งยังสามารถขจัดความขัดแย้งทั้งหลายทั้งมวลได้อีกด้วย (กรุณา – เรื่องอุไร กุศลาสัย, ๒๕๔๔ : ๙๗) หนังสือ The Gazeatteer of India ได้กล่าวถึงคุณค่าของมหากาพย์ภารตะในแง่มุมประวัติศาสตร์ว่า

           “นักวิชาการต่างเห็นตรงกันว่า พื้นบานขอเรื่องราวของมหากาพย์นั้นมีรากฐานมาจากข้อเท็จจริง มันมีคุณค่าอย่างมิอาจประเมินได้ต่อการรื้อฟื้นประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมของคนในยุคนั้นขคึ้นมาใหม่” (ราโมฮาน คานธี, ๒๕๕๑ : ๙)  

           เซอร์เอ็ดวิน อาร์โนลด์ ผู้รจนามหากาพย์มหาภารตะจากภาสันกฤตเป็นภาษาอังกฤษกลาวถึงความสำคัญในแง่ประวัติศาสตร์ของมหากาพย์ชิ้นสำคัญนี้ว่า

             “กวีนิพนธือันน่ามหัศจรรย์ที่สุดชิ้นนี้ บรรจุไว้ซึ่งประวัติศาสตร์ของอินเดียโบราณแทบจะในทุกแง่ทุกมุมเท่าที่จะค้นคว้าหาได้ โลกของชาวฮินดุซึ่งมีลักาณะพิเศษ พร้อมด้วยรายละเอียดอันไม่มีที่สิ้นสุด...” (กรุณา – เรื่องอุไร กุศลาสัย, ๒๕๕๒ : (๑๗))

            ยวาหระลาล เนห์ลรู (๒๕๔๙ : ๒๑๑) กล่าวถึงความสำคัญในแง่ประวัติศาสตร์ที่ทำให้เกิดความเป็นเอกภาพของชาวอินเดียจากมหากาพย์มหาภารตะว่า

           “[มหากาพย์มหาภารตะ] ได้มีการพยายามอย่างจริงจังที่จะย้ำถึงเอกภาพอันเป็นรากฐานของประเทศอินเดีย หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ภาตวรรษ ซึ่งเกิดจากพระนามของท้าวภรต ผู้มีนิยายปรัมปรากล่าวว่า เป็นผู้ให้กำเนิดแก่ชนชาติอินเดีย  ชื่ออีกอย่างหนึ่งของชาวอินเดียซึ่งปรากฏว่ามีใช้กันมาก่อนคือ อารยวรรต แปลว่าถิ่นของชาวอารยัน...”

           ๔.      ให้ความรู้ถึงศาสตร์โบราณของอินเดียทั้งในด้านการรบ การทูต ธรรมเนียมปฏิบัติในการศึกสงคราม พิชัยสงคราม กฎหมาย การเลือกทำเลที่ตั้งและการสร้างเมือง ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ได้ถูกถ่ายทอดออกไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วเอเชียโดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย พม่า เวียดนาม เป็นต้น

           ๕.      ในขณะที่สังคมอินเดียโบราณที่ถูกครอบงำด้วยหลักธรรมในคัมภีร์พระเวท ซึ่งเรื่องตาง ๆ ในคัมภีร์ล้วนเป็นคำสอนที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่สามารถบิดเบือนหรือเปลี่ยนแปลงได้ โดยเฉพาะเรื่องวรรณะ แต่มหากาพย์ภารตะกลับเป็นกบฏทางความคิดโดยสอนเรื่องทางสายกลางที่ไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นในระบบวรรณะซึ่งในสมัยอินเดียโบราณถือว่ามีเคร่งตึงมาก ยกตัวอย่างได้จาก วนบรรพ (บรรพที่ ๓) ครั้นที่พี่น้องปานฑพได้ระหกระเหินอาศัยอยู่ในป่าอันเนื่องมากจากเสียบ้านเมืองให้แก่ทุรโยชน์ฝ่ายเการพ ครั้งนั้น ท้าวยุธิฐธิระพี่คนโตของตะกูลปานฑพได้สนธนาธรรมกับพระนารายณ์เมหาเทพที่จำแลงแปลงกายมาทดสอบปัญญาของท้าวเธอ พระนายณ์ได้ถามเรื่องคุณสมบัติของพราหมณ์ว่า วรรณศูทรจะเปลี่ยนเป็นวรรณะพราหมณ์ได้หรือไม่ ท้าวยุธิฐธิระได้ตอบว่า

           “...การที่คนเราจะเป็นพราหมณ์หรือศูทรนั้น มิใช่อยู่ที่ชาติกำเนิดหากอยู่ที่ความประพฤติและคุณสมบัติประจำตัวของผู้นั้นเอง...ผู้ที่เกิดในวรรณะต่ำ หากมีคุณธรรมประจำใจก็ประเสริฐเสียยิ่งกว่าผู้ที่เกิดในวรรณะสูงอีก” (กรุณา – เรื่องอุไร กุศลาสัย, ๒๕๕๒ : ๑๐๒ – ๑๐๓)

           และในขณะที่สังคมอินเดียโบราณไม่ให้ความสำคัญของผู้หญิงเท่าใดนัก ผู้หญิงเป็นสมบัติที่ชายผู้เป็นวสามีจะยกให้กับใครก็ได้ การมีปากเสียงของผู้หญิงในสภาประชุมเป็นเรื่องที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริง แต่ในมหากาพย์ภารตะได้ทำให้ผู้หญิงมีอำนาจในการต่อรอง มีอำนาจในการพูดแล้วให้ทุกคนต้องฟัง ไม่ไร้ค่าหรือเป็นเพียงแค่สมบัติ เช่นใน สภาบรรพ (บรรพที่ ๒ ) นางเทราปทีได้ถูกย่ำเกียรติยศของความเป็นหญิง โดยถูกทหุศาสันใช้กำลังดึงสาหรีคุมร่างกายและฉุกกระชากลากผมของนางให้ได้อายต่อหน้าธาระกำนัน อันเนื่องมาจากการที่พระสวามียุธิฐธิระได้ใช้นางเป็นเครื่องเดิมพันในการพนันสกาและพ่ายแพ้ต่อกลโกงของธุระโยชน์กับศกุนิผู้เป็นลุง นางได้พูดจาตัดพ้อต่อว่าชายทั้งสภาที่ต่างก็ยืนดูโดยไม่มีใครเข้าช่วยเหลือ อีกทั้งสาปแช่งกับคนที่ทำให้นางต้องเป็นเช่นนี้ ซึ่งก็ได้ผล เพราะนางไม่ต้องตกเป็นสมบัติของฝ่ายธุรโยชน์

            ๖.      ฤๅษีกฤษณะ ไทวปายนะ วยาส ได้ชื่อว่าเป็นผู้แต่งมหากาพย์มหาภารตะเป็นฤๅษีที่ได้ชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ ผู้เล่าขานเรื่องมหาภารตะตามที่ชุมนุมก็เป็นที่ยกย่องของประชาชนที่เข้ามาชุมนุมฟัง การฟังมหากาพย์ภารตะถือว่าได้บุญกุศลคนจึงนิยมฟังเพื่อได้ทั้งบุญ ความรู้ และความบันเทิง บรรดานักปราชญ์ก็นิยมอ่านและศึกษา คติในเรื่องการฟังนิทานธรรมหรือนิทานที่เกี่ยงข้องกับเทวดาร่วมถึงการถ่ายทอดต่อไปแล้วจะได้บุญกุศลแรงกล้านั้น ได้ถ่ายถอดมายังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่ประชาชนนิยมฟังนิทานธรรมเทศนากับพระสงฆ์ในวันพระ หรือการคัดลอกนิทานธรรมสืบทอดให้คนรุ่นหลังได้อ่าน ว่าจะได้ผลบุญมหาศาลสืบไปชั่วลูกชั่วหลาน

            ๗.      เนื่องจากมหาภารตะมีเรื่องย่อยมากมาย เรื่องย่อยเหล่านั้นก็ได้กลายเป็นนิทานมากมาย กวี นักประพันธ์ในภายหลังได้นำเรื่องเหล่านั้นมาแต่งเติมขยายความ จนเกิดนิทานใหม่ ๆ ขึ้น เช่นเรื่องศกุลตลา ซึ่งกาลิทาสได้รจนาขึ้น พระบาทสมด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงแปลและเรียบเรียงเป็นบทละครเรื่องศกุลตรา และเรื่องกฤษณาสอนน้อง พระนิพนธ์ของกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ซึ่งขยายความตอนที่นางเทราปที (นามเดิมคือกฤษนา) ได้สอนนางสัตยภามาชายาของพระกฤษณะในเรื่องการเอาชนะใจสวามีปานฑพทั้ง ๕ ของนาง ปรากฏในวณบรรพ (บรรพที่ ๓ )  ความในมหากาพย์ภารตะในตอนนี้มีชื่อว่า เทราปตี-สัตยภามาสังวาท  (กรุณา – เรื่องอุไร กุศลาสัย, ๒๕๕๒ : ๑๑๑)

           ๘.      เป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้คนในชั้นหลัง โดยเพาะนักปฏิวัติสังคมอินเดียผู้ยิ่งใหญ่เช่นมหาตมะ คานธี  กล่าวคือ ในขณะที่มหาตมะ คานธีในขณะที่เป็นนักศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ได้มีโอกาสอ่านและเกิความซาบซึ้งในหลักธรรมของภควัตคีตามาก (ภควัตคีตาเป็นบทย่อยหนึ่งในมหากาพย์ภารตะ) ปรัชญาภควัตคีตาโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สอนว่า มนุษย์ควรกระทำตามหน้าที่โดยไม่หวังผลตอบแทนนั้น ประทับใจมหาตมะ คานธีมาก เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างความแข็งแกร่ง และความอุทิตตนของท่าน ท่านถือว่า

           “คัมภีร์ภควัตคีตา เป็นหนังสือที่มีคุณค่ายอดเยี่ยมในการช่วยดึงคนให้เข้าสู้สัจธรรม ในยามมืดมนไร้ความหวัง ข้าพเจ้าได้คำภีร์นี้แหละเป็นที่พึ่งอย่างที่สุดที่จะพรรณนาได้ถูกต้อง” (ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์, ๒๕๔๕ : ๖๑ – ๖๓)

           อีกทั้งยังมีคุณค่าทางจิตใจให้กับผู้ที่อ่านและศึกษา ดั่งมีผู้ได้กล่าวถึงมหากาพย์ภารตะไว้มากมายเช่น

            Robert Antoine : “มหากาพย์ภารตะ เป็นกระจกเงาส่องชีวิตของชาวอินเดียตลอดมาเป็ฯเวลาหลายร้อยปี เป็นกระจกเงาที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อถือของประชาชน ขนบธรรมเนียมทางสังคม วัตรปฏิบัติความนึกคิดทางศาสนา คติชาวบ้าน ตลอดจนทางกฏหมายทางแพ่งและอาญา” (กรุณา – เรื่องอุไร กุศลาสัย, ๒๕๔๔ : ๑๐๐ -๑๐๑)

         จักรวะระตี ราชาโคปาลาจารี ผู้สำเร็จราชการคนแรกของอินเดีย :“การอ่านมหากาพย์มหาภารตะช่วยให้จิตใจของคนเรามีความเข้มแข็ง วรรณกรรมชิ้นนี้สอนให้คนเรามีความตระหนักถึงความจริบที่ว่า เวรย่อมก่อให้เกิดเวร ความโลถละการใช้ความรุงแรงมีแต่จะนำมนุษย์ไปสู่ความพินาศหายนะ และการชนะที่แท้จริงนั้นอยุ่ที่การชนะธรรมชาติฝ่ายต่ำในตัวของเราเอง” (กรุณา – เรื่องอุไร กุศลาสัย, ๒๕๕๒ : ๑๐๐ -๑๐๑)

บทสรุป

            เนื้อเรื่องโดยรวมของมหากาพย์มหาภารตะเป็นเรื่องราวความขัดแย้งของพี่น้องสองตระกูล ระหว่างตระกูลเการพและตระกูลปาณฑพ ซึ่งทั้งสองตระกูลต่างก็สืบเชื้อสายมาจากท้าวภรตแห่งกรุงหัสตินาปุระมาด้วยกัน ก็คือญาติกันนั่นเอง ความขัดแย้งเกลียดชังบานปลายไปสู่มหาสงครามเครือญาติที่ทุ่งกุรุเกษตร ซึ่งมีพันธมิตรของแต่ละฝ่ายเข้าร่วมรบด้วยเป็นจำนวนมาก ท้ายที่สุดก็ต้องมาล้มตายด้วยฝีมือของผู้ร่วมสายเลือดด้วยกันแทบทั้งสิ้น

           แม้จะเต็มไปด้วยความเกลียดชังและความแก้แค้น แม้จะมีการนำเสนอให้เห็นผลของการกระทำและตอกย้ำในเรื่องธรรมะย่อมชนะอธรรมก็ตาม  และแม้จะชีให้เห็นถึงความสำคัญต่อความรับผิดชอบในหน้าที่ แต่หัวใจของเรื่องราวทั้งหมดกลับไม่ใช้สิ่งนั้น

          หัวใจของมหากาพย์มหาภารตะอยู่ที่ประโยคสั้น ๆ ๒ ประโยค “การให้อภัย” “สมานฉันท์”

บรรณานุกรม

กรุณา – เรืองอุไร กุศลาสัย. มหาภารตยุทธ. พิมพ์ครั้งที่ ๑๓. สำนักพิมพ์ศยาม. กรุงเทพฯ :๒๕๕๒. กรุณา – เรืองอุไร กุศลาสัย. อินเดียอนุทวีปที่น่าทึ่ง. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศยาม. ๒๕๔๔. ชาญมิตต์ นาคเกิด. “ร่องรอยหลักฐานการนับถือศาสนาพราหมณ์ช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ที่พบในบริเวณชุมชนเมืองโบราณเมืองศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี.” รายงานการศึกษาเฉพาะบุคคล ศิลปะศาสตร์บัณฑิต (โบราณคดี) ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี,  มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๑. บวรบรรณรักษ์ (นิยม รักไทย) , ร.อ. หลวง. มหาภารตยุทธ์. กรุงเทพฯ : คลังวิทยา. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์. ปราสาทหิน พิมาย พนมรุ้ง เมืองต่ำ ตาเมือน เขาพระวิหาร. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพ ฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. ๒๕๕๑. ยวาหระลาล เนห์รู. พบถิ่นอินเดีย. พิมพ์ครั้งที่ ๕. กรุงเทพฯ : แม่คำผาง. ๒๕๔๙. ราโมฮาน คานธี. ล้างแค้นกับสมานฉันท์ : สู่ความเข้าใจประวัติศาสตร์เอเชียใต้. กรุงเทพฯ :โครงการจัดพิมพ์คบไฟ. ๒๕๕๑. วีระ ธีรภัทร. เรื่องเล่าจากมหากาพย์มหาภารตะ ตอนกำเนิดพี่น้องเการพและปานฑพ เล่ม ๑. พิมพ์ครั้งแรก. ๒๕๕๐. ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์, ศ. ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาอินเดีย. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ๒๕๔๕. สุภร ผลชีวิน. มหาภารตยุทธ. พิมพ์ครั้งที่ ๑. องค์การค้าคุรุสภา. กรุงเทพฯ : ๒๕๒๖. ส. พลายน้อย. เล่าเรื่องมหาภารตยุทธ. พิมพ์ครั้งที่ ๑. พิมพ์คำสำนักพิมพ์. กรุงเทพฯ : ๒๕๔๖. Michale Freeman and Claude Jacques. Anclent Angkor. Bangkok : River Books. 2006. Wikipedia.  วิธีสืบค้นวัสดุสารสนเทศ. [ออนไลน์].http://en.wikipedia.org/wiki/Mahabharata.   (วันที่ค้นข้อมูล : ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓).วิกิพีเดีย. .  วิธีสืบค้นวัสดุสารสนเทศ. [ออนไลน์]. http://th.wikipedia.org/wiki/มหาภารตะ.(วันที่ค้นข้อมูล : ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓).  วิกิพีเดีย. วิธีสืบค้นวัสดุสารสนเทศ. [ออนไลน์]. http://th.wikipedia.org/wiki/%ภควัตคีตา.(วันที่ค้นข้อมูล: ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓).  

 

หมายเลขบันทึก: 378628เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2010 17:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 07:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ ได้ความรู้เพิ่มเติมได้มากทีเดียว แถมได้ฟังเพลงที่ชอบและหาฟังยาก อย่างนี้ถ้ามีรายการประจำจะติดตามครับ คุ้มทุนเวลาครับ ได้กองทุนปัญญาและกองทุนอารมณ์สุนทรีย์ที่สุดยอดครับ สำหรับเพลงถ้าเปลี่ยนไปบันทึกละเพลงจะดีมาก ๆ ครับ แต่อย่างไรก็ตาม ขอชื่นชมอยู่ดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท