beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

เรื่องเล่าเกี่ยวกับเซลล์ (๒) :เซลล์และออร์แกเนลล์


Depict : Animal Cell และ Plant Cell

   Depict : คือ การศึกษาภาพ ซึ่งภาพหนึ่งสามารถทดแทนตัวอักษรได้นับแสนนับล้านคำ จงศึกษาภาพ Animal Cell  ต่อไปนี้ (คลิกขยายภาพได้) 

     
   
 

 ภาพ Animal Cell

 

   

       จากภาพ เป็น ภาพวาดของเซลล์สัตว์ แสดงโครงสร้างส่วนใหญ่ที่พบในเซลล์สัตว์ (ไม่มีเซลล์สัตว์ไหนที่จะมีส่วนประกอบครบทั้งหมดแบบที่เห็นในภาพนี้) เซลล์จะแบ่งขอบเขตภายในและภายนอกเซลล์โดยมีเยื่อหุ้ม ออร์แกเนลล์ที่เด่นที่สุดของเซลล์สัตว์ คือ ส่วนของนิวเคลียส  เมตาบอลิสมส่วนใหญ่ของเซลล์เกิดในไซโตพลาสม (บริเวณที่อยู่ระหว่างนิวเคลียสกับเยื่อหุ้มเซลล์)  ในไซโตพลาสมซึ่งเป็นส่วนที่เป็นของเหลวกึ่งแข็ง จะมีออร์แกเนลล์ที่สำคัญต่างๆ

       ต่อไปจะเป็นรายละเอียดของส่วนประกอบของเซลล์โดยสังเขป

  1. Plasma membrane เยื่อหุ้มที่แบ่งขอบเขตระหว่าง ภายในเซลล์และภายนอกเซลล์   ในเซลล์สัตว์บางชนิดจะพบ Flagellum (เอกพจน์) เป็น Oganelle (little organ) ที่มีส่วนประกอบเป็น microtubules (มีการจัดเรียงตัวของ microtubule เป็น "9+2") เป็นโครงสร้างที่ใช้ในการเคลื่อนที่
  2. Nucleus ประกอบด้วย
    • Nuclear envelope เยื่อหุ้มนิวเคลียส มีเยื่อหุ้มสองชั้น ห่อหุ้มนิวเคลียส มีส่วนที่เป็นรู เรียกว่า nuclear pore หรือ annulus
    • Nucleolus เป็นโครงสร้างที่ไม่มีเยื่อหุ้ม เกี่ยวข้องกับ การสร้าง ribosome,  ในนิวเคลียสหนึ่งๆ เราอาจพบ nucleolus มากกว่าหนึ่งก็ได้
    • Chromatin คือส่วนที่เป็น DNA และ โปรตีน จะเห็นได้ชัดเจนตอนเซลล์กำลังแบ่งเซลล์ โดยจะเห็นเป็น Chromosome แต่ละแท่ง
  3. Organelle ต่างๆ
    • Endoplasmic Reticulum (ER) เป็นโครงสร้างที่มีลักษณะป็นถุงและท่อเล็กๆ เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย มี 2 แบบคือ แบบเรียบหรือ Smooth ER และ แบบหยาบหรือ Rough ER    SER มีหน้าที่ในการสร้าง membrane, การกำจัดสารพิษหรือ detoxification ส่วน RER ซึ่งมีไรโบโซมมาเกาะ มีหน้าที่ในการสร้างโปรตีนเพื่อส่งไปใช้นอกเซลล์
    • Centrosome เป็นบริเวณที่มีการสร้าง microtubules ซึ่งในเซลล์สัตว์จะพบเป็นโครงสร้างคู่เรียกว่า Centriole (วางตั้งฉากกัน) Centriole จะมีการจัดเรียงตัวของ microtubule เป็น 9+0 (Triplet)
    • Peroxisome เป็นออร์แกเนลล์ที่ทำหน้าที่สร้าง Hydrogen peroxide ไว้ใช้ในเมตาบอลิสมของเซลล์
    • Microvilli เป็นโครงสร้างที่ยื่นออกมาจากเยื่อหุ้มเซลล์ เป็นการเพิ่มพื้นที่ผิวของเซลล์
    • Lysosome เป็นออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มชั้นเดียว ทำหน้าที่สร้าง Hydrolytic Enzyme ใช้ในการย่อยสลาย Organelle ที่หมดอายุ หรือทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาภายในเซลล์
    • Mitochondria เป็นออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการหายใจระดับเซลล์ โดยการสร้าง ATP สะสมไว้ให้เซลล์ใช้เป็นแหล่งพลังงาน
    • Golgi apparatus (Golgi complex, Golgi body) เป็นออร์แกเนลล์ ที่เกี่ยวกับการสร้างและขนส่งสารภายในเซลล์
    • Ribosome เป็นออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้ม ทำหน้าที่ในการสร้างโปรตีน ไรโบโซมอิสระในไซโตพลาสม ทำหน้าที่สร้างโปรตีนไว้ใช้ภายในเซลล์ ส่วนไรโบโซมที่เกาะอยู่กับ ER ช่วยสร้างโปรตีนส่งไปใช้นอกเซลล์ และยังพบไรโบโซมเกาะที่เยื่อหุ้มนิวเคลียสอีกด้วย
  4. Cytoskeleton เป็นโครงสร้างที่ทำให้เซลล์คงรูปร่างอยู่ได้ และทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและเคลื่อนที่ของเซลล์ ประกอบด้วย microfilaments, Intermediate filaments และ microtubules ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ทำด้วยโปรตีน

หมายเหตุเกี่ยวกับเซลล์สัตว์ : โครงสร้างที่ไม่พบในเซลล์สัตว์

  • Chloroplasts
  • Central Vacuole, Tonoplast
  • Cell wall
  • Plasmodesmata

*****************

     จงศึกษาภาพ Plant Cell และรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

     
   
 

 ภาพ Plant Cell

 

    

       จากภาพ เป็นภาพวาดของแสดงเซลล์พืชที่เปิดเผยให้เห็นส่วนที่ละม้ายคล้ายคลึงกับส่วนที่แตกต่างจากเซลล์สัตว์  โดยภาพรวมแล้วลักษณะของเซลล์พืชก็คล้ายๆ กับเซลล์สัตว์ แต่เซลล์พืชมี Organelle ที่มีเยื่อหุ้มพวกหนึ่งเรียกว่า "plastids"  และ plastids ที่สำคัญคือ Chloroplast ซึ่งเป็นออร์แกเนลล์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ Photosynthessis หรือการสังเคราะห์ด้วยแสง ในเซลล์พืชส่วนใหญ่ยังพบ Vacuole ขนาดใหญ่อยู่กลางเซลล์ เรียกว่า Central Vacuole  นอกจากนั้น ด้านนอกสุดถัดจากเยื่อหุ้มเซลล์ออกไป เรายังพบส่วนที่เป็น Cell Wall หรือผนังเซลล์อีกด้วย ที่ผนังเซลล์นี้พบรูเล็กๆ อยู่มากมาย เรียกรูเหล่านี้ว่า plasmodesmata

     ต่อจากนี้ไป เป็นรายละเอียดในส่วนประกอบของเซลล์พืชที่ไม่พบในเซลล์สัตว์ ครับ

  • Cell wall หรือผนังเซลล์ เป็นเยื่อหุ้มชั้นนอกสุดของเซลล์พืช ซึ่งทำให้เซลล์คงรูปร่างอยู่ได้ และยังป้องกันการเปลี่ยนแปลงจากแรงกระทำภายนอก cell wall ทำด้วย cellulose, polysaccharides และโปรตีน
  • Plasmodesmata เป็นช่องหรือรูตลอดผนังเซลล์ เพื่อเชื่อมต่อส่วนที่เป็นไซโตพลาสมของเซลล์ที่อยู่ติดกันหรือเซลล์ข้างเคียง
  • Chloroplast เป็นออร์แกเนลล์ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานเคมีเก็บสะสมไว้ในรูปของโมเลกุลน้ำตาล
  • Central vacuole เป็นออร์แกเนลล์ที่พบมากในเซลล์พืชที่มีอายุมาก มีหน้าที่ในการสะสมอาหาร รวมทั้งมีหน้าที่ทำลายของเสียที่เกิดจากเมตาบอลิสม การขยายตัวของ vacuole มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเติบโตของพืช (ในทางชีววิทยา vacuole หมายถึงถุงที่มีขนาดใหญ่ ส่วน vesicle หมายถึงถุงที่มีขนาดเล็กกว่า)
  • Tonoplast คือ ชื่อเรียกเยื่อหุ้มออร์แกเนลล์ central vacuole นั่นเอง

         หมายเหตุเกี่ยวกับเซลล์พืช : โครงสร้างที่ไม่พบในเซลล์พืช

  • Lysosomes
  • Centriole*
  • Flagella (พบบ้างใน sperm. ของพืช)

      หมายเหตุ ในเซลล์พืชจะมี centrosome เป็นบริเวณที่มีการสร้าง microtubules และจะพบมีบทบาทตอนเซลล์มีการแบ่งเซลล์ โดย spindle fiber จะมายึดเกาะที่ centrosome นี้

 

กลับสู่หน้าหลัก 

 

อ้างอิง : Biology ของ N.A Campbell และ J.B. Reece ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6 สำนักพิมพ์ Pearson Education International

 

หมายเลขบันทึก: 37820เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2006 17:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

ทำยังไงถึงจะเรียนแล้วจำได้ดี เนื้อหาค่อนข้างเยอะ ตอนเรียนม.6 พื้นฐานไม่ค่อยดีนักช่วยแนะนำด้วยนะค่ะ

  • โปรดทบทวนใน หน้าหลัก ครับ เรียนศัพท์โดยการใช้รากศัพท์ และ การเรียนโดยทำความเข้าใจกับภาพและคำอธิบายภาพ
  • การจับประเด็นความรู้ โดยใช้การ Capture ความรู้ และหมั่นอ่านไป เขียนไปบ่อยๆ ทำให้จำได้
  • การจับประเด็นโดยใช้ Mind map
  • การอ่านไปตอนหนี่งๆ แล้วพูดให้ตัวเองฟังดังๆ ถ้าไม่เข้าใจให้กลับไปอ่านใหม่ครับ
  • ถูกกับจริตของเราแบบไหน เลือกแบบนั้นไปใช้ หรือจะบูรณาการใช้หลายๆ วิธีก็ได้ครับ
  • เรียนให้ดีได้อย่างไร ไม่มีสูตรตายตัวครับ ต้องปรับใช้ให้เหมาะสำหรับจริตของแต่ละคนครับ

เป็นการเรียนการสอนที่ดีมากครับ

           ผมเป็นนิสิต มน. ถึงรู้หลักการเรียนการสอนแบบใหม่ของอาจารย์ เนื้อหาการเรียนก็ละเอียดกว่าในหนังสือ และยังมีรูปประกอบด้วย

                                                    ด้วยความเคารพ

                                                    ทศพล ช่วยเมือง

 

 

  นิสิตคณะสหเวชศาสตร์/รังสีเทคนิค (49662001)

นางสาวศิวะพร บุญทอง

เป็นรูปแบบการเรียนใหม่ที่ไม่เคยเรียนมาก่อนค่ะ ชอบตรงที่เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้รับความรู่อย่างเท่าเทียมกัน

                                   ด้วยความเคารพ

                                    ศิวะพร บุญทอง

  • ผมขอขอบคุณนิสิตทุกท่านที่เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นนะครับ
  • และขอเป็นกำลังใจให้นิสิตทุกคนสอบผ่านวิชานี้ครับ

  การหาความรู้ปันจุบันก็สามารถหาได้หลายแหล่งเรียนรู้รวมทั้งบน internet สำหรับเรื่อง เซลล์ การเรียนตามหนังสืออย่าเดียวก็คงไม่เข้าใจ 100% ส่วนใหญ่ไม่ได้เห็นรูปหรือตัวอย่างที่ชัดเจน การเรียนโดยมีทั้งรูปและเนื้อหาที่เหมาะสมจึงส่งผลให้เกิดความเข้าใจที่มีมากขึ้น 

อยากให้ อ.ลงเนื้อหาในเรื่องอื่นๆ ด้วยจะดีมากคับ ถ้ามีรูปและคำอธิบายสั้นๆและชัดเจน ก้จะดียิ่งขึ้น

  ทำยังไงถึงจะเรียนวิชานี้ได้ดีน้า????????

  ในการศึกษาหาความรู้ ในยุคปัจจุบันนี้ ไม่มีเพียงแต่การเรียนในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว หนูต้องขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างมาก ที่ได้เขียน web นี้ขึ้นมา ซึ่งสามารถทำให้หนูเข้าใจในเนื้อหานอกเหนือจากในห้องเรียนค่ะ  แต่ถึงยังไงหนูก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี

 

                                                ด้วยความเคารพ

                        นิสิตคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์         

สหเวชศาสตร์/เทคนิคการแพทย์/49662568
เซลล์เรื่องน้อยนิด...แต่(เนื้อหา)มหาศาลจริงๆ  ทำยังไงถึงจะจำได้หมดครับอาจารย์
  • ถามมาคล้ายๆ กัน คือ ทำอย่างไรเรียนรู้เรื่อง
  • คำตอบก็คืออ่านแบบสบายๆ และทำให้สนุกอย่าเคร่งเครียด ทำตัวแบบดูหนังดูละคร
  • อ่านเสร็จแล้วต้องอธิบายให้ตัวเองฟัง ถ้าเข้าใจก็ผ่านไป แต่ถ้าไม่เข้าใจก็ไปเริ่มต้นใหม่ครับ
  • ข้อคิดของ beeman : การเดินทางอันยาวไกล ในที่ซึ่งเราไม่เคยไป ย่อมต้องมีหลงทางบ้าง แต่ด้วยความมุ่งมั่นอดทน เราย่อมไปถึงที่หมายเสมอ (แม้ว่าจะช้ากว่าคนอื่นบ้าง)
สหเวชศาสตร์/เทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก/49662254

    อยากให้อาจารย์ช่วยแนะแนววิธีในการเรียนเรื่องเซลล์ให้เข้าใจให้ด้วยครับ เพราะว่าผมเรียนและอ่านอย่างไรก็รู้สึกว่างงมากเลยครับ "เซลล์ยากมากเลยครับ"

ก็ขอบคุณอาจารย์นะคะที่ทำให้อะไรๆที่มันยากดูง่ายขึ้น ปล.รูปสวยมากค่ะดูง่าย
  • หลากหลายความคิดเห็น และมีทัศนะคติเชิงบวกครับ
  • คุณ 49662254 โปรดดูคำแนะนำข้างบนนะครับ
  • สุดท้ายใครช่วยอะไรเราไม่ได้ เราต้องพยายามเองนะครับ
  • เหมือนทานข้าว เราตักข้าวมาวางอยู่ตรงหน้า ขึ้นอยู่กันว่าคุณจะรับประทานมันอย่างไร
  • นิสิตที่อ่านตอนอื่นๆ แล้ว โปรดช่วยแสดงความคิดเห็น เพื่อการปรับปรุงในอนาคตนะครับ
  • คุณ my_guard ช่วยไป ติ-ชม ตอนอื่นๆ ด้วยนะครับ
  • หวังว่าความพยายามที่ทำไป คงทำให้มีคนคิดแบบนี้สัก 30% Up
  • สำหรับผู้ที่ยังไม่ค่อยเข้าใจ ผมแนะนำให้อ่านอีกรอบ (ทุกตอนเลย) แล้วอ่านข้อคิดเห็นที่ผมแนะนำไป รวมทั้งอ่านข้อคิดเห็นของท่านอื่นๆ ด้วยครับ

สวัสดีครับ คือว่าผมไม่ใช้นักศึกษาในวิทยาลัยผมอายุ15ปี อยู่ชั้น ม.4เองครับ

คือว่าผมอยากรู้ว่าออร์แกเนลล์ใดบ้างที่พบในเซลล์พืชและไม่พบในเซลล์สัตว์

และ ออร์แกเนลล์ใดที่พอในเซลล์สัตว์ไม่พอในเซลล์พืช

ป ด้วยความเครพ

กรุนาตอบด้วยครับ

ขอโทษครับเด็กม.๔

  • สิ่งที่คุณถามผมได้เขียนไว้ในบันทึกข้างบนแล้วครับ
  • โปรดกลับไปอ่าน, หาคำตอบ, และจดไว้ในสมุดบันทึกการอ่านด้วยครับ

ช่วยทำมายแม็ปปิ๊งเรื่ององค์ประกอบของเซลล์ให้หนูดูหน่อยได้ไหมค่ะ เพราะหนูทำงานส่งอาจารย์ตั้งหลายครั้งแร้วไม่ผ่านสักทีหนูไม่รู้ว่ามันผิดตรงไหน((((ช่วยทำให้หนูดูหน่อยนะค่ะ))))

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท