Dent Show & Share 2010


วันนี้ ช่วงบ่าย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

จัดกิจกรรมย่อยของการจัดการองค์ความรู้  Dent Show & Share 2010 ซึ่งเป็นการจัดงานครั้งที่ 2 ค่ะ

  • ท่านรองคณบดีฝ่ายแผนและสารสนเทศ ผศ.จรินทร์  ปภังกรกิจ กล่าวเปิดงานด้วยการจุดประกายให้คณะฯมีการส่งเสริมเพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
  • งานนี้ เปิดโอกาศให้ทุกคนนำประสพการณ์ที่ได้สั่งสมมาเพื่อนำมาแบ่งปันเพื่อให้คนรุ่นใหม่ก้าวไปโดยมีประสพการณ์ของรุ่นแรกมาต่อยอด ไม่ต้องลองผิดลองถูก
  • และจะได้รู้แนวคิดของผู้ที่ประดิษฐ์และนำผลงานมาแบ่งปันว่า ทำไมเค้าถึงได้คิดสิ่งเหล่านี้ออกมา มีอะไรที่เป็นการจุดประกายให้เค้าคิดค้นนวตกรรม
  • ผู้นำผลงานมาโชว์ต่างกระตือรือร้นที่จะเล่าประสบการณ์และสิ่งประดิษฐ์ พึ่งทราบว่าคณะฯมีนักประดิษฐ์เยอะอย่างนี้ ชื่นชมจริงๆ
  • นี่เป็นอีกหนึ่งสิ่งประดิษฐ์ในงานค่ะ รถขนผ้าและอุปรณ์ไปซักและอบฆ่าเชื้อ
  • มีท่านรองคณบดีฝ่ายแผนฯและอาจารย์เป็นผู้ทดลองขับเองค่ะ

ชื่อผลงาน          รถเข็นขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า 

เจ้าของผลงาน    นางยุคนธร  แทนวิสุทธิ์  (Mrs. Yukontorn Tanvisut) 

                       นายศุภฤกษ์   ตีเมืองซ้าย (Mr.Supharoek  Teemueangsai)       

                       สังกัด    หน่วยจ่ายกลาง  โรงพยาบาลทันตกรรม  คณะทันตแพทยศาสตร์  

 ลักษณะของผลงาน         หน่วยจ่ายกลาง  โรงพยาบาลทันตกรรม   คณะทันตแพทยศาสตร์ เป็นหน่วยงานสำหรับการอบฆ่าเชื้อทำให้ปราศจากเชื้อรวมถึงการทำความสะอาดผ้าชนิดต่างๆของโรงพยาบาลทันตกรรม     ในปัจจุบันการขนย้ายเครื่องมือยังต้องอาศัยแรงงานคนที่เป็นบุคลากรประจำหน่วยซึ่งมีไม่เพียงพอต่อการให้บริการ ดังนั้น ทางหน่วยงานจึงคิดดัดแปลง ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมรถเข็นตาข่ายที่ใช้ในหน่วยงาน จากการทำงานเปลี่ยนจากแรงงานคนเป็นการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า โดยใช้แบตเตอรี่เป็นตัวเก็บพลังงานในการขับเคลื่อนรถเข็นตาข่ายเพื่อเป็นการผ่อนแรงงานของทรัพยากรบุคลากรที่มีอยู่รวมทั้งย่นระยะเวลาการบริการขนย้ายเครื่องมือให้รวดเร็วและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น

 วิธีดำเนินการ   มีการร่วมคิด  แลกเปลี่ยนเรียนรู้  วางแผน  วางรูปแบบ  ร่วมกันระหว่างหน่วยจ่ายกลางกับวิศวกรของคณะทันตแพทยศาสตร์ 

 ความโดดเด่นของงาน  เกิดนวัตกรรมใหม่จากการดัดแปลงสิ่งของและอุปกรณ์ที่มีอยู่สามารถช่วยผ่อนแรงของบุคลากรได้เป็นอย่างดี     สามารถบริการได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

 

นิทานสุขภาพช่องปาก

ชื่อผลงาน       นิทานสุขภาพช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เจ้าของผลงาน   นางประทุมมา ทาแดง    หน่วยประชาสัมพันธ์ คณะทันตแพทยศาสตร์

                     มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ข้อมูลเกี่ยวกับผลงาน 

         โครงการนิทานสุขภาพช่องปาก ได้รับการสนับสนุนจาก แผนงานโรงเรียนทันตแพทย์สร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนงานของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  โครงการในระยะที่หนึ่งนี้ ได้จัดพิมพ์หนังสือนิทานเป็นจำนวน 500 เล่ม และได้ทำการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ไปตามโรงเรียนในระดับอนุบาลและระดับประถมศึกษาภายในจังหวัดขอนแก่น 400 โรงเรียน โดยได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี ทั้งจากนักเรียนในโรงเรียนเป้าหมาย และผู้เข้าร่วมการประกวดนิทาน ซึ่งมีผู้สนใจผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก    นอกจากนี้ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ยังได้นำเอาเนื้อหาในหนังสือนิทาน มาใช้เป็นสื่อในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อรณรงค์และประชาสัมพันธ์ การดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียน และต่อมา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้เสนอโครงการนิทานสุภาพช่องปาก โครงการที่สอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสื่อในการประชาสัมพันธ์  โดยมีการพัฒนารูปลักษณ์ของหนังสือนิทานให้มีภาพที่สวยงามมีเนื้อหาที่น่าอ่านและน่าดึงดูดใจ และได้จัดพิมพ์หนังสือนิทานเป็นจำนวน 1,000 เล่ม พร้อมนี้ยังเพิ่มโปสเตอร์ และ สื่อมัลติมีเดีย ซึ่งเป็นการนำนิทานทั้ง 6 เรื่อง มาจัดทำเป็นภาพเคลื่อนไหว และ จัดเก็บในรูปแบบ ซีดีรอม โดยมีนักศึกษาและบุคลากรของคณะฯ เป็นผู้บรรยายเสียงในนิทานดังกล่าว  เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ และเพื่อความสะดวกในการประชาสัมพันธ์มากยิ่งขึ้น

 

นี่เป็นอีกหนึ่งผลงานจากหน่วยโครงสร้างและซ่อมบำรุง

ชื่อผลงาน       Mobile เอนกประสงค์

เจ้าของผลงาน    นายภิญโญ   นามพรหมมา, นายบุญคล้าย   ยามี, นางเสถียร   คำศิริลักษณ์

                     นางยุวดี   สิงจันลา หน่วยโครงสร้างและซ่อมบำรุง คณะทันตแพทยศาสตร์
                     มหาวิทยาลัยขอนแก่น               

ข้อมูลเกี่ยวกับผลงาน 

            เป็นรถเข็นสำหรับใช้ในงานด้านทำความสะอาดที่สามารถเก็บและขนย้ายอุปกรณ์ทำความสะอาดต่างๆไปพร้อมกันได้อย่างสะดวกพร้อมทั้งสามารถหยิบจับใช้งานได้ง่ายทำให้ประหยัดเวลาและงบประมาณ
(1,000.บาท)  ทั้งนี้ได้แรงจูงใจจากการปฎิบัติหน้าที่ประจำวันที่มีความไม่พร้อมในการทำงานเช่นในการถูพื้นเปียกต้องหิ้วถังน้ำไปด้วยทุกที่ หรือกรณีเมื่อเสร็จงานแล้วจะเก็บไม้ถูพื้นโดยไปวางพิงไว้ตามผนังห้องน้ำซึ่งดูแล้วไม่สวยงามและทำให้ผนังห้องสกปรกมีรอยคราบน้ำ เป็นต้น.

 

mobile เอนกประสงค์นี้ เจ้าหน้าที่ในหน่วยโครงสร้างและซ่อมบำรุง ช่วยกันทำจากเศษวัสดุเหลือใช้ ค่ะ 

ชื่อผลงาน    กล่อง IN&OUT 

เจ้าของผลงาน    นางยุคนธร  แทนวิสุทธิ์  (Mrs. Yukontorn Tanvisut)                            

หน่วยงานสังกัด    คลินิกทันตกรรมพิเศษ  โรงพยาบาลทันตกรรม  คณะทันตแพทยศาสตร์  

 ลักษณะของผลงาน       เป็นกล่องที่มีช่องสำหรับการจัดเก็บเครื่องมือและช่องสำหรับการดึงเครื่องมือออกไปใช้  โดยการใช้หลักการนึ่งก่อนใช้ก่อน นึ่งหลังใช้หลัง ( first in – first out )  และเครื่องมือที่คลินิกพิเศษจัดเก็บ  เช่น ท่อดูดน้ำลาย  เครื่องมือขูดหินน้ำลาย  ที่มีจำนวนมากและใช้ไม่หมดภายในวันเดียว  กล่องที่ทำใช้เป็นกล่องวัสดุ(กระดาษ)ที่หาได้ในคลินิกพิเศษสามารถเปลี่ยนได้ตลอดโดยไม่สิ้นเปลืองในการจัดทำและนำไปสู่การพัฒนาให้เป็นกล่องที่มาตรฐานได้

วิธีดำเนินการ      คิดและ การหาแนวทางการแก้ปัญหาในการจัดเก็บเครื่องมือ

 ความโดดเด่นของงาน    สามารถที่จะนำเครื่องมือที่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อก่อนนำมาใช้ก่อนและนำวัสดุเหลือใช้มาทำกล่องเพื่อทดลอง  ก่อนเมื่อได้รับการตอบรับที่ดีจึงนำไปสู่การพัฒนาทำเป็นกล่องที่มาตรฐานสามารถมองเห็นเครื่องมือที่จัดเก็บได้

  

ชื่อผลงาน เครื่องผสมอัลจิเนตอัตโนมัติ

เจ้าของผลงาน นายกีรติ รัตนะกนกชัย และ นางสาวทักษอร วิบูลย์ปิ่น          สังกัด ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์

ข้อมูลเกี่ยวกับผลงาน

            ผลงานชิ้นนี้เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยส่งเสริมการทำงานทางคลินิกของทันตแพทย์ให้มีประสิทธิภาพดีมากขึ้น โดยการใช้เครื่องผสมอัตโนมัติสำหรับวัสดุพิมพ์ปากอัลจิเนตจะทำให้วัสดุที่ผสมออกมามีเนื้อเดียวกัน ลดปริมาณฟองอากาศ เพิ่มคุณสมบัติเชิงกล ซึ่งจะทำให้ได้รอยพิมพ์ที่มีความเที่ยงตรงสูง อีกทั้งยังเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานอีกด้วย แต่เนื่องจากราคาที่ค่อนข้างสูง ทำให้เครื่องผสมอัตโนมัติไม่เป็นที่นิยม จึงเกิดแนวคิดในการประดิษฐ์เครื่องผสมอัตโนมัติขึ้นเองเพื่อใช้งานและนำมาทำการทดสอบเปรียบเทียบกับเครื่องผสมอัตโนมัติจากต่างประเทศ 

ชื่อผลงาน  แท๊งค์ดูดน้ำลายแบบ AIR SUCTION

เจ้าของผลงาน   นายสุกิจ  โสดากุล     สังกัด  หน่วยโครงสร้างและซ่อมบำรุง

ข้อมูลเกี่ยวกับผลงาน

     แท๊งค์ดูดน้ำลายแบบ AIR SUCTION  ที่จัดทำขึ้นนี้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของยูนิตทันตกรรม เป็นการใช้แรงดันลมสร้างสูญญากาศขึ้นในส่วนของการดูดน้ำลาย การจัดสร้างนี้เน้นที่สามารถสร้างได้ในราคาไม่เกิน 250 บาทต่อชุด(ชุดมาพร้อมยูนิตราคาประมาณ 3,000 บาท) อุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการสร้างสามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่นและสามารถนำไปติดตั้งทดแทนระบบดูดน้ำลายแบบใช้มอเตอร์ไฟฟ้าได้ในกรณีที่ต้องการประหยัดพลังงานไฟฟ้า

ชื่อผลงาน       เครื่องล้างเครื่องมือประยุกต์

เจ้าของผลงาน   นางพิสมัย  วิจารณ์  และทีมคลินิกศัลยศาสตร์ช่องปากและกระดูกขากรรไกร
                     คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  

ข้อมูลเกี่ยวกับผลงาน

         การนำเครื่องซักผ้ามาประยุกต์ใช้สำหรับล้างเครื่องมือทางการแพทย์  เพื่อควบคุมและป้องกันการติดเชื้อต่อบุคลากรที่เกี่ยวข้อง  

ความโดดเด่น

        เป็นการนำอุปกรณ์ที่สามารถนำมาใช้งานและพัฒนาการควบคุมและป้องการติดเชื้อต่อบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี  ประหยัดพลังงานและเวลาปฏิบัติงาน  ทำให้เกิดบรรยากาศ การทำงานอย่างมีความสุข

วิธีดำเนินการ

            นำเครื่องมือที่ใช้แล้วเปื้อนเลือดและน้ำลาย ใส่ในตะกร้าที่วางพาดบนเครื่องซักผ้าที่มีน้ำผสมน้ำสบู่     เปิดเครื่องทำงานระบบน้ำจะถูกปั่นตีไปมา เกิดแรงกระทบ    ทำให้คราบเลือดและน้ำลายหลุดออก โดยบุคลากรที่เกี่ยวข้องไม่ได้สัมผัสกับเลือดและน้ำลายเหล่านั้น

 ชื่อผลงาน       ช่วยกันแยก ช่วยกันลด หมดปัญหาขยะ ห้องสมุดสมนึกพูนทรัพย์ คณะทันตแพทยศาสตร์

เจ้าของผลงาน   นายเดชศักดิ์  ศานติวิวัฒน์               

  • ขยะเป็นปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่ง หากมีการจัดการไม่ดีแล้ว จะทำให้เกิดผลกระทบต่างๆ ตามมามากมาย การจัดการขยะภายในห้องสมุดจะทำให้ปริมาณขยะลดลงโดยการคัดแยกขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้บริการและบุคลากรตระหนักถึงความสำคัญและบทบาทของตนในการจัดการสิ่งแวดล้อม 
            โครงการจัดการขยะภายในห้องสมุด ของห้องสมุดสมนึก พูนทรัพย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยการสนับสนุนของโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดกิจกรรมเครือข่ายคัดแยกขยะ เชิญชวนผู้ใช้บริการร่วมเป็นเครือข่าย มอบขวดน้ำพลาสติกและกระดาษที่ใช้แล้วให้กับห้องสมุด ซึ่งทางห้องสมุดได้นำขวดน้ำพลาสติกและกระดาษที่ใช้แล้วเหล่านั้นเข้าฝากในธนาคารวัสดุรีไซเคิลต่อไป  เครือข่ายเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้นนี้เป็นก้าวแรกของห้องสมุดที่จะจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อร่วมรณรงค์ให้ผู้ใช้บริการได้ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ช่วยลดภาวะโลกร้อน  

          กิจกรรมเครือข่ายคัดแยกขยะ เชิญชวนให้ผู้ใช้บริการเข้าร่วมเป็นเครือข่าย นำขวดพลาสติกหรือกระดาษที่ใช้แล้วมามอบให้ห้องสมุด เพื่อรับสิทธิ์ยืมหนังสือ เพิ่มขึ้น 1 เล่ม ตลอดช่วงภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2552 มีผู้ใช้บริการจำนวน 4 ราย มาร่วมเครือข่าย ขวดพลาสติกและกระดาษที่ใช้แล้วที่ได้นั้น ห้องสมุดได้นำฝากเข้าธนาคารวัสดุรีไซเคิล

ชื่อผลงาน       ถุงผ้าลดขยะลดโลกร้อน

เจ้าของผลงาน   นางกมลวรรณ  ลุนธิระวงค์    และ ทีมงาน  

                      คลินิกทันตกรรมพร้อมมูล2   โรงพยาบาลทันตกรรม

                      คณะทันตแพทยศาสตร์   มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ข้อมูลเกี่ยวกับผลงาน

            ในภาวะเศรษฐกิจ  และภาวะโลกร้อนที่เป็นอยู่  ทำให้หลายๆ  องค์กร  หรือหลายหน่วยงานให้ความสำคัญกับการลดค่าใช้จ่าย  และหาแนวทางลดภาระในการกำจัดขยะ   ที่ส่งผลกระทบต่อสิงแวดล้อม  ดังนั้น  หน่วยคลินิกทันตกรรมพร้อมมูล  2  จึงได้ประชุม  และคิดหาแนวทางเพื่อลดปัญหาดังกล่าว

รายละเอียดผลงาน 

          เป็นแนวคิดในการนำผ้าคลุมผู้ป่วย  หรือผ้าห่อเครื่องมือที่เปื้อนบางส่วนและ     ซักไม่ออก   มาตัดเย็บเป็นถุงผ้าที่ใช้สำหรับห่อแก้วน้ำและกระปุกสำลี  ส่งนึ่งเพื่อทำลายเชื้อ  แทนซองพลาสติก  ซึ่งการบริการผู้ป่วย  1  ราย  ต้องใช้ชุดตรวจ  แก้วน้ำ  กระปุกสำลี   ซองพลาสติกที่ใช้ห่อแก้ว  มีขนาด  15-25  cm.   ราคาซองละ  2.5  บาท  ถ้าห่อแก้วน้ำ  และกระปุกสำลี  ดังนั้นผู้ป่วย  1  รายใช้ต้นทุนเริ่มต้นที่  5  บาท   สมมุติ โรงพยาบาลทันตกรรมให้บริการผู้ป่วย  40,319  ราย/ปี  ถ้าเราใช้ถุงผ้าแทนซองพลาสติกเราจะสามารถประหยัดได้ถึง  201,595   บาท

ชื่อผลงาน         จุดดวงประทีปกลางใจ  ทุกวันพระสัปดาห์สุดท้ายของเดือน                                                                                         

เจ้าของผลงาน   นางรจนา พุทธิมา  นางมาลี  มีครไทย และนางกฤษณา  จันทร์นุภักดี 

                      หน่วยทรัพยากรบุคคล  คณะทันตแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  

 

ข้อมูลเกี่ยวกับผลงาน

          การนำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามากล่อมเกลาจิตใจของบุคลากรด้วยการอบรมพัฒนาจิต  เพื่อความพร้อมทั้งทางร่างกายและความสมบูรณ์ทางด้านจิตใจ สติปัญญา เกิดการสร้างงานที่ดี พัฒนาทัศนคติที่ดีในการทำงานร่วมกันในองค์กรและยังประโยชน์ต่อองค์กร

 

ข้อมูลผลงาน           หน่วยแผนและประกันคุณภาพ  คณะทันตแพทยศาสตร์

ชื่อผลงาน               ความสุขและความสำเร็จของทีมงาน

ข้อมูลเกี่ยวกับผลงาน

         การทำงานให้มีความสุขของงานแผนและสารสนเทศ   ทำงานเป็นทีมมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน   คือ มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน    มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจนตรงกับความสามารถ    มีตัวชี้วัดของฝ่ายที่รับผิดชอบหลัก   ทีมงานประกอบด้วย รองคณบดีฝ่ายแผนและสารสนเทศ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแผน เป็นผู้บังคับบัญชา  บุคลากรของงานแผนฯ  จำนวน 5  คน     

            เมื่อเริ่มต้นปีงบประมาณ    ทีมงานมีการประชุมวางแผนการทำงานร่วมกันมีการประชุมแบบเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ เพื่อวางแผนการพัฒนาบุคลากรในงาน โครงการที่จะพัฒนาประจำปี  และทบทวนภาระงานที่มีอยู่เดิมให้สมดุลและตรงกับตำแหน่งรวมถึงภาระงานใหม่ตามยุทธศาสตร์หรือนโยบายของคณะฯ     

         วิธีการทำงาน งาน 1 ชิ้น จะมีผู้รับผิดชอบหลัก 1 คน และมีอีก 1-2 คนเรียนรู้งานควบคู่กัน หากผู้รับผิดชอบหลักไม่อยู่สามารถทำงานแทนกันได้ หรืองานมีปัญหาเราจะปรึกษาหรือแก้ไขปัญหาด้วยกัน  มีการสอนงานสำหรับบุคลากรใหม่ หรือแบ่งปันความรู้หลังจากอบรม โดยการเล่าให้ผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานฟังและสรุปบทเรียนเผยแพร่ไว้ใน website คณะฯ blog  ฝ่ายแผนคณะทันตแพทย์ฯ

          บางครั้งมีงานช่วงเวลาตรงกันที่จะต้องรายงานผล ทำให้เกิดความเครียดและมีการกระทบกระทั่งกัน แต่ทีมงานมีการขอโทษ และให้อภัยซึ่งกันและกัน  อันจะก่อให้เกิดข้อยุติ   และพยายามไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำอีก  ตลอดจนการมองจุดแข็งของทีมงานแต่ละคนมีการคอยเตือนกันด้วยความจริงใจและนำมาสู่บรรยากาศที่ดีเหมือนเดิม 

           การสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงาน/ภาควิชาภายในคณะฯ หรือภายนอกคณะฯ   มีการแบ่งปันข้อมูลเต็มใจให้ความช่วยเหลือแก่ผู้มาติดต่อการสร้างสัมพันธภาพในการประสานงานที่ดี  ตลอดจนการพูดคุยแบบไม่เป็นทางการ

  ความโดดเด่น        Model   คณะทันตแพทยศาสตร์      (สนุก >>> เก่ง >>>ได้ดั่งใจ >>> ภูมิใจ)    

1. เริ่มงานด้วยความสนุก        การสร้างบรรยากาศในที่ทำงาน ตอนเช้าเมื่อเราพบกันจะยิ้มและสวัสดีกัน ตามประเพณีและวัฒนธรรมองค์กร ตอนเช้าเราห่อข้าว มาทานด้วยกัน  มีการแบ่งปันสำหรับคนที่ไม่ได้เตรียมมา      บางครั้งมีงานช่วงเวลาตรงกันที่จะต้องรายงานผล ทำให้เกิดความเครียดและมีการกระทบกระทั่งกัน  แต่ทีมงานมีการขอโทษ และให้อภัยซึ่งกันและกัน  อันจะก่อให้เกิดข้อยุติ   และพยายามไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำอีก นำมาสู่บรรยากาศที่ดีเหมือนเดิม 

 2.  หมั่นหาความรู้ในงานที่เรารับผิดชอบ และพัฒนาด้านจิตใจ     ทีมงานมีการเรียนรู้ พัฒนาตนเองในสายงานที่รับผิดชอบตามแผนฯของแต่ละคน การเรียนรู้ด้วยตนเอง  การเรียนรู้จากทีมงาน  และการพัฒนาจิตและกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพมีกิจกรรมดี ๆ ที่คณะฯส่งเสริม

3. ได้ดั่งใจ      ทีมงานมีการช่วยเหลือในงานที่ท้ายทาย เช่น การเขียนรายงาน  SAR-ECPE  และตรวจประเมินคุณภาพประจำปี เริ่มที่รองคณบดีฝ่ายแผนฯ  แปลงข้อคำถามจากสิ่งยากๆเป็นสิ่งง่ายๆ ส่วนผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแผน ช่วยคิดช่วยทำ  ทำให้เกิดพลังอย่างยิ่งใหญ่   

4. ความภาคภูมิใจ  เมื่อผลงานสำเร็จด้วยความราบรื่นและได้ดั่งใจแล้ว   ทีมงานของเรามีความภาคภูมิใจ อันจะก่อให้เกิดแรงขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมายตามลำดับ                   

ปัจจัยที่ทำให้ประสบผลสำเร็จ (Key success factors)

 1.  มีผู้บังคับบัญชาเป็นปรึกษา ช่วยแหลือให้คำแนะนำ ช่วยทำสิ่งที่ยากให้เป็นสิ่งที่ง่าย  ตลอดการให้กำลังใจ

 2.  การสร้างบรรยากาศที่ดีในที่ทำงาน  เช่น  ยิ้มให้กัน ไหว้ทักทาย  ห่อข้าวมาแบ่งปันทานด้วยกันตอนเช้า และตั้งใจทำงานตามที่วางแผนไว้                

 3 . ทีมงานมีความเสียสละทุ่มเท ช่วยกันทำงาน ทำให้เกิดพลังทั้งภายในพลังจากภายนอก อันก่อให้เกิดความสามัคคี และความรักต่อองค์กรด้วย ^

ชื่อผลงาน           สิ่งแวดล้อมที่เป็นสุข

เจ้าของผลงาน       นางนฤมล        ศิลปษาและ ทีมงาน  

                          สำนักงานคณบดี

                          คณะทันตแพทยศาสตร์   มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

ข้อมูลเกี่ยวกับผลงาน

                ด้วยสภาวะในปัจจุบัน โลกร้อนมากขึ้นทุกวัน ทำให้หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ หันมาให้ความสนใจมากขึ้น   มีการรณรงค์ให้ปลูกต้นไม้ ให้ใช้วัสดุที่ทำจากธรรมชาติ  หรือแม้แต่การนำมาใช้ซ้ำอีก ลดค่าใช้จ่ายของตนเอง  และใช้ลดมนภาวะของโลกด้วย   งานบริหารและธุรการ และทีมงาน   เกิดแนวความคิดว่าการที่จะลดปัญหาต่าง ๆ ได้ต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน  ดังนั้นจึงก่อให้เกิดที่มาของการปรับสภาพแวดล้อมในสำนักงานคณบดีก่อน

 

รายละเอียดผลงาน     เป็นการจำรอง  นำเอาสภาวะสิ่งแวดล้อมจากธรรมชาติเข้ามาปรับสภาพในพื้นที่ให้ดูสวยงามและร่มรื่นขึ้น   ก่อให้เกิดสุขภาพจิตที่ดี     และส่งผลต่อสุภาพร่างกายของบุคคล ในการจัดสวนหย่อม ครั้งนี้  หากจ้างเหมาบุคคลภายนอกจัดให้  คิดเป็นเงินมูลค่า   7,000 – 8,000  บาท

แต่ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของทีมงาน  4 ,000 บาท   ทำให้ลดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 3,000-4,000 บาท

ช่วงท้าย ท่านคณบดีมอบรางวัลค่ะ











ผลงาน จที่ได้รับจากการจัดทำเป็นเอกสารของหน่วยประชาสัมพันธื คือ คุณ ประทุมมา   ทาแดง และคุณหญิง  โพธิสุวรรณ

หมายเลขบันทึก: 377450เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2010 14:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาชม "Dent Show & Share 2010"  กับการคิดค้นนวตกรรมใหม่ ขอแสดงความชื่นชมในความสามารถล้วน ๆ
  • ขอบคุณค่ะ

                         

ดูอาจารย์ที่นั่งรถเกร็งๆๆนะครับ เปิดงานน่าสนใจใจดีครับ รออ่านอีกครับพี่บุญ

  • เอาว่าที่ทันตฯของธรรมศาสตร์มาแจมครับ

Dialogue  คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

http://gotoknow.org/blog/yahoo/320619
http://gotoknow.org/blog/yahoo/321061
http://gotoknow.org/blog/yahoo/322589

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท