พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ผู้ทรงสนับสนุนการทำไหมของไทยอย่างจริงจัง


เอกราชของชาติไทยบนเส้นทางสายไหม

วิโรจน์  แก้วเรือง

เอกราชของชาติไทยบนเส้นทางสายไหม

                ประเทศไทยแต่เดิมนำเข้าผ้าไหมและฝ้าย ด้วยการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้า ทำกันเล็กๆ น้อยๆ ในชนบทเพื่อใช้ในครัวเรือนเท่านั้น การสั่งซื้อผ้าไหมและผ้าฝ้าย และเส้นไหมดิบ นำเข้ามาจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี ค.ศ. 1896 นำเข้า 4,886,821 บาท ต่อมาในปี ค.ศ. 1901 นำเข้ามากถึง 8,921,719 บาท เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว ภายในเวลา 5 ปี จึงจำเป็นต้องพัฒนาและส่งเสริมการทำไหมขึ้นภายในประเทศ

                ในขณะเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทราบว่าฝรั่งเศสต้องการแผ่อิทธิพลเข้ามาในแถบภาคอีสานของไทย โดยคาดว่าจะมีการทำสัญญาส่งผู้เชี่ยวชาญการทำไหมชาวฝรั่งเศสเข้ามาดำเนินการในโคราช(จังหวัดนครราชสีมา) และมณฑลอื่นๆ ในภาคอีสาน

ทรงก่อตั้งกรมช่างไหม

                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงถ่วงดุลอำนาจของฝรั่งเศสโดยว่าจ้างรองศาสตราจารย์ ดร. คาเมทาโร่ โทยาม่า (Dr. Kametaro Toyama) แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นมาเป็นผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาการเลี้ยงไหม ดร.โทยาม่า ได้สำรวจการเลี้ยงของไทยและกล่าวว่า ถ้าการเลี้ยงไหมของไทยมีวิธีการที่ถูกต้องเหมาะสมและบุคลากรมีความสามารถ การทำไหมจะกลายเป็นอุตสาหกรรมที่เหมาะที่สุดสำหรับประเทศไทย

                พระองค์จึงทรงก่อตั้ง “กรมช่างไหม” ขึ้น เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1903 โดยมีพระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงษ์ เป็นอธิบดีพระองค์แรก เพื่อดำเนินการปรับปรุงพันธุ์หม่อน พันธุ์ไหม วิธีการทำไหมที่ดีและเหมาะสม พร้อมจัดตั้งโรงเรียนช่างไหม เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 1905 เพื่อพัฒนาความสามารถของบุคลากรด้านการทำไหม

                ในที่สุด ประเทศไทยก็สามารถรักษาดินแดนภาคอีสานไม่ให้ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสไว้ได้การทำไหมของไทยก็เจริญรุ่งเรืองไปทั่วภาคอีสานและภาคเหนือบางส่วน แต่เป็นที่น่าเสียดายที่พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงษ์ อธิบดีกรมช่างไหมได้สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1909 และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1910 อีกทั้งเกิดการระบาดของโรคไหมอย่างรุนแรง ไม่มีผู้ทำนุบำรุงการทำไหมต่อไป กรมช่างไหม และสาขาทุกแห่ง ได้ปิดตัวลง เมื่อ ค.ศ. 1913

หมายเลขบันทึก: 377227เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2010 18:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 14:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

กรมช่างไหมยุคแรก อยู่ ได้ 10 ปี ครับ

จะหมายความว่าอย่างไร ครับ

หมายความว่า กรมหม่อนไหมในยุคปัจจุบัน จะอยู่กี่ปี ครับ....น่าคิดนะ ลองติดตามข้อมูลการยุบกรมช่างไหมดู..แล้วจะเห็น

ทั้งนี้คงขึ้นอยู่กับ คนหม่อนไหมรุ่นเก่า และรุ่นไหม จะจับมือกัน

เพื่อ หาวิธีที่จะ ทำอย่างไรให้ วิถีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมให้ยังคงอยู๋คู่ตนไทยตลอดไป

วันหนึ่งเมื่อมีคนผลิตไหมไม่มาก และภาวะเศรษฐกิจรุ่งเรื่อง ผ้าไหมซึ่งเป็นสินค้าชั้นสูงและราคาแพง

ก็จะรุ่งเรืองอีกครั้ง เหมือนยุคเส้นทางสายไหมของจีน แต่เราคงต้องวางแผนยุทธศาสตร์ให้ดีและเป็นระบบ

ประสานการร่วมมือทั้งเกษตรกร ราชการ เอกชนผู้ประกอบการ ทอผ้า จำหน่าย

ผลประโยชน์จะต้อง ลงตัวกันพอดิบพอดี จึงจะอยู่กันได้ ตอนนี้ใครละจะเป็นผู้นำ!!!!!!! มีตัวแล้วหรือยัง ลองคิดดูนะครับ

เรา คนใดคนหนึ่งคง ไม่สามารถนำพาไปได้หรอก ต้อง ร่วมมือกัน ร่วมมือกัน นะครับ

เห็นที่ต้องมานั่งทำ Road Map กันแล้วละ ว่า 10-20 ปีข้างหน้า จะทำอะไร แล้วเดินตาม Road Map อย่าวอกแวก

นอกจากสถานการณ์เปลี่ยน จึงจะปรับ Road Map

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท