ท้องถิ่นเสนอ “ปฎิรูปท้องถิ่น-ปฎิรูปประเทศไทย”


ส่วนกลางเบี้ยว ไม่กระจายอำนาจให้ท้องถิ่น

ปปท.ร่วม ท้องถิ่นนำร่อง พัฒนาองค์กรโปร่งใส เชิญชาวบ้านร่วมตรวจสอบ

            เมื่อวันที่  13 กรกฎาคม 2553  ณ  สำนักงาน ปปท.กระทรวงยุติธรรม นายธีรศักดิ์ พานิชวิทย์ เลขาธิการสมาคม อบต.แห่งประเทศไทยและเทศบาลรวม 11 องค์กรประชุมร่วมกับ นายภิญโญ ทองชัย  เลขาธิการ ปปท. ร่วมกันถกแก้ปมทุจริตท้องถิ่น   สรุปว่าปัญหาทุจริตเกิดจาก “ต้นน้ำ – ระบบราชการส่วนกลาง” เสนอแก้ระยะยาวที่ท้องถิ่นโดย ให้ความรู้ประชาชน คัดเลือกพื้นที่อาสานำร่องสู่ความโปร่งใส เสนอแนวทาง “ปฎิรูปท้องถิ่น-ปฎิรูปประเทศไทย” มุ่งก่อผลสะเทือนระดับชาติ เสริมขบวนการปฎิรูปส่วนกลาง        สาระประชุมมีดังนี้

 สาเหตุทุจริตท้องถิ่น

                “โครงการไทยเข้มแข็งลงไปดำเนินการในพื้นที่โดยไม่ถาม อปท. มีการจัดการไม่เรียบร้อย ชาวบ้านมองว่า อบต.ทุจริต  การถ่ายโอนภารกิจสู่ท้องถิ่นไม่ชัดเจนและทับซ้อนยุทธศาสตร์ จังหวัด อำเภอ กลุ่มจังหวัด  ทำให้นำไปสู่การทุจริต  โครงการปกติมีการตรวจสอบเข้มอยู่แล้วในระบบของ อบต. 

(นายทองหล่อ ม่วงน้อย  นายก อบต.ดอนยาง จ.เพชรบุรี)

            “ ผู้บริหาร อปท.มาจากการเลือกตั้ง ในการบริหารก็จะนำข้อเสนอประชาชนมาพิจารณา ประมาณว่าร้อยละ 70 อปท. มีความโปร่งใส  
          ปัญหาทุจริตเกิดจากโครงการที่ส่วนกลางส่งลงมา แล้วให้ท้องถิ่น “ปิดงาน”  อปท.มีงบน้อยอยู่แล้วจึงต้องรับโครงการจากส่วนกลางที่ลงมาในพื้นที่ ทั้งที่มีความสงสัยในความโปร่งใส

            มีความเห็นว่า โครงการ อปท.ใสสะอาด มีหลักการที่ดี พร้อมร่วมได้  แต่ควรเน้นให้ชัดว่าประชาชนจะเข้าร่วมได้แค่ไหน จะเข้าร่วมอย่างไร”

นายปกรณ์  แซ่เล้า  นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเขาพระ  อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี

            “ที่ อปท.ไม่สะอาดเพราะขาดความรู้ ทำให้ไม่เข้มแข็ง  คือ ชาวบ้านไม่รู้จักเลือกคนดีเข้าบริหารท้องถิ่น เพราะฉะนั้น  จึงพลเงื่อนไขที่เป็นเหตุผลกัน ได้แก่  การมีความรู้   การส่วนร่วมร่วม  จะนำสู้ความเข้มแข็งท้องถิ่น อปท.ใสสะอาด  เป็นธรรมาภิบาล  กระบวนการจึงควรเริ่มจาก การให้ความรูและส่งเสริมการมีส่วนร่วมตลอดกระบวนการ

            กฎหมายและระเบียบก็เป็นอุปสรรคสำคัญของท้องถิ่น ไม่สอดคล้องและไม่ส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงาน  ดังนั้น อปท.ก้าวหน้าจึงเลือกเดิน  แม้ผิดระเบียบ  แต่ไม่ทุจริตก็ทำ ถ้าชาวบ้านได้ประโยชน์ ก็จะทำ  ต้องอธิบาย สตง.เอง แต่ละหน่วยก็มีวินิจฉัยต่างกัน

            เสนอยุทธศาสตร์ อปท.คือจุดเปลี่ยนประเทศไทย  ถ้าทำให้ 7,255 ตำบลเข้มแข็ง ไทยทั้งประเทศก็เข้มแข็ง เพราะท้องถิ่น (ตำบล) มีขนาดเหมาะสม มีเอกลักษณ์ทางภูมิศาสตร์วัฒนธรรม มีงบประมาณ เป็นโรงเรียนประชาธิปไตย   การสร้างท้องถิ่นให้เข้มแข็ง คือ การสร้างเจดีย์จากฐานราก  

            ทุกวันนี้ ส่วนกลางเบี้ยว ไม่กระจายอำนาจให้ท้องถิ่น” ใช้เงื่อนไขเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ และ ระเบียบคำสั่งต่าง ๆ ควบคุมครอบงำทำให้ท้องถิ่นทำงานยาก ต้องพึ่งพาส่วนกลาง   ใช้กลวิธีต่าง ๆ เพิ่มอำนาจให้ส่วนกลางไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ   รัฐบาลกำลังมีพฤติกรรม คือ การสร้างเจดีย์จากยอด    นายกอภิสิทธิ์ เน้นให้ปฎิรูปประเทศไทย เป็นทางแก้วิกฤต  เห็นด้วยกับการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ  แต่ นายกอภิสิทธิ์พูดไม่ชัดเรื่องปฎิรูปท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการแก้ปัญหาประชาชนรากหญ้าทั่วประเทศ”

นายพิชัย  นวลนภาศรี  ที่ปรึกษาสมาคม อบต.แห่งประเทศไทย ผู้ทรงคุณวุฒิ ก.กลาง(อบต.)

ทิศทาง อปท.แก้ทุจริต ปฎิรูปประเทศ

            “เงื่อนไขแห่งความใสสะอาด คือ ความโปร่งใส  การพัฒนาความรู้  การใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง    ให้คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม  สภาองค์กรชุมชนมีฐานะทางกฎหมาย เป็นองค์กรที่ส่งเสริม อปท.สู่การบริหารจัดการที่ดี  ถ้าให้ภาคประชาชนร่วมทำข้อบัญญัติ ก็จะเป็นรูปธรรมการมีส่วนร่วมขั้นสูง”

(นายณัชพล เกิดเกษม  ประธานสภาองค์กรชุมชนกรุงเทพมหานคร)     

       “อปท.เข้มแข็งไม่ได้ถ้าไม่มีชาวบ้านหนุน ทั้งชาวบ้านและ อปท.ยังขาดความรู้ จำเป็นต้องให้มีการเรียนรู้  ซึ่งสภาพัฒนาการเมืองก็มีโครงการอบรมประชาธิปไตยอยู่ในท้องถิ่น  อยากเห็นสภาองค์กรชุมชนเป็นผู้คิดแล้วส่งให้ อปท.ดำเนินงาน  อยากเห็น อปท.เป็นหัวหอก เข้าหาประชาชน ส่งเสริมให้ประชาชนเข้มแข็ง

นายสมพร ทัพนาค  ประธานสภาองค์กรชุมชนจังหวัดเพชรบุรี

            “ถ้าประชาชนไม่มีความรู้ ก็จะไม่รู้ว่า ทุจริต คืออะไร จึงจำเป็นต้องพัฒนาความรู้และส่งเสริมการมีส่วนร่วม  ความขัดแย้งในการเลือกตั้งท้องถิ่น เป็นไปตามกระแสของการเลือกตั้งใหญ่ส่วนกลาง  เมื่อคนขัดแย้งกันก็มองว่าการทำงานของ อปท.ทุจริตทั้งหมด

            จะมุ่งแก้ทุจริตที่ อปท.จะสำเร็จยากเพราะเป็นปลายทาง  ต้องทุ่งแก้ที่ระดับ Head ข้างบน  ต้องออกนโยบายที่ถูกต้องใสสะอาด ไม่เปิดช่องให้เกิดการทุจริตในงบประมาณของรัฐที่ลงท้องถิ่น

นายเกษม  เกิดโต  นายก อบต.ห้วยทรายเหนือ  จ.เพชรบุรี

        เห็นด้วยอย่างยิ่งการให้ความรู้กับท้องถิ่น  เมื่อชาวบ้านเข้าใจ อปท. ผู้บริหารเข้าใจการบริหารจัดการที่ดี ปัญหาก็จะคลี่คลาย  เนื้อหาสำคัญคือทำให้ชาวบ้านพึ่งตัวเองได้  การไม่รู้จัดท้องถิ่น ไม่รู้วิธีบริหาร ก็จะก้าวไม่พ้นเรื่องผลประโยชน์เกิดความขัดแย้งเป็นวังวน  อปท.ที่ดีคือสามารถเป็นที่พึ่งที่ดีแก่ประชาชน

(นายยุทธศิลป์ ป้านภูมิ  นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลท่าช้างคล้อง จ.เลย)

 

       “อปท.ตกเป็นจำเลยถูกมองว่าไม่โปร่งใส สาเหตุจาก อบต.มีข้อจำกัด ชาวบ้านอยากได้แต่ อปท.ไม่มีเงิน  และบางเรื่องไม่ใช่หน้าที่ อปท.  ในทางนโยบาย อยากให้ยกเป็นวาระ “ปฎิรูปท้องถิ่น คือ ปฎิรูประเทศไทย” ซี่งนายกรัฐมนตรียังไม่พูดชัดในเรื่องนี้   ในการตรวจสอบและวัดประสิทธิภาพของ อปท.  ไม่อยากให้ใช้กฎหมาย และระเบียบเป็นเครื่องมือเพียง  ควรใช้ตัวชี้วัดอื่น ๆ เช่น ความพึงพอใจของประชาชน

เงื่อนไขการสร้าง อปท.มีการบริหารจัดการที่ดีขึ้นอยู่กับ 3 เงื่อนไขสำคัญคือ  องค์ความรู้  ความโปร่งใส  และ การมีส่วนร่วม

            จะพัฒนา อปท.ให้โปร่งใส ควรจะ “ใช้กลยุทธทางบวก” คือ ให้ความรู้แก่ชุมชนและท้องถิ่น  อยากให้เกิดสถาบันมาทำหน้าที่นี้   ใช้ความรู้ไปบริหารองค์กร  สร้างความพึงพอใจแก่ประชาชน    ขณะนี้มี อปท.หลายแห่งคิดมาตรการป้องกันทุจริตขึ้นเองและได้ผล เช่น อบต.ดอนแก้ว จ.เชียงใหม่  ใช้ชาวบ้านร่วมในการป้องกันฮั้วงาน อบต.

 (ธีรศักดิ์ นานิชวิทย์ เลขาธิการสมาคม อบต.แห่งประเทศไทย)

            “ ได้เสนอในที่ประชุมใหญ่เสนอการปฎิรูปประเทศไทยต่อนายกรัฐมนตรี เมือวันที่ 5 ก.ค. 53  ว่านักการเมืองข้างบนแสวงประโยชน์ไม่ทำตัวเป็นแบบอย่าง  นายกอภิสิทธิ์ ตอบว่า ให้ท้องถิ่นอย่างเอาเป็นแบบอย่าง ให้แยกไปทำตัวอย่างที่ดี  จึงมีความเห็นว่า อปท.ควรมาปฎิรูปตัวเอง เสนอให้ทำวาระให้ประชาชนมีส่วนร่วม  ให้ชาวบ้านและสภาฝ่ายค้านได้ตรวจสอบการทำงาน  เอาคนที่เคยเป็นคู่แข่งลงเลือกตั้งมาเป็นพวกเดียวกันทำงานเพื่อท้องถิ่น  ทั้งหมดนี้ได้ทำแล้วเกิดผลที่ตำบลหนองขนาน

            อยากให้รวม อปท.ที่ดี ๆ (เช่น อบต.ดอนแก้ว เชียงใหม่)   ปรากฏตัว ไมแอบอยู่ซอกหลืบ  รวมเป็นหัวหอกปฎิรูปท้องถิ่นให้เกิดผลสะเทือน

นายระวี  รุ่งเรือง  นายก อบต.หนองขนาน  อ.เมือง จ.เพชรบุรี

            “ทุจริต อปท.เป็นปลายทาง  ต้องแก้ทั้งระบบ   แก้ที่นโยบายรัฐบาลบาล  ไม่เกิดโครงการประเภท “ขายงบประมาณ –เรียกเงินทอน” ต้นทางไม่ทำให้น้ำดำ ปลายท่อ ปอท.ก็จะเป็นน้ำสะอาด   

            ได้ทำมามากที่ตำบลบ้านหม้อ  ได้ให้การเรียนรู้ประชาชน ให้รู้การบริหาร อบต.  รู้การจัดซื้อจัดจ้าง  ให้งบประมาณแก่กลุ่มชาวบ้านทำโครงการ บริหารเอง   ต้องให้ความรู้แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คือ นักการเมือง  ข้าราชการ  ประชาชน  การให้ให้ อบต.และ สภาองค์กรชุมชน เป็นองค์กรสนับสนุน  ให้ชาวบ้านและสังคม เป็นตัวกลางผู้ปฎิบัติ  ความรู้ไม่ใช่แค่ “อบรมประชาธิปไตย” ต้องให้เรียนรู้จริง ปฎิบัติจริง เกิดประโยชน์แก่ประชาชนเป็นรูปธรรม  นายก อปท.ได้ความนิยมทางการเมือง

            เปิดโอกาสให้ประชาชนเป็นเจ้าของ อปท. ร่วมประเมินผลงาน  คือ   ประเมินคน  ประเมินนโยบาย  พร้อมกับพัฒนาองค์ความรู้อย่างเป็นกระบวนการ  อปท.ควรเป็นเจ้าภาพ สนับสนุนสร้างระบบ เพื่อนำ อปท.เป็นองค์กรที่มีมาตรฐาน

นายธีรศักดิ์  พานิชวิทย์

            “เป็นที่รู้กันว่าส่วนกลางมีปัญหา ท้องถิ่นไม่ควรหวังจากรัฐบาล  ควรเริ่มจากท้องถิ่นเอง  คิดเอง  เป็นตัวของตัวเอง มุ่งมั่นสร้างความจริญให้ท้องถิ่น”

นายลำพูน มนัยนิล  นายก อบต.ป่ามะม่วง  อ.เมือง  จ.ตาก

            “ประเด็นทำให้ท้องถิ่นใสสะอาดเป็นเรื่องเล็กไปแล้ว  เรื่องที่พูดกันนี้เป็นเรื่องอนาคตของท้องถิ่น เป็นเรื่องใหญ่  การให้ความรู้แก่ อปท.ให้รู้จักตัวเอง  โดยมีเป้าหมาย  1) อปท.บอกกับสังคมได้ว่า อปท.ไม่ใช่แหล่งทุน แต่เป้นกลไกการพัฒนาท้องถิ่น  2) ท้องถิ่นไม่ใช่แหล่งหาผลประโยชน์แต่เป็นพื้นที่แห่งการพัฒนา  3) ท้องถิ่นเป็นพื้นที่แห่งการสร้างความเข้มแข็งและการจัดการความรู้

นายุทธศิลป์  ป้านภูมิ

            เรากำลังทำเรื่องใหญ่ จะเปลี่ยนนโยบายรัฐ  เราจะชูวาระ “ปฏิรูปท้องถิ่น – ปฏิรูปประเทศไทย”  สมาคม อบต.ได้เป็นคณะทำงานในโครงการปฏิรูปประเทศไทย ได้กำหนด 7  ประเด็นสำคัญ ได้แก่

            1) การพัฒนาคน  2) กระจายอำนาจ  คือ พัฒนา “พฤติกรรมการกระจายอำนาจ”  ให้เงินอุดหนุนทั่วไป ต้องมากกว่าการอุดหนุนเฉพาะกิจ  3) การศึกษา  4) สุขภาพ 5) ระเบียบ-หนังสือสั่งการ  6) การบริหาร 7) หลักการปกครองตนเอง

          อยากให้ ปปท. ผนึกพลังท้องถิ่น  สร้างมิติใหม่การบริหารท้องถิ่นใหม่ พร้อมกับการปฎิรูประบบกลางที่กำกับดูแลท้องถิ่น

ธีรศักดิ์  พานิชวิทย์

ความร่วมมือกับ ปปท.

            การทำงานร่วมกันระหว่าง ปปท กับ อปท. จะมีลักษณะเป็นภาคี ร่วมกันคิด เสนอแนวทางพัฒนาในทางบวก  อยากได้องค์กรที่สมัครใจพร้อมที่จะพัฒนาเป็นองค์กรใสสะอาด  คาดว่าวันนี้จะได้ข้อสรุปร่วมกันในการเดินงานต่อไป  อยากก้าวพ้นวิธีการแบบเก่า ๆ เช่น ตรวจสอบ  ประเมิน  ให้รางวัล แก่องค์กร    อยากเห็นตัวชี้วัดใหม่ ๆ เช่น ความพึงพอใจของประชาชน  ปปท.พร้อมสนับสนุน อปท. “ถ้าไม่อยากทุจริต คิดถึง ปปท.”    

                                                          นายภิญโญ  ทองชัย  เลขาธิการ ปปท.

            “เรื่องท้องถิ่นใสสะอาดกลายเป็นเรื่องเล็กไปแล้ว เรื่องใหญ่กว่าคือ การกำหนดวาระแห่งชาติ -  “ปฎิรูปท้องถิ่น คือ การปฎิรูปประเทศไทย”  ด้วย 3 ยุทธศาสตร์  คือ 1) ให้ความรู้แก่ท้องถิ่นเป็นเครื่องมือแห่งการเปลี่ยนแปลง   2) ระดม อปท.นำร่อง สร้างการเปลี่ยนแปลงใหม่ในการบริหารโปร่งใส โดยให้ประชาชนทราบขั้นตอนชัดเจนและมีส่วนร่วม เช่น การจัดซื้อ จัดจ้าง  3) ร่วมมือ กับ ปปท.ในการตรวจสอบหน่วยเหนือกว่าท้องถิ่นขึ้นไป จากอำเภอ จังหวัด จนถึงส่วนกลาง”

            นายสมพงษ์  พัดปุย  ผู้ประสานงานเครือข่ายท้องถิ่นไทย

        ฟังดูแล้วที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นด้วยในหลักการโครงการ “อปท.ใสสะอาด”  แต่มีข้อสังเกตว่า ให้ชื่อโครงการดูนิ่มหน่อย เป็นภาพทางบวก  กิจกรรมที่จะส่งเสริม อปท.ได้แก่ การขับเคลื่อนยกตัวอย่างสิ่งดีของ อปท.  การพัฒนาความรู้  ข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรค คือ นโยบายรัฐบาล  ระเบียบกฎหมายที่ไม่สอดคล้อง  ภาคประชาชนก็ทีทั้งที่พร้อมและยังไม่พร้อม

        แนวทางดำเนินงานต่อไปได้แก่  1)การค้นหา อปท.ที่เป็นตัวอย่างเพื่อสรุปเป็นรูปแบบสร้าง อปท.ใสสะอาด    ตัวชี้วัดที่สำคัญคือ ประสิทธิภาพ  ความโปร่งใส  การมีส่วนร่วม  ความพึงพอใจจองประชาชน   2) ศึกษาปัญหาโครงสร้างและกลไกส่วนกลาง ที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น    3) พัฒนระบบให้มีประสิทธิภาพ เช่น  วางระบบให้สั้นกระชับ   ให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจวินิจฉัยน้อยที่สุด  ให้ชาวบ้านได้ประโยชน์มากที่สุด   น่าศึกษาว่า อปท.ท้องถิ่นที่โปร่งใสทำไมงบรัฐไม่ลง  ค้นกาวิธีการให้ความรู้กับประชาชนที่ได้ผล

        ปปท.ตั้งใจที่จะแก้ปัญหาทุจริตโดยสร้างให้เป็นกระแสต่อต้านทุจริตของสังคม  ในทางปฎิบัตเน้นตรวจสอบที่ต้นทาง  สำหรับปรายทางใช้วิธีทางบวก คือส่งเสริมมาตรการป้องกัน   จึงมีแนวทางทำงานกับท้องถิ่นว่า “ถ้าไม่อยากทุจริต คิดถึง ปปท.”  เราพร้อมจะช่วยเหลือแก้ไขข้อขัดข้องที่ทำให้ท้องถิ่นไม่สบายใจ

นายภิญโญ ทองชัย

 

หมายเลขบันทึก: 377181เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2010 16:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • น่ายินดีครับ
  • มีแต่คนคุ้นเคยทั้งนั้นเลยทั้งนายกหมี_ธีรศักดิ์  พานิชวิทย์ ,  นายกยุทธศิลป์  ป้านภูมิ , นายกลำพูน มนัยนิล , คุณณัชพล เกิดเกษมและพี่สมพงษ์  พัดปุย
  • มีแต่แนวคิดที่ดีๆทั้งนั้น แต่ทำอย่างไรจึงจะมีคนนำไปปฏิบัติ ทำอย่างไรจึงจะขับเคลื่อนไปได้

 เมื่อสิบกว่าปีก่อนตอนที่พูดกันเรื่อง “ปฏิรูปการศึกษา” ผมได้แสดงมุมมองว่า ไม่ต้องคิดอะไรให้อลังการณ์จนเกินไป “แค่ปฏิรูปครู ปฏิรูปผู้บริหาร (ในกระทรวง ในโรงเรียน) ให้ได้” แค่นี้การศึกษาก็ได้รับการปฏิรูปแล้ว . . .

มาถึงวันนี้หลังจากที่มีการพูดเรื่อง “ปฏิรูปประเทศไทย” ผมเองก็ยังรู้สึกคล้ายๆ เดิมว่า เรามาผิดทาง(กันอีก) หรือเปล่า? คิดกันมากเกินไปหรือเปล่า? เพราะเพียงแค่เราปรับทัศนคติ ปรับเปลี่ยนความคิด (พฤติกรรม) ของ “นักการเมือง และข้าราชการ” ได้ (อาจจะไม่ทุกคน แต่พยายามให้มากที่สุด) แค่นี้ประเทศไทยก็เปลี่ยนไปแล้ว พูดง่ายๆ ก็คือการปฏิรูปประเทศไทยจะเกิดขึ้นได้หากมีการ “ปฏิรูปนักการเมืองและข้าราชการ” 

นั่นเป็นทัศนะของท่านอ.ประพนธ์  ผาสุขยืด ครับ และท่านยังบอกอีกว่าตอนนี้เราไม่ได้ขาดแนวความคิดที่ดีๆ แต่ขาดรถที่ดีๆที่น่าโดยสารไปด้วยและขาดพลขับที่น่าไว้วางใจ

 ในปัจจุบันมีกระแสเรื่องการทำ Road Map กันค่อนข้างมาก . . สำหรับผมแล้ว ผมว่าเราไม่ได้ขาด Road Map “ถนนหรือแผน” หรอกนะ ผมว่าที่เราขาด ที่เราต้องการ น่าจะเป็น “ตัวรถ” หรือ “คนขับ” มากกว่า ไม่รู้ว่าท่านเห็นด้วยหรือไม่? ถึงเราจะมี Road Map มากมาย แต่หากไร้ซึ่ง  “ตัวรถ” หรือไม่มี “คนขับ” เราก็ขยับไปไหนไม่ได้ . . . Road Map ก็คงจะกลายเป็นเศษกระดาษไป จริงไหมครับ. . เจ้านาย

ผมก็เบื่อมเหมือนกัน เรื่องใหญ่ตามกระแส (ปฎิรูปประเทศ) ไม่อาจเป็นจุดเปลี่ยนได้จริง ๆ 

มีแนวรบ ๒ แนว  ๑) ระดับโครงสร้างบนคือ เปิดทางนโยบายและกฎหมาย (ขณะนี้ก็มีพอควรแล้ว)  ๒) ระดับล่างคือสนามรบแพ้-ชนะจริงอยู่แค่หมู่บ้าน ใหญ่ที่สุดไม่เกินตำบล เงื่อนไขเปลี่ยนคือ คน (ความคิด-พฤติกรรม) เป็นพื้นที่งานของเรา  กลุ่มเครือข่ายปัญหาประชาชนนั้น ที่้สุดก็ไปหยุดกันในพื้นที่

มาทำกันที่พื้นที่กันดีกว่า นับตำบลกันเลย ขณะนี้นับได้กว่าครึ่งร้อยแล้ว

สมพงษ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท