beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

ความรู้มือสอง <๑๒> จิต ๓ ระดับ


   จิต (mind) ของคนเรามี ๓ ระดับด้วยกัน

  1. จิตสำนึก (Consciousness) คือ จิตที่เราใช้ในชีวิตประจำวันปรกติ เป็นจิตใจระดับเหตุผล ทำให้เกิดการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมต่างๆ โดยเลือกแล้วว่าจะทำหรือไม่ทำอะไร
  2. จิตใต้สำนึก (Subconsciousness) คือ จิตที่เก็บ memory ต่างๆ ของตัวเรา เป็นจิตที่อยู่เหนือเหตุผล รับข้อมูลจากประสบการณ์ และจดจำทั้งเรื่องดีและไม่ดีไว้ในใจ เกิดเป็นนิสัยและลักษณะของแต่ละคน ทำอะไรโดยอัตโนมัติไม่ต้องนึกคิด  จิตใต้สำนึกนี้เป็นพลังจิต เป็นพลัง 90 เปอร์เซนต์ของมนุษย์ที่ไม่ได้นำไปใช้ เป็นพลังแห่งสัญชาตญาณ
  3. จิตเหนือสำนึก (Supra-conscious) คือ สภาพของจิตที่มีสติควบคุมอย่างสม่ำเสมอ ถ้าฝึกบ่อยๆ เข้าก็จะกลายเป็นมหาสติ บางเรื่องก็เป็นการสั่งสมมาจากชาติปางก่อนและชาตินี้ บางครั้งถ้าเราคิดเรื่องอะไรไม่ออก แต่เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของเรา ถ้าถึงคราวจะคิดออกก็จะเกิดอาการ "ปิ๊งแวบ" ขึ้นมา มองเห็นวิธีการต่างๆ ในการทำงานหรือแก้ปัญหา อย่างนี้เราเรียกว่า ปรีชาญาณ ปัญญาญาณ หรือ intuition

beeman by Apinya

มนุษย์ผึ้งมหัศจรรย์  
神奇的蜂爷
  
(shen2  qi2  de1  feng1  ye2)

หมายเลขบันทึก: 377011เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2010 09:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

..สวัสดีค่ะ..คุณ Bee man มนุษย์ผึ้งมหัศจรรย์..อ่านแล้วปิ้งเลยเจ้าค่ะ....ยายธี

สวัสดีครับ

แวะมาอ่าน ครับ

ต้องฝึกพัฒนาเจ้าจิตเหนือสำนึกบ่อยๆครับ

ขอบพระคุณท่านอาจารย์ครับ...

เรียน ยายธิ

  • ตั้งใจจะเขียนเชื่อมโยง จิต 3 ระดับ กับ ความรู้ 3 ระดับเข้าด้วยกัน เพราะใช้สอนวิชาชีวิตกับนิสิต
  • แต่ถ้ายายธิเข้าใจ หรือปิ๊งในบันทึกเดียว ผมก็ดีใจแล้วครับ..อิอิ

เรียน คุณ phomphon

  • ตามที่ผมเข้าใจนะครับ
  • ผมเคย"ปิ๊งแวบ" ครั้งหนึ่ง ตอนทำวิทยานิพนธ์ คือ เราคิด "วิธีการ" ดำเนินการทดลองไม่ออก เพราะยังไม่เคยทำ
  • เราก็คิดถึงเรื่องนี้บ่อยๆ ความคิดนี้ก็เลยฝังไว้ในจิตใต้สำนึก
  • ตอนเย็นๆ หลังเลิกงาน ผมก็จะไปนอนเล่นหลังบ้านพัก (ในสวนที่เราไปทำงาน อยู่ที่จังหวัดตราด) รอทานข้าวเย็นที่แม่บ้านจะทำมาให้
  • หลังจากผ่านไปราว 1 เดือนเห็นจะได้ พอคิดเรื่องอื่นเพลินๆ ไม่ได้คิดเรื่อง "วิธีการ" ในวิทยานิพนธ์เลย อยู่ๆ เจ้าจิตใต้สำนึกก็เชื่อมโยงเรื่องนี้กับจิตเหนือสำนึก และมันก็ "ปิ๊งแวบ" ออกมาเลย มองเห็นวิธีการที่จะทำงาน
  • แล้วเราก็รีบมาจดเป็น "วิธีการ" เป็น Step by Step ย่อๆ เอาไว้กันลืม
  • แล้วค่อยหาเวลาเอา หัวข้อย่อยๆ เหล่านั้นมาขยายความอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งก็ทำได้ง่ายครับ

สวัสดีค่ะ

แวะเวียนมาโดย"จิตสัมผัส"ค่ะ(เกี่ยวอะไรกับ จิต 3 ระดับไหมคะเนี่ย)

ขอบพระคุณที่ชี้แนะนะคะ (ยังต้องฝึกฝนอีกหลายหมื่นลี้เลยค่ะ)...

เรียน ท่านน้ำเกลือหวาน

  • ชาวนาวิดน้ำเข้านา ช่างศรดัดลูกศร บัณฑิตย่อมฝึกตน
  • จิตสัมผัส หรือ six sense เกี่ยวข้องกับจิตที่ผมบันทึกไว้แน่นอนครับ

ผมเพิ่งเคยรู้จักกับคำว่า "Intution" เมื่อไม่นานมานี้เอง จากหนังสือของท่านอ. ประพนธ์ ผาสุขยืด แต่อาจารย์แปลคำนี้ด้วยคำว่า "ปัญญาณาณ" ครับ ที่เข้าใจกับคำนี้มากขึ้นก็เห็นทีจะเป็นเรื่องที่ประสบกับตัวเองที่พยายามคิดเท่าไหร่ก็คิดไม่ออก พอหยุดคิดจิตนิ่งสงบเท่านั้นแหละ มันออกมาเองเลยครับ โดยเฉพาะเวลาที่ตื่นนอนใหม่ๆ ทำกิจธุระในห้องน้ำ (อย่าหาว่าหยาบคายเลยนะครับ)

  • อันที่จริงต้องใช้คำว่า ปัญญาญาณ ครับ
  • ผมแก้ไขแล้วครับ
  • ขอบคุณท่านไทยเลย-บ้านเฮครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท