รายการสายใย กศน. 19, 26 ก.ค., 2, 9, 16, 23 ส.ค.53


19 ก.ค.53 เรื่อง "การจัด กศน.ตำบล ในชุมชนเอื้ออาทรบางกร่าง", 26 ก.ค.53 เทปซ้ำ 5 ก.ค.53, 2 ส.ค.53 “กิจกรรมของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครศรีธรรมราช”, 9 ส.ค.53 เรื่อง "อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์", 16 ส.ค.53 เรื่อง "ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต", 23 ส.ค.53 เรื่อง "ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสมุทรสาคร"

 

รายการสายใย กศน. วันที่  23  สิงหาคม  2553

 

         เรื่อง “ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสมุทรสาคร”

         นายอิทธิเดช  สุพงษ์  ดำเนินรายการ

         วิทยากรโดย
         - นายประกิต  จันทร์ศรี  ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสมุทรสาคร
         - อัญอทิกา  คชเสนีย์  หัวหน้าส่วนวิชาการ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสมุทรสาคร
         - นายสุเมธ  ปะทุปะโพธิ์  นักวิชาการศึกษา ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสมุทรสาคร


         ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสมุทรสาคร มีพื้นที่ 18 ไร่ 2 งานเศษ  อยู่ในเขตปริมณฑลติดกับกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ที่ ต.โคกขาม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร  ห่างจากกรุงเทพฯ 30 กม. ไปตามถนนพระราม 2 ถึง กม.ที่ 17 เลี้ยวเข้าตรงวัดพันท้ายนรสิงห์ไปอีก 3 กม. อยู่ใกล้วัดโคกขาม ใกล้ศาลพันท้ายนรสิงห์   หรือเลยไปเข้าทาง กม.ที่ 20 ตรงปั้มบางจาก เข้าไปอีก 3 กม.   นอกจากนี้มีบริการรถไฟฟรีจากสถานีวงเวียนใหญ่ไปลงสถานีคอกกระบือแล้วต่อรถรับจ้าง

         พื้นที่ให้บริการประชาชนทั่วไปคือทั่วประเทศ, พื้นที่ให้บริการในระบบ 6 จังหวัด คือ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นนทบุรี ปทุมธานี, พื้นที่ให้บริการนอกระบบ 4 จังหวัด คือ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี สมุทรปราการ

         มีข้าราชการรวม ผอ. เป็น 7 คน,  มีลูกจ้างจ้างเหมา 17 คน แบ่งเป็นนักวิชาการศึกษาและวิทยากรนำชม 7 คน นอกนั้นเป็นเจ้าหน้าที่บริการทั่วไปเช่นพนักงานรักษาความสะอาด คนสวน ยาม

         เปิดให้บริการทุกวัน หยุดเฉพาะวันนักขัตฤกษ์


         ภารกิจ คือ
         1. จัดและบริการการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม แก่นักเรียน นักศึกษา ทั้งในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน และประชาชน ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ
         2. ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนารูปแบบกิจกรรม หลักสูตร สื่อ และกระบวนการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม อาทิ ธรรมชาติวิทยา เทคโนโลยีที่เหมาะสม ดาราศาสตร์ 
         3. เผยแพร่และบริการรูปแบบกิจกรรม หลักสูตร สื่อ และกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
             ( เผยแพร่ทาง เคเบิ้ลทีวี, จัดรายการวิทยุชุมชนวันเสาร์-อาทิตย์-จันทร์, คอลัมน์ประจำใน นสพ.ท้องถิ่น, ประชาสัมพันธ์จังหวัด, เว็บไซต์ www.scissk.net )
         4. พัฒนา ครู อาจารย์ วิทยากร และบุคลากรทางการศึกษา ผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
         5. ส่งเสริม สนับสนุนและประสานงานร่วมกับภาคีเครือข่าย ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
         6. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย


         จุดขายของ ศว.สค. นอกจากจะอยู่ใกล้กรุงเทพฯแล้ว ยังอยู่ติดทะเล ใกล้ป่าชายเลน จึงจัดฐานการเรียนรู้ป่าชายเลนเป็นกิจกรรมเด่น มีสะพานไม้ให้เดินชมป่าชายเลน ชมปูแสม ปูก้ามดาบ ปลาตีน และพันธุ์ไม้หายาก เช่น ตะบัน ขวากดอกสีแดง พังกา ลำพู เหงือกปลาหมอดอกสีแดงดอกสีม่วง ( แจ้งล่วงหน้าให้เตรียมชุดลุยโคลน มีรองเท้าลุยโคลนให้ )

         นอกจากนี้มีฐานการเรียนรู้อื่น ๆ เช่น
         - ฐานการเรียนรู้ดาราศาสตร์และอวกาศ
         - ฐานการเรียนรู้บ้านประหยัดพลังงาน  เกี่ยวกับพลังงานทดแทน เช่น พลังงานจากแสงอาทิตย์, พลังงานลม, พลังงานชีวมวล เป็นต้น, การเกิดปรากฏการณ์ภาวะโลกร้อน และศึกษาอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานจากธรรมชาติ
         - ฐานการเรียนรู้สัตว์ป่าสงวน
         - ฐานการเรียนรู้เปิดโลกธรณีวิทยาและสวนไดโนเสาร์
         - ฐานการเรียนรู้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เพื่อชุมชน เกี่ยวกับสารเคมีในชีวิตประจำวัน
         - ฯลฯ

         นอกจากนี้มีรถนิทรรศการดาราศาสตร์ เคลื่อนที่ ไปได้ทั่วประเทศ เคยไปถึงยะลา เชียงใหม่

         พยามปรับสัดส่วนกลุ่มเป้าหมาย ให้บริการในระบบ 40 %  นอกระบบและประชาชนทั่วไป 60 %
         มีกิจกรรมทำร่วมกับชุมชน


         ค่ายวิทยาศาสตร์  ( ตอนนี้จองเต็มถึง ม.ค.54 แล้ว ) จองทางเว็บไซต์ หรือโทรศัพท์ 034-552122 ต่อ 111, 108, 034-452126-7 แล้วส่งหนังสือหรือติดต่อด้วยตนเองเพื่อตกลงเรื่องรูปแบบและฐานที่ต้องการ  จากนั้น ศว.จะตอบกลับเป็นหลักฐาน   มีค่ายต่าง ๆ เช่น
         - ค่ายทักษะวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์
         - ค่ายวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
         - ค่ายบูรณาการการเรียนรู้ ( รวมหลายสาระ หรือ กิจกรรมพิเศษเฉพาะกิจ )
         ค่าย 3 วัน 2 คืน ค่าบริการรวม 500 บาท/คน, 2 วัน 1 คืน 350 บาท/คน, 2 วันไปกลับ 200 บาท/คน
         ถ้ามาชั่วคราว เช่นใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ชม.ละ 10 บาท/คน
         นอกจากนี้ มีการฝึกอบรมบุคลากรทางการศึกษา เช่นเรื่องโครงงานวิทยาศาสตร์, การจัดค่ายฯ

         ปีนี้มีผู้รับบริการแล้ว 7 พันกว่าคน จากเป้า 8 พันคน คาดว่าจะเกินเป้า

         อบจ.สมุทรสาคร สนับสนุนงบประมาณให้ ศว. จัดค่ายพาวเวอร์กรีนซัมเมอร์แคมป์ อบรมนักเรียนในเขต จ.สมุทรสาคร ( อย่างน้อย 2 วัน 1 คืน ) ทุกปี, อบต.โคกขามสนับสนุนสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ทำถนนเข้าศูนย์ฯ

         ปีนี้ได้งบพัฒนาจังหวัดมาจัดสร้างศูนย์เรียนรู้ป่าชายเลนเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางเลือกใหม่ เปิดเมื่อ 17 มิ.ย.53 ผู้มาเที่ยวพึงพอใจ ซึ่งจะของบพัฒนาต่อเนื่องในปีต่อไป

 


รายการสายใย กศน. วันที่  16  สิงหาคม  2553


         เรื่อง “ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต”

         นายอิทธิเดช  สุพงษ์  ดำเนินรายการ

         วิทยากรโดย
         - นายสุรนันท์  ศุภวรรณกิจ  ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต
         - มณฑา  เกรียงทวีทรัพย์  หัวหน้าส่วนวิชาการ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต
         - นายปัญญา  ศรีกระจ่าง  หัวหน้าส่วนท้องฟ้าจำลอง ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต


         เริ่มด้วย VTR แนะนำ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต ซึ่งตั้งอยู่ที่ เลขที่ 5 ม.2 คลอง 6 ต.รังสิต ถ.รังสิต-นครนายก จ.ปทุมธานี  โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2550   พื้นที่บริการหลักคือ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี นครนายก  กลุ่มเป้าหมายทั้งในระบบนอกระบบ ครูอาจารย์และผู้สนใจ   มีผู้มาชมและร่วมกิจกรรมปีละเกือบ 2 แสนคน และมากขึ้นเรื่อย ๆ   มีท้องฟ้าจำลองที่ทันสมัยในเอเชียอาคเนย์   วันจันทร์หยุดให้บริการกลุ่มเป้าหมาย ส่วนวันอังคารถึงอาทิตย์ ให้บริการระหว่างเวลา 09:00 - 16:00 น.   ผอ.ศว.รังสิต เป็นประธานกลุ่ม ศว. 15 แห่ง

         มีกิจกรรมดังนี้

         - นิทรรศการ
         - ห้องเรียนวิทยาศาสตร์
         - ค่ายวิทยาศาสตร์
         - อบรมวิชาการ
         - ส่งเสริมการเรียนรู้
         - ท้องฟ้าจำลอง


         ในส่วนของนิทรรศการ  จัดในอาคารโล่งกว้างไม่มีเสา  มีวิทยากรคอยตอบข้อสงสัย  มี 15 นิทรรศการ คือ
         ชั้น 1
         - เมืองเด็ก แดนวิทยาศาสตร์มหัศจรรย์  เหมาะกับเด็กอายุ 3-8 ปี
         - โลกล้านปี   มีหุ่นไดโนเสาร์ที่สวยงามสมจริง
         - มหัศจรรย์แห่งชีวิต  ( DNA การโคลนนิ่ง เทคโนโลยีพันธุกรรม )
         - เปิดโลกสิ่งแวดล้อม  ( ปรากฏการณ์ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม แนวทางการอนุรักษ์ )
         - โลกดาวเคราะห์
         ชั้น 2
         - ประทีบแห่งแผ่นดิน  ( พระปรีชาสามารถและพระอัฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว )
         - ดาราศาสตร์และอวกาศ
         - วิทยาศาสตร์พื้นฐาน
         - กีฬากับวิทยาศาสตร์
         - เทคโนโลยีการขนส่ง
         ชั้น 3
         - เทคโนโลยีการออกอากาศ
         - เทคโนโลยีการสื่อสารกับชีวิตประจำวัน
         - วิทยาศาสตร์การกีฬา
         - เทคโนโลยีการเกษตร
         - มอลต์แพลนเนต  ( แหล่งพลังงานและสารอาหารในข้าวมอลต์ )
         นิทรรศการที่มีผู้สนใจเข้าชมมากคือ มหัศจรรย์แห่งชีวิต, ดาราศาสตร์และอวกาศ วิทยาศาสตร์พื้นฐาน

         นอกจากนี้ มีสิ่งแสดงทางวิทยาศาสตร์ด้านนอกอาคาร   
         มีนิทรรศการชั่วคราว เช่น นิทรรศการ 150 ปีชาล ดาวินน์, ไข้หวัด 2009, ความหลากหลายทางชีวภาพ
         มีนิทรรศการวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตเคลื่อนที่สู่ชมชน ( ในงานจังหวัดเคลื่อนที่ ) และสู่สถานศึกษา  รวมเดือนละประมาณ 2 ครั้ง เช่นเรื่องการทำเจลล้างมือ


         ห้องเรียนวิทยาศาสตร์
         เน้นให้ได้สัมผัส-ปฏิบัติจริง สังเกต ทดลอง เก็บข้อมูล สรุป ไม่เน้นการบรรยาย  วิชาใหม่คือ เรียนรู้วิทยาศาสตร์กับข้าวไทย, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ   ค่าเรียน 3 ชั่วโมง คนละ 30 บาท   สามารถจัดวิชานอกเหนือจากที่กำหนดได้ ตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

         ค่ายวิทยาศาสตร์
         เน้นให้เกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เน้นกระบวนการกลุ่ม และเน้นการปฏิบัติจริง คุณธรรมจริยธรรมการอยู่ร่วมกัน   ส่วนใหญ่จองมาเป็นกลุ่ม ( ต้องจองล่วงหน้า )  แต่ช่วงปิดเทอมจะมีค่ายให้สมัครเป็นครอบครัว
         ค่ายไปกลับ 1 วัน คนละ 100 บาท
         ค่าย 2 วัน 1 คืน คนละ 150 บาท
         ค่าย 3 วัน 2 คืน คนละ 200 บาท

         อบรมวิชาการ  สำหรับครูและผู้สนใจ
         จัดอบรมครู กศน. เรื่องกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ปีละอย่างน้อย 1 รุ่น, อบรมครูในระบบโดยบางหลักสูตร จัดทำหลักสูตรและเป็นวิทยากรร่วมกับมหาวิทยาลัย   มีผู้เรียกร้องให้จัดอบรมอย่างต่อเนื่อง

         ส่งเสริมการเรียนรู้
         กิจกรรมเสริมทักษะ ไม่ต้องจองล่วงหน้า หมุนเวียนเปลี่ยนกิจกรรมทุก 3 เดือน เช่น การใช้สีธรรมชาติย้อมผ้า, กล้องสลับลาย
         มีการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ในอินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ www.rscience.net/

         ท้องฟ้าจำลอง
         จอแบบโดมเอียง 25 องศา ไม่ต้องแหงนคอ ใกล้ชิดกับจอ  160 ที่นั่ง ผู้เข้าชมมีตั้งแต่อนุบาลถึงมหาวิทยาลัย  ให้บริการ 2 รูปแบบ
         - ฉายภาพยนตร์  ปัจจุบันมี 4 เรื่อง เป็นเรื่องเกี่ยวกับ การสำรวจอวกาศ, ปลาผู้พิทักษ์น้ำทะเล ( การ์ตูน ), มหัศจรรย์แห่งดวงดาว, กำเนิดชีวิต
         - บรรยายดาว  ใช้วิธีบรรยายสด มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม ปรับเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้ชม เช่น เด็กอนุบาลก็เล่านิทานมากหน่อย
         วันอังคารถึงวันศุกร์ ฉายวันละ 6 รอบ ส่วนวันเสาร์อาทิตย์เพิ่มรอบ 16:00-17:00 น. เป็น 7 รอบ  มีวิทยากรบรรยาย 3 คน ผลัดเปลี่ยนกัน ค่าชมคนละ 30 บาท  ต้องจองล่วงหน้า ขณะนี้มีการจองถึงเดือนธันวาคม 2553 แล้ว


         ปีนี้ ศว.รังสิต จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ไปแล้ว  มีเครือข่ายมาร่วมจัด 18 หน่วยงาน  มีผู้ร่วมกิจกรรมรวม 5 วัน เกือบ 2 หมื่นคน


         ( มีรางวัลให้ผู้ชมที่โทรศัพท์เข้าไปถามคำถามในรายการ )



รายการสายใย กศน.  วันที่  9  สิงหาคม  2553


         เรื่อง “อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์”
         ดำเนินรายการโดย นายอิทธิเดช  สุพงษ์
         วิทยากร คือ
         - นายสงัด  ประดิษฐสุวรรณ์  ผอ.เชี่ยวชาญ อุทยานวิทยาศาสตร์ฯ หว้ากอ
         - นายโสฬส  ชุติภัค  หัวหน้างานการตลาดและประชาสัมพันธ์ อุทยานวิทยาศาสตร์ฯ หว้ากอ

         เริ่มด้วย VTR เล่าประวัติการเสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ณ หว้ากอ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย, ประวัติการก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระจอมเกล้าฯ และการได้รับพระราชทานชื่อโครงการ “อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์” เมื่อปี พ.ศ.2532 ในพื้นที่ประมาณ 500 ไร่  เป็นสถานศึกษาแห่งเดียวที่มีบริเวณติดกับทะเลถึง 3.5 กม.  ( อ่าวหว้ากอ ) ที่หมู่บ้านหว้ากอ ต.คอลงวาฬ อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์  ห่างจากกรุงเทพฯ 335 กม. ใช้เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมงกว่า ถนน 4 เลนตลอด  ห่างจากอ่าวมะนาว 5 กม.

         อุทยานวิทยาศาสตร์ฯหว้ากอ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ดาราศาสตร์ อวกาศ ธรรมชาติวิทยา และสิ่งแวดล้อม   มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่เยาวชนนักเรียนนักศึกษาและประชาชนที่สนใจ  จัดแสดงนิทรรศการเป็นฐานการเรียนรู้ ( มีวิทยากรประจำฐานทุกวัน ) ดังนี้
         - ฐานการเรียนรู้บันทึกเกียรติยศ ( นิทรรศการแสดงพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ไทย ตลอดจนภูมิปัญญาของนักวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น )
         - ฐานพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ ( พระราชประวัติของ ร.4 ในทุกด้าน ประกอบแสงและเสียง )
         - ฐานการเรียนรู้เทคโนโลยีอวกาศและเอกภพ ( แสดงด้วยสื่ออิเล็คทรอนิคส์และสื่อประสมที่ให้ความรู้คู่ความเพลิดเพลิน )
         - ในอาคารดาราชรัชนี มีนิทรรศการฐานฝากฟ้า ณ หว้ากอ มีกล้องส่องทางไกลชมทัศนียภาพโดยรอบ
         - ฐานระบบนิเวศน์ชายฝั่ง
         - ฐานการเรียนรู้เรื่องเปิดโลกคอมพิวเตอร์
         - ฐานการเรียนรู้นกและแมลง ( ทั้งภายในภายนอกอาคาร รวมการแสดงเรื่องนกโบราณผ่านสื่อประสม )
         - ฐานสวนผีเสื้อ
         ( รวมฐานย่อย ในแต่ละฐานใหญ่ เป็น 23 ฐาน )


         ส่วนกิจกรรมค่าย มี 8 หลักสูตร ( ส่วนใหญ่ 3 วัน 2 คืน มีที่พักและอาหาร ) ได้แก่
         1. ค่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
         2. ค่ายดาราศาสตร์
         3. ค่ายครอบครัว ( จัดช่วงเดือนเมษายน )
         4. ค่ายสิ่งแวดล้อม
         5. ค่ายอนุรักษ์พลังงาน
         6. ค่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต
         7. ค่ายปักษีวิทยา
         8. ค่ายเยาวชน

         ศึกษาจากภูมิทัศน์โดยรอบ กลางวันเรียนรู้ กลางคืนดูดาว ตอนเช้าดูนก เปิดให้จองค่ายทางเว็บไซต์ในเดือนพฤศจิกายน ขณะนี้จองถึง 31 มีนาคม 2554 แล้ว


         อีกอาคารคือ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ( ได้รับความสนใจมากที่สุด ) มี 6 ส่วน คือ
         1) อัศจรรย์โลกสีคราม
         2) จากขุนเขาสู่สายน้ำ
         3) สีสันแห่งท้องทะเล
         4) เปิดโลกใต้ทะเลลึก
         5) พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
         6) กิจกรรมปฏิบัติการ

         บริการ 365 วัน ถ้าไปเป็นหมู่คณะโดยแจ้งล่วงหน้า จะจัดวิทยากรนำชม

         มีนิทรรศการเคลื่อนที่ ไปได้ทั่วประเทศ เช่น มินิอควาเรียม, ท้องฟ้าเคลื่อนที่ ( ที่ ศว.อยุธยา และนครศรีธรรมราช ก็มี )


         “กลางคืนดูดาว เช้าดูนก กลางวันเรียนรู้ตามฐานและดูปลา สักการะ ร.4 ที่หว้ากอ”


         ปีนี้ อุทยานวิทยาศาสตร์ฯหว้ากอ จะจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ระหว่างวันที่ 16-20 ส.ค.53 ( จันทร์-ศุกร์ ) โดยวันที่ 18 ส.ค. จะมีวิธีวางพานพุ่มราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( เป็นปีแรกที่ให้แต่งกายชุดปกติขาว ) เสร็จแล้วจึงเปิดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์
         มีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น
         แรลลี่ฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 5 สาระ
         1. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
         2. แรงและพลังงานเพื่อชีวิต
         3. สารเพื่อชีวิต
         4. สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
         5. ดาราศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศ
         ผู้ผ่านอย่างน้อย 3 สาระ จะได้รับวุฒิบัตร
         กิจกรรมจัดตู้ปลาสวยงาม, ประกวดโครงงาน กศน. ( วันที่ 19 มีประกวดยิงจรวดขวดน้ำ และประกวดเต้นแอโรบิค ), การประกวดการแสดงทางด้านวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในระบบ เช่นใช้ไม้จิ้มฟันหรือไม้ขีดยกน้ำแข็ง ( ประกวดกลุ่มใน จ.ประจวบฯ 16-17 ส.ค., ประกวดตัวแทน ศว. ทั่วประเทศ 14 โรงเรียน ๆ ละอย่างน้อย 3 คน เพื่อรับโล่ รมว.ศธ. 20 ส.ค. )

         ติดต่อสื่อสารกับอุทยานฯได้ทางเว็บไซต์ www.waghor.go.th, โทร. 032-661098, โทรสาร 032-661727

         ต่อไปจะปรับอุทยานฯ ให้เป็น รีสอร์ทเพื่อการศึกษา

         ( มีการถามให้ผู้ชมตอบเพื่อรับของที่ระลึกเป็นเสื้อยืด 3 ตัว และอื่น ๆ   3 คำถาม คือ
           1. ถามชื่อเต็มที่ได้รับพระราชทาน ของอุทยานฯ
           2. ถามช่วงวันที่จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ของอุทยานฯ
           3. ถามชื่อเว็บไซต์อุทยานฯ )

 


รายการสายใย กศน. วันที่  2  สิงหาคม  2553

 

         เรื่อง “กิจกรรมของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครศรีธรรมราช”

         นายอิทธิเดช  สุพงษ์  ดำเนินรายการ

         วิทยากรโดย
         - นายบัญญัติ  ลายพยัคฆ์  ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครศรีธรรมราช
         - ทานตะวัน  เขียวน้ำชุม  จนท.นันทนาการ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครศรีธรรมราช


         ศว. นครศรีธรรมราช ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2538  เริ่มกิจกรรมจริง พ.ศ.2541  ดูแลพื้นที่ จ. สุราษฎร์ธานี สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช  มีพื้นที่ในศูนย์เพียง 1 ไร่เศษ  กิจกรรมเกือบทั้งหมดจะจัดนอกศูนย์ทั่วไป   กิจกรรมหลักคือ ค่ายกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เป็นกิจกรรมที่เด่นที่สุดของ ศว.นครศรีธรรมราช เพราะตั้งอยู่ที่เขาขุนพนม จึงใช้ธรรมชาติที่มีอยู่ ( เขา ถ้ำ ลำธาร สวนผลไม้ ฯลฯ ) เป็นห้องเรียนวิทยาศาสตร์  โดยมีกิจกรรม 5 กลุ่ม  รวม 20 กิจกรรม คือ
         1. กลุ่ม Play and Learn
         2. กลุ่มพลังคนพลังคิด  เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ( กระบวนการคิด ) เช่น กิจกรรมล่าฆาตกร
         3. กลุ่มฝีไม้ลายมือ  เช่น กิจกรรมเส้นสายลายเทียน ( ทำผ้าบาติค ), มัดเส้นเล่นลาย ( ทำผ้ามัดย้อม )
         4. กลุ่มป่าดินหินน้ำ  เช่น กิจกรรม รอดถ้ำ, เดินป่า
         5. กลุ่มทอดรหัสฟ้า  เช่น การดูดาว

         เป็นกิจกรรมที่เหมาะกับช่วงชั้นที่ 2 ขึ้นไป  รับจัดได้โดยไม่มีวันหยุด  ต้องจองล่วงหน้า 6 เดือน ดาวน์โหลดใบจองทางเว็บไซต์   กลุ่มเป้าหมายหลักคือเด็ก  กลุ่มเป้าหมายเฉพาะคือประชาชน  ที่ผ่านมาสัดส่วนผู้รับบริการระหว่าง ในระบบ กับ กศน.  10 : 1

         การเยี่ยมชมในศูนย์ฯไม่เสียค่าใช้จ่าย  ถ้าเข้าค่ายจึงจะเก็บค่าบริการ เช่น 1 วัน ไม่ค้างคืน รวมค่าบริการและอาหารทั้งหมดคนละ 120 บาท  ปัจจุบันค่ายยาวที่สุดคือ 3 วัน 2 คืน ( เคยจัดค่ายพิเศษ 7 วัน, 9 วัน )
         โรงเรียนต่าง ๆ ชอบกิจกรรม  มาซ้ำแล้วซ้ำอีก  บางโรงเรียนมา 13 ครั้งแล้ว

         กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ใหญ่สามารถศึกษานิทรรศการ, กิจกรรมพิเศษ เช่นร่วมกิจกรรมวันเด็กกับเด็ก, กิจกรรมปราชญ์เดินดินถิ่นนคร ( เรียนรู้เรื่องวิทยาศาสตร์-ภูมิปัญญา-สิ่งแวดล้อม จากปราชญ์ชาวบ้าน ), กิจกรรมจากต้นสายสู่ปลายน้ำ ( ศึกษาคุณภาพน้ำตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ )


         เมื่อวันที่ 2-4 กรกฎาคม 2553 ที่ผ่านมา ได้ร่วมจัดกิจกรรมมหกรรมวิทยาศาสตร์สัญจร อย่างยิ่งใหญ่มากกว่าทุกครั้งที่เคยจัด  เป็นการรวมตัวศูนย์วิทย์ฯครบทั้ง 16 แห่ง และเครือข่าย เช่น มหาวิทยาลัย, สสวท., ทหาร  ใช้สถานที่ ม.ราชมงคล  เน้นกลุ่มเป้าหมายประชาชนทั่วไป  มีผู้มาดูงานมากถึงเป็นแสน ( เฉพาะที่ลงทะเบียน 7 หมื่นคน )   ทำให้คนเข้าใจวิทยาศาสตร์ว่าเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน มากขึ้น   ศว. รู้ว่าจะจัดเมื่อ 9 พ.ค.53 ใช้เวลาเตรียมการไม่ถึง 2 เดือน   มีท้องฟ้าจำลองเคลื่อนที่จาก อยุธยา หว้ากอ รังสิต เอกมัย   รถเคลื่อนที่ 13 คัน  มีกิจกรรมให้ลงมือปฏิบัตินำผลงานกลับบ้าน   ท่าน รมว.ศธ. ชื่นชม

         ศว. กศน. ได้สร้างกระแสการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน ให้เป็นที่ยอมรับชื่นชมของโรงเรียนในระบบ



รายการสายใย กศน. วันที่  26  กรกฎาคม  2553
 

         เทป ซ้ำวันที่ 5 ก.ค.53 เรื่อง “การอบรมครูด้วยระบบการศึกษาออนไลน์ของ สถาบัน กศน.ภาค” ( เนื่องจากเป็นวันหยุดราชการวันอาสาฬหบูชา )



รายการสายใย กศน. วันที่  19  กรกฎาคม  2553

 

         เรื่อง “การจัด กศน.ตำบล ในชุมชนเอื้ออาทรบางกร่าง อ.เมือง จ.นนทบุรี”

         นายอิทธิเดช  สุพงษ์  ดำเนินรายการ

         วิทยากรโดย
         - ดวงตา  จำนงค์  ผอ.กศน.อ.เมืองนนทบุรี  จ.นนทบุรี
         - น.ส.นฤมล  ทิพยเดช  ครูอาสาสมัคร กศน.อ.เมืองนนทบุรี
         - น.ส.จินตนา  สดมุ๋ย  หัวหน้า กศน.ตำบนบางกร่าง อ.เมืองนนทบุรี
         - วิมล  ประเสริฐพรศักดิ์  ประชาชนผู้รับบริการ กศน.ตำบลบางกร่าง
         - นายกิตติวัฒน์  อภิพงษ์ธนาศิริ  กรรมการ กศน.ตำบลบางกร่าง


         กศน.ตำบลชุมชนเอื้ออาทรบางกร่าง อ.เมืองนนทบุรี เปิดเมื่อวันที่ 15 พ.ย.52  ชุมชนมาใช้บริการอย่างทั่วถึง ( ประชาชนย้ายมาอยู่ในเคหะชุมชนของการเคหะแหงชาติที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2549 ) เป็นอาคารสูง 20 อาคาร มีความสะดวกในการคมนาคม มีสถานที่ให้อาศัยเป็น กศน.ตำบล ( แต่ยังคับแคบไม่คล่องตัวเป็นอิสระ ) มีประชาชน 1,140 ครัวเรือน ประมาณ 3 พันคน ยังไม่รวมพื้นที่โดยรอบชุมชน  มีครูอาสาฯและหัวหน้า กศน.ตำบล เพียง 2 คน ดูแล ( ไม่เพียงพอ เพราะครูอาสาฯต้องทำงานใน กศน.อำเภอ และดูแล 3 ตำบล )

         จัดกิจกรรม กศน.ขั้นพื้นฐาน มีนักศึกษา 470 คน จบไปแล้ว 104 คน, การศึกษาต่อเนื่อง เช่น การพัฒนาอาชีพ ( ดอกไม้ผ้าใยบัว, ดอกไม้ดินไทย ล็อตเตอรี่, การร้อยมาลัยดอกไม้สด ), การพัฒนาทักษะชีวิต ( แอโรบิคเพื่อชุมชน แอโรบิคเพื่อสุขภาพ ), การพัฒนาสังคมและชุมชน ( การทำของใช้ในครัวเรือน, การอบรมภาษาอังกฤษเบื้องต้น, การทำน้ำยาอเนกประสงค์ ซักผ้า-รีดผ้า-ล้างจาน-ฯลฯ ใช้เองและจำหน่ายในชุมชน อยากได้รับการพัฒนาให้มีมาตรฐานเพื่อจำหน่ายนอกชุมชน )  โดยใช้แบบสำรวจลงพื้นที่สำรวจความต้องการของชุมชนก่อน

         ผู้ที่เรียนจบการพัฒนาอาชีพ ได้นำความรู้ไปถ่ายทอดในชุมชนและในโรงเรียนต่าง ๆ ได้   เดิมชาวชุมชนต้องออกไปเรียน กศน. ที่อื่น  เมื่อ กศน.ตำบลมาอยู่ในชุมชน มีผู้อายุน้อย 15-16 ปี มาเรียน กศน. มากขึ้น  การเรียนการสอนมีวิชาการมากกว่าเดิม มีการติวสอนเสริมคณิตศาสตร์ เรียนภาษาอังกฤษ โดยใช้วิทยากรที่มีความรู้เฉพาะวิชา  ผู้จบสายสามัญสามัญสามารถเรียนต่อและมีงานทำ

         การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย เช่น จัดกิจกรรมวันเด็ก, จัดห้องสมุด เปิดบริการภาคค่ำและเสาร์อาทิตย์, จัดห้องคอมพิวเตอร์บริการอินเตอร์เน็ต   ประชาชนอยากให้ขยายการศึกษาถึงปริญญาตรี และให้เรียนสายสามัญเวลา 17:00-20:00 น. ( ปกติเรียนกลางวันวันอาทิตย์ 3 รอบ ๆ ละ 3 ชั่วโมง เพราะมี 2 หลักสูตร )  อยากให้เพิ่มกิจกรรมกีฬาห่างไกลยาเสพติด กิจกรรมศาสนาคุณธรรมจริยธรรม

         อ.เมืองนนทบุรี มี 10 ตำบล ( รวมเขตเทศบาล ) ทำพิธีเปิด กศน.ตำบลไปแล้ว 8 ตำบล

 

หมายเลขบันทึก: 376982เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2010 06:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 08:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ดีจังไม่มีเวลาดูก็สามารถอ่านได้ เข้าใจทำคิดได้ไงเนี่ย

ผมสรุปย่อมาก ไม่เหมือนดูเอง 1 ชั่วโมงเต็มนะครับ
เพื่อให้ผู้ที่ติดธุระในครั้งนั้นไม่ตกข่าวน่ะ

สวัสดีค่ะ ขอบคุณ คุณเอกชัยมากน่ะค่ะที่เข้าไปตอบคำถามให้ ่ะที่ ชุมพรเปิดรับสมัคร แล้ว

กำลังจะไปสมัคร เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการ ค่ะ ไม่รู้สอบยากไหม จะพยาาม และตั้งใจ

ผลเป็นยังงัยจะมาบอกน่ะค่ะ

เป็นกำลังใจให้นะครับ
แล้วจะคอยฟังผล

ขอบคุณสำหรับข้อมูลน่ะค่ะ กำลังหาข้อมูลเพื่อบันทึกสรุปส่ง ผอ. อยู่พอดีเลยขอบคุณที่นำมาแบ่งปันค่ะ

ขอบคุณมากนะคะ คุณเอกชัย

ขอบคุณสำหรับข้อมูลและคำแนะนำสิ่งที่ดีๆ ให้กับผู้อื่นทุกข้อความน่ะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท