beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

ความรู้มือสอง <๑๑> ความรู้ ๓ ระดับ


มีความรู้สึกว่า ความรู้ที่เรียนมา 4-5 ปี ทำไมมันหดหายไป เหมือนกับเราไม่รู้อะไรเลย

   ท่านที่เคยเป็นนิสิต/นักศึกษาปีสุดท้าย ตอนที่ท่านสอบวิชาสุดท้ายเสร็จ ท่านเคยรู้สึกทำนองนี้บ้างไหม?

   รู้สึกเหมือนกับว่าลำพองใจว่า กระผม/ดิฉันเรียนจบแล้วนะ ตอนนี้สำเร็จการศึกษาแล้วก็จะออกไปหางานทำ..

   พอคิดว่าจะออกไปทำงาน ก็มาทบทวนดูความรู้ของตัวเอง จึงรู้สึกว่าความรู้ที่เราคิดว่ามีมากแล้ว (เรียน 4-5 ปี) ทำไมมันหดหายไป หรือว่าคืนอาจารย์ไปหมด..อิอิ

   อันที่จริงผมก็เคยรู้สึกเช่นนั้น และผมเคยสงสัยว่ากระบวนการสอนหรือการถ่ายทอดตั้งแต่รุ่นผมจนถึงปัจจุบัน ซึ่งย้อนหลังไปประมาณ 30 ปี มันคงมีอะไรผิดพลาด ซึ่งกว่าผมจะได้คำตอบ เวลาก็ผ่านมามากกว่า 18 ปี

   คำอธิบายที่ผมค่อยข้างเด่นชัดและเข้าใจง่าย ผมศึกษามาจากข้อเขียนของ ดร.บุญเกียรติ โชควัฒนา

   คุณบุญเกียรติ โชควัฒนา เจ้าของสโลแกน "ชีวิตคิดบวก" ท่านเขียนอธิบายไว้ในคำสอนของท่าน ซึ่งผมใช้วิธี "ครูพักลักจำ" มาอธิบายตามความเข้าใจของผมดังต่อไปนี้

   อันความรู้ (Knowledge) นั้นมีอยู่ 3 ระดับด้วยกัน

   1. รับรู้ เป็นความรู้ที่เราได้รับเป็นข้อมูล อาจจะได้จากอินเตอร์เน็ต หรือความรู้ที่เกิดจากการบอกกล่าวเป็นคำสอนของครูบาอาจารย์ พ่อแม่ หรือใครก็ตาม ความรู้ชนิดนี้เป็นความรู้ที่เป็นเรื่องของ "ความจำ/ท่องจำ" ซึ่งหากมีการสอบ เราก็จะอ่านมา พอสอบแล้วก็ลืม ความรู้อย่างนี้มีมากจนเป็นขยะ เต็มไปหมด เป็นความรู้ชนิดที่ "สักแต่ว่ารู้"

   2. เรียนรู้ เป็นความรู้ที่ได้มาจากการรับรู้ แต่เรารู้จัก "แยกแยะ" เลือกเอาความรู้ที่มีประโยชน์ มาคิดวิเคราะห์ มาทำความเข้าใจ ในระดับที่สามารถปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

   3. รับเรียนรู้ เป็นการเอาความรู้จากการเข้าใจในระดับ "เรียนรู้" ที่เราคิดว่าจะเป็นประโยชน์ ทั้งแก่ตัวเองและคนอื่นรอบข้าง นำเอาความรู้นั้นมาสังเคราะห์ คิดเป็นเหตุเป็นผล เปลี่ยนเป็น "หลักคิด" ในการดำเนินชีวิต แล้วนำหลักคิดนั้น ไปฝังไว้ในจิตใต้สำนึก (subconcious) อีกครั้งหนึ่ง

   ความรู้ ที่ฝังไว้ในจิตใต้สำนึกนั้น จะไม่มีวันลืม เมื่อเราเกิดปัญหาหรืออุปสรรคในอนาคต เราสามารถดึงเอาความรู้จากจิตใต้สำนึก มาบูรณาการเข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในขณะนั้น ซึ่งใช้ช่วยแก้ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับเราและคนรอบข้างได้

ตัวอย่างหลักคิด (คิดได้ด้วยตนเอง) ซึ่งจะนำไปฝังไว้ใน "memory" ที่จิตใต้สำนึก

  • จดแล้วไม่ค่อยจำ เข้าใจแล้วไม่ค่อยลืม
  • ยิ่งแก้ปัญหา ยิ่งฉลาด
  • คิดอย่างไร ก็ได้อย่างนั้น
  • ใช้บวก แต่เข้าใจลบ
  • ไม่กลัว ไม่เหนื่อย ไม่ท้อ ไม่มีปัญหา ไม่ยาก ไม่เครียด ไม่ยุ่ง
  • ปล่อยวางเสียบ้าง แล้วชีวิตจะมีความสุข
beeman by Apinya

มนุษย์ผึ้งมหัศจรรย์  
神奇的蜂爷
  
(shen2  qi2  de1  feng1  ye2)

 

 

หมายเลขบันทึก: 376695เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2010 12:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ใช่เลยครับ

- ยิ่งให้ยิ่งได้

- ยิ่งสอนยิ่งเก่ง

- รู้ เข้าใจ (ปริยัติ) ทำได้ เชี่ยวชาญ ชำนาญ (ปฏิบัติ) ช่ำชอง (ปฏิเวธ)

เรียนท่านอรรถวุฒิ

  • ที่สรุปมาทุกอย่าง ใช่เลย
  • เพราะสรุปมาจากประสบการณ์
  • ผมไปอ่านประวัติส่วนตัวแล้ว เป็นประวัติที่น่าสนใจมากครับ

ขอบพระคุณครับ สามระดับ ลดไป ๕ กก


เป็นความคิดที่ดีอ่านแล้วได้แง่คิดสบายใจ

เรียนครูสอง

  • พอเราคิดเชิงบวกบ่อยๆ แล้วเลือกเอาสิ่งดีๆ ไปฝังไว้ในจิตใต้สำนึก
  • ชีวิตเราดีขึ้นแน่นอน และจะทำให้ชีวิตรอบๆ ข้างของเราดีด้วย..อิอิ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท