น้ำผึ้งจาก ผึ้งจิ๋ว หรือชันโรง


น้ำผึ้งชันโรง

น้ำผึ้งจากผึ้งจิ๋วหรือชันโรงบ้านที่สามารถนำมาเลี้ยงเป็นการค้าได้นั้น ในประเทศไทยยังมิได้กำหนดมาตรฐานของน้ำผึ้งจิ๋วแต่อย่างใด  เนื่องจากยังมีการเลี้ยงเป็นการค้าไม่มากนัก  แต่ก็มีข้อมูลการวิจัยเกี่ยวกับผึ้งจิ๋วคงมีมากพอสมควรโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากผึ้งจิ๋ว  ได้แก่ ชันผึ้ง  น้ำผึ้งและเกสรผึ้ง มีทยอยตีพิมพ์เผยแพร่ออกมามากขึ้น  อย่างไรก็ดี ในต่างประเทศโดยเฉพาะในอเมริกาใต้ซึ่งได้เลี้ยงผึ้งจิ๋วมานานแล้ว  เป็นระบบการเลี้ยงแบบพื้นเมืองและกิ่งพื้นเมือง  เช่น ประเทศกัวเตมาลา  เมกซิโก และเวเนซูเอลา  เป็นต้น  ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากชันโรง  เช่น  การวิเคราะห์และการสกัดชันผึ้ง  องค์ประกอบของน้ำผึ้ง  โดยเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่ได้จากผึ้งพันธุ์เพราะผลิตภัณฑ์จากผึ้งพันธุ์นั้น  ได้ศึกษาวิจัยมาก่อนแล้ว  ดังตัวอย่างตารางการวิเคราะห์น้ำผึ้งจิ๋วเปรียบเทียบกับน้ำผึ้งจากผึ้งพันธุ์  ดังนี้

องค์ประกอบของน้ำผึ้ง

(Honey composition)

มาตรฐานน้ำผึ้งของผึ้ง

(Apis mellifera)

ผึ้งจิ๋ว (ชันโรง)

(Trigona spp.)

ความชื้น (กรัม / 100 กรัม)

สูงสุด 20.0

สูงสุด 30.0

รีดิวซิง ซูการ์ (กรัม / 100 กรัม)

ต่ำสุด 65.0

ต่ำสุด 50.0

น้ำตาลซูโครส (กรัม / 100 กรัม)

สูงสุด 5.0

สูงสุด 5.0

ความเป็นกรด (meg / 100 g)

สูงสุด 40.0

สูงสุด 75.5

เถ้าถ่าน / แร่ธาตุ (กรัม / 100 กรัม)

สูงสุด 0.5

สูงสุด0.5

HMF   (มล.ก / กก.)

สูงสุด 40.0

สูงสุด 40.0

เอนไซม์ไดแอสเดส

ต่ำสุด 8.0

ต่ำสุด 7.0

หมายเหตุ  รีดิวซิงซูการ์ (reducing sugar) เป็นน้ำตาลที่พบในพืชก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็น น้ำตาลซูโครส (sucrose )     

                     HMF  ย่อมาจาก  Hydroxymethylfuraidehyde  เป็นค่าที่กำหนดขึ้นเพื่อป้องกันน้ำผึ้งไปผ่านความร้อน  ค่า  HMF  จะสูงขึ้นด้วยวิธีการอบไอร้อน

                        น้ำผึ้งชันโรงหรือน้ำผึ้งจิ๋ว  มีความเป็นกรดค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับน้ำผึ้งอุตสาหกรรม อย่างผึ้งพันธุ์  เมื่อชิมดูแล้วค่อนข้างออกเปรี้ยว  จึงต้องกำหนดค่าความเป็นกรดสูงกว่าน้ำผึ้งรวงมีรายงานเกี่ยวกับคุณสมบัติของน้ำผึ้งจิ๋วในอเมริกาใต้ พบว่า  น้ำผึ้งจิ๋วที่เริ่มหมักบูดสามารถรักษาโรคทางเดินหายใจได้  ขยายความได้ว่า น้ำผึ้งจิ๋วเก็บเอาไว้นานหน่อยก็ไม่เป็นอะไร  แต่อย่านานจนเกินไปควรเก็บในที่เย็น  การหมักบูดของน้ำผึ้งจิ๋วเมื่อเปิดขวดครั้งแรกออกมาจะมีก๊าซเกิดขึ้นอบอวนมากนั้นแสดงว่าเริ่มอาการหมักบูดเกิดขึ้นแล้ว  เมื่อนำไปเก็บในตู้เย็นเพื่อนำออกมารับประทานเป็นครั้งคราวก็สามารถลดการหมักบูดไม่ให้เพิ่มขึ้นได้  ในอเมริกาใต้ น้ำผึ้งจากอุตสาหกรรมเกิดการหมักบูดถือว่าเป็นน้ำผึ้งที่เสียไม่ควรนำไปบริโภค  แต่น้ำผึ้งจิ๋วที่หมักบูดถือว่ายังสามารถรับประทานเพื่อเป็นยาสมุนไพรได้  คุณสมบัติทางเคมีของน้ำผึ้งจิ๋วอื่น ๆ  กำหนดมาตรฐานเหมือนน้ำผึ้งอุตสาหกรรมเนื่องจากกรรมวิธีการปลอมปนใช้วิธีการเหมือนกัน  เช่น  ค่า เอช เอม เอฟ  เถ้าถ่าน และน้ำตาลซูโครส  เป็นต้น  ส่วนเอนไซม์ในน้ำผึ้ง  ของผึ้งจิ๋วมีหน่วยเอนไซม์ (diastase number)  น้อยกว่าผึ้งพันธุ์หนึ่งส่วนในแปดส่วนถือว่ามีค่าใกล้เคียงกัน  แต่มีน้ำผึ้งจากชันโรงบางชนิดในอเมริกาใต้มีหน่วยเอนไซม์ต่ำ  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าน้ำผึ้งนั้นผ่านความร้อนมาแต่อย่างใด

                        น้ำผึ้งจากผึ้งจิ๋วหรือชันโรงถูกจัดชั้นอยู่ในสมุนไพรเพราะมีคุณสมบัติในการบรรเทาอาการต่าง ๆ  และการรักษาโรคบางโรคของมนุษย์ได้

ที่มา  ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี ( ผึ้ง )

          ตำบลมะขาม  อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี  039 - 389245

 

หมายเลขบันทึก: 376292เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2010 21:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ยินดีครับ....................

โค้งคำนับนั่งอ่านช่วยสานฝัน

สาระดีมีจุดเด่นเป็นสำคัญ

ชอบสร้างสรรค์เสพหาวิชาการ

ขยันเขียนเวียนหามาบันทึก

เริ่องไม่นึกก็ได้เห็นเป็นแก่นสาร

เกิดความคิดติดปัญญาพาเชี่ยวชาญ

ประสบการณ์พบเห็นเป็นบทเรียน

ธนา นนทพุทธ

จักสานอักษรกลอนคิดเห็น

เคยไปอบรมการเลี้ยงชันโรง มีประโยชน์มาก...ค่ะ

หนูอยากทราบสถิติการเพาะเลี้ยงชันโรงในจันทบุรีอ่ะค่ะ พอจะมีมั่งไหมคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท